อารมณ์กับการเกิดโรค

กายกับใจมีผลต่อกัน ถ้าใครมีสุภาพใจที่ดีมักจะมีร่างกายที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าใครปล่อยให้อารมณ์ของตัวเองไหลไปตามสิ่งเร้าจากภายนอกมากระตุ้นทำให้มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ มักจะมีสุขภาพไม่ดี วันนี้เราจึงมาพูดถึง ว่าอารมณ์ต่างๆมีผลต่อรางกายของเราอย่างไร และเป็นปัจจัยให้เกิดโรคได้อย่างไร https://dmc.tv/a22434

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 22 พ.ค. 2560 ] - [ ผู้อ่าน : 18263 ]

อารมณ์กับการเกิดโรค

 

สาระดีๆทันโลกโดยผศ.ดร.สุวัฒน์ อธิชนากร และชุลีพร ช่วงรังษี

     กายกับใจมีผลต่อกัน ถ้าใครมีสุขภาพใจที่ดีมักจะมีร่างกายที่แข็งแรง ในทางตรงกันข้ามถ้าใครปล่อยให้อารมณ์ของตัวเองไหลไปตามสิ่งเร้าจากภายนอกที่มากระตุ้น ทำให้มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อยๆ มักจะมีสุขภาพไม่ดี วันนี้เราจึงมาพูดถึง ว่า อารมณ์ต่างๆ มีผลต่อรางกายของเราอย่างไร และเป็นปัจจัยให้เกิดโรคได้อย่างไร

     อารมณ์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นทางจิตใจ เป็นการตอบสนองทางจิตใจที่มีต่อสิ่งแวดล้อมที่มากระทบ ในภาวะปกติถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่มีผลอะไร ถ้าเกิดว่าอารมณ์มีมากเกินไป หรือว่าเกิดภาวะทางอารมณ์ที่ต่อเนื่อง มันจะส่งผลต่อร่างกายได้  ทางแพทย์จีนแพทย์สายตะวันออกเขาจะมองตรงนี้ได้ละเอียดกว่า ทางแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนปัจจุบันจะแยกการแยกจิตออกจากกัน บางครั้งผู้ป่วยมาด้วยอาการต่างๆ มากมายจะมีผลมาจากอารมณ์ก็ได้ แพทย์ตะวันออกเขามองเรื่องนี้ว่า ปกติร่างกายจะมีการไหลเวียนของพลังงานอยู่ผ่านทางเส้นลมปราณทั้งหมด 10 เส้น เมื่อไหร่ที่เรามีอารมณ์มากเกินไป มันจะกระทบอวัยวะต่างๆตามเส้นลมปราณ อารมณ์ที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะ

 

ผลของอารมณ์กับการเกิดโรคที่อวัยวะต่างๆ

     - อารมณ์ยินดีหรือตกใจมากเกินไป กระทบที่ หัวใจ ปกติความรู้สึกยินดีมันทำให้เราผ่อนคลายเลือดลมไหลคลjอง ถ้ามีมากเกินไปมันจะส่งผลให้ลมปราณกระจัดกระจาย ใจจะอยู่ไม่เป็นที่อ่อนเพลียเกียจคร้านไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับได้ และก็อาจจะเกิดภาวะใจสั่นกระวนกระวายได้

     - อารมณ์โกรธจัด กระทบที่ ตับ บางครั้งก็จะพัดเอาเลือดลมวิ่งขึ้นข้างบน เพราะฉะนั้นเราก็จะรู้สึกเวียนหัวปวดหัว หน้าแดง หรืออาจจะถึงขั้นอาเจียนเป็นเลือด แล้วก็หมดสติ อารมณ์ที่ส่งผลต่อการกระทบตับอาจส่งผลต่ออวัยวะอื่น เช่น อาจจะมีเลือดที่พุ่งขึ้นมากเกินไปก็จะไปกระทบม้ามทำให้เกินท้องอืด ท้องเดินได้ กระทบกระเพาะอาหารทำให้เกิดท้องไส้อาเจียนได้ กระทบไต ทำให้เกิดหวาดกลัวความจำเสื่อมแล้วก็ปวดเมื่อย อ่อนแรงได้

