วันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา ตอนที่ 1

เทศกาลเข้าพรรษา ฤดูการเข้าพรรษา คือตั้งแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ความสําคัญของวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสําคัญอย่างไร ประวัติวันเข้าพรรษาแบบย่อ https://dmc.tv/a15996

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พุทธประวัติ - วันสำคัญในพระพุทธศาสนา
[ 24 มิ.ย. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18258 ]
วันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา ตอนที่ 1
 
พระธรรมเทศนา โดย พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว) 
 
วันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา  
ฤดูกาลเข้าพรรษาคือช่วงเวลาแห่งการบรรลุธรรม
 
         ฤดูการเข้าพรรษา คือตั้งแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11  ฤดูกาลเข้าพรรษาคือช่วงเวลาแห่งความบริสุทธิ์ ฤดูกาลเข้าพรรษาคือช่วงเวลาแห่งการบรรลุธรรม ฤดูกาลเข้าพรรษาคือช่วงเวลาแห่งการแก้ไขปรับปรุงตนเอง มารู้จักช่วงเวลาอันทรงคุณค่าในเรื่องเล่าเข้าพรรษากันในวันนี้

เทศกาลเข้าพรรษา 


        ในสมัยพุทธกาลนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงกำหนดให้พระภิกษุจำพรรษาในช่วงหน้าฝน เป็นระยะเลา 3 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนแปด จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ค่ะ ตลอดระยะเวลา 3 เดือนนี้ พระภิกษุจะอยู่อาวาสเดียว ไม่จาริกไปในที่ต่างๆ ฤดูกาลเข้าพรรษานี้เปรียบเสมือนเป็นฤดูกาลแห่งการฝึกฝนอบรมตนเองของพระภิกษุสามเณร และเหล่าอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย

       พระภาวนาวิริยคุณ : ทุกๆ พรรษา ก็เป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่จะต้องตื่นตัวมาสั่งสมบุญ สั่งสมบารมี ให้กับตัวเองกัน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่ว่าต้องเตือนกันอยู่ทุกพรรษาหรือทุกปีไป ไม่เฉพาะแต่พวกเราในยุคนี้ สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ พระมงคลเทพมุนีท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่ท่านก็ให้ความสำคัญในเรื่องของการเร่งสร้างบารมีในฤดูเข้าพรรษาอย่างมาก ถึงกับลงมาเข้มงวดกวดขันด้วยตัวเอง ซึ่งเรื่องนี้มีเรื่องเล่ากันมาตลอด เมื่อใครนึกถึงหลวงปู่ แล้วก็นึกถึงวันเข้าพรรษา มีเรื่องเล่าตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงปู่มีชีวิตอยู่ว่า เข้าพรรษาแต่ละปี แต่ละพรรษาหลวงปู่จะประชุมทั้งพระทั้งเณรทั้งแม่ชี รวมทั้งญาติโยมที่มาวัดเป็นประจำ ท่านเรียกประชุมก่อนที่จะเข้าพรรษา แล้วก็ให้ไปทบทวนล่วงหน้าเลยว่า ปีนี้พรรษาที่จะถึง ซึ่งจะเป็นพรรษาของการสร้างบุญบารมีใหญ่ให้กับตัวเอง สิ่งที่จะต้องทำให้ได้ มีอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน
 
