ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น...หาทางออกที่ดี (ปล. ที่ดีนะคะ) ให้ตัวเอง ทำใจให้สบายที่สุด คนอื่นที่หนักกว่าเราก็มีค่ะ "บุญโต" นี่แหล๊ะค่ะ แต่เดี๋ยวนี้เหมือนกันว่าไม่มีอะไรมาทำร้ายใจเราได้แล้ว ... ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีทางออก+แก้ไขได้เสมอนะคะ เครียดแล้วไม่ช่วยทำให้อะไรดีขึ้นนะคะ สู้ ๆ ค่ะ

...ความยึดมั่น ถือมั่น เป็นเหตุของความทุกข์ทั้งปวง...
นำข้อความของคุณD...ที่ส่งมาทางอีเมล์ให้อ่านค่ะ
1. ทางพุทธจะเน้นมาที่ตัวต้นเหตุ คือ ใจเป็นสำคัญ
2. แต่หากกำลังทางใจไม่พร้อมพอ คือ ใจที่มันจะเผลอไปคิดตามความเคยชินนั้น ก็ให้ใช้อุบายในทางบวก หัดปรับจิตใจให้สมดุลย์
3. นอกจากนี้ในส่วนประกอบภายนอกนั้น ก็ควรมีบุคคลต้นแบบ, บุคคลตัวอย่าง ซึ่ง เป็นบุคคลที่เราให้ความนับถือ เป็นอุทาหรณ์ ของการใช้ชีวิต เป็นแบบอย่างด้วย เป็นการเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกัน ไม่ให้จิตที่จะดึงให้ตกไปตามความเคยชินแง่ลบอย่างเดิมๆ
4. เมื่อได้หมั่นรักษาจิตใจให้ความมั่นคง มีความเป็นปกติ ด้วยอความเป็นปกติของใจนั้นจะเป็นกำลังให้จิตไม่อ่อนไปตามความคิดเชิงลบได้เอง
5. เราอาจใช้ ข้อศีล ตามพระวินัย เป็นเครื่องรักษาใจก็ได้ โดยหลักสำคัญ คือ รักษาศีลไม่ใช่รักษาอย่างผิด ๆ เพราะศีลโดยเนื้อแท้ คือ การรักษาใจเพื่อมีความเป็นปกติมั่นคง
6. เมื่อจิตใจเป็นปกติง่ายขึ้น จุดสำคัญก็คือต้นตอ หัดหมั่นสังเกต ปลุกจิตใจให้มาเท่าทันพฤติกรรมของจิตนั้นแหละที่ไปสร้างเหตุขึ้นมาบั่นทอนความคิด จิตใจและอารมณ์ของมันเอง
7. เรื่องการใช้ชีวิต การแก้ปัญหาภายนอกนั้น ซึ่งเป็นปกติที่จะต้องประสบกันทั้งนั้น ด้วยกำลังสติปัญญานั้นๆ จะทราบจะเห็นทางแก้ปัญหาได้เป็นลำดับเอง
( การแก้ปัญหานั้น ต้องแก้ทั้งภายนอก ภายใน ประกอบกัน หากภายนอกยังแก้ไม่ถูก พฤติกรรมของจิตภายในที่ผิดๆ นั้น ก็อาจจะยังเกิดได้อีกตามความเคยชินเดิมๆนั้นแหละ ถ้าเป็นอย่างนั้น เราจะได้แต่ตามก้นมันอย่างเดียว เพราะไม่ทันเหตุมันเสียที เมื่อจิตทันเหตุ มันจะหยุดปรุงแต่งให้เป็นทุกข์ (ทันเหตุทุกข์ภายใน ตัวปรุงจะขาดของมันเอง)
แต่หากไม่ได้แก้ปัญหาภายนอกไปด้วย จิตที่หยุดมันจะค้างเต่อคาที่ปัญหา (เหตุภายนอก) เมื่อเหตุภายในเท่าทัน คือไม่หลงประเด็น อันเป็นส่วนเกิน ให้เกิดเป็นทุกข์ร้อนแก่เจ้าของ ก็ให้ใช้สติปัญญานั้นแหละ มารู้จักวิธีการแก้ปัญหาภายนอก เป็นการการรู้จักจัดระเบียบชีวิตต่อๆไป
จุดสำคัญทั้งหมดนั้น รวมลงที่ สติ)