     - อารมณ์ซึมเศร้า กระทบที่ ปอด ถ้าเกิดมีการการซึมเศร้ามากไปหรือวิตกมากไป จะเกิดการกระทบที่ปอดหรือพลังงานในปอด อาจจะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจขัด เซื่องซึม ไม่มีแรง นอกจากกระทบที่ปอดแล้วยังกระทบที่อวัยวะอื่นด้วย เช่นถ้าไปกระทบหัวใจก็เกิดภาวะใจสั่น กระทบตับจะเกิดอาการแน่นชายโครง แขน ขา มีการชัก เกร็ง ถ้าเกิดกระทบม้ามก็จะเกิดอาหารไม่ย่อย ท้องอืด แขน ขา อ่อนแรง เวลาเรามีอารมณ์ใดอื่นอารมณ์หนึ่งมากเกินไปมันกระทบอวัยวะหลักเสร็จมันไปกระทบอวัยวะรองต่อ อย่างคนที่เศร้ามากเกินไป ทั้งหมดนี้คืออาการหมดเลย เขาจะเริ่มเป็นที่ละอย่าง เพราะอารมณ์มันไปกระทบการทำงานของอวัยวะข้างใน

     -อารมณ์กลัว ถ้ากลัวสุดขีด กระทบที่ไต ทำให้เกินภาวะแขน ขาไม่มีแรง บางครั้งก็เกินการกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่ได้ นอกจากนี้ไตก็จะส่งเลือด ไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ไปเลี้ยงปอดไม่พอ เพราะฉะนั้นผลอาจจะตามมาด้วยอาการแน่นหน้าอก แน่นท้อง หงุดหงิด นอนไม่หลับ มาจากความกลัวเกินขีดจำกันนั้นเอง ความกลัวมันเกิดจากที่เราไม่รู้ ก็ต้องแก้ มีวิธีแก้ความกลัว ต้องปรึกษาผู้เชียวชานด้านจิตบำบัด ถ้าทำเองอาจไปกันใหญ่ เขามีวิธีที่จะสลายความกลัว ถ้าใครมีความกลัวที่ไม่มีเหตุผล เช่นกลัวในที่แคบ กลัวที่สูง กลัวที่โล่งแจ้ง ให้ไปปรึกษานักจิตบำบัดไม่ใช้จิตแพทย์

     -อารมณ์ที่ครุ่นคิดมากเกินไป กระทบที่ ม้ามและกระเพาะ เพราะฉะนั้นคนที่เป็นคนคิดมาก เขาก็จะมีความรู้สึกว่าเบื่ออาหาร ท้องอืด แน่นท้อง ไม่อยากทานข้าว คนพวกนี้ก็จะผอมเลย ม้ามยังส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อเพราะฉะนั้นคนที่คิดมาก มีอารมณ์ครุ่นคิดมากเกินไปก็จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อลีบเล็ก เลือดของหัวใจก็จะพร่อง จะมีภาวะใจสั่น นอนไม่หลับ เวลานอนหลับก็ฝัน หลับก็หลับไม่สนิท ความจำเสื่อมหลงลืม

     อารมณ์ทั้ง 5 กระทบอวัยวะสำคัญทั้งหมดโดยเฉพาะหัวใจ เพราะ หัวใจเป็นเจ้าแห่งอวัยวะ ถ้าโดยสรีระวิทยา หัวใจส่งอาหารไปทางเลือดไปเลี้ยงทุกอวัยวะเลย แล้วเขาทำงานตลอดเลย ไม่ได้หยุดแม่กระทั่งเวลาเรานอนหลับ อวัยวะต่างๆ ได้พักแต่หัวใจพักไม่ได้เพราะฉะนั้นหัวใจเลยเหมือนอวัยวะสำคัญ ที่ว่ามันจะกระทบทุกอย่างเลย

