ธุดงค์ธรรมชัยกับการปฏิบัติธุดงควัตร

ธุดงควัตร เป็นพุทธประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เนื่องจาก ธุดงค์ คือ บทฝึกตนในการ กำจัดกิเลสทางพระพุทธศาสนาแบบเฉียบพลัน ที่เรียกว่า ธุตังคะ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยผู้ปฏิบัติจะได้ฝึกความ อดทน และใช้ความเพียรสูง กว่าปกติ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้การถือธุดงค์เป็นข้อบังคับ คือ ใครจะถือก็ได้ หรือไม่ถือก็ได้ แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ บรรลุธรรมง่ายขึ้น https://dmc.tv/a17156

บทความธรรมะ Dhamma Articles > มหาปูชนียาจารย์
[ 23 ธ.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18273 ]
การปฏิบัติธุดงควัตร
 
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2
ธุดงควัตรผู้ปฏิบัติจะเลือกถือธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะถือครั้งละ 3-4 ข้อก็ได้
แล้วแต่ความศรัทธา แต่ไม่สามารถถือธุดงค์ในคราวเดียวกันทั้ง 13 ข้อได้

     ธุดงควัตร เป็นพุทธประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
เนื่องจากธุดงค์ คือ บทฝึกตนในการกำจัดกิเลสทางพระพุทธศาสนาแบบเฉียบพลัน ที่เรียกว่า ธุตังคะ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดยผู้ปฏิบัติจะได้ฝึกความอดทน และใช้ความเพียรสูงกว่าปกติ ซึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติให้การถือธุดงค์เป็นข้อบังคับ คือ ใครจะถือก็ได้ หรือไม่ถือก็ได้ แต่พระองค์ทรงอนุญาตให้ทำได้ เพราะเป็นข้อปฏิบัติที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้บรรลุธรรมง่ายขึ้น

     ผู้ปฏิบัติจะเลือกถือธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่ง หรือจะถือครั้งละ 3-4 ข้อก็ได้ แล้วแต่ความศรัทธา แต่ไม่สามารถถือธุดงค์ในคราวเดียวกันทั้ง 13 ข้อได้ เพราะบางข้อทำพร้อมกันไม่ได้ เช่น หากถือธุดงค์ข้อ รุกขมูลิกังคะ คือ ให้อยู่ตามร่มไม้เท่านั้น ก็จะไม่สามารถถือ ธุดงค์ข้อ อัพโภกาสิกังคะ คือ อยู่เฉพาะกลางแจ้งได้เป็นต้น
 
     ในยุคปัจจุบัน..คนส่วนใหญ่ห่างเหินพระพุทธศาสนาไปมาก อีกทั้งไม่ได้ศึกษาข้อมูลที่แท้จริงที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกจึงเข้าใจไปว่า ธุดงค์มีเฉพาะในป่าเท่านั้น แต่จริงๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่ !!! เพราะในข้อปฏิบัติของธุดงค์ทั้ง 13 ข้อ มีข้อปฏิบัติเพียงข้อเดียวเท่านั้นที่ให้อยู่แต่ในป่า หรือที่เรียกว่า อารัญญิกังคะ (ข้อ 8) และถ้าต้องการปฏิบัติให้เข้มข้นยิ่งขึ้นก็เลือกปฏิบัติธุดงค์ข้อ 11 โสสานิกังคะ คือ อยู่แต่ในป่าช้าเท่านั้น
 
ธุดงค์ธรรมชัย ปีที่ 2
ในยุคปัจจุบัน..คนส่วนใหญ่ห่างเหินพระพุทธศาสนาไปมาก อีกทั้งไม่ได้ศึกษาข้อมูลที่แท้จริงที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก
จึงเข้าใจไปว่า ธุดงค์มีเฉพาะในป่าเท่านั้น แต่จริงๆ หาเป็นเช่นนั้นไม่

ธุดงควัตร 13 ข้อ

ธุดงควัตรข้อที่ 1: ปังสุกูลิกังคะ ใช้ผ้าบังสุกุลที่ชักมาได้เท่านั้น จะไม่ใช้ผ้าที่มีผู้ถวายเด็ดขาด

