ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา 2566

ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา 2566 ประวัติประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี ข้อมูลงานแห่เทียนพรรษา ประจำปี 2566 https://dmc.tv/a16108

บทความธรรมะ Dhamma Articles > เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
[ 30 มิ.ย. 2557 ] - [ ผู้อ่าน : 18262 ]

เทศกาลวันเข้าพรรษา

 
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา 2566
 
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา
  

ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่เทียนพรรษา

 
     ก่อนสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบล ชาวอุบลไม่มีการหล่อเทียนแห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้เป็นผู้สำเร็จราชการที่   เมืองอุบล คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันในขบวนแห่จนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน

      การแห่เทียนแต่เดิมไม่ได้จัดใหญ่โตเช่นปัจจุบัน เพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียน แล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ตามรอยต่อหากระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดเป็นลายฟันปลาปิดรอยต่อ เสร็จแล้วนำต้นเทียนไปมัดติดกับปิ๊ปน้ำมันก๊าด ฐานของต้นเทียนใช้ไม้ตีเป็นแผ่นเรียบ หรือทำสูงขึ้นเป้นชั้นๆ ติดกระดาษ เสร็จแล้วมีการแห่นำไปถวายวัด พาหนะที่ใช้นิยมใช้เกวียน หรือล้อเลื่อนที่ใช้วัวