อ่านหนังสือ เล่มนี้ ได้ไหมครับ กำลังคิดเช่นกันว่าควรไม่ควร เหมาะสมหรือไม่
[url=http://www.
ผมขอเอาลิ้งค์ออกนะครับ แต่ว่าเป็นหนังสือเล่มหนึ่งแล้วกันครับ

อ่านหนังสือ เล่มนี้ ได้ไหมครับ กำลังคิดเช่น
เริ่มโดย cheterk, Nov 30 2006 01:45 PM
มี 10 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 30 November 2006 - 01:45 PM
#2
โพสต์เมื่อ 30 November 2006 - 02:09 PM
วิชชาธรรมกายเป็นของละเอียดลึกซึ้ง ไม่ใช่ของที่วางเกลื่อนกลาด ไม่ใช่ใครก็สามารถฝึกได้ ตำราที่เขียนขึ้นมาใหม่เองเหล่านั้น ก็เป็นตำราที่เขียนขึ้นมาเอง
คุณยายบอกว่า คนที่เขาเอาวิชชาของหลวงพ่อ(หลวงปู่สด) ไปพูดท่าโน้นท่านี้ เป็นเพราะว่าเขาไม่รู้จริง
คุณยายบอกว่า คนที่เขาเอาวิชชาของหลวงพ่อ(หลวงปู่สด) ไปพูดท่าโน้นท่านี้ เป็นเพราะว่าเขาไม่รู้จริง
"เกิดมาว่าจะมาหาแก้ว พบแล้วไม่กำจะเกิดมาทำไม
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
อ้ายที่อยากมันก็หลอก อ้ายที่หยอกมันก็ลวง ทำให้จิตเป็นห่วงเป็นใย.."
พระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร)
#3
โพสต์เมื่อ 30 November 2006 - 03:00 PM
เนื้อหาเป็นใบไม้นอกกำมือ ไม่เกื้อกูลการเจริญภาวนา
จึงไม่เหมาะสม ไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม
ควรฝึกพื้นฐานให้แน่นก่อน
จึงไม่เหมาะสม ไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม
ควรฝึกพื้นฐานให้แน่นก่อน
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC
#4
โพสต์เมื่อ 30 November 2006 - 03:17 PM
อ่านนี้ดีกว่าครับ http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=8329
และผมเห็นด้วยกับ ฟ้าร้าง และ WISH ครับ
และผมเห็นด้วยกับ ฟ้าร้าง และ WISH ครับ
ไฟล์แนบ
#5
โพสต์เมื่อ 30 November 2006 - 04:05 PM
ครับ ผมก็คิดแบบทุกวัน คือ สิ่งที่เลือกถูกต้องแล้ว เพราะผมไปเจอเหตุชักชวนมานะครับ เลยขอถามความเห็นของทุกท่านก่อน ตอนแรกก็เหมือนจะคล้อยตามเขาไปแล้ว ที่เขาแนะนำมานะครับ แต่มาคิดอีกที อืม เคยมีครูอาจารย์บอกว่าแบบนี้นั้น ไม่ใช่หนทางที่ควรดำเนินไป
พอมีสติคิดว่ามาเจริญรอยตามหลวงพ่อ ต่อไปดีกว่าครับ
พอมีสติคิดว่ามาเจริญรอยตามหลวงพ่อ ต่อไปดีกว่าครับ
#6
โพสต์เมื่อ 30 November 2006 - 04:59 PM
เรามาเพื่อพาเจ้าไป
"ด้วยใจกล้าอาสา พัฒนาไม่หยุดยั้ง"
น้ำฝนลูกพระธัมฯ
#7
โพสต์เมื่อ 30 November 2006 - 08:35 PM
ดีแล้ว เดี๋ยวพลัดหลงกันนา...
