วัดพระธรรมกาย
วัดพระธรรมกาย จากวันวานถึงวันนี้
ประวัติพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ / ประวัติคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง
วัดพระธรรมกายสร้างตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุโบสถ วัดพระธรรมกายหลวงพ่อธัมมชโย คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง และศิษยานุศิษย์ ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดพระธรรมกายขึ้นภายใต้แนวคิด “สร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และสร้างคนให้เป็นคนดี” ตามหลักปฏิรูปเทส ๔ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อสร้างวัดให้มีคุณภาพ จะได้จูงใจคนให้อยากเข้าวัดปฏิบัติธรรม ซึ่งจะเกิดผลดีทั้งแก่ส่วนตน ส่วนรวม และเป็นผลดีต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระศาสนาวัดพระธรรมกาย สร้างตามหลัก “ปฏิรูปเทส ๔ “ ซึ่ง ประกอบด้วย๑.อาวาสเป็นที่สบาย คือ การปรับปรุงพื้นที่ภายในวัดให้สวยงาม ร่มรื่น ดูแลวัดให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ใครเห็นก็รู้สึกสบายใจ๒.อาหารเป็นที่สบาย คือ การตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารญาติโยมที่มาวัดอย่างเท่าเทียมกันทุกคน บริการให้ความสะดวก โดยไม่ให้ญาติโยมเกิดความกังวล รวมทั้งดูแลเอาใจใส่ภัตตาหารที่ญาติโยมนำมาถวายพระและให้ความเคารพในทานของญาติโยม๓.บุคคลเป็นที่สบาย คือ อบรมบุคลากรในวัดให้ดี ให้อ่อนน้อมถ่อมตน มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีอัธยาศัยไมตรีที่ดีงาม หมั่นศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิภาวนาอย่างสม่ำเสมอ เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความประทับใจแก่สาธุชน๔.ธรรมะเป็นที่สบาย คือ เมื่อประชาชนมาวัดแล้ว จะไม่ให้กลับบ้านมือเปล่า ต้องได้รู้ธรรมะและได้ข้อคิดกลับไปใช้ในชีวิตประจำวันสภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย รองรับผู้มาปฏิบัติธรรมที่เพิ่มขึ้นทุกปี
นอกจากนี้ วัดพระธรรมกายยังมีการอบรมศีลธรรมให้แก่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไปอีกด้วย แนวคิดในการสร้างวัดตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีส่วนสำคัญในการทำให้สาธุชนที่เคยไปวัดมีความพึงพอใจจึงบอกต่อๆ กันไป ทำให้มีผู้เดินที่ทางไปประพฤติปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกายมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความจริงแล้วผู้คนจำนวนมากยังต้องการเข้าวัดปฏิบัติธรรม ขอเพียงแต่ทางวัดต้องทำวัดให้น่าเข้า ด้วยการดูแลรักษา ศาสนสถานให้สะอาด ร่มรื่น อบรมศาสนบุคคลให้มีคุณภาพ และพัฒนาวิธีการเผยแผ่ธรรมะให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อให้วัดมีบทบาทในการถ่ายทอดศีลธรรมแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริงวัดพระธรรมกายสร้างวัดให้เป็นวัด : เติบใหญ่ด้วยพลังแห่งศรัทธาวัดพระธรรมกายเติบใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องวัดพระธรรมกายเติบใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา จนกระทั่งพื้นที่ ๑๙๖ ไร่ คับแคบลง ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ หลวงพ่อธัมมชโยจึงมีดำริให้ขยายพื้นที่ออกไปอีก ๒,๐๐๐ ไร่ เพื่อรองรับการขยายงานพระศาสนาในอนาคต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและสังคมไทย โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ จากสาธุชนผู้ใจบุญ ที่เล็งเห็นความจำเป็นในการขยับขยายพื้นที่วัดให้กว้างขวางขึ้นวัดพระธรรมกาย สภาธรรมกายสากลสร้างแบบประหยัดสุด ประโยชน์สูง และคงทนถาวรการขยายพื้นที่และการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ของวัดพระธรรมกาย จึงเกิดขึ้นเพื่อให้เพียงพอแก่การรองรับผู้มีบุญจากทั่วโลกและมีลักษณะสร้างไปใช้ไปเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันมีสาธุชนหลั่งไหลไปปฏิบัติธรรมที่วัดนับแสนคน และในอนาคตคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก และเนื่องจากสิ่งก่อสร้างทุกอย่างในวัดพระธรรมกายล้วนมาจากเงินบริจาคที่เกิดจากความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน การก่อสร้างและดูแลศาสนสถานจึงอาศัยหลัก “ประหยัดสุด ประโยชน์สูง และคงทนถาวร” หมายความว่า สิ่งก่อสร้างทุกอย่างจะสร้างเฉพาะที่จำเป็นจริงๆ เมื่อสร้างแล้วต้องสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด และคงทนถาวร ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมบำรุงรักษานอกจากนี้บุคลากรในวัดและสาธุชนยังได้รับการปลูกจิตสำนึกให้เป็นเจ้าของวัด ให้ช่วยกันดูแลรักษาสมบัติพระพุทธศาสนาอย่างระมัดระวัง เพื่อให้สิ่งก่อสร้างทั้งหลายเกิดประโยชน์คุ้มค่าที่สุดต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งจะบังเกิดอานิสงส์ผลบุญอันเต็มเปี่ยมแก่ผู้บริจาคเงินอาคารสิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดพระธรรมกายมีดังนี้
ศาลาจาตุมหาราชิกาศาลาจาตุมหาราชิกาออกแบบให้ไม่มีเสากลางเพื่อให้มองเห็นกันชัด อยู่บริเวณอุโบสถ วัดพระธรรมกาย
ศาลาจาตุมหาราชิกาสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ เพื่อเป็นที่แสดงพระธรรมเทศนาแก่ญาติโยมที่มีทำบุญในวันอาทิตย์ ส่วนของหลังคาใช้โครงสร้างเหล็กแทนไม้ เพื่อความคงทนแข็งแรง และออกแบบไม่ให้มีเสากลาง ทำให้พระภิกษุผู้แสดงธรรมและสาธุชนทุกคนสามารถมองเห็นกันได้ชัดเจนโดยไม่ต้องมีเสากลางมาบดบัง และยังช่วยเพิ่มพื้นที่นั่งทำให้ศาลาจาตุมหาราชิการองรับคนได้ถึง ๕๐๐ คนศาลจาตุมหาราชิกา ณ วัดพระธรรมกายมองดูว่าใหญ่แต่เล็กถนัดตาเมื่อสาธุชนมานั่งปฏิบัติธรรมกันเมื่อแรกสร้างมีเสียงติติงว่าวัดพระธรรมกายอยู่ห่างไกล สร้างศาลาใหญ่ขนาดนี้จะมีใครไปใช้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่ปี ปรากฏว่ามีสาธุชนไปวัดมากขึ้นจนล้นศาลา ต้องสร้างศาลาหลังใหม่ ปัจจุบันศาลาจาตุมหาราชิกาได้รับการปรับปรุงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสามเณร ศาลาจาตุมหาราชิกานับเป็นสิ่งก่อสร้างยุคแรกๆ ของวัดที่ยังคงทนแข็งแรง และใช้งานได้คุ้มค่าอย่างแท้จริงอุโบสถวัดพระธรรมกาย
การสร้างอุโบสถ วัดพระธรรมกาย ก่อสร้างด้วยความประณีตและละเอียดอ่อนอุโบสถวัดพระธรรมกายเริ่มก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันศุกร์ที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ สถาปัตยกรรมเป็นแบบไทยประยุกต์ โดยมีวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารเป็นต้นแบบ การออกแบบยึดหลักความแข็งแรง คงทน เรียบง่าย แต่สง่างาม มีช่อฟ้าคู่ หลังคาโค้งรับกับขอบฟ้า ด้านหลังอุโบสถของวัดพระธรรมกายจารึกข้อความเกี่ยวกับการสร้างอุโบสถไว้บนแผ่นหินอ่อน