
**วัดพระธรรมกายทำไมไม่มี ช่อฟ้าใบระกาเสมาครับ**
เริ่มโดย สาคร, Nov 25 2006 07:25 AM
มี 8 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 07:25 AM
แค่สงสัยเท่านั้นนะครับ ว่าทำไมที่วัดพระธรรมกายถึงไม่มี ช่อฟ้า ใบระกา เสมา เหมือนอย่างที่อื่นเขา แล้ววัดในสมัยพุทธกาลเขามีใหม ที่วัดเคยจัดงานฝังลูกนิมิตใหมครับ ผมรู้สึกว่า ทั้งการจัดกิจกรรมและการสร้างวัด ออกจะตรงกันข้ามกับวัดอื่นๆในเมืองไทย เช่นที่อื่นเขาฝังลูกนิมิต แต่ที่นี่จะกลั่นแผ่นดิน ช่วยตอบให้หายสงสัยหน่อยครับเพื่อคนอื่นที่ยังไม่รู้จะได้รู้ด้วย

#2
โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 09:03 AM
วัดพระธรรมกายยึดหลักปรัชญาการก่อสร้างคือ "ประหยัดสุด ,ประโยชน์สูง" เพราะเห็นคุณค่า ต่อเงินที่ได้มาเกิดจากความศรัทธาอันหามาด้วยความยากลำบากของญาติโยม จึงต้องการใช้เงินเหล่านี้ให้คุ้มค่ามากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งความเคารพและศรัทธาเทินทูนในพระรัตนตรัย ด้วยการสร้างสิ่งที่ดีที่สุดไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อถวายเป็นพุทธบุชา
สิ่งก่อสร้างจึงต้อง "เรียบง่าย(ไม่ถึงกับต้องวิจิตร), สะดวกต่อการดูแลรักษา, ไม่เป็นภาระอันหนักต่อการซ่อมแซมกับคนรุ่นหลัง,"
๑. ด้านการใช้งาน เนื่องจากสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดจะมีขนาดใหญ่ เพราะต้องรองรับคนที่มาใช้งานได้จำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่เน้นที่ความวิจิตรพิสดารด้านลวดลายไทยหรือช่อฟ้าใบระกาดังวัดทั่วไป เพราะจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สุงมากขึ้น ในระยะยาวเมื่อผุพังเสื่อมไปตามกาลจะหาคนที่มีฝีมือดีมาซ่อมจะหายากขึ้น และจะซ่อมแซมให้สวยดังเดิมก็ต้องใช้งบประมาณมาก
๒.ด้านงบประมาณ หากเอาขนาด(สเกล)สิ่งก่อสร้างที่วัดเราเทียบกับวัดทั่วไป แล้วเราเพิ่มการตกแต่งด้วยศิลปะ ลวดลายอันวิจิตรแบบวัดไทยทั่วไปอีก ภาระด้านค่าใช้จ่ายจะสูงมากขึ้นอีก ทั้งในขณะก่อสร้าง ค่าฝีมือตบแต่ง รวมถึงค่าบำรุงดูแลรักษาด้วย ดังนั้นวัดจึงเลือกที่จะสร้างแบบเรียบๆดีกว่า อันเป็นการประหยัดงบประมาณได้มาก
๓. ด้านสถาปัตยกรรม โบสถ์วัดพระธรรมกายใช้หลักสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ประยุกต์ , ส่วนสภาธรรมกายสากล ธรรมกายเจดีย์ มหาวิหารหลวงปู่,มหาวิหารคุณยายใช้สถาปัตย์กรรมสมัยใหม่ ที่จะสะท้อนถึงความเรียบง่าย,ความทันสมัย, ความคิดสร้างสรรค์, เพราะต้องการให้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนความทันสมัยของพระพุทธศาสนาที่ไม่ว่าจะนานเท่าไหร่ แม้อีกพันปี ก็ยังทันสมัยเสมอ ไม่ตกยุค
