เคยได้ยินมาว่ามันเป็นอะไรที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมนี่ล่ะครับ
แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่ามันคืออะไร
ผู้รู้ช่วยไขปัญาหาด้วยครับ
อะไรคือสัปปายะ4
เริ่มโดย ท่านต้นผู้ยิ่งใหญ่, Jul 31 2006 12:04 AM
มี 7 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 12:04 AM
#2
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 08:34 AM
คำว่าสัปปายะ คือ ที่ยังให้เกิดความสบาย
สัปปายะ 4
อาวาสสัปปายะ = มีที่พักอาศัยสะดวก ที่อยู่เหมาะสม บรรยากาศดี
บุคคลสัปปายะ = มีบุคคลแวดล้อมที่เหมาะสม ที่เกี่ยวข้องทำให้สบายใจ
อาหารสัปปายะ = บริโภคอาหารที่พอเหมาะ มีอาหารการบริโภคสะดวก
ธัมมสัปปายะ = มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะแก่จริตของผู้ปฏิบัติธรรม
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากมงคลชีวิต 38 ประการ @มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
http://www.kalyanami...x_mongkhol.html
อนุโมทนาบุญครับ
สัปปายะ 4
อาวาสสัปปายะ = มีที่พักอาศัยสะดวก ที่อยู่เหมาะสม บรรยากาศดี
บุคคลสัปปายะ = มีบุคคลแวดล้อมที่เหมาะสม ที่เกี่ยวข้องทำให้สบายใจ
อาหารสัปปายะ = บริโภคอาหารที่พอเหมาะ มีอาหารการบริโภคสะดวก
ธัมมสัปปายะ = มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะแก่จริตของผู้ปฏิบัติธรรม
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากมงคลชีวิต 38 ประการ @มงคลที่ 4 อยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
http://www.kalyanami...x_mongkhol.html
อนุโมทนาบุญครับ

#3
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 01:02 PM
สัมปชัญญะ 4 (ความรู้ตัว, ความรู้ตัวทั่วพร้อม, ความรู้ชัด, ความรู้ทั่วชัด, ความตระหนัก )
1. สาตกสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักในจุดหมาย คือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำนั้นมีประโยชน์ตามความมุ่งหมายอย่างไรหรือไม่ หรือว่า อะไรควรเป็นจุดมุ่งหมายของการกระทำนั้น เช่น ผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อจะไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง มิใช่สักว่ารู้สึกหรือนึกขึ้นมาว่าจะไป ก็ไป แต่ตระหนักว่าเมื่อไปแล้ว จะได้ปีติสุขหรือความสงบใจ ช่วยให้เกิดความเจริญโดยธรรม จึงไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรืออำนวยประโยชน์ที่มุ่งหมาย )
2. สัปปายสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล คือรู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งของนั้น การกระทำนั้น ที่ที่จะไปนั้น เหมาะกันกับตน เกื้อกูลแก่สุขภาพ แก่กิจ เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรมและการเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม จึงใช้ จึงทำ จึงไป หรือเลือกให้เหมาะ เช่น ภิกษุใช้จีวรที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศและเหมาะกับภาวะของตนที่เป็นสมณะ ผู้เจริญกรรมฐานจะไปฟังธรรมอันมีประโยชน์ในที่ชุมนุมใหญ่ แต่รู้ว่ามีอารมณ์ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกรรมฐาน ก็ไม่ไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบายเอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน )
3. โคจรสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน คือ รู้ตัวตระหนักชัดอยู่ตลอดเวลาถึงสิ่งที่เป็นกิจ หน้าที่ เป็นตัวงาน เป็นจุดของเรื่องที่ตนกระทำ ไม่ว่าจะไปไหนหรือทำอะไรอื่น ก็รู้ตระหนักอยู่ ไม่ปล่อยให้เลือนหายไป มิใช่ว่าพอทำอะไรอื่น หรือไปพบสิ่งอื่นเรื่องอื่น ก็เตลิดเพริดไปกับสิ่งนั้นเรื่องนั้น เป็นนกบินไม่กลับรัง โดยเฉพาะการไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งรวมถึงการบำเพ็ญจิตภาวนาและปัญญาภาวนาในกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะคุมกายและจิตไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย )
4. อสัมโมหสัปชัญญะ (รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวเนื้อหาสภาวะ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน คือเมื่อไปไหน ทำอะไร ก็รู้ตัวตระหนักชัดในการเคลื่อนไหว หรือในการกระทำนั้น และในสิ่งที่กระทำนั้น ไม่หลง ไม่สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน เข้าใจล่วงตลอดไปถึงตัวสภาวะในการกระทำที่เป็นไปอยู่นั้น ว่าเป็นเพียงการประชุมกันขององค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ประสานหนุนเนื่องกันขึ้นมาให้ปรากฏ เป็นอย่างนั้น หรือสำเร็จกิจนั้นๆ รู้ทันสมมติ ไม่หลงสภาวะเช่นยึดเห็นเป็นตัวตน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนัก ในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริงโดยสมมติสัจจะ หรือตลอดถึงโดยปรมัตถสัจจะ มิใช่พรวดพราดทำไป หรือสักว่าทำ มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิดไปเสียด้วยความพร่ามัว หรือด้วยลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ หรือเย้ายวนเป็นต้น )
สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย )
1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ )
2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป )
3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ )
4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ )
5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก )
6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น )
7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกจับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี )
เท่าที่ทราบจะ เป็นดังที่กล่าวนี้นะครับ ถูกผิดยังไง ก็ขออภัยณ. ที่นี้
1. สาตกสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่ามีประโยชน์ หรือตระหนักในจุดหมาย คือ รู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งที่กระทำนั้นมีประโยชน์ตามความมุ่งหมายอย่างไรหรือไม่ หรือว่า อะไรควรเป็นจุดมุ่งหมายของการกระทำนั้น เช่น ผู้เจริญกรรมฐาน เมื่อจะไป ณ ที่ใดที่หนึ่ง มิใช่สักว่ารู้สึกหรือนึกขึ้นมาว่าจะไป ก็ไป แต่ตระหนักว่าเมื่อไปแล้ว จะได้ปีติสุขหรือความสงบใจ ช่วยให้เกิดความเจริญโดยธรรม จึงไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำสิ่งที่ตรงกับวัตถุประสงค์หรืออำนวยประโยชน์ที่มุ่งหมาย )
2. สัปปายสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นสัปปายะ หรือตระหนักในความเหมาะสมเกื้อกูล คือรู้ตัวตระหนักชัดว่าสิ่งของนั้น การกระทำนั้น ที่ที่จะไปนั้น เหมาะกันกับตน เกื้อกูลแก่สุขภาพ แก่กิจ เอื้อต่อการสละละลดแห่งอกุศลธรรมและการเกิดขึ้นเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรม จึงใช้ จึงทำ จึงไป หรือเลือกให้เหมาะ เช่น ภิกษุใช้จีวรที่เหมาะกับดินฟ้าอากาศและเหมาะกับภาวะของตนที่เป็นสมณะ ผู้เจริญกรรมฐานจะไปฟังธรรมอันมีประโยชน์ในที่ชุมนุมใหญ่ แต่รู้ว่ามีอารมณ์ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกรรมฐาน ก็ไม่ไป โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะเลือกทำแต่สิ่งที่เหมาะสบายเอื้อต่อกาย จิต ชีวิต กิจ พื้นภูมิ และภาวะของตน )
3. โคจรสัมปชัญญะ (รู้ชัดว่าเป็นโคจร หรือตระหนักในแดนงานของตน คือ รู้ตัวตระหนักชัดอยู่ตลอดเวลาถึงสิ่งที่เป็นกิจ หน้าที่ เป็นตัวงาน เป็นจุดของเรื่องที่ตนกระทำ ไม่ว่าจะไปไหนหรือทำอะไรอื่น ก็รู้ตระหนักอยู่ ไม่ปล่อยให้เลือนหายไป มิใช่ว่าพอทำอะไรอื่น หรือไปพบสิ่งอื่นเรื่องอื่น ก็เตลิดเพริดไปกับสิ่งนั้นเรื่องนั้น เป็นนกบินไม่กลับรัง โดยเฉพาะการไม่ทิ้งอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งรวมถึงการบำเพ็ญจิตภาวนาและปัญญาภาวนาในกิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวัน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนักที่จะคุมกายและจิตไว้ให้อยู่ในกิจ ในประเด็น หรือแดนงานของตน ไม่ให้เขว เตลิด เลื่อนลอย หรือหลงลืมไปเสีย )
4. อสัมโมหสัปชัญญะ (รู้ชัดว่าไม่หลง หรือตระหนักในตัวเนื้อหาสภาวะ ไม่หลงใหลฟั่นเฟือน คือเมื่อไปไหน ทำอะไร ก็รู้ตัวตระหนักชัดในการเคลื่อนไหว หรือในการกระทำนั้น และในสิ่งที่กระทำนั้น ไม่หลง ไม่สับสนเงอะงะฟั่นเฟือน เข้าใจล่วงตลอดไปถึงตัวสภาวะในการกระทำที่เป็นไปอยู่นั้น ว่าเป็นเพียงการประชุมกันขององค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ประสานหนุนเนื่องกันขึ้นมาให้ปรากฏ เป็นอย่างนั้น หรือสำเร็จกิจนั้นๆ รู้ทันสมมติ ไม่หลงสภาวะเช่นยึดเห็นเป็นตัวตน โดยสาระคือ ความรู้ตระหนัก ในเรื่องราว เนื้อหา สาระ และสภาวะของสิ่งที่ตนเกี่ยวข้องหรือกระทำอยู่นั้น ตามที่เป็นจริงโดยสมมติสัจจะ หรือตลอดถึงโดยปรมัตถสัจจะ มิใช่พรวดพราดทำไป หรือสักว่าทำ มิใช่ทำอย่างงมงายไม่รู้เรื่อง และไม่ถูกหลอกให้ลุ่มหลงหรือเข้าใจผิดไปเสียด้วยความพร่ามัว หรือด้วยลักษณะอาการภายนอกที่ยั่วยุ หรือเย้ายวนเป็นต้น )
สัปปายะ 7 (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย )
1. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ )
2. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป )
3. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ 10 และพูดแต่พอประมาณ )
4. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ )
5. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก )
6. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น )
7. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกจับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี )
เท่าที่ทราบจะ เป็นดังที่กล่าวนี้นะครับ ถูกผิดยังไง ก็ขออภัยณ. ที่นี้
#4
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 02:51 PM
QUOTE
สัปปายะ 4
อาวาสสัปปายะ = มีที่พักอาศัยสะดวก ที่อยู่เหมาะสม บรรยากาศดี
บุคคลสัปปายะ = มีบุคคลแวดล้อมที่เหมาะสม ที่เกี่ยวข้องทำให้สบายใจ
อาหารสัปปายะ = บริโภคอาหารที่พอเหมาะ มีอาหารการบริโภคสะดวก
ธัมมสัปปายะ = มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะแก่จริตของผู้ปฏิบัติธรรม
อาวาสสัปปายะ = มีที่พักอาศัยสะดวก ที่อยู่เหมาะสม บรรยากาศดี
บุคคลสัปปายะ = มีบุคคลแวดล้อมที่เหมาะสม ที่เกี่ยวข้องทำให้สบายใจ
อาหารสัปปายะ = บริโภคอาหารที่พอเหมาะ มีอาหารการบริโภคสะดวก
ธัมมสัปปายะ = มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะแก่จริตของผู้ปฏิบัติธรรม
สถานที่ ที่มีสัปปายะครบถ้วนทั้ง 4 อย่าง จะเหมาะสมแก่การประพฤติธรรม
ทำให้สะดวกสบายแก่การปฏิบัติธรรม อีกทั้งสภาพแวดล้อมก็ช่วยให้อารมณ์ดี สนทนากันแต่เรื่องธรรมะ
คือช่วยเกื้อหนุนให้คนนั่งสมาธิบรรลุธรรมได้ง่ายขึ้น
ซึ่งในโลกนี้ สถานที่ที่มีสัปปายะครบสี่ข้อ มีไม่มากนัก
บางท่านก็อาจมีโอกาสไปอยู่ ในบริเวณที่มีข้อหนึ่งข้อใดไม่เป็นสัปปายะ
เช่น อาหารการกินไม่ดีอาหารขาดแคลน ที่พักไม่ค่อยสบาย มียุงรบกวน
หรืออยู่ในบ้านที่มีบุคคลทำให้ไม่สบายใจ ข้างบ้านเปิดเพลงเสียงดังรบกวนการนั่งสมาธิ เป็นต้น
แต่หากข้อสำคัญที่สุดก็คือ ธัมมสัปปายะ
เมื่อได้อยู่ในที่มีคำสอนธรรมะที่ดี มีหลักปฏิบัติที่มุ่งตรงต่อหนทางพระนิพพานแล้ว
ปัจจัยอย่างอื่นก็พอจะอดทนไปได้ (หรือบางคราว "ต้องอดทน")
เพราะหลักสำคัญคือ มุ่งการปฏิบัติธรรม
ขออนุโมทนาบุญนะคะ สาธุ
#5
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 05:35 PM
วัดพระธรรมกายก็เป็นที่สัปปายะ 4
คือมีความสบายใน 4 อย่างอย่างที่ว่าไปค่ะ
พี่ต้นก็รู้อยู่แล้วไม่ใช่เหรอคะ
เป็นมัคคุเทศก์นี่นา
คือมีความสบายใน 4 อย่างอย่างที่ว่าไปค่ะ
พี่ต้นก็รู้อยู่แล้วไม่ใช่เหรอคะ
เป็นมัคคุเทศก์นี่นา
เมื่อไหร่หนอจะได้พบทหารหาญ
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
รอตั้งนานผู้ชาญศึกหายไปไหน
บอกจะพบกันครึ่งทางที่กลางใจ
อีกนานไหมจะให้พบช่วยบอกที
สุนทรพ่อ
muralath2@hotmail
#6
โพสต์เมื่อ 31 July 2006 - 08:51 PM
QUOTE
พี่ต้นก็รู้อยู่แล้วไม่ใช่เหรอคะ
เป็นมัคคุเทศก์นี่นา
เป็นมัคคุเทศก์นี่นา
ใช่แล้วครับ พี่เขามาลองภูมิดูเล่นๆ แหงๆ ใช่ไหมพี่ต้น พี่ก็ฟังออกจะบ่อยๆ เวลาชมวัด
#7
โพสต์เมื่อ 01 August 2006 - 12:32 PM
ป่าวลองภูมิ
มันลืมน่ะ
^o^'
มันลืมน่ะ
^o^'
#8
โพสต์เมื่อ 02 August 2006 - 09:11 PM
QUOTE
ซึ่งในโลกนี้ สถานที่ที่มีสัปปายะครบสี่ข้อ มีไม่มากนัก
ที่สวนพนาวัฒน์ ก็มีสัปปายะครบที้ง4ข้อเลยครับ
QUOTE
พี่ต้นก็รู้อยู่แล้วไม่ใช่เหรอคะ
เป็นมัคคุเทศก์นี่นา
เป็นมัคคุเทศก์นี่นา