ธุดงควัตรข้อที่ 2: เตจีวริกังคะ ใช้แต่ผ้าไตรจีวรเพียง 3 ผืนเท่านั้น คือ สบง จีวร และสังฆาฏิ ไม่ใช้ผ้าอติเรกหรือชุดสำรองเด็ดขาด

ธุดงควัตรข้อที่ 3: ปิณฑปาติกังคะ ฉันแต่อาหารที่บิณฑบาตได้มาเท่านั้น

ธุดงควัตรข้อที่ 4: สปทานจาริกังคะ เดินบิณฑบาตไปตามทางที่กำหนดไว้เท่านั้น ต้องรับบิณฑบาตไป
ตามลำดับบ้าน จะไม่ข้ามลำดับบ้านไปเด็ดขาด
 
ธุดงควัตรข้อที่ 5: เอกาสนิกังคะ ฉันมื้อเดียวต่อวันเท่านั้น หรือที่เรียกกันว่า..ฉันเอกา
 
ธุดงควัตรข้อที่ 6: ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันในบาตรเท่านั้น หรือที่เรียกว่า ฉันสำรวม โดยจะนำภัตตาหารทั้งคาวและหวานทั้งหมดมาใส่รวมกันไว้ในบาตร แต่ไม่จำเป็นต้องคลุกเคล้าผสมกัน
 
ธุดงควัตรข้อที่ 7: ขลุปัจฉาภัตติกังคะ เมื่อลงมือฉันแล้วไม่รับประเคนอีก คือ จะไม่ฉันภัตตาหารที่นำมาถวายเพิ่มในภายหลังนั่นเอง แต่จะรับไว้เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะรักษาศรัทธาญาติโยมก็ได้
 
ธุดงควัตรข้อที่ 8: อารัญญิกังคะ อยู่ป่านอกละแวกบ้านเท่านั้น คือ จะไม่เข้าไปพักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านเลย เพื่อให้อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านและผู้คน (“ป่า” ตามนัยแห่งพระสูตร คือ ที่ห่างจากบ้านหลังสุดท้ายในหมู่บ้านออกไป 500 ชั่วธนู หรือประมาณ 1 กิโลเมตร)
 
ธุดงควัตรข้อที่ 9: รุกขมูลิกังคะ อยู่ตามร่มไม้เท่านั้น เว้นจากการเข้าไปพักอาศัยอยู่ในที่ที่มีหลังคามุงบัง แต่ก็ควรเว้นจากต้นไม้ 7 ประเภทนี้ คือ
  
     1. ต้นไม้ที่อยู่ในเขตแดนของ 2 ประเทศ (อาจเกิดอันตรายหากมีภัยสงคราม)
     2. ต้นไม้ที่มีคนนับถือบูชา
     3. ต้นไม้ที่มีการกรีดยางนำไปใช้ประโยชน์
     4. ต้นไม้มีผล
     5. ต้นไม้ที่มีค้างคาวอาศัยอยู่
     6. ต้นไม้มีโพรง
     7. ต้นไม้กลางวัด

ธุดงควัตรข้อที่ 10: อัพโภกาสิกังคะ อยู่เฉพาะกลางแจ้งเท่านั้น จะไม่เข้าไปพักใต้ร่มเงาเด็ดขาด (ยกเว้นฝนตก)
 
ธุดงควัตรข้อที่ 11: โสสานิกังคะ อยู่แต่ในป่าช้าเท่านั้น
 
ธุดงควัตรข้อที่ 12: ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่ที่คนอื่นจัดให้ ไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย หรือถูกใจตัวเองหรือไม่
 
ธุดงควัตรข้อที่ 13: เนสัชชิกังคะ อยู่แต่ในอิริยาบถ 3 อย่าง ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น แต่จะไม่เอนหลังนอนเด็ดขาด
 
 
 
  

http://goo.gl/PWGYsu


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีหล่อรูปเหมือนทองคำคุณยายฯ เพื่อประดิษฐาน ณ อาคาร 100 ปี
      ขอเรียนเชิญร่วมตอกเสาเข็มสถาปนาอนุสรณ์สถานบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559
      ธรรมยาตรา กตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่ง ปีที่ 5 วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related