     ถ้าเกิดอารมณ์ทุกอย่างสุดท้ายแล้วก็จะกระทบหัวใจหมดเลยทำอย่างไรไม่ให้อารมณ์เหล่านั้นมาครอบงำเราได้ มันต้องฝึกฝนแล้วก็มาจากการที่เรามองทุกคนอย่างเห็นอกเห็นใจ และมองว่าทุกคนล้วนมีเหตุผลส่วนตัวที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง มองว่าเขาก็เป็นหนึ่งในเพื่อนร่วมโลก  ก็ต้องมีเหตุผลบ้างอย่างที่ต้องทำแบบนั้น ทำให้เราตัดใจได้เร็ว การรักษาอารมณ์ให้นิ่งให้มีอารมณ์ดี อารมณ์เดียวเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากจะทำให้เราสุขใจแล้วร่างกายของเราก็ยังสบาย ปราศจากโรคต่างๆ และนอกจากนั้น สามารถติดตามเทคนิคได้จากพระอาจารย์ และทั้งหมดนี้เป็นส่วนของทันโลก

มุมมองธรรมะทันธรรมโดย พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ

 

     อารมณ์กับการเกิดโรค ร่างกายของเรากับใจของเรานี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะฉะนั้นอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจจึงส่งผลกระทบต่อร่างกายของเรา แล้วส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราเองอย่างมากๆเลย ซึ่งจริงๆทุกคนเคยเจอประสบการณ์เรื่องนี้ทั้งนั้น มากบ้างน้อยบ้าง อย่างเช่นบางที ความโกรธ เวลาโกรธจัดๆ ใจจะเต้นแรง หน้าแดงก่ำ บางทีบางคนถึงกับขนาดหน้ามืดเลยก็มี หรือถ้าอารมณ์ตื่นเต้นเกิดขึ้น หัวใจก็เต้นแรงเหมือนกัน ใจหวิวๆ ใจสั่นบ้าง หรือบางทีกำลังตกใจ เช่น ไฟไหม้บ้าน บางคนแบกโอ่งมาจากบ้านยังได้เลย ทั้งที่ปกติยกไม่ขึ้น แต่ตอนนี้แบกได้เลย เพราะว่าอารมณ์ไปส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย มีการหลั่งฮอร์โมนขึ้นมา ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานขึ้นมา ก็เลยเกิดกำลังขึ้นมามากๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เสร็จแล้วก็จะเปลี้ยไปเลย เป็นต้น หรือว่าบางท่านรู้สึกว่าทานข้าวไม่ค่อยอร่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลมขึ้น อาการไม่ค่อยย่อย สิ่งเหล่านี้แสดงชัดเจนว่า อารมณ์ของเราส่งผลต่อสุขภาพอย่างใกล้ชิด ถ้าเราจัดการอารมณ์ของเราไม่ดี ป่วยได้ง่ายๆเลย ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์ของเรากับร่างกาย  มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงอย่างไร หลักๆมี 2 ทาง

     1.อารมณ์ที่มีผลต่อการทำงานระบบประสาท

     ระบบประสาทของคนเราประกอบด้วย 2 ทาง

1.) ระบบประสาทปกติ เช่น ที่สั่งงานให้แขนยก มีกำ นี่คือการสั่งงานของระบบประสาทปกติ
2.) ระบบประสาทอัตโนมัติ คือ เราจะไปสั่งให้ทำอย่างไรไม่ได้ เช่น สั่งหัวใจให้เต้นถี่ๆ ทำไม่ได้ แต่พอเวลาตื่นเต้น หัวใจจะเต้นถี่ๆ จะบอกให้หยุดเต้นช้าๆ ทำไม่ได้อีก เพราะว่ามันเกิดจากอารมณ์เราเองที่ ไปกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัตินั่นเอง