การก่อสร้างทำด้วยความละเอียดและประณีต วัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดคัดเลือกแต่สิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้ในสมัยนั้น ดังเช่น หินเกล็ดที่ประดับผนังโบสถ์ภายนอก ต้องคัดเลือกหินทีละเม็ด เลือกเฉพาะเม็ดที่มีสีขาวบริสุทธิ์เท่านั้นอุโบสถวัดพระธรรมกายใช้เป็นสถานที่บรรพชาอุปสมบททั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จแทนพระองค์ เพื่อวางศิลาฤกษ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้เสด็จแทนพระองค์เพื่อวางศิลาฤกษ์และในวันอังคารที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๓ มีพิธีผูกพัทธสีมา ภายในอุโบสถรองรับพระภิกษุเข้าร่วมประกอบสังฆกรรมพร้อมกันได้ครั้งละ ๒๐๐ รูป อุโบสถหลังนี้เป็นสถานที่บรรพชาอุปสมบทกุลบุตรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาแล้วเป็นจำนวนหลายหมื่นรูป สร้างพระภิกษุสืบทอดพระพุทธศาสนาและสร้างคนดีให้แก่สังคมเป็นจำนวนมากคณะสงฆ์ประกอบพิธีกรรมภายในอุโบสถวัดพระธรรมกาย
พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปที่จำลองมาจากลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ตรงตามพระไตรปิฎกและหนังสือลักษณะมหาบุรุษ ซึ่งหากใครประพฤติปฏิบัติธรรมมากขึ้น ก็จะพบพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้อยู่ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ของตนเองสภาธรรมกายสากลวัดพระธรรมกาย
สภาธรรมกายสากลหลังคาจาก
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ มีสาธุชนหลั่งไหลไปปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนหลายหมื่นคน ทางวัดต้องสร้างสภาธรรมกายสากล (หลังคาจาก) ขึ้น อาคารนี้เป็นอาคารชั่วคราวหลังคามุงจากพื้นปูกระเบื้องคอนกรีตแผ่นเรียบ รองรับสาธุชนได้ประมาณ ๑๒,๐๐๐ คน ใช้งานครั้งแรกในวันวิสาขบูชาปี พ.ศ.๒๕๒๘ และยังได้สร้างเต็นท์อเนกประสงค์ขนาดใหญ่เพิ่มเติม เมื่อรวมกันแล้วสามารถรองรับสาธุชนได้ประมาณ ๓๐,๐๐๐ – ๔๐,๐๐๐ คน ปัจจุบันสถานที่ตั้งสภาธรรมสากล (หลังคาจาก) ได้ถูกปรับปรุงพื้นที่ เพื่อสร้างอาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯสภาธรรมกายสากล (หลังคาจาก) วัดพระธรรมกายต่อมามีสาธุชนไปปฏิบัติธรรมที่วัดพร้อมกันเป็นเรือนแสน สภาธรรมกายสากล (หลังคาจาก) ซึ่งถือว่าเป็นอาคารที่ใหญ่มากในขณะนั้นไม่เพียงพอต่อการรองรับ ทางวัดต้องใช้พื้นที่กลางแจ้งในการประกอบพิธีกรรม ทำให้สาธุชนต้องตากแดด ตากฝน ดังเช่น ในวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๓๙ ก่อนวันงานมีพายุฝน ทำให้พื้นที่นั่งบริเวณนั้นเปียกแฉะ สาธุชนต้องนั่งสมาธิและทอดผ้าป่ากลางแดด พิธีกรรมในวันนั้นต้องรวบรัดให้เสร็จสิ้นลงในภาคเช้า เพราะถ้าพายุฝนมาก็จะไม่มีที่หลบฝน ด้วยเหตุนี้หลวงพ่อธัมมชโยจึงมีดำริให้สร้างศาลาการเปรียญโดยใช้ชื่อว่า “สภาธรรมกายสากล” เมื่อเดือนกรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ใช้งานครั้งแรกเมื่อวันทอดกฐิน วันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่นั่งยังเป็นพื้นดิน ปูผ้ากระสอบสีขาว หลังคามุงด้วยตาข่ายกรองแสง (slan)สภาธรรมกายสากลมี ๒ ชั้น ชั้นบนสำหรับปฏิบัติธรรม ชั้นล่างเป็นห้องประชุมและลานจอดรถสภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกายเป็นศาลาอเนกประสงค์ขนาดใหญ่ ๒ ชั้น