        1.ให้ไปทบทวนดูว่าตัวเราเองมีข้อบกพร่องหรือนิสัยไม่ดีอะไรบ้าง แล้วให้พยายามเลือกมาสักเพียงเรื่องเดียวไม่เอามาก เรื่องที่ตัวเองบกพร่อง เรื่องบกพร่องของตัวเอง จะมีกี่เรื่องก็ตามทีเถอะ เลือกเอามา 1 เรื่อง ที่คิดว่าสำคัญที่สุด ที่จะต้องรีบแก้ไข ซึ่งแต่ละคนก็ต้องรู้ด้วยตัวเอง เรื่องสำคัญที่สุดนั่นนะ ที่ต้องแก้ไข ไปเลือกเอามา แล้วตั้งจิตอธิษฐานด้วยว่าพรรษานี้ล่ะ ต้องแก้ให้หมดให้ได้ ถ้าจะว่าอีกทีหนึ่งก็คือ พยายามแก้ไขนิสัยตัวเองให้ได้นั่นเอง เพราะหลวงปู่อาศัยการที่พร่ำ เคี่ยวเข็ญ ลูกศิษย์ลูกหามามาก หลวงปู่ก็พบด้วยว่าในการที่จะแก้นิสัยให้กับใครก็ตามที ฤดูที่เหมาะที่สุดฤดูหนึ่งคือฤดูเข้าพรรษานี่เอง เพราะว่าไม่ร้อนนักไม่หนาวนัก แล้วก็ฝนฟ้าไม่อำนวยให้ไปที่ไหน อยู่บ้านน่ะดีที่สุด เหมือนกับหลวงพ่อหลวงพี่ อยู่วัดเคี่ยวเข็ญตัวเอง ฝึกตามพระธรรมวินัยดีที่สุด ในช่วงเข้าพรรษา เพราะฉะนั้นหลวงปู่ก็แนะนำให้แต่ละคน ลูกเอ้ย ไปสำรวจตรวจสอบตัวเอง เรามีนิสัยอะไร มีข้อประพฤติอะไร ที่มันไม่ค่อยจะเข้าท่า ที่มันไม่ค่อยเหมาะค่อยสม ไปเลือกเอามาเพียงหนึ่งเรื่องหนึ่งนิสัย แล้วพรรษานี้ตั้งจิตอธิษฐานเลยแก้ให้ตกให้ได้ ถ้าแก้ให้ตกได้ มันก็จะได้เป็นบุญใหญ่ของตัวเองในพรรษานี้ นี่ก็เรื่องหนึ่ง แล้วก็ถ้าใครคิดว่า ไอ้นิสัยที่ไม่ค่อยจะเข้าท่าของตัวเอง ที่สำคัญๆ คิดว่าหมดไปแล้ว ถ้าอย่างนั้นก็ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง
 
        2. อยากจะสร้างบารมีอะไรให้ยิ่งๆ ขึ้น ไปก็ไปเลือกมาอีกสักเรื่องหนึ่ง แล้วก็ตั้งใจทำให้ดีในพรรษานี้ ความสำคัญของการเข้าพรรษา ไม่ใช่มีเฉพาะแต่ของพระภิกษุ ชาวพุทธในอดีต อย่างที่เล่าให้ฟังนี่ ก็ให้ความสำคัญในการเข้าพรรษานี้ หรือไม่ใช่แค่เป็นพรรษาของการทำบุญทำทานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นพรรษาของการแก้ไขปรับปรุงตัวเองด้วย เป็นพรรษาของการสร้างสมบุญบารมีให้ตัวเองด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องทบทวนตัวเองอย่างสำคัญทีเดียว มีพระผู้ใหญ่ในวัดปากน้ำซึ่งทันหลวงปู่ ท่านได้เมตตาเล่าให้หลวงพ่อฟัง ว่ามีอยู่คราวหนึ่งเข้าพรรษาอย่างนี้แหละ แล้วหลวงปู่ก็ถามทั้งพระทั้งเณรไปทีละรูปๆ ว่า พรรษานี้ใครอธิษฐานจิตที่จะแก้ไข นิสัยที่ไม่เข้าท่าของตัวเองน่ะเรื่องอะไรบ้าง หลวงปู่ก็ไล่ไปทีละคนๆ ทีละรูปขออภัย ถามทีละรูปๆ ทั้งพระแล้วก็ทั้งเณรด้วย แล้วเมื่อแต่ละรูปเล่าให้หลวงปู่ฟัง หลวงปู่ก็จะอนุโมทนาสาธุ ท่ามกลางพระภิกษุสามเณรเต็มวัดเต็มโบสถ์นั่นแหละ
 