๔. ด้านภูมิธรรม และพุทธธรรม เนื่องจากธรรมะมี ๒ระดับใหญ่ๆ คือ ๑.ธรรมะระดับโลกียะ ๒.ธรรมะระดับโลกุตระ การสร้างวัดให้วิจิตรสวยงามอย่างวัดทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มักได้แนวคิดจากวิมานหรือสถาปัตย์กรรมของสวรรค์เป็นหลักในการสร้างของช่างในสมัยก่อน แต่สถาปัตยกรรมของวัดพระธรรมกายต้องการสะท้อนธรรมะในระดับโลกุตระ คือความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน แต่ทรงไว้ซึ่งความสะอาด สว่าง สงบ
๕. ด้านวัฒนธรรม เนื่องจากวัดส่วนใหญ่ในไทยได้ทำการก่อสร้างอย่างสวยงามมากมาย และทรงไว้ซึ่งสถาปัตย์กรรมความเป็นไทย ซึ่งถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ด้านความสวยงามของความเป็นวัดไทยที่ดีอยู่แล้วอย่างน่าสรรเสริญยิ่ง ส่วนวัดพระธรรมกายเป็นวัดที่มีวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลกเป็นหลัก ดังนั้นจึงมองภาพรวม โดยอาจต้องก้าวข้ามความติดยึดในวัฒนธรรมท้องถิ่นบางอย่างไว้ เพราะเราไม่ได้ต้องการเผยแผ่วัฒนธรรมไทยเป็นหลักแต่เรากำลังเผยแผ่พุทธธรรมเป็นหลัก จึงต้องการสื่ออกมาในลักษณะความเป็นสากล ไม่เน้นที่วัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ทุกชาติก็สามารถที่จะเข้าถึงได้ รับได้ โดยไม่ต้องกังวลว่ากำลังรับวัฒนธรรมไทยมาแทนวัฒนธรรมของชาติตน และอีกประการคือเรากำลังใช้หลักการเผยแผ่วัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่ก้าวข้ามความเป็นเผ่าพันธุ์ หรือความเป็นชาติใดชาติหนึ่ง โดยผ่าน "วัฒนธรรมชาวพุทธ"ที่ดีงามแทน นั่นคือ ความสะอาด สว่าง สงบ และเรียบง่าย และความยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาอันลึกซึ่ง
สิ่งก่อสร้างจึงต้อง "เรียบง่าย(ไม่ถึงกับต้องวิจิตร), สะดวกต่อการดูแลรักษา, ไม่เป็นภาระอันหนักต่อการซ่อมแซมกับคนรุ่นหลัง,"
๑. ด้านการใช้งาน เนื่องจากสิ่งก่อสร้างส่วนใหญ่ภายในวัดจะมีขนาดใหญ่ เพราะต้องรองรับคนที่มาใช้งานได้จำนวนมาก ดังนั้นจึงไม่เน้นที่ความวิจิตรพิสดารด้านลวดลายไทยหรือช่อฟ้าใบระกาดังวัดทั่วไป เพราะจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สุงมากขึ้น ในระยะยาวเมื่อผุพังเสื่อมไปตามกาลจะหาคนที่มีฝีมือดีมาซ่อมจะหายากขึ้น และจะซ่อมแซมให้สวยดังเดิมก็ต้องใช้งบประมาณมาก
๒.ด้านงบประมาณ หากเอาขนาด(สเกล)สิ่งก่อสร้างที่วัดเราเทียบกับวัดทั่วไป แล้วเราเพิ่มการตกแต่งด้วยศิลปะ ลวดลายอันวิจิตรแบบวัดไทยทั่วไปอีก ภาระด้านค่าใช้จ่ายจะสูงมากขึ้นอีก ทั้งในขณะก่อสร้าง ค่าฝีมือตบแต่ง รวมถึงค่าบำรุงดูแลรักษาด้วย ดังนั้นวัดจึงเลือกที่จะสร้างแบบเรียบๆดีกว่า อันเป็นการประหยัดงบประมาณได้มาก
๓. ด้านสถาปัตยกรรม โบสถ์วัดพระธรรมกายใช้หลักสถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ประยุกต์ , ส่วนสภาธรรมกายสากล ธรรมกายเจดีย์ มหาวิหารหลวงปู่,มหาวิหารคุณยายใช้สถาปัตย์กรรมสมัยใหม่ ที่จะสะท้อนถึงความเรียบง่าย,ความทันสมัย, ความคิดสร้างสรรค์, เพราะต้องการให้สิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนความทันสมัยของพระพุทธศาสนาที่ไม่ว่าจะนานเท่าไหร่ แม้อีกพันปี ก็ยังทันสมัยเสมอ ไม่ตกยุค
๔. ด้านภูมิธรรม และพุทธธรรม เนื่องจากธรรมะมี ๒ระดับใหญ่ๆ คือ ๑.ธรรมะระดับโลกียะ ๒.ธรรมะระดับโลกุตระ การสร้างวัดให้วิจิตรสวยงามอย่างวัดทั่วประเทศ ส่วนใหญ่มักได้แนวคิดจากวิมานหรือสถาปัตย์กรรมของสวรรค์เป็นหลักในการสร้างของช่างในสมัยก่อน แต่สถาปัตยกรรมของวัดพระธรรมกายต้องการสะท้อนธรรมะในระดับโลกุตระ คือความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน แต่ทรงไว้ซึ่งความสะอาด สว่าง สงบ
๕. ด้านวัฒนธรรม เนื่องจากวัดส่วนใหญ่ในไทยได้ทำการก่อสร้างอย่างสวยงามมากมาย และทรงไว้ซึ่งสถาปัตย์กรรมความเป็นไทย ซึ่งถือว่าเป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ด้านความสวยงามของความเป็นวัดไทยที่ดีอยู่แล้วอย่างน่าสรรเสริญยิ่ง ส่วนวัดพระธรรมกายเป็นวัดที่มีวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลกเป็นหลัก ดังนั้นจึงมองภาพรวม โดยอาจต้องก้าวข้ามความติดยึดในวัฒนธรรมท้องถิ่นบางอย่างไว้ เพราะเราไม่ได้ต้องการเผยแผ่วัฒนธรรมไทยเป็นหลักแต่เรากำลังเผยแผ่พุทธธรรมเป็นหลัก จึงต้องการสื่ออกมาในลักษณะความเป็นสากล ไม่เน้นที่วัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ทุกชาติก็สามารถที่จะเข้าถึงได้ รับได้ โดยไม่ต้องกังวลว่ากำลังรับวัฒนธรรมไทยมาแทนวัฒนธรรมของชาติตน และอีกประการคือเรากำลังใช้หลักการเผยแผ่วัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งที่ก้าวข้ามความเป็นเผ่าพันธุ์ หรือความเป็นชาติใดชาติหนึ่ง โดยผ่าน "วัฒนธรรมชาวพุทธ"ที่ดีงามแทน นั่นคือ ความสะอาด สว่าง สงบ และเรียบง่าย และความยิ้มแย้มแจ่มใส แต่ทรงไว้ซึ่งภูมิปัญญาอันลึกซึ่ง
ไฟล์แนบ
....อนุบาลฝันในฝันวิทยา แหล่งความรู้ที่ล้ำหน้ากว่าฮาร์วาร์ด....
#3
โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 09:12 AM
ได้ความรู้มากเลยครับ สาธุ สาธุ
#4
โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 12:35 PM
QUOTE
ทำไมที่วัดพระธรรมกายถึงไม่มี ช่อฟ้า
โดยส่วนตัว การยกช่อฟ้า ใบระกา เสมา ดูเป็นพิธีกรรมร่วมของพราหมณ์มากกว่า
QUOTE
ผมรู้สึกว่า ทั้งการจัดกิจกรรมและการสร้างวัด ออกจะตรงกันข้ามกับวัดอื่นๆในเมืองไทย เช่นที่อื่นเขาฝังลูกนิมิต แต่ที่นี่จะกลั่นแผ่นดิน
