สมาธิ ตอนที่ 3 อธิบายเรื่องการหลับตาและการวางใจ

การนั่งสมาธิ อธิบายเรื่องการหลับตาและการวางใจในการทำสมาธิ การนั่งสมาธินั้น ต้องประคองใจอย่างใจเย็นๆ สบายๆ และมีสติ คือ รู้ตัวอย่างเต็มที่ เป็นความสบายผ่อนคลายที่คุณยังตื่นมีสติร้อยเปอร์เซนต์ https://dmc.tv/a15213

บทความธรรมะ Dhamma Articles > สมาธิ
[ 22 ก.พ. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18294 ]
สมาธิ ตอนที่ 3 อธิบายเรื่องการหลับตาและการวางใจ

การนั่งสมาธิ

สมาธิ การนั่งสมาธิ   การนั่งสมาธินั้น ต้องประคองใจอย่างใจเย็นๆ สบายๆ และมีสติ
คือ รู้ตัวอย่างเต็มที่ เป็นความสบายผ่อนคลายที่คุณยังตื่นมีสติร้อยเปอร์เซนต์
 
 
      เราได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องว่าก่อนที่เราจะนั่งสมาธินั่น เราต้องเตรียมสถานที่ที่เงียบสงบ ท่านั่งที่รู้สึกสบายๆ หลับตาเบาๆ และรวมใจไว้ที่กลางท้อง วันนี้ เราจะมาศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง การหลับตา และการวางใจกัน

     หลังจากที่คุณได้นั่งสมาธิปรับร่างกายให้ถูกส่วน ให้เลือดลมในตัวเดินได้สะดวก เพื่อจะได้นั่งได้นานๆ ไม่ปวดไม่เมื่อยง่าย ให้คุณหลับตาเบาๆ คล้ายตอนที่เราใกล้จะหลับ สักเกตว่าตอนที่เราใกล้จะหลับนั้น เราจะไม่ได้บีบเปลือกตา หรือกดลูกนัยตาเลย เปลือกตาจะปิดไม่สนิทนัก เปลือกตาจะปิดประมาณ 80-90% หรือปรือๆตา พอให้ขนตาชนกัน

      จริงๆ และที่ให้หลับตาเบาๆก็เพราะว่า ถ้าหลับตาแรง จะทำให้รู้สึกตึงที่ชมับ หน้าผาก บางครั้งอาจจะเผลอกดลูกตาหรือบีบเปลือกตาก็จะทำให้ปวดตา และบางครั้งเราอาจจะเผลอลุ้นอยากให้ใจสงบเร็วๆ จนเผลอกดลูกนัยตา ก็จะได้เป็นที่สังเกตที่เปลือกตาของเราว่า เราไเผลอลุ้นหรือว่าเร่งให้ใจสงบหรือไม่

     ดังนั้นให้หลับตาของเราเบาๆ หลังจากหลับตาแล้ว ก็ให้ผ่อนคลายร่างกาย และปลดปล่อยวางลืมเรื่องราวภายนอกทุกอย่าง แล้วนำใจกลับมาหยุดที่กลางท้องอย่างเบาๆ สบายๆ เพียงแค่สัมผัสความรู้สึกไปที่กลางท้อง คุณอาจจะลองตามลมหายใจจากปลายจมูก ลำคอ หลอดลม ไปจนถึงกลางท้อง ว่าลมหายใจเข้าของเรานั้น ไปสุดที่ตรงไหน คุณก็วางใจไว้ตรงนั้นก็ได้ หรือคุณรู้สกว่า สบายที่ตรงไหนจะวางใจไว้ตรงนั้นก่อนก็ได้ ต่อจากนี้ผมจะเรียกกลางท้องตรงที่คุณวางใจว่า ศูนย์กลางกาย เพราะเป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกลางของร่างกายพอดี ซึ่งเราจะได้ศึกษาเรื่องศูนย์กลางกายกันในบทต่อๆไป

     ในการวางใจนั้นให้ทำอย่างเบาๆ สบายๆ แค่เพียงสัมผัส เหมือนขนนกที่ล่องลอยลงไปสัมผัสที่ผิวน้ำ ผิวน้ำแทบไม่มีอาการกระเพื่อมเลย เราก็สัมผัสใจของเราไปเบาๆ ทำใจให้เย็นๆ โดยไม่ต้องคิดอะไร หากมีความคิดใดๆเกิดขึ้นมา คุณก็ไม่ต้องสนใจความคิดนั้น แต่ถ้าคุณอดจะไปคิดไม่ได้ ก็ให้ใช้คำภาวนา คือการท่องซ้ำๆไปซ้ำมา หรือ ภาวนาด้วยเสียง ว่า สัมมา อะระหัง เพื่อให้ใจนั้นมาเกาะเกี่ยวกับคำภาวนาแทน โดยให้เสียงของคำภาวนาดังออกมาจากศูนย์กลางกาย อย่างเบาๆ สบายๆ สัมมา อะระหัง สัมมา อะระหัง หากคุณไม่คุ้นคำว่า สัมมา อะระหัง คุณจะใช้คำภาวนาอะไรก็ได้ ที่ไม่ได้เป็นอกุศล คือ ไม่ทำให้ใจของคุณเศร้าหมอง เช่น ใจเย็นๆ สบายๆ ใจเย็นๆ สบายๆ อย่างนี้ก็ได้
 