#8
โพสต์เมื่อ 01 December 2006 - 12:10 AM
ดูรูปหลวงพ่อแล้วซึ้งครับ ครั้งแรกด้วย สาธุครับ
#9
โพสต์เมื่อ 01 December 2006 - 01:32 AM
QUOTE
อ่านหนังสือ เล่มนี้ ได้ไหมครับ
ความเห็นส่วนตัว
หนังสือเป็นของกลางๆ ที่ทุกคนอ่านได้ครับ
เพราะหนังสือ เป็นช่องทางให้เราได้เรียนความรู้ ที่เรายังไม่รู้ ให้เราได้รู้
แต่ต้องคัดเลือกประเภทของหนังสือเหมือนกัน นะครับ
เพราะมีผลต่อการปลูกฝังระบบแนวความคิด ที่มีผลต่อ วิถีชีวิตของเรา
ทั้งด้านดีและด้านเสียหาย
และมีผลต่อชีวิตในปรโลกของตัวเราเองด้วย
โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน วัยหนุ่มสาว ที่ผ่านชีวิตมาน้อย
การวินิจฉัยการแยกแยะดี-ชั่ว ถูก-ผิด / ควร-ไม่ควร ยังไม่สมบูรณ์นัก
อาจถูกเนื้ือหาในหนังสือ ชักนำไปสู่มิจฉาทิฎฐิ
หรือหมกหมุ่นในเรื่องบันเทิงเริงรมย์เกินไปได้
เช่น หนังสือการ์ตูน แนวรุนแรง / เพศ / เกมส์ ,
หนังสือ นิยายฆาตกรรมด้วยวิธีโหด####ม วิตถาร
หนังสือ แนวความเชื่อ ลัทธิที่บัณฑิต นักปราชญ์ไม่สรรเสริญ เช่น
ลัทธิบูชายัญเพื่อองค์เทพเจ้า , แนวคอมมิวนิสต์ ฯล
แม้หนังสือธรรมะ ก็ยังควรเลือกให้เหมาะสม
เพราะ่ในหนังสือธรรมะ 1 เล่ม คนที่ยังไม่รู้แจ้งเห็นธรรม ก็ยากที่จะแยกแยะว่า
ข้อความไหนเป็น ธรรมะจากพุทธโอษฐ์
ข้อความไหนเป็น ธรรมะจากพุทธสาวก สาวิกา ที่เป็นพระอรหันต์ /อรหันตเถรี แล้ว
ข้อความไหนเป็น ธรรมะจากพระบรมโพธิสัตว์ ในพระชาติที่กำลังสั่งสมพุทธการกธรรม
ข้อความไหนเป็น ธรรมะจาก เทวดา ( เทวภาษิต )
ข้อความไหนเป็น ธรรมะจาก พระโบราณจารย์ ที่ยังเป็นพระเสขะบุคคล แต่งคัมภีร์ขึ้นเอง
และ
ข้อความไหนเป็น ธรรมะจากแนวความคิด ความเข้าใจ ของนักปฏิบัติธรรมที่เป็นผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นเอง
หนังสือธรรมะที่คุณกล่าวถึง ผมก็เคยอ่านมาแล้ว
โดยส่วนตัว ผมคิดว่า
เป็นหนังสือธรรมะ ที่เน้นแนวปฏิบัติ
เป็นหนังสือธรรมะ ที่มีเนื้อหาธรรมะ ในพระไตรปิฎกมากพอสมควร
แต่ก็มีหลายแห่งที่ เมื่อใช้หลักกาลามสูตร เทียบเคียงแล้ว ผมไม่เห็นด้วย
แต่ผมก็ไม่ได้ตัดสินว่า ผมถูกต้อง ใครผิดนะครับ
และ
เมื่อเทียบกับพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
ในหนังสือ ๖๙ กัณฑ์ , คู่มือ สมภาร ที่จัดทำโดย บุคคลยุคต้นวิชชา
หนังสือที่คุณกล่าวถึง มีหลายอย่างที่อยู่นอกเหนือคำสอนครูและี่ขัดแย้งกันกับ ต้นตำรับ
แต่ผมก็ไม่ได้ตัดสินว่า ผมถูกต้อง ใครผิดนะครับ
เพราะเรื่องปฏิเวธ หรือสามัญญผล ในการเจริญสมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน
เป็นเรื่อง ที่ผู้เข้าถึงสภาวะธรรมนั้นๆ จักเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วย ญาณทัสสนะของพระธรรมกายตนเอง
ผมเองเป็นเพียงผู้มาใหม่ในพระพุทธศาสนา-วิชชาธรรมกาย
ยังฝึกหยุด ให้ หยุด อย่างถูกส่วน อยู่เลย
จึงมิบังอาจ ไปวิจารณ์และตัดสินเรื่องเรื่องปฏิเวธ หรือสามัญญผล
ในการเจริญสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานของนักปฏิบัติธรรม ทั้งหลาย
ที่มีจริต อัธยาศัย มีวิธี แนวทางปฏิบัติ ที่แตกต่างกัน
แต่เนื่องจากเรามีครู สิ่งใดที่เราวินิจฉัยเองไม่ได้
ก็ควรอยู่ในโอวาทครูบาอาจารย์ เป็นเรื่องสมควรครับ
และในขณะเดียวกันเราต้องขยันปฏิบัติธรรม ให้เข้าถึงสภาวะธรรมที่มีอยู่ในตน