ผมมองว่ากิจกรรมไม่ได้ตรงข้ามวัดอื่น กลับสอดคล้องกันด้วยวัตถุประสงค์คือเป็น"บุญกิจกรรม หรือ บุญสัญจร" ให้สาธุชนได้ร่วมกันสร้างบุญใหญ่ เพียงแต่รูปแบบกิจกรรมเพื่อให้เข้าถึงวัตถุประสงค์นั้นอาจดูแตกต่างกัน
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#5
โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 12:55 PM
สิ่งก่อสร้างของวัดพระธรรมกาย
ล้วนถอดแบบมาจาก ณ ภายในที่สุดละเอียด
ล้วนถอดแบบมาจาก ณ ภายในที่สุดละเอียด
นำมอ ตี่ จ่าง อ้วง ผู่ สัก
#6
โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 01:09 PM
ขออนุโมธนาบุญกับคุณใสๆ ด้วยครับ ตอบได้ชัดเจนเป็นประเด็นๆ มากๆ
ขออนุญาตเสริมอีกเล็กน้อยนะครับ
จริงๆ แล้วพวกช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ กระดิ่ง เป็นศิลปะของไทย
ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ต่อเติมขึ้นนอกเหนือจากที่พุทธองค์ได้มีพุทธานุญาตไว้ครับ
โดยตามพุทธานุญาตแล้ว
ถ้ากล่าวๆ แบบคร่าวๆ
ได้ทรงกำหนดไว้ให้มีการประกาศเขตอุโบสถ (ที่เราเห็นใบโพธิ์บ้าง ดอกบัวบ้างนะครับ)
มีสองชั้น คือ ชั้นในและชั้นนอก
ซึ่งใต้ดินลงไปก็จะมีการฝังลูกนิมิตร (หลายท่านคงคุ้นเคยดีกับงานปิดทองฝังลูกนิมิตรของวัดต่างๆ)
ซึ่งฝังเอาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังเมื่อกาลเวลาผ่านไปอีกหลายร้อยปีทราบว่า
ถึงแม้ว่ากาลเวลาทำให้ศาสนสถานผุพังหายไป
แต่ใต้ดินยังมีลูกนิมิตรที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดมาก่อน
พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน
อย่างในอยุธยาหากมีการขุดค้นพบลูกนิมิตรก็จะทราบว่าโบราณสถานนี้เคยเป็นวัดมาก่อน
เพราะจะเป็นวัดได้ต้องมีโบสถ์ครับ (ไม่งั้นเค้าเรียกแค่เป็นสำนักสงฆ์)
ตอนที่เราบวชก็ต้องมีบทวันทาเสมานะครับ
อีกส่วนหนึ่งที่ต้องมีคือหน้าบันโบสถ์นะครับ
ถ้าไปที่โบสถ์ของวัดพระธรรมกายจะเห็นเสาที่ปลายเป็นรูปดอกบัวตูมสำหรับเขตชั้นนอก
ซึ่งแสดงถึงการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็เป็นพืชต้นกัปล์ด้วยครับ
สำหรับเขตชั้นในจะฝังเอาไว้ใต้ดินเหมือนของวัดเบญจมบพิตร
จริงๆ แล้ว สัดส่วนของอุโบสถวัดพระธรรมกายก็จำลองแบบมาจากวัดเบญจมบพิตรครับ
ต่างกันเพียงไม่มีวิหารคตแล้วก็พวกช่อฟ้าใบระกา ฯลฯ
สำหรับเหตุผลว่าทำไมไม่มี
ผมว่าคุณใสๆ เขียนแจงไว้ได้ละเอียดดีมากแล้วครับ
โดยสรุปคือไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากพุทธานุญาตครับ เพียงแต่ต้องการความเรียบง่ายและพอเพียงเท่านั้น
ส่วนรายละเอียดมากกว่านี้คงต้องรบกวนไปถามผู้รู้นะครับ
ความรู้ผมก็หางอึ่งแค่นี้เอง
ขออนุโมธนาสาธุครับ.....