        ก็มีเรื่องเล่าอยู่เรื่องหนึ่ง ท่านเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า เมื่อหลวงปู่ท่านไล่ถามเรียงลำดับๆ ไปว่าพรรษานี้ใครอธิษฐานจิตว่าอย่างไรบ้าง เมื่อถึงสามเณรรูปหนึ่ง สามเณรก็ตอบว่าพรรษานี้ ท่านตอบอย่างกระมิดกระเมี้ยน พรรษานี้กระผม แล้วก็ติดคออยู่แค่นั้นน่ะ เหลียวซ้ายแลขวา แล้วก็ประกาศมา ผมจะเลิกแอบฉันข้าวเย็นครับ ก็เป็นความน่ารักของสามเณร ทำไม 1. กล้าเปิดเผย ความผิด ความพลาดของตัวเอง แล้วก็มีความเคารพในหลวงปู่ ตั้งใจที่จะแก้ไขตัวเอง ตามคำสอนของหลวงปู่ ตั้งใจที่จะปรับปรุงตัวเอง ให้สมกับเป็นพุทธบุตร นี่เณรน้อยนะ ก็ปรากฏว่าพรรคพวกเณรด้วยกัน ก็กลัวๆ เหมือนกันแหละว่า เดี๋ยวเถอะสามเณรคงโดนลงโทษแน่เลย หน๋อยแน่ะแอบไปฉันข้าวเย็น แล้วยังมาบอกท่ามกลางโบสถ์ต่อหน้าหลวงปู่ต่อหน้าที่ประชุม แต่ว่ากลับตรงกันข้าม หลวงปู่กลับยิ้มๆ เอ่อ แก้ไขตัวเองให้ได้นะ แทนที่จะตำหนิอะไรเพิ่ม เปล่าเลย หลวงปู่กลับให้กำลังใจ แล้วก็ยังแถมขยายความ อ้าวสามเณรทั้งหลายน่ะ ใครไปทำอะไรไว้นะ อธิษฐานแก้กันให้หมดเตี้ยน ภายในพรรษานี้เลยนะ เอาอย่างรูปนี่ๆ ก็เป็นการให้กำลังใจที่หลวงปู่ให้กับลูกพระลูกเณรแล้วก็ให้ช่องทาง ในการที่จะสร้างบุญสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่เว้นหน้าว่าเป็นพระเป็นเณร ไม่ว่าเป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ พอถึงเข้าพรรษาล่ะก็ หลวงปู่จะนำสิ่งเหล่านี้มาให้ลูกหลานของท่านได้ทบทวน
 
วันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา 
ฤดูกาลเข้าพรรษาคือช่วงเวลาแห่งความบริสุทธิ์
 

วันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา


        ฤดูกาลเข้าพรรษาเป็นฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดในการใช้เวลาฝึกฝนอบรมตนเอง ตามหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่ร้อนเกินไป และไม่หนาวเกินไป ซึ่งนอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งการแก้ไขข้อบกพร่องของเราแล้ว ยังเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเพิ่มพูนความรู้ความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไป อีกด้วยแต่การแก้ไขข้อบกพร่องของตนเองนั้น ควรจะมีแนวคิดและมุมมองอย่างไร

