เคยมีคน(ที่ศาลเจ้าจีน)บอกว่า ถ้าเราปล่อยปลาไหล ปลาดุก แล้วห้ามกินแกงปลาไหลปลาดุก ตลอดชีวิตจริงไหมคะ แต่ก็ไม่กล้ากินมาหลายปีแล้วค่ะ และหอยขมด้วยน่ะค่ะ ถ้าเรากินมันก็จะเท่ากับไม่ได้บุญใช่ไหมคะ (คนละตัวกัน ที่มันตายมาแล้ว เค้าแกงมาแล้วน่ะค่ะ) สงสัยจัง ท่านผู้รู้กรุณาตอบหน่อยนะคะ

ถ้าปล่อยปลาไหลปลาดุกแล้ว
เริ่มโดย กุ้งรพ.หัวหิน, Jul 04 2008 02:09 PM
มี 5 โพสต์ตอบกลับกระทู้นี้
#1
โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 02:09 PM
#2
โพสต์เมื่อ 04 July 2008 - 06:13 PM
เรื่องนี้มีผู้ถามมาบ่อยมากๆ
กระทู้เหล่านี้คงช่วยให้กระจ่างได้บ้าง
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=8847
http://www.dmc.tv/fo...i...ed&pid=9790
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=3725
กระทู้เหล่านี้คงช่วยให้กระจ่างได้บ้าง
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=8847
http://www.dmc.tv/fo...i...ed&pid=9790
http://www.dmc.tv/fo...?showtopic=3725
ความพร้อมเกิดขึ้น เมื่อเริ่มต้นลงมือทำ (โอวาทหลวงพ่อ 27/4/51)
ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจบุรุษให้หลงใหลได้มากเท่ากับสตรี ไม่มีสิ่งใดที่จะรัดตรึงใจสตรีให้หลงใหลได้มากเท่ากับบุรุษ
แท้จริงแล้วความรักก็เปรียบดั่งเครื่องพันธนาการ ที่มัดตรึงเหนียวแน่น ให้ลุ่มหลงอยู่ ย่อมจะต้องเวียนว่ายตายเกิดและจมอยู่ในกองทุกข์ร่ำไป
#3
โพสต์เมื่อ 05 July 2008 - 05:48 PM
จะรู้วาบาปหรือไม่ให้ดูองค์แห่งศีลข้อ1ดังนี้ครับ
1. สัตว์นั้นมีชีวิต
2. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
4. พยายามฆ่าสัตว์นั้น
5. สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น
พระพุทธเจ้าได้ทรงห้ามเด็ดขาดไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้คือ
1.ฆ่าเองหรือใช้ให้เข้าฆ่า
2.มีส่วนรู้เห็นในการฆ่าหรือรู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเอามาถวาย
3.มีความรู้สึกรังเกียจเนื้อนั้น หรืออาหารนั้น
กินได้ครับ เราปล่อยปลาชนิดใดก็กินชนิดนั้นได้ แม้ว่าปลาที่เรากินจะเป็นตัวเดียวกันกับที่เราปล่อยก็ตาม เช่น
เราปล่อยปลาดุกตัวหนึ่งลงในแม่น้ำไปแล้ว บังเอิญว่าดันมีคนไปจับปลาดุกตัวที่เราปล่อยมาแล้วไปขายในตลาด แต่ว่ามันตายแล้ว แล้วเราก็บังเอิญไปซื้อปลาตัวนั้นมาทำอาหารก็ไม่บาป เพราะ 1 เราไม่ได้ฆ่าเอง 2 ไม่ได้มีส่วน