ชั้นบนเป็นสถานที่ทำสมาธิภาวนาและฟังธรรมของสาธุชนในวันอาทิตย์และวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รองรับคนได้ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ คนและมีรัตนบัลลังก์เป็นที่นั่งสำหรับพระภิกษุกว่าพันรูปวัดพระธรรมกายต้องขยายพื้นที่เพิ่มเพื่อรองรับสาธุชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องชั้น ๑ (ชั้นล่าง) เป็นลาดจอดรถยนต์ และมีศูนย์ประชุมประกอบด้วยห้องประชุมหลายขนาด ตั้งแต่ ๕๐๐ คนขึ้นไป สำหรับอบรมศีลธรรมแก่ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ นักเรียน นักศึกษา พนักงานบริษัท ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีศูนย์เด็กเพื่อดูแลเด็กเล็กที่ติดตามผู้ปกครองมาวัด โดยมีอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแล สภาธรรมกายสากลมีพื้นที่ ๑๒๖ ไร่เศษ ขนาดใหญ่กว่าสนามหลวงเกือบ ๒ เท่า
มหาธรรมกายเจดีย์
มหาธรรมกายเจดีย์สร้างด้วยสถาปัตยกรรมที่อยู่เหนือกาลเวลามหาธรรมกายเจดีย์เจดีย์แห่งพระรัตนตรัย เป็นเจดีย์ทรงครึ่งวงกลมแบบเดียวกับมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) และเป็นทรงเดียวกับสาญเจดีย์ที่ประเทศอินเดีย ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช หลังพุทธกาล ๒๐๐ กว่าปี รูปทรงของมหาธรรมกายเจดีย์จึงถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่เหนือกาลเวลา มหาธรรมกายเจดีย์เป็นบุญสถานอันศักดิ์สิทธิ์ ที่สร้างขึ้นด้วยพลังศรัทธาของมหาชน ดังมีรายนามของผู้มีบุญทั่วโลกที่ร่วมสร้างพระธรรมกายประจำตัวปรากฏอยู่ที่ฐานองค์พระถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ องค์องค์พระธรรมกายประจำตัวประดิษฐานบนมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย
ในอนาคตมหาธรรมกายเจดีย์จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนายุคปัจจุบัน และจะดำรงอยู่เป็นสมบัติของโลก เพื่อประกาศคุณของพระรัตนตรัยสืบต่อไปยังลูกหลานอีกนานนับพันปี และจะเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวโลกตื่นตัวมารวมกันปฏิบัติธรรม เพื่อเข้าถึงพระธรรมกายในอนาคตมหาธรรมกายเจดีย์ออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมให้คงอยู่ได้ไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ปี และใช้วัสดุพิเศษที่คงทนกว่า ๑,๐๐๐ ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๙๔.๔ เมตร สูง ๓๒.๔ เมตร ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ หล่อองค์พระประจำตัวครั้งสุดท้ายวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓มหาธรรมกายเจดีย์ประกอบด้วยพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะมหาธรรมกายเจดีย์ประกอบด้วย ๓ ส่วน ซึ่งสื่อถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะพุทธรัตนะ คือ บริเวณโดมครึ่งวงกลมและเชิงลาดรอบมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระธรรมกายประจำตัว ๓๐๐,๐๐๐ องค์ ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระบรมพุทธเจ้าหล่อด้วยเงินแท้น้ำหนัก ๑๔ ตัน และพระธรรมกายประจำตัวอีก ๗๐๐,๐๐๐ องค์ ธรรมรัตนะ คือ บริเวณวงแหวนถัดจากพุทธรัตนะลงมา สังฆรัตนะ คือ วงแหวนส่วนล่างสุด ใช้เป็นที่นั่งของพระภิกษุ ๑๐,๐๐๐ รูปพิธีตักบาตร ณ ลานธรรมมหาธรรมกายเจดีย์ วัดพระธรรมกาย