     2.อารมณ์ที่ส่งผลต่อการทำงานของฮอร์โมน

     ฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อมีการหลั่งออกมา ระบบการทำงานในร่างกายก็มีการเปลี่ยนแปลง อินซูลินหลั่งมาเกินมากมาย เช่น แบกโอ่งไหว พอเสร็จก็จะหมดแรงไปเลยนี่ความเชื่อมโยงของอารมณ์กับร่างกายผ่านระบบประสาทและระบบฮอร์โมนใหญ่ พอเรารู้อย่างนี้แล้วเราควรจะต้องจัดการกับอารมณ์ของเราอย่างไร มีระบบในการจัดการกับอารมณ์ของเราอย่างไร เพื่อที่จะให้ร่างกายเราแข็งแรง แล้วเราเองสามารถอยู่บนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข แบ่งเป็น 5 ขึ้นตอน

     ขั้นตอนการจัดการอารมณ์

     1. รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง เช่น โกรธรู้ทันความโกรธของตัวเอง แต่ถ้าดีใจ ก็รู้ทันความดีใจของตัวเอง ดีใจเกินไปเป็นลม ไม่ดีอีก หรือจะเศร้า ก็รู้เท่าทันตัวเอง จะตื่นเต้น ก็รู้เท่าทันความตื่นเต้นเองจะวิตกกังวลก็รู้เท่าทันความวิตกกลังวนตัวเอง ถามว่าทำไมจะรู้เท่าทันได้ จริงๆ คือการการเจริญสติ หลักคือว่าเราเอาใจมาอยู่กับเนื้อกับตัวไม่ปล่อยให้ฟุ้งซานไป กำลังตื่นเต้นเรื่องอะไร ดีใจเรื่องอะไรเสียใจเรื่องอะไรก็ไปคิดเรื่องนั้นอยู่เรื่อย ถ้าเกิดเราเอาใจกับมาไว้ในตัว นิ่งๆ ที่ศูนย์กลางกาย  กลางท้องของเรา เราจะเริ่มรู้เท่าทัน อารมณ์ของตัวเราเองกำลังโกรธรู้ทันความโกรธ ถ้าเบรกไม่อยู่เดียวเกิดเรื่องนะ บ้างคนคุมไม่อยู่ไปทำให้สิ่งที่คาดไม่ถึง เช่นว่าเกิดอารมณ์ชั่ววุบ เคยได้ยินไหมอารมณ์ชั่ววุบบันดาลโทสะ มีปืนในมือยิงเขาเลยตายไปเลยเยอะแยะ เพราะความโกรธอารมณ์ชั่ววุบ มีมีดแทงเขาเลยเป็นต้น หรือมีของในมือขว้างปาเขาเลยขว้างปาในบ้าน ข้าวของแตกเสียหาย เพราะว่าคุมอารมณ์โกรธของตัวเองไม่อยู่อารมณ์โกรธจะเห็นชัด อารมณ์อื่นๆก็เช่นเดียวกัน ถ้าจะให้รู้เท่าทันอารมณ์ตัวเองจริงๆ แล้วว่า มีสติอยู่กับตัวกำลังโกรธก็รู้ตัวว่าเราโกรธนะ ต้องเอาใจมาอยู่กับเนื้อกับตัว สวดมนต์ก็ได้ถ้าใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัวแล้วอยู่ๆไปสวดมันสวดไม่ได้มันลืม จะสวดได้ใจต้องอยู่กับเนื้อกับตัวอยู่กับบทสวดมนต์ก่อนก็ได้ พออยู่กับบทสวดมนต์ใจเรานิ่งระดับหนึ่งแล้วก็ทำสมาธิต่อหลับตานิ่งๆ เอาใจจดนิ่งๆที่ศูนย์กลางกาย ที่กลางท้อง อันนี้จะได้ไปถึงขั้นที่สองเมื่อรู้เท่าทันอารมณ์ของเราแล้ว สามารถจัดการกับอารมณ์ของเราเองได้