เพื่อความเห็นแจ้ง รู้แจ้ง ด้วยตนเอง
แล้วเรา็ก็จะแยกแยะได้เองว่า
ธรรมะที่บริสุทธิ์เป็นอย่างไร ครับ
ใจหยุดที่สุดแห่งบุญ มุ่งสู่ที่สุดแห่งธรรม
#10
โพสต์เมื่อ 01 December 2006 - 03:39 PM
สิ่งที่ผ่านหู ผ่านตา ก็จะผ่านใจ ใจก็จะซึมซับรับรู้ไว้และจะกรองจะปรุงแต่งข้อมูลขนาดไหน
ก็อยู่กับหลายองประกอบ เช่น จริต และปัญญา
ผมมีความเห็นว่า สิ่งใดที่นำมาซึ่งกุศลควรอ่าน ควรเห็น สิ่งใดที่ทำให้เกิดใจหมอง หรือทำให้เกิดมิจฉาฐิทิ
ก็ไม่ควรอ่านไม่ควรเห็น
ผมเคยมีประสบการณ์ อ่านหนังสือทีเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมจะเรียกว่าภาคพิศดารก็ได้
ก็ได้แต่บอกว่าไม่คุ้มเลย อย่าไปอ่านเลย มันทำให้ใจหมอง และเกิดความเห็นผิด)
ก็อยู่กับหลายองประกอบ เช่น จริต และปัญญา
ผมมีความเห็นว่า สิ่งใดที่นำมาซึ่งกุศลควรอ่าน ควรเห็น สิ่งใดที่ทำให้เกิดใจหมอง หรือทำให้เกิดมิจฉาฐิทิ
ก็ไม่ควรอ่านไม่ควรเห็น
ผมเคยมีประสบการณ์ อ่านหนังสือทีเป็นเรื่องการปฏิบัติธรรมจะเรียกว่าภาคพิศดารก็ได้
ก็ได้แต่บอกว่าไม่คุ้มเลย อย่าไปอ่านเลย มันทำให้ใจหมอง และเกิดความเห็นผิด)
#11
โพสต์เมื่อ 01 December 2006 - 07:31 PM
เด็กมัธยม สมควรอ่าน แคลคูลัส(ระดับมหาวิทยาลัย) หรือไม่ ผมเห็นว่า ไม่ควรครับ เพราะพื้นฐานความรู้ยังมีไม่พอ ขืนไปอ่าน ก็จะเกิดผลเป็น 2 อย่างคือ
1. เข้าใจวิชาแคลคูลัส ผิดเพี้ยน เพราะพื้นฐานความรู้มีไม่พอ พออ่านท่อนนั้นท่อนนี้ ก็ได้แต่จินตาการไปเอง ว่าคงเป็นแบบนั้นแบบนี้ ผลก็คือ สอบตกน่ะครับ
2. หมดกำลังใจเรียนคณิตศาสตร์ เพราะอ่านไม่รู้เรื่องเลย เนื่องจากความรู้ของเด็กมัธยม ย่อมยังอยู่ในระดับแค่เด็กมัธยม พอไปอ่านคณิตศาสตร์ชั้นสูง ก็ย่อมหมดกำลังใจเรียนต่อนั้นเอง
แต่ที่เจ้าของกระทู้ยกมานั้น ถ้าจะเปรียบเทียบต้องเปรียบเป็นว่า เด็กประถม สมควรไปอ่าน วิชาแคลคูลัสของผู้เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยหรือไม่
อ้าวทำไมผมไปเปรียบ ฆราวาสที่สอนวิชชาธรรมกายชั้นสูง ว่าเหมือน แคลคูลัสของผู้เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย อ้าว ก็เพราะว่า ถ้ามีระดับจิตถึงขั้นวิชชาชั้นสูงจริงๆ ล่ะก็ เขาจะตัดทางโลก ออกบวช หรือ เข้าวัดกันนะสิครับ ถ้ายังทำมาหากินเหมือนชาวบ้านทั่วๆไป แล้วตั้งตัวสอนชั้นสูง อย่างนั้น อาจจะเบี่ยงเบนแล้วล่ะครับ
1. เข้าใจวิชาแคลคูลัส ผิดเพี้ยน เพราะพื้นฐานความรู้มีไม่พอ พออ่านท่อนนั้นท่อนนี้ ก็ได้แต่จินตาการไปเอง ว่าคงเป็นแบบนั้นแบบนี้ ผลก็คือ สอบตกน่ะครับ
2. หมดกำลังใจเรียนคณิตศาสตร์ เพราะอ่านไม่รู้เรื่องเลย เนื่องจากความรู้ของเด็กมัธยม ย่อมยังอยู่ในระดับแค่เด็กมัธยม พอไปอ่านคณิตศาสตร์ชั้นสูง ก็ย่อมหมดกำลังใจเรียนต่อนั้นเอง
แต่ที่เจ้าของกระทู้ยกมานั้น ถ้าจะเปรียบเทียบต้องเปรียบเป็นว่า เด็กประถม สมควรไปอ่าน วิชาแคลคูลัสของผู้เรียนไม่จบมหาวิทยาลัยหรือไม่
อ้าวทำไมผมไปเปรียบ ฆราวาสที่สอนวิชชาธรรมกายชั้นสูง ว่าเหมือน แคลคูลัสของผู้เรียนไม่จบมหาวิทยาลัย อ้าว ก็เพราะว่า ถ้ามีระดับจิตถึงขั้นวิชชาชั้นสูงจริงๆ ล่ะก็ เขาจะตัดทางโลก ออกบวช หรือ เข้าวัดกันนะสิครับ ถ้ายังทำมาหากินเหมือนชาวบ้านทั่วๆไป แล้วตั้งตัวสอนชั้นสูง อย่างนั้น อาจจะเบี่ยงเบนแล้วล่ะครับ
ได้ดี เพราะมีกัลยาณมิตร