ขอเสริมอีกเล็กน้อยครับ
ลูกนิมิตรเท่าที่ผมทราบทางวัดพระธรรมกายก็ฝังไปแล้วตั้งแต่สร้างโบสถ์ครับ
วัดหนึ่งๆ ก็มีได้แค่โบสถ์เดียวครับ
ส่วนกลั่นแผ่นดิน ก็เพื่อสำหรับสถาปนาการสร้างอาคารใหม่เท่านั้นนะครับ
ขออนุโมะนาอีกรอบ
ขออนุญาตเสริมอีกเล็กน้อยนะครับ
จริงๆ แล้วพวกช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ กระดิ่ง เป็นศิลปะของไทย
ซึ่งบรรพบุรุษของเราได้ต่อเติมขึ้นนอกเหนือจากที่พุทธองค์ได้มีพุทธานุญาตไว้ครับ
โดยตามพุทธานุญาตแล้ว
ถ้ากล่าวๆ แบบคร่าวๆ
ได้ทรงกำหนดไว้ให้มีการประกาศเขตอุโบสถ (ที่เราเห็นใบโพธิ์บ้าง ดอกบัวบ้างนะครับ)
มีสองชั้น คือ ชั้นในและชั้นนอก
ซึ่งใต้ดินลงไปก็จะมีการฝังลูกนิมิตร (หลายท่านคงคุ้นเคยดีกับงานปิดทองฝังลูกนิมิตรของวัดต่างๆ)
ซึ่งฝังเอาไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังเมื่อกาลเวลาผ่านไปอีกหลายร้อยปีทราบว่า
ถึงแม้ว่ากาลเวลาทำให้ศาสนสถานผุพังหายไป
แต่ใต้ดินยังมีลูกนิมิตรที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดมาก่อน
พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน
อย่างในอยุธยาหากมีการขุดค้นพบลูกนิมิตรก็จะทราบว่าโบราณสถานนี้เคยเป็นวัดมาก่อน
เพราะจะเป็นวัดได้ต้องมีโบสถ์ครับ (ไม่งั้นเค้าเรียกแค่เป็นสำนักสงฆ์)
ตอนที่เราบวชก็ต้องมีบทวันทาเสมานะครับ
อีกส่วนหนึ่งที่ต้องมีคือหน้าบันโบสถ์นะครับ
ถ้าไปที่โบสถ์ของวัดพระธรรมกายจะเห็นเสาที่ปลายเป็นรูปดอกบัวตูมสำหรับเขตชั้นนอก
ซึ่งแสดงถึงการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็เป็นพืชต้นกัปล์ด้วยครับ
สำหรับเขตชั้นในจะฝังเอาไว้ใต้ดินเหมือนของวัดเบญจมบพิตร
จริงๆ แล้ว สัดส่วนของอุโบสถวัดพระธรรมกายก็จำลองแบบมาจากวัดเบญจมบพิตรครับ
ต่างกันเพียงไม่มีวิหารคตแล้วก็พวกช่อฟ้าใบระกา ฯลฯ
สำหรับเหตุผลว่าทำไมไม่มี
ผมว่าคุณใสๆ เขียนแจงไว้ได้ละเอียดดีมากแล้วครับ
โดยสรุปคือไม่ได้ผิดเพี้ยนไปจากพุทธานุญาตครับ เพียงแต่ต้องการความเรียบง่ายและพอเพียงเท่านั้น
ส่วนรายละเอียดมากกว่านี้คงต้องรบกวนไปถามผู้รู้นะครับ
ความรู้ผมก็หางอึ่งแค่นี้เอง
ขออนุโมธนาสาธุครับ.....
ขอเสริมอีกเล็กน้อยครับ
ลูกนิมิตรเท่าที่ผมทราบทางวัดพระธรรมกายก็ฝังไปแล้วตั้งแต่สร้างโบสถ์ครับ
วัดหนึ่งๆ ก็มีได้แค่โบสถ์เดียวครับ
ส่วนกลั่นแผ่นดิน ก็เพื่อสำหรับสถาปนาการสร้างอาคารใหม่เท่านั้นนะครับ
ขออนุโมะนาอีกรอบ
#7
โพสต์เมื่อ 25 November 2006 - 01:25 PM
1. ทำไมที่วัดพระธรรมกายถึงไม่มี ช่อฟ้า ใบระกา เสมา เหมือนอย่างที่อื่นเขา
ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นเรื่องของศิลป์ที่เราประดิดประดอยเข้าไปในตัวอาคาร ซึ่งเป็นความนิยมของแต่ละยุค แต่ละถิ่น
เสมาในแต่ละวัดพุทธทั้งในและต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างหรือขนาดที่เท่ากันเหมือนกัน คุณสาครไม่เคยไปกราบพระประธานในพระอุโบสถของวัดพระธรรมกายหรือครับ ถ้าเคยน่าจะเห็นเสมานะครับ เป็นเสาหินหัวบัวตรงมุมทั้งสี่รอบพระอุโบสถ ซึ่งมีถึงสองชั้นด้วย
2. วัดในสมัยพุทธกาลเขามีใหม