   พระภาวนาวิริยคุณ :  ก็มาถึงพวกเราน่ะนะ ก็ไม่ทราบล่ะ พรรษานี้ใครอธิษฐานแก้ไขตัวเองอย่างไรบ้าง หัวหน้าชั้นเอาล่ะ ไม่ถามล่ะว่าอะไร เพราะว่าส่งไปทั่วโลก เอาว่าอย่างนี้ ใครอธิษฐานจะแก้ไขตัวเองว่าอะไร จะแก้ไขเรื่องอะไรก็ตามทีเถอะ ก็ขอให้ตั้งใจทำให้สำเร็จให้ได้ ทำไมจึงต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพราะว่าถ้าทำสำเร็จได้ นอกจากจะแก้ไขนิสัยที่บกพร่องของเราได้แล้ว คือนั่นก็บุญใหญ่แล้ว ยังได้สัจจะบารมีติดตัวไปอีกด้วยเจ้าค่ะ ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องนำมาพินิจพิจารณา ทีนี้ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่ก็จะต้องรู้กันด้วยล่ะ ในเรื่องของการแก้ไขนิสัย เพราะหลวงพ่อเองก็เช่นกันนั่นแหละ ยังเหาะไม่ได้ ก็มีข้อบกพร่องเช่นเดียวกับพวกเราเหมือนกัน ก็ต้องแก้ไขตัวเองกันร่ำไป เพราะใครก็ตามที่ยังไม่หมดกิเลส ยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็ล้วนแล้วแต่มีข้อบกพร่องด้วยกันทั้งนั้นแหละ จำเป็นต้องแก้ไข แต่ว่าในการแก้ไขอยากจะให้ข้อคิด ข้อคิดซึ่งเกิดขึ้นกับตัวเอง แล้วก็ใครๆ ก็ไม่ควรจะดูเบาก็คือ

1. การที่ใครจะรู้ว่าตัวเองมีนิสัยไม่ดีอะไรบ้าง ไม่ง่ายนะ มันยากๆๆ ๆต้องว่าอย่างนี้ ยากอะไร

       1. ยากที่จะรู้ว่าตนเองมีนิสัยไม่ดีอะไรบ้าง ตกนี้ยากนะลูกนะ ไม่หมู ทำไม เอ่อมนุษย์เราไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่เห็นหน้าตัวเอง ฝากไว้ด้วย อย่าหลงว่าเคยเห็นหน้าตัวเองนะ ไอ้ที่เห็นน่ะ เงาหน้านะในกระจกนั่นน่ะ มันหรอกเรา ไอ้ที่เห็นน่ะซ้ายก็เป็นขวา ขวาก็เป็นซ้าย เพราะฉะนั้นที่เห็นในกระจกไม่ตรงตามความจริงหรอก ยิ่งถ่ายรูปออกมาน่ะ ยิ่งไม่จริง ทำไม ถ้าสวยก็แสดงว่าไม่เหมือน ถ้าเหมือนแสดงว่าไม่สวย เอาว่านี่ก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นใครที่ดูรูปถ่ายตัวเอง ยิ้มย่องผ่องใสว่าสวยเหลือเกิน ไม่จริงหรอก เพราะรูปที่ชัดที่สุด คือรูปที่เห็นในกระจกมันชัดกว่ารูปที่ถ่ายออกมา แต่ขณะนั้น รูปที่เห็นชัดที่สุดในกระจกนั้น ก็เป็นแค่เงาเท่านั้นเอง ยังไม่ใช่ตัวจริง เพราะฉะนั้นถ้าสวยก็แสดงว่าไม่เหมือน ถ้าเหมือนก็ไม่สวย ก็ฝากเอาไว้ เพราะไม่เห็นหน้าตัวเองนี่เอง เราจึงไม่เห็นนิสัยที่ไม่ดีของตัวเอง หรือเห็นก็ได้ยากๆ ๆ อันนี้เป็นข้อคิดข้อที่ 1
 
        2. ยิ่งกว่านั้น ตัวเองไม่เห็นหรอกว่านิสัยไม่ดีของตัวเองเป็นอย่างไง งั้นไปหาคนมาบอกให้เราที จะหาใครมาบอกให้น่ะ ไม่ง่ายนะ เพราะใครจะเข้าใจเราเอง ยิ่งกว่าตัวเราหาไม่ง่ายหรอก เพราะฉะนั้นจะหาใครมาบอกให้ ว่าเรามีนิสัยไม่ดีอย่างไง ก็ต้องบอกว่ามันยากๆ ๆๆ ไม่ใช่ยากนิดหน่อย มันยากจริงๆ เอาล่ะ อุตส่าห์ไปหาใครมาบอกให้ ว่าตัวเองน่ะ นิสัยอะไร หาเจอแล้ว แต่อีกล่ะนะ จะเตือน
 