บริเวณรอบมหาธรรมกายเจดีย์มี “ลานธรรม” ใช้เป็นที่ประกอบศาสนพิธี ฟังธรรม และปฏิบัติธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนารองรับสาธุชนได้ ๔๐๐,๐๐๐ คน มหาธรรมกายเจดีย์จึงเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยสอนศีลธรรมกลางแจ้ง ที่จะช่วยให้ธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแผ่ขยายไปสู่ใจของมหาชน ปัจจุบันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาจะมีสาธุชนจากทั่วโลกเดินทางมาปฏิบัติธรรม ณ ลานธรรม มหาธรรมกายเจดีย์ครั้งละหลายแสนคน ทุกวันในเวลา ๐๖.๐๐ น. และ ๑๘.๐๐ น. มีพิธีบูชามหาธรรมกายเจดีย์ ขอเรียนเชิญผู้มีจิตศรัทธาไปร่วมพิธีพระธรรมกายประจำตัวพระธรรมกายประจำตัวที่ประดิษฐาน ณ มหาธรรมกายเจดีย์พระธรรมกายประจำตัวที่ประดิษฐานอยู่ ณ มหาธรรมกายเจดีย์สร้างขึ้นตามลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ หล่อด้วยโลหะซิลิกอนบรอนซ์ ที่คงทนและแข็งแรงเป็นพิเศษ เพื่อให้องค์พระอยู่ได้นานนับพันปี และเคลือบผิวพระธรรมกายประจำตัวด้วยทองคำแท้ๆ ซึ่งองค์พระที่สร้างขึ้นนอกจากคงทนแล้วยังดูสวยงามด้วยองค์พระภายในมหาธรรมกายเจดีย์ เตรียมเผื่อไว้สำหรับอนาคตเมื่อองค์พระภายนอกชำรุดเสียหายจะได้นำองค์พระภายในออกมาประดิษฐานแทน เพื่อให้มหาธรรมกายเจดีย์สมบูรณ์อยู่ได้นานนับพันปีมหารัตนวิหารคดมหารัตนวิหารคดใช้จัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามานับครั้งไม่ถ้วน
มหารัตนวิหารคดเป็นอาคารขนาดใหญ่ ๒ ชั้น สร้างขึ้นรอบลานธรรม สถาปัตยกรรมเน้นความเรียบง่าย ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า และคงทนถาวรอยู่ได้นานนับพันปีมหารัตนวิหารคดสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเป็นศูนย์รวมของพุทธบุตรและพุทธศาสนิกชนที่ไปแสวงบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานอกจากนี้ในวันปกติ มหารัตนวิหารคดยังใช้ เป็นสถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกด้วย พื้นที่มหารัตนวิหารคดสามารถรองรับผู้มีบุญได้ ๖๐๐,๐๐๐ คน หากรวมกับพื้นที่ในลานธรรมก็จะสามารถรองรับได้ถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ คน มหาวิหารแห่งนี้จึงเป็นสถานที่รวมพุทธศาสนิกชนจากทั่วโลกที่จะมาทำกิจกรรมบุญร่วมกันและพร้อมต่อการรองรับงานพระศาสนาทั้งในปัจจุบันและในอนาคตมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายมหาวิหารพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำของพระมงคลเทพมุนีมหาวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรูปหล่อทองคำแท้ขนาดหนึ่งเท่าครึ่งขององค์จริงของพระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยดำริของหลวงพ่อธัมมชโย เพื่อแสดงความกตัญญู และรำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระมงคลเทพมุนี ที่ได้สละชีวิตเป็นเดิมพัน จนสามารถค้นพบวิชชาธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากลับคืนมาสู่โลกได้อีกครั้ง หลวงพ่อธัมมชโยได้ให้แนวคิดในการก่อสร้างวิหารหลังนี้ไว้ว่าต้องมีความคงทนอย่างน้อย ๑,๐๐๐ ปี สมกับความยากของการบังเกิดขึ้นของผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย รูปทรงของวิหารต้องอยู่เหนือกาลเวลา ไม่ว่าในปัจจุบันหรืออีกพันปีข้างหน้า ก็จะยังนำสมัยตลอดกาล ด้วยเหตุนี้การออกแบบจึงตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “ทรงกลม” ซึ่งเป็นรูปทรงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลาย และยังเป็นรูปทรงของ “ดวงธรรม” ที่อยู่ ณ ศูนย์กลางกายของมนุษย์ทุกคนอีกด้วยรูปหล่อทองคำของหลวงพ่อวัดปากน้ำประดิษฐานภายในมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีปูด้วยหินอ่อนทั้งภายในและภายนอก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๐๘ เมตร ทำพิธีตอกเสาเข็มต้นแรกเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ การก่อสร้างเสร็จสิ้นลงเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของพระมงคลเทพมุนีพื้นที่ภายในมหาวิหารแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือส่วนที่ ๑ เก็บบันทึกประวัติของพระมงคลเทพมุนี ตั้งแต่ปฐมวัยมัชฌิมวัย และปัจฉิมวัยส่วนที่ ๒ ประดิษฐานรูปหล่อทองคำส่วนที่ ๓ เก็บบันทึกประวัติคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง “ครูผู้สืบสายธรรม” และพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) “ผู้สืบทอดวิชชาธรรมกาย” และประวัติความเป็นมาของวัดพระธรรมกายตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนกระทั่งปัจจุบันเรียนเชิญเข้าสักการะรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี ณ วัดพระธรรมกายนอกจากนี้ ภายในวิหารยังมีห้องปฏิบัติธรรมอีกด้วยมหาวิหารพระมงคลเทพมุนีเปิดให้สาธุชนเข้าสักการะรูปหล่อทองคำพระมงคลเทพมุนี ในวันเสาร์ เวลา ๑๒.๓๐ น.- ๑๗.๐๐ น. และวันอาทิตย์ เวลา ๑๑.๓๐ น.- ๑๒.๓๐ น. กรุณาแต่งกายชุดขาวล้วน*** งดสักการะตลอดเดือนมกราคม 2559 เนื่องจากมีกิจกรรม ธรรมยาตรา บูชาธรรมยาตรากตัญญูบูชา มหาปูชนียาจารย์ พระผู้ปราบมาร อนุสรณ์สถาน 7 แห่งในข่วงวันที่ 2 -31 มกราคม พ.ศ. 2559 ขอเชิญร่วมกิจกรรมโดยดูรายละเอียดได้ที่ www.dmc.tv/dhammayatra หรือโทรสอบถามที่ 02-831-1000 ***มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงมหาวิหารคุณยายมหารัตนอุบาสิการจันทร์ ขนนกยูง ตั้งอยู่ที่วัดพระธรรมกาย
มหาวิหารคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย เป็นวิหารทรงพีระมิด หกเหลี่ยม สีทองงามประดุจภูเขาทองคำ สูง ๒๙ เมตร ตั้งบนเกาะแก้วกลางน้ำรูปใบบัวใกล้อุโบสถวัดพระธรรมกาย ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และยกยอดมหาวิหารวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๓ ปีของการละสังขารของคุณยายอาจารย์ฯ มหาวิหารหลังนี้ สร้างขึ้นเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และประกาศเกียรติคุณที่คุณยายอาจารย์ฯ มีต่อพระพุทธศาสนาและชาวโลกให้ปรากฏสืบไปมหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ ภายในเป็นห้องหยกประดิษฐานอัฐิธาตุและรูปหล่อทองคำของคุณยายอาจารย์ฯภายในมหาวิหารเป็นห้องหยกประดิษฐานมหารัตนอัฐิธาตุและรูปหล่อทองคำของคุณยายอาจารย์ฯ (สร้างขึ้นในปีที่ท่านมีอายุครบ ๙๐ ปี) และเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม สามารถรองรับคนได้ ๓๐๐ คน ระหว่างอุโบสถและมหาวิหารคุณยายอาจารย์ฯ มีหอเทียนที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อจุดประทีปบูชาธรรมคุณยายอาจารย์ฯหอฉันคุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงหอฉันคุณยายอาจารย์ฯ เป็นสถานที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุสามเณรหอฉันคุณยายอาจารย์ฯ สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ฉันภัตตาหารของพระภิกษุ สามเณร โดยนำเจดีย์น้อยที่ใช้ในวันสลายร่างคุณยายอาจารย์ฯ มาเป็นยอดโดมของหอฉัน เพื่อระลึกถึงพระคุณของท่านที่ได้สร้างโรงครัวและโรงทานขึ้น ณ วัดพระธรรมกาย เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร มีภัตตาหารฉันโดยไม่ต้องออกบิณฑบาต จะได้มีเวลาปฏิบัติสมณกิจได้อย่างเต็มที่หอฉันคุณยายอาจารย์ฯ ตอกเสาเข็มต้นแรกวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ และทำพิธีเปิดป้ายมงคลหอฉันวันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สามารถรองรับพระภิกษุ สามเณร ได้ถึง ๖,๐๐๐ รูป ร่วมพิธีถวายภัตตาหารเป็นสังฆทานที่หอฉันได้ในเวลา ๐๖.๓๐ น. และ ๑๐.๓๐ น.อาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลกอาคาร ๑๐๐ ปีคุณยาย ศูนย์กลางงานเผยแผ่วิชชาธรรมกายไปทั่วโลกอาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯ สร้างขึ้นเป็นมหานุสรณ์แด่คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา วิชชาธรรมกายไปทั่วโลก เป็นสถานที่เรียนพระปริยัติธรรม เป็นศูนย์กลางการศึกษาภาษาบาลีของโลก และเป็นศูนย์กลางงานอบรมศีลธรรมให้แก่ผู้คนในสังคมไทยอาคารนี้จะเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลกอาคารหลังนี้ เป็นศูนย์รวมงานพระศาสนาทุกอย่าง ซึ่งจะช่วยเติมความแข็งแกร่งให้แก่พระพุทธศาสนา และสามารถนำธรรมะไปสู่ชาวโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อขับเคลื่อนโลกไปในทิศทางที่ดีงาม และเปี่ยมด้วยสันติสุข อาคาร ๑๐๐ ปีคุณยายอาจารย์ฯ ตอกเสาเข็มต้นแรกในวันครูวิชชาธรรมกาย วันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒ คาดว่าการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗
อาศรมบรรพชิต อาคารพระผู้ปราบมาร เป็นอาคารที่พักสำหรับพระภิกษุสงฆ์อาคารที่พักสงฆ์นี้มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาวิชชาธรรมกาย เพราะในปัจจุบันมีพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง พระภิกษุเพิ่มขึ้นมากมาย นับตั้งแต่ได้มีการจัดการบวชขึ้นมาในแต่ละโครงการ ถ้าเราลองมานึกย้อนดู เข้าพรรษาปี ที่ผ่านมา มีพระภิกษุบวชในช่วงเข้าพรรษาน้อยมาก แม้แต่วัดในกรุงเทพฯที่เคยมีพระบวชเป็นจำนวนมาก ก็กลับลดลง พระเดชพระคุณหลวงพ่อของเรา ท่านได้ยินเช่นนี้แล้วก็รู้ว่าพระพุทธศาสนากำลังมีภัย จึงได้ดำริโครงการบวชโครงการแรกขึ้นมา คือ กองพันสถาปนา ในต้นปี 2553 และจัดบวชโครงการ 7,000 รูป 7,000 ตำบล ในช่วงกลางปี 2553 เลยทันที โดยมีพระภิกษุจากโครงการแรก คือ กองพันสถาปนานั้นเป็นพระพี่เลี้ยงหลังจากนั้นโครงการบวชพระ 1 แสนรูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทยก็ได้เกิดขึ้น ซึ่งจัดต่อเนื่องทั้งรุ่นภาคฤดูร้อน และรุ่นเข้าพรรษา ผ่านมาจนถึงตอนนี้วัดพระธรรมกายสร้างพระแท้ ให้เกิดขึ้นมากมาย แม้ในขณะนี้ พระภิกษุที่บวชเข้ามาในโครงการทั้งหลายและมีความตั้งใจบวชอยู่ในพระพุทธ ศาสนาเพื่อช่วยเผยแผ่ขยายงานพระศาสนา สอนธรรมะโปรดญาติโยมผู้รอคอยเนื้อนาบุญ การได้ทำหน้าที่เป็นพระพี่เลี้ยง เพื่อสร้างพระแท้รุ่นต่อรุ่น รุ่นแล้วรุ่นเล่า บัดนี้พระภิกษุจำนวนไม่น้อยได้ปฏิบัติหน้าที่ รับภารกิจของพระศาสนาได้กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ และทั่วโลกในอนาคต
แผนที่มาวัดพระธรรมกาย
รับชมวิดีโอ กว่าจะมาเป็นวัดพระธรรมกาย
รับชมคลิปวิดีโอ  
บทความที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย

http://goo.gl/BC8i3