     2.จัดการกับอารมณ์ของตนเองได้ กำลังโกรธทำอย่างไรจะสลายลดดีกรีความโกรธ กำลังดีใจ ลดดีกรีอย่าดีใจเกินไปจนกระทั่งคุมกิริยาอาการไม่อยู่ กำลังเศร้าก็ไม่หงอยเหงาซึมเศร้าเกินไป กำลังวิตกกังวลก็ไม่กลัุมจนเกินไป ไม่ตื่นเต้นจนเกินไป เป็นต้น ซึ่งทำได้โดยที่เอาใจมาอยู่ที่ศูนย์กลางกายนั้นเอง เหมือนกับศัพท์ ว่า สงบสยบเคลื่อนไหว คือเมื่อเราเอาใจของเรามาสงบที่ศูนย์กลางกาย ที่กลางท้อง เราจะสามารถควบคุมอารมณ์ต่างๆ ได้ ทั้งรู้เท่าทันด้วยแล้วก็ควบคุมอารมณ์เหล่านั้นให้อยู่กับร่องกับรอยด้วย

     อยู่กับร่องกับรอยคืออะไร? คืออารมณ์อยู่ในศูนย์กลางกายนี้ละคืออยู่กับล่องกับรอย ใจอยู่กับเนื้อกับตัว อารมณ์ก็อยู่กับร่องกับรอย แล้วก็จะไปสู้ขั้นที่ 3 คือ รู้ชักจูงอารมณ์เราเองไปในทางสร้างสรรค์

     3. รู้จักจูงอารมณ์ไปในทางสร้างสรรค์ คนแต่ละคนเจอเรื่องสมหวังผิดหวัง ดีใจ เสียใจ กลุ้มใจ มันสารพัดอย่าง รูปแบบอาจจะต่างกันบ้าง ไม่มีใครเจอ แต่เรื่องสมหวัง ไม่มีเรื่องผิดหวังเลย มีทั้งนั้น แต่ว่า ปฏิกิริยาในการจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน พอไปดูคนที่เขาประสบความสำเร็จในชีวิต มีเรื่องเกิดขึ้นเหมือนกัน เขาจะคิดไปในทางบวก ว่ามันก็มีข้อดี พอสิ่งที่เกิดขึ้นคนทั่วไปคิดว่าเป็นเรื่องร้ายๆ เขาจะรู้จักมองว่าในความร้ายๆ มันมีข้อดีอะไรบ้าง แล้วคิดไปในทางบวกทำให้มีกำลังใจ ที่จะแก้ปัญหา ไม่มัวไปวิตกกังวล หรือกลุ้มอกกลุ้มใจ เศร้า เสียใจ จนเกินเหตุ

     เพราะฉะนั้นการชักจูงความคิดของเราอารมณ์ของเราไปในทางที่สร้างสรรค์ จริงๆ มันคือเรื่องจัดการความคิดนั้นเองคิดไปแล้วเหมือนกับส่งผลต่ออารมณ์ของเราต่อเนื่อง คิดไปทางบวก อารมณ์ก็จะออกไปทางบวก อารมณ์ทางลบก็จะคลายตัวลง พอจะคิดทางลบ รู้จักเบรกหยุดๆ ไม่เอาๆ อย่าไปคิดในทางร้าย เดียวมันจะต้องแย่ อย่างโน้น อย่างนี้ คนนั้นเดี๋ยวต้องทำอย่างนั้นกับเราแน่เลย คิดเป็นไปในทางร้ายๆ ซึ่งความเป็นจริงไม่เป็นอย่างนั้นเลย คิดไปในทางบวกแล้วก็จัดการอารมณ์เราเอง จูงไปในทางสร้างสรรค์ดีกว่า

     4.รู้เท่าทันอารมณ์ของคนอื่น เวลาเขาชักหน้าตึงๆ เสียงชักแข็งๆ เราต้องรู้เท่าทันว่าเขาอารมณ์เริ่มไม่ค่อยดีแล้วนะ คนนี้กำลังคิดอะไรอยู่ อารมณ์เป็นอย่างไร เราต้องรู้เท่าทันอารมณ์ของคนอื่น ซึ่งใครที่รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองได้ ก็จะรู้เท่าทันอารมณ์ของคนอื่นได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ายังไม่รู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองแล้ว จะไปรู้เท่าทันอารมณ์ของคนอื่นยาก ยากมากๆ

     มีคนไปสำรวจมายาวนานเลย พบแล้วว่า คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เงื่อนไขมาจากความฉลาดทางอารมณ์ คือ คุมอารมณ์ตนเองเป็น รู้จักอารมณ์คนอื่นเขาได้ 80% ส่วนสติปัญญา IQ สูง มันแค่ 20% เท่านั้นเอง คน IQ สูง แต่อารมณ์หวือหวา ชีวิตไม่มีความสุข สู้คน IQ ต่ำกว่าหน่อยหนึ่ง เรียนหนังสือก็ไม่ได้เก่งเท่า แต่ว่ามีความหนักแน่นทางอารมณ์ มีความฉลาดทางอารมณ์ EQ เหนือกว่า ชีวิตมีความสุขและประสบความสำเร็จมากกว่า เขาพิสูจน์มาแล้วชัดเจน

     5.ข้อสุดท้าย คือ ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาว โบราณฝากไว้คำหนึ่ง ที่เราคุ้นๆหูกันว่า “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ทอนแปลว่า ดูในชีวิตครอบครัว สามีภรรยาอยู่ด้วยกันนะ ท่านบอกว่า รักยาว คือ รักที่จะอยู่ด้วยกันยาวๆ แล้วให้บั่น คือ อารมณ์ไม่ดีเกิดขึ้นมา อย่าไปต่อความยาวสาวความยืด รักยาวแล้วให้บั่น สกัดให้อยู่ตรงนั้นเลยไม่เอา แต่ถ้ารักสั้นให้ต่อ คือ คิดจะอยู่กันสั้นๆ เดือนสองเดือน หม้อข้าวยังไม่ทันดำแล้วล่ะก็ ต่างคนต่างไปแยกทางกันแล้วล่ะก็ ให้ต่อความยาวสาวความยืดไปเถอะ ถ้ารักจะอยู่สั้นๆให้ต่อไปเลย รับรองไม่ช้าไม่นานได้ทะเลาะกันแล้วบ้านแตกแน่นอน

     จะอยู่ร่วมกันได้ให้ถูกใจกันตลอดไม่มีทาง ไม่ว่าจะร่วมหัวรวมโลงอยู่เป็นคู่ชีวิตกัน หรือว่าร่วมงานกันก็ตาม จะมีบางอย่างที่เขาถูกใจเรา บางอย่างเขาก็ไม่ถูกใจเรา ต่อให้เป็นเพื่อนสนิทคบกันมาเป็นสิบปี บางเรื่องเขาก็ไม่ถูกใจเรามีอยู่ แต่ต้องคิดว่าช่างมันเถอะ เราทนเขาบ้าง เขาทนเราบ้าง สามารถยืดหยุ่นแล้วก็ทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ นี่ คือประการที่ 5 ถ้าใครจัดการอารมณ์ได้ 5 ขั้นตอนนี่แล้วล่ะก็ ถือว่าเป็นคนมีความฉลาดทางอารมณ์ แล้วจะประสบความสุขความสำเร็จในชีวิต เจริญพร

 


รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related