       3. ประการที่สามมีข้อคิดฝากอีก เขาเตือนแล้ว เตือนแล้วจะเชื่อก็ยากๆ ๆ ไม่ใช่ยากนิดหน่อย ทำไมจึงว่าจะเชื่อก็ยาก ทั้งๆ ที่เขาเตือนแล้วน่ะ ก็ไปถามตัวเองว่าเคยเถียงแม่บ้างไหมล่ะ เคยไหม เคยเถียงคุณพ่อไหม เคยเถียงครูไหม นั่นแหละเตือนแล้วก็ยากๆ ๆ ๆ ที่จะเชื่อ ดูเอาไว้นี่ใครตัวเราเองแต่ละคน นั่งอยู่นี่นะไม่เว้นกระทั่งหลวงพ่อเองเหมือนกัน เราเจอปัญหานี้ ยังไม่พอ เอ้า เชื่อแล้วว่าเรานิสัยไม่ดีอย่างนี้ๆ ก็พบอีก
 
        4.จะหาวิธีแก้นั่นนะ ก็ยากๆ ๆ ๆ ยากจริงๆ เพราะอะไรจึงหาวิธีแก้ได้ยาก ถ้าไม่รู้ที่มาจริงๆ แก้ยาก มันต้องรู้ที่มา ถ้าไม่รู้ที่มายากจะแก้ ครั้นพอรู้ที่มาแล้วก็ต้องหาวิธีที่ตรงกันข้ามกับที่มาของนิสัยไม่ดี ให้เจอแล้วจึงเอามากำหนด แก้กัน แม้ขณะหาวิธีแก้เจอแล้ว ยังไม่จบแค่นี้ เจอแล้วนะหาวิธีแก้เจอแล้ว ยังๆ ไม่จบ ทำไมรู้ ได้กับตัวเองมาก่อน เป็นยังไง  ยังมีประการที่ห้ามาอีก หาวิธีแก้ได้แล้ว
 
        5.จะมีกำลังใจแก้ไขนิสัยก็ยากๆ ๆ ๆ ถ้ากำลังใจจะแก้ไขนิสัยไม่ดีมันเกิดขึ้นง่าย คงไม่มีเจ้าขี้ยาติดบุหรี่กันเต็มบ้านเต็มเมือง คงไม่มีเจ้าขี้เมาหรือเจ้าเป็น แอลกอฮอล์ ลิซึ่ม กันเต็มบ้านเต็มเมือง แสดงว่าการที่จะมีกำลังใจแก้ไขอะไร มันไม่ง่ายนะ มันต้องใช้กำลังใจกันมากทีเดียว เพราะอะไร มันเคยมันคุ้นมันชินมันติดมันฝังใจเข้าไปแล้ว ผ้าเสื้อที่เราสวมใส่อยู่นี่ พอมันเปื้อนอะไรเข้าไปลึกๆ แล้ว ซักไปเถอะ อย่าว่าแต่หมดผงซักฟอกไปเป็นกิโลๆ นะ ซักกันจนผ้าขาดแล้วมันยังไม่ออกเลยนะ เพราะฉะนั้นการที่จะมีกำลังใจจะแก้ไขนิสัยที่ไม่เหมาะไม่ควรของเรานี่ โดยเฉพาะนิสัยสำคัญๆ ซะด้วยสิที่จะต้องเลือกมานี่ มันยากๆ ๆ จริงๆ เพราะฉะนั้นการที่เณรมีกำลังจะแก้แล้วพรรษานี้  จะเลิกแอบฉันข้าวเย็น โฮ้ย หลวงปู่ ท่านโมทนาเลย ท่านไม่ติสักคำหนึ่งนะ ท่านกลับให้กำลังจะนะ อันนี้เป็นข้อคิด ฝากเอาไว้

วันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา
ฤดูกาลเข้าพรรษาเป็นฤดูกาลที่เหมาะสมที่สุดในการใช้เวลาฝึกฝนอบรมตนเอง