7 bases
ฐานของใจทั้ง 7 ฐาน

     วัตถุประสงค์ของการภาวนา ก็เพื่อให้ใจที่วอกแวก กลับมาอยู่กับคำภาวนา แต่ตำแหน่งที่วางใจยังเป็นตำแหน่งเดิม คือ ศูนย์กลางกาย

      หรือในขณะที่กำลังทำสมาธิอยู่ หากมีภาพอะไรเกิดขึ้นในใจ ก็ไม่ต้องไปสนใจภาพนั้น เป็นเพียงผู้ดูเฉยๆ ดูภาพที่เกิดขึ้นเฉยๆ ที่กลางท้องของเรา  ใจยังอยู่กลางท้องที่ศูนย์กลางกายอย่างใจเย็นๆ มีภาพอะไรก็ไม่สนใจภาพที่เกิดขึ้นในใจ แต่ถ้าหากคุณอดที่จะปล่อยใจไปตามภาพนั้นไม่ได้ คุณก็สามารถที่จะนึกภาพซ้ำ หรือ ภาวนาด้วยภาพ เป็นภาพดวงอาทิตย์ หรือ ดวงแก้วใสๆ หรือแสงสว่าง เหมือนเรายืนอยู่กลางแจ้งตอนเที่ยงแล้วเงยหน้าขึ้นไปมองดวงอาทิตย์อย่างนั้น นึกเป็นดวงกลมๆ ให้นึกไว้ที่ศูนย์กลางกาย
 อย่างเบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ ดูดวงอาทิตย์ไปอย่างช้าๆ ให้ต่อเนื่องนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากภาพดวงอาทิตย์หายไป ก็คุณสามารถที่จะเริ่มต้นนึกภาพดวงอาทิตย์ใหม่ได้

      คุณยังสามารถที่จะนึกทั้งภาพดวงอาทิตย์และใช้คำภาวนาไปด้วยได้ในเวลาเดียวกัน คือ ทำทั้งภาวนาเป็นภาพ และ ภาวนาเป็นเสียง แต่หากคุณรู้สึกว่า ใจคุณเริ่มนิ่งๆ สบายๆ เย็นๆ อยากอยู่เฉยๆ ได้โดยไม่นึกภาพ หรือไม่ต้องท่องคำภาวนาใดๆ คุณก็สามารถวางใจไว้นิ่งๆ ที่กลางท้องที่ศูนย์กลางกายของคุณเฉยๆ ก็ได้ โดยให้รักษาความเฉย ความสบาย ความใจเย็น เท่าที่คุณทำได้ให้นานที่สุด

     ที่สำคัญมากก็คือ คุณต้องใจเย็นๆ และรักษาสภาวะที่คุณทำได้นั้น ให้ต่อเนื่องเท่าที่คุณสามารถทำได้ โดยคุณต้อง ไม่รีบ ไม่เร่ง ไม่ลุ้น ไม่จ้อง ไม่เพ่ง ไม่บีบ ไม่กด บางครั้งคุณนั่งไปแล้วคุณวางใจได้นิ่งในระดับหนึ่ง คุณเกิดภาพฟุ้งซ่านขึ้นมาในใจ เป็นเรื่องที่คุณไม่ชอบใจ คุณเกิดความคิดว่า อยากให้ภาพนั้นออกไปจากใจเร็วๆ คุณเลยเผลอกดลูกนัยตา บีบ เร่ง ให้ใจกลับมาว่างๆ สบายๆ เหมือนเดิม การทำอย่างนี้จะทำให้คุณเครียด ตึงเปล่าๆ วิธีการหากเจอความคิดที่เกิดขึ้นมาเป็นเรื่องราวที่ไม่น่าพอใจ หรือน่าพอใจก็ตาม หาคุณมีอารมณ์ร่วมจะพอใจ ดีใจ เสียใจ โกรธเคือง หงุดหงิด อยากได้ ไม่อยากได้ เป็นต้น ก็จะทำให้ใจของคุณนั้นถอนออกจากสมาธิ