จากข้อมูลในพระไตรปิฏก และตามบันทึกของพระถังซำจั๋งกับนักโบราณคดีรุ่นหลังๆที่ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย สรุปว่า ไม่มีกล่าวถึงศิลป์ดังกล่าวในอินเดีย
3. ที่วัดเคยจัดงานฝังลูกนิมิตใหมครับ
เคย และงานสำคัญช่วงก่อตั้งวัดพระธรรมกาย สมเด็จย่าได้เสด็จมาเป็นประธานด้วย
4. ผมรู้สึกว่า ทั้งการจัดกิจกรรมและการสร้างวัด ออกจะตรงกันข้ามกับวัดอื่นๆในเมืองไทย เช่นที่อื่นเขาฝังลูกนิมิต แต่ที่นี่จะกลั่นแผ่นดิน
การใช้ความรู้สึกควรใช้ควบคู่กับปัญญาครับ ถ้าดูในส่วนสาระของกิจกรรมในวัดพุทธต่างๆไม่มีอะไรที่ตรงข้ามกันเลยครับ มีแต่ความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในแง่ที่เป็นการสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัยทั้งนั้น สำหรับการกลั่นแผ่นดิน ก็เป็นการกลั่นใจของผู้มาร่วมกิจกรรมนี่ครับ สอดคล้องกับหลักศึล สมาธิ ปัญญาของทุกวัดในเมืองไทย
ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นเรื่องของศิลป์ที่เราประดิดประดอยเข้าไปในตัวอาคาร ซึ่งเป็นความนิยมของแต่ละยุค แต่ละถิ่น
เสมาในแต่ละวัดพุทธทั้งในและต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างหรือขนาดที่เท่ากันเหมือนกัน คุณสาครไม่เคยไปกราบพระประธานในพระอุโบสถของวัดพระธรรมกายหรือครับ ถ้าเคยน่าจะเห็นเสมานะครับ เป็นเสาหินหัวบัวตรงมุมทั้งสี่รอบพระอุโบสถ ซึ่งมีถึงสองชั้นด้วย
2. วัดในสมัยพุทธกาลเขามีใหม
จากข้อมูลในพระไตรปิฏก และตามบันทึกของพระถังซำจั๋งกับนักโบราณคดีรุ่นหลังๆที่ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย สรุปว่า ไม่มีกล่าวถึงศิลป์ดังกล่าวในอินเดีย
3. ที่วัดเคยจัดงานฝังลูกนิมิตใหมครับ
เคย และงานสำคัญช่วงก่อตั้งวัดพระธรรมกาย สมเด็จย่าได้เสด็จมาเป็นประธานด้วย
4. ผมรู้สึกว่า ทั้งการจัดกิจกรรมและการสร้างวัด ออกจะตรงกันข้ามกับวัดอื่นๆในเมืองไทย เช่นที่อื่นเขาฝังลูกนิมิต แต่ที่นี่จะกลั่นแผ่นดิน
การใช้ความรู้สึกควรใช้ควบคู่กับปัญญาครับ ถ้าดูในส่วนสาระของกิจกรรมในวัดพุทธต่างๆไม่มีอะไรที่ตรงข้ามกันเลยครับ มีแต่ความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในแง่ที่เป็นการสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัยทั้งนั้น สำหรับการกลั่นแผ่นดิน ก็เป็นการกลั่นใจของผู้มาร่วมกิจกรรมนี่ครับ สอดคล้องกับหลักศึล สมาธิ ปัญญาของทุกวัดในเมืองไทย
ศีล..เป็นเบื้องต้น เป็นที่ตั้ง เป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดีทั้งหลาย และเป็นประธานแห่งธรรมทั้งปวง บุคคลใดชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้ว จะเป็นเหตุให้เว้นจากความทุจริต จิตจะร่าเริงแจ่มใส และเป็นท่า หยั่งลงมหาสมุทร คือ นิพพาน
#8
โพสต์เมื่อ 26 November 2006 - 07:21 AM
อืม..ในถานะผู้ตั้งกระทู้ ก็ขออนุโมทนาด้วยครับ รายละเอียดดีมากครับ จะได้หายสงสัย
#9
โพสต์เมื่อ 27 November 2006 - 06:54 PM
ช่อฟ้า ที่โบสถ์มี ครับ อยู่ด้สนหน้าเลย รูปทรงแบบอ่อนช่อย งดงาม
ที่เป็นดั่งคล้ายคนกำลัง พนมมือ ไหว้น่ะครับ
ที่เป็นดั่งคล้ายคนกำลัง พนมมือ ไหว้น่ะครับ