วันเข้าพรรษา เรื่องเล่าเข้าพรรษา

         การที่เราจะรู้ว่าเรามีนิสัยไม่ดีอะไรบ้างก็เป็นเรื่องยาก หาคนมาบอกก็ยาก และมีคนมาบอกมาเตือนแล้วก็ยากที่จะเชื่อ แม้เชื่อแล้วก็ยากที่จะหาวิธีการแก้ไขได้ แม้หาวิธีแก้ไขได้แล้ว ก็ยากที่จะมีกำลังใจแก้ นี่เป็นความยากในการแก้ไขข้อบกพร่องของเรามาดูกันว่าถ้ามีกำลังใจแก้ไขข้อบกพร่องแล้ว จะมีอะไรที่ทำให้ยากเพิ่มขึ้นมาอีกบ้าง

พระภาวนาวิริยคุณ : มีกำลังใจแก้ว่ายากแล้ว ไม่แน่ว่าจะแก้ได้นะลูกนะ ยังมีข้อแม้อีก

        6. จะมีกำลังกายแก้ไขนิสัยไม่ดีของเราก็ยากๆ ๆ ๆ อีกนั่นแหละ ตรงนี้เราคงเคยได้ยินคำว่า ลงแดง ทำไม เอ่อ เราก็เคยได้ยินน่ะเมื่อก่อนนี้ เวลาเขาจะปิดโรงฝิ่นในอดีต เมืองไทยเตยมีโรงฝิ่นกันเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมือง
 
          นายกรัฐมนตรีคนสำคัญของประเทศไทยคือ นายก จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศเลิกโรงฝิ่น เลิกสูบฝิ่น ห้ามสูบฝิ่น ในประเทศไทย ถึงกับเอาฝิ่นเอาอุปกรณ์การสูบฝิ่น เอาบ้องฝิ่นมารวมกันที่สนามหลวง แล้วก็เผากันเป็นการใหญ่ จะไม่ให้มีฝิ่น ไม่ให้มียาเสพติด ในแผ่นดินไทย ก็ปรากฎว่า เอ่อ มีเจ้าขี้ฝิ่นนั่นน่ะ ติดคนฝิ่นมันลงแดง คือป่วยตาย ลงแดงตาย ป่วยตายกัน ไม่เฉพาะพวกเจ้าคนติดฝิ่นเท่านั้นนะ เจ้าจิ้งจกที่มันเกาะอยู่ตามผนังน่ะ ปรากฎว่าไม่กี่วันแล้ว ตกมาตายเกลื่อนเลย อ้อ จิ้งจกก็ติดฝิ่นเหมือนกันจ้ะ ทำเป็นเล่นไปนะ จิ้งจกก็ติดฝิ่น ของเราก็เจอมาเมื่อพรรษาที่แล้วนะ ก็มีคนที่เขาติดสุราอย่างหนัก ก็ตั้งใจว่าจะมาบวชพอรู้ว่ามีการบวชเมื่อพรรษาที่แล้ว ก็ตั้งใจเลยจะมาบวช บอกว่าพยายามเลิกบวชมาหลายครั้งแล้วไม่สำเร็จสักที ครั้งนี้ตายเป็นตาย ต้องเลิกให้ได้ ก็มาสมัครบวชแต่ว่ายังๆ ไม่ถึงจะเข้ารับการอบรมก่อนบวช มาก่อนหน้าประมาณ 5-6 วัน ก็เลย งั้นยังไม่ถึงวันเข้าเปิดอบรมก็ไม่เป็นไร ขออยู่ช่วยเตรียมสถานที่ก็แล้วกัน ช่วยเตรียมสถานที่ได้ 3 วัน ปรากฏว่าลงแดงตายฉิบ กำลังกายไม่ให้ เมื่อต้องอดเมื่อต้องฝืนก็เลยตายเพราะการที่อดเหล้าของเขานั่นเอง แต่ว่าเอาเถอะตายอีตอนที่พยายามจะแก้ไขตัวเอง ใจเป็นกุศล เจ้าหมอนี่ถึงตายก็ไปดี ก็เอาล่ะ กำลังใจชนิดที่ตายก็ให้มันตายไปเถอะฉันจะแก้ไขตัวเองให้ได้ แม้ยังไม่ได้แก้ไขมันตายซะก่อน ขนาดนั้นกุศลจิตดวงนี้นี่ ก็ถือว่าเป็นกุศลจิตที่แข็งแกร่งมากๆ น่าอนุโมทนาอย่างยิ่งเลย หลวงพ่อทราบข่าวเข้า เอ่อ ก็พลอยปลื้มใจกับแก ถึงแม้แกตาย ปลื้มใจว่าเอาเถอะอย่างไงๆ ด้วยจิตดวงนี้ของเจ้า เจ้าไปรอดทีเดียว ทีนี้จะมีกำลังกาย ที่จะแก้ไขนิสัยที่ไม่ของตัวเองก็ยากๆ ๆ ๆ มีกำลังกายที่จะแก้แล้ว กำลังใจก็มีแล้ว วิธีที่จะแก้ก็รู้แล้ว แต่มันไม่จบง่ายๆ ทำไม
 