ดังนั้น คุณต้องใจเย็นๆ สบายๆ ค่อยๆ ทำ โดย

    อย่าเผลอเกร็ง ตึง กด ทางร่างกาย
    อย่าเผลอฟุ้งปล่อยใจไปตามเรื่องราวที่เกิดขึ้น ให้ทำไม่ต้องสนใจเรื่องราวเหล่านั้น
    อย่าเผลอใจร้อน เร่ง รีบ อยากให้ใจนิ่ง หรืออยากให้ใจผ่อนคลายสบายเร็วๆ
    อย่าเผลอวางใจจนสบายเกินไป สบายจนคุณเผลอสติ และหลับไป

     เพราะการเผลอเหล่านี้ จะทำให้ใจของคุณถอนออกจากสมาธิ ถ้าคุณเผลอตั้งใจเกินไป คุณก็จะตึง เครียด แต่ถ้าคุณเผลอสบายมาก จนขาดสติ  คุณก็จะหลับ

    หากคุณเผลอไป ก็ไม่เป็นไร ให้อภัยตนเอง อย่าหงุดหงิด อย่ารีบร้อน แล้วเริ่มต้นใหม่ด้วยใจที่เย็นๆ ให้คุณพร้อมที่จะเป็นผู้เริ่มต้นใหม่ได้เสมอ
 
สมาธิ การนั่งสมาธิ
ในการวางใจนั้นให้ทำอย่างเบาๆ สบายๆ แค่เพียงสัมผัส
เหมือนขนนกที่ล่องลอยลงไปสัมผัสที่ผิวน้ำผิวน้ำแทบไม่มีอาการกระเพื่อมเลย


     การนั่งสมาธินั้น ต้องประคองใจอย่างใจเย็นๆ สบายๆ และมีสติ คือ รู้ตัวอย่างเต็มที่ เป็นความสบายผ่อนคลายที่คุณยังตื่นมีสติร้อยเปอร์เซนต์ ให้คุณรักษาความสบายอย่างมีสตินี้ให้ต่อเนื่อง ใจเย็นๆ ไม่รีบร้อน คุณจะเริ่มสัมผัสถึงความเย็น ความบริสุทธิ์ ความสงบนิ่ง และความสุขภายในด้วยตัวของคุณเอง

     วันนี้เราได้ศึกษาเกี่ยวกับการวางใจ โดยหากคุณวางใจแล้ว เกิดฟุ้งซ่าน หากฟุ้งเป็นเสียงจะใช้คำภาวนาท่องซ้ำให้เสียงดังมาจากกลางท้อง เพื่อให้ใจกลับมาอยู่ที่คำภาวนา หรือหากฟุ้งเป็นภาพ คุณจะภาวนาเป็นภาพ โดยการนึกภาพดวงอาทิตย์สว่างๆ ไว้ที่กลางท้องแล้วดูดวงอาทิตย์ที่นึกนั้นอย่างสบายๆ และที่สำคัญที่สุดคืออย่าเผลอรีบเร่งใจร้อน จนร่างกายเกร็ง หรือกดลูกนัยตา หรือเผลอขาดสติจนหลับไป คุณต้องใจเย็นสบายๆ อย่างมีสติให้ต่อเนื่อง และอย่าลืมฝึกนั่งสมาธิให้ได้ทุกวัน ผมมั่นใจว่าคุณจะสัมผัสความสงบความสุขภายในที่เกิดจากสมาธิได้อย่างแน่นอน

      ในบทต่อไป เราจะมาลองนั่งสมาธิอย่างต่อเนื่องด้วยกัน ก่อนที่เราจะมาคุยกันถึงเรื่องประสบการณ์ภายใน และอุปสรรคต่างๆ ในการนั่งสมาธิ วันนี้สวัสดีครับ
 
 
วิดีโอ ปฏิบัติธรรม
 

บทความที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ


Meditation Articles and Techniques 
 

http://goo.gl/goAET


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย ในการสร้างสันติภาพโลกด้วยสมาธิ
      เพลงสอนสมาธิ
      อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ง่วง-หลับ
      อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ฟุ้ง
      ปฏิบัติธรรมวันแม่ รวมสถานที่ปฏิบัติธรรมวันแม่ ของขวัญวันแม่ที่ดีที่สุด
      สถานที่ปฏิบัติธรรม ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
      สาเหตุหนึ่ง..ที่ทำให้ใจรวมยาก
      ทางลัด ในการเข้าถึงธรรม
      สมาธิ ตอนที่ 2 เริ่มต้นนั่งสมาธิ
      สมาธิ ตอนที่ 1 แนะนำเรื่องสมาธิ
      การนั่งสมาธิ ด้วยการฝีกสมาธิเบื้องต้น
      สมาธิคืออะไร?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  
  
  
  
  
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related