ณ ป่าประดู่ลาย

 

อานิสงส์ฉันมื้อเดียว
 
ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้น 
เอกาสะนิกังคะ* คือ ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตรหรือที่เรียกกันว่า
ฉันเอกา หมายถึง การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้น
                                                
             ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารหนเดียว เมื่อเราฉันอาหารมื้อเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย เบากาย มีกำลังและอยู่อย่างผาสุข

            ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารหนเดียวเถิด แม้พวกเธอฉันอาหารหนเดียว ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อยเบากาย มีกำลัง และอยู่อยาางผาสุข

                                                                               กกจูปมสูตร เล่ม ๘ หน้า ๒๕๖


ขยายความเพิ่มเติม

ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว  เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
 
ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว  เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร

    เอกาสะนิกังคะ คือ ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า ฉันเอกา หมายถึง การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้นโดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่าง อุกฤษฏ์หรืออย่างเข้มงวด จะรับภัตตาหารเฉพาะในช่วงก่อนที่จะลงมือฉันเท่านั้น   เมื่อเริ่มลงมือฉันภัตตาหารแล้ว จะรับได้แต่เภสัช หรือยารักษาโรค  เช่น เนยใส,  เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง  และน้ำอ้อย  เป็นต้น
 
        สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมเพิ่มได้ตราบเท่าที่ภัตตาหารในบาตรยังไม่ หมด เพื่อเป็นการรักษาศรัทธาญาติ โยม   แต่จะรับเท่าที่ตัวเองพอฉันหมด หรือพูดง่ายๆ ว่า ประมาณในการฉัน นั่นเองส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมเพิ่มได้ตราบเท่าที่ยังไม่ลุกจากอาสนะ

ฉันด้วยความไม่ติดในรสชาติอาหาร

ฉันด้วยความไม่ติดในรสชาติอาหาร

สำหรับวัตถุประสงค์ของการฉันมื้อเดียวเป็นไปเพื่อ..
 
1. กำจัดความอึดอัด หรือความแน่นท้อง อันเนื่องมาจากการฉันภัตตาหารมากเกินไปซึ่ง ก็จะทำให้ร่างกายเบาสบาย  กระปรี้กระเปร่า  สดชื่น  และสามารถบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสะดวกสบาย
2. เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย   เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมได้ในข้อวัตรปฏิบัติสำหรับการธุดงค์ : อานิสงส์การถือธุดงควัตร(ภาคพิเศษ) ตอนที่ 2


เป็นคนว่าง่ายกันเถอะ

           
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด เป็นคนเจียมตัวจัด เป็นคนเยือกเย็นจัดได้ก็เพียงชั่วเวลา ที่ยังไม่ได้กระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น

            ภิกษุทั้งหลาย เมื่อน้นแหละควรทราบว่า เธอเป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนเจียมตัว เป็นคนเยือกเย็นจริง

            ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกภิกษุรูปที่เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นคนว่าง่าย เพราะเหตุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารว่า เป็นคนว่าง่ายเลยข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นก็จะไม่เป็นคนว่าง่าย จะไม่ถึงความเป็นคนว่าง่ายได้
                                                                              กกจูปมสูตร เล่ม ๑๘ หน้า ๒๕๙

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นคนว่าง่าย
มงคลที่ 28 เป็นคนว่าง่าย - โทษของการเป็นผู้ว่ายาก
มงคลที่ 28 เป็นคนว่าง่าย - ทางมาแห่งคุณธรรม
มงคลที่ 28 เป็นคนว่าง่าย - มหาสมุทรแห่งคุณธรรม
มงคลที่ 28 เป็นคนว่าง่าย - การฝึกตนบนเส้นทางอริยะ

 
ทางถ้อยแห่งคำ
 
 ถ้อยคำอันควรกล่าว
 
ถ้อยคำอันควรกล่าว           
 
            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑. กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง
๓. กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว

            ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

            จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจะไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจะอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เราจะมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน แผ่เมตตาไปถึงบุคคลนั้นและเราจะแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมย์ของจิตนั้น

                                                                              กกจูปมสูตร เล่ม ๑๘ หน้า ๒๕

 

บทความนี้พิมพ์จาก http://www.dmc.tv/pages/แรงบันดาลใจ-จากพระไตรปิฎก/ทำไมจึงฉันมื้อเดียว-แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฏก.html
เมื่อ 24 พฤษภาคม 2567 14:28
สงวนลิขสิทธิ์ © 2547 - 2567 http://www.dmc.tv