        7. มีประการที่ 7 ตามมาอีก ต้องบอกก่อนนะ ต้องได้โอกาสแก้ จึงจะแก้ได้ แต่มันก็ยากๆๆ ทำไม ไม่ต้องมาก นี่เจอแล้ว ก็เมื่อพรรษาที่แล้ว แม้พรรษานี้ก็มีกระเส็นกระสายมาเหมือนกัน ทำไม อ่อ ก็บางคนไม่ต้องมากเคยติดคุกติดตะรางมานี้ ออกจากคุกแล้ว เห็นโทษแล้วว่าการเป็นคนเจ้าโทสะไม่ดี หรือความประมาทด้านนั้นด้านนี้ไม่ดีต้องเลิกแล้วเรา แต่พอกลับถึงบ้านเท่านั้น แม้แต่ภรรยาไม่ยากต้อนรับ บอก ไอ้เจ้าสามีเป็นขี้คุก หมู่ญาติไม่ต้อนรับ บอกว่าเป็นขี้คุก ไปสมัครงานที่ไหนเขาก็ระแวง เขาบอกเอ็งขี้คุก หมดโอกาสจะแก้ ตรงนี้ก็ต้องระมัดระวัง มีญาติๆ ที่กำลังจะทะล่ำอะไรไป หรือว่ามีนิสัยที่ไม่เหมาะไม่ควรอะไร รีบช่วยเบรกๆ ซะ รีบช่วยเตือน รีบช่วยแก้ซะ ถ้ามันพลาดถึงกับไปติดคุกติดตะรางเข้าแล้วก็ มันแทบจะหาโอกาสแก้ตัวนี่ มันยากจริงๆ อย่าว่าแต่ไปจะถึงกับติดคุกติดตะราง งวดนี้ก็มีบางคนมาสมัครบวช แต่เจ้าประคุณเอ้ยมันเกิดอะไรขึ้นเนี่ย สักเปรอะไปเต็มตัวหมด บางคนสักกระทั่งหน้าเลย ไม่รู้นึกอย่างไง สักหน้าดำมาเชียว อย่างนี้ขืนให้บวชออกไปบิณฑบาต เด็กคงวิ่งร้องไห้ตายเลย ก็เลยต้องพักเอาไว้ ขืนให้บวชนี่มันจะยุ่งใหญ่ นี่เป็นตัวอย่าง ผิดพลาดอะไรไปแล้วเนี่ย ถ้าทะล่ำไปมากเข้า แม้มีกำลังกายมีกำลังใจจะแก้ แต่โอกาสจะแก้หายากนัก เพราะฉะนั้นใครรู้ว่าตัวเองมีนิสัยอะไรไม่ค่อยจะดี แค่มีแววว่าไม่ค่อยจะดีเท่านั้นน่ะ รีบน่ะ รีบๆ แก้ซะ แก้ซะพรรษานี่ นี่ก็เป็นตัวอย่างกับพวกเรา แถมอีกนิดนึง นิสัยที่ไม่ดีที่มันหยั่งรากลึกน่ะ วันสองวันนี่แก้ไม่ตกหรอก มันต้องหักดิบกันขนานใหญ่ แล้วก็ถ้าว่าไปแล้ว ต้องมีคนเชียร์ด้วยยิ่งดี ถ้าขาดคนเชียร์ไม่ได้ๆ ต้องมีคนเชียร์ คนให้กำลังใจด้วย อย่างนี้พอไปกันได้เชียว เพราะฉะนั้นก็ฝากเอาไว้ก็แล้วกันว่า กว่าจะแก้ได้
 
        ประการที่ 8 ก็แล้วกัน กว่าจะแก้ได้ ต้องใช้เวลา แล้วก็สิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย ไม่งั้นมันยาก พรรษานี้เข้าพรรษาเอื้ออำนวย เพราะว่าหันไปรอบข้างพี่ ป้า น้า อา เขาก็ตั้งใจสร้างบุญสร้างบารมี เขาก็ตั้งใจแก้ไขตัวของเขา ยังไม่พอ ปีนี้พระเดชพระคุณหลวงพ่อครูไม่ใหญ่ของพวกเรา ก็ชักชวนเชื้อเชิญตั้งหลายหน่วยงานของรัฐ หลายองค์กร หลายวัดเป็นร้อยเป็นพันวัดในประเทศไทย มาช่วยกัน จัดบวชแสนรูปทั่วประเทศ การที่พระมาบวชเพื่อสร้างบุญสร้างบารมีของท่าน ทั่วประเทศเป็นแสนอย่างนี้ ก็เป็นกำลังใจเป็นบรรยากาศที่เอื้ออำนวยให้กันและกันอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นก็ ใครพรรษานี้ที่ยังไม่ได้อธิษฐานแก้ไขตัวเองว่าอย่างไงล่ะก็นะ ยังมีเวลาเหลืออยู่ เพราะฉะนั้นถ้าใครยังไม่ตั้งจิตอธิษฐานที่จะแก้ไขตัวเองเรื่องอะไรล่ะก็ รีบซะ ยังพอมีเวลาอยู่ แล้วจะได้ นอกจากแก้ไขนิสัย ที่ไม่เหมาะไม่ควรนั้นๆ ได้แล้ว ก็ยังจะเป็นสัจจะบารมีติดตัวไปอีกด้วย อย่างที่ว่ามา

         กว่าจะแก้ไขข้อบกพร่องของตนได้สักหนึ่งเรื่อง ก็ต้องใช้เวลาอาศัยสิ่งแวดล้อมและผู้คนที่รอบข้างคอยให้กำลังใจ ดังนั้นบุคคลใดก็แล้วแต่ แก้ไขข้อบกพร่องของตนได้แม้เพียงหนึ่งเรื่อง ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง
 
รับชมวิดีโอเรื่องเล่าเข้าพรรษา
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 

http://goo.gl/aXcIh


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันวิสาขบูชา 2566 ประวัติวันวิสาขบูชา
      วันมหาปูชนียาจารย์ 3 กุมภาพันธ์ของทุกปี
      วันออกพรรษา 2566 ประวัติวันออกพรรษา วันออกพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันสมาธิโลก 2566 World Meditation Day
      วันอาสาฬหบูชา 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญและธรรมเนียมปฏิบัติ
      วันเข้าพรรษา 2566 ประวัติวันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษามีความสำคัญอย่างไร
      วันอัฏฐมีบูชา ประวัติความสำคัญธรรมเนียมปฏิบัติในวันอัฏฐมีบูชา
      วันคุ้มครองโลก EarthDay ประวัติและความเป็นมาของวันคุ้มครองโลก
      วันครูผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย
      วันมหาปวารณา วันที่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
      ทอดกฐินทุกวัดทั่วไทย สร้างบุญใหญ่ให้แผ่นดิน
      เวียนเทียนวันวิสาขบูชา
      ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related