รู้เห็น 3 ไม่ได้รู้สึกรังเกียจเนื้อนั้น
บุญทุกๆบุญนะครับเราจะได้บุญเมื่อทำ เราทำเมื่อไหร่เราก็จะได้บุญมื่อนั้น
เมื่อเราปล่อยปลาเราได้บุญตั้งแต่เมื่อปล่อยปลาแล้วครับ
1. สัตว์นั้นมีชีวิต
2. รู้ว่าสัตว์นั้นมีชีวิต
3. มีจิตคิดจะฆ่าสัตว์นั้น
4. พยายามฆ่าสัตว์นั้น
5. สัตว์นั้นตายด้วยความพยายามนั้น
พระพุทธเจ้าได้ทรงห้ามเด็ดขาดไม่ให้พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้คือ
1.ฆ่าเองหรือใช้ให้เข้าฆ่า
2.มีส่วนรู้เห็นในการฆ่าหรือรู้ว่าเขาฆ่าเพื่อเอามาถวาย
3.มีความรู้สึกรังเกียจเนื้อนั้น หรืออาหารนั้น
กินได้ครับ เราปล่อยปลาชนิดใดก็กินชนิดนั้นได้ แม้ว่าปลาที่เรากินจะเป็นตัวเดียวกันกับที่เราปล่อยก็ตาม เช่น
เราปล่อยปลาดุกตัวหนึ่งลงในแม่น้ำไปแล้ว บังเอิญว่าดันมีคนไปจับปลาดุกตัวที่เราปล่อยมาแล้วไปขายในตลาด แต่ว่ามันตายแล้ว แล้วเราก็บังเอิญไปซื้อปลาตัวนั้นมาทำอาหารก็ไม่บาป เพราะ 1 เราไม่ได้ฆ่าเอง 2 ไม่ได้มีส่วน
รู้เห็น 3 ไม่ได้รู้สึกรังเกียจเนื้อนั้น
บุญทุกๆบุญนะครับเราจะได้บุญเมื่อทำ เราทำเมื่อไหร่เราก็จะได้บุญมื่อนั้น
เมื่อเราปล่อยปลาเราได้บุญตั้งแต่เมื่อปล่อยปลาแล้วครับ
#4
โพสต์เมื่อ 05 July 2008 - 11:50 PM
ตอนแรกที่ปล่อยปลาช่อน ปลาดุก ก็กินน่ะ เพราะคิดว่า มันคนละชีวิตกัน ปล่อยก็ส่วนปล่อย กินก็ส่วนกิน และก็อีกอย่างมันคงไม่มีโอกาสย้อนกลับมาให้กินหรอก ถึงแม้มันจะมีโอกาสก็ตาม เพราะสมัยนี้ส่วนใหญ่ปลาเลี้ยงซะมากกว่า แต่ที่กินตอนแรก ๆ นั่น ยังอยู่ในองค์ของศีล และข้อห้าม แต่แม่บอกว่า ปล่อยไปแล้วห้ามกินปลาชนิดนั้น เพราะถือว่าเป็นพวกเดียวกัน ให้ชีวิตไปแล้วก็ควรเว้นพวกมันด้วย ก็เลยแซวแม่ว่า "อ๋อ มันเป็นญาติกันนั่นเอง" อิอิ ทุกวันนี้เลย ไม่กินปลาช่อน ปลาดุกไปโดยปริยาย เวลาแม่ทำห่อหมกปลาช่อน หรือน้ำยากะทิ อดทุกที อิอิ แต่ไม่เป็นไร
#5
โพสต์เมื่อ 06 July 2008 - 06:27 PM
ก็ถ้ามันตายแล้ว ก็เป็นของที่เจ้าของร่างเดิมเขาไม่เอาแล้ว ปล่อยไว้ถ้าไม่เอาไปทำปลาร้าก็เน่า สู้เอามากินซะยังดีกว่านะ จะได้ไม่เสียของ การปล่อยก็ส่วนการปล่อย แต่ถ้าปล่อยแล้วตายลอยขึ้นมาก็ว่ากันอีกอย่างนะ
#6
โพสต์เมื่อ 08 July 2008 - 02:52 PM
ไม่จิ๊ง...ไม่จริง
ให้ชีวิต...ให้ทาน
กิน...เป็นเรื่องการดำรงอยู่ของขันธ์5
ให้ชีวิต...ให้ทาน
กิน...เป็นเรื่องการดำรงอยู่ของขันธ์5
ทำไมต้อง หาคำตอบ ณ แดนไกล ลืมหรือไร ว่าอยู่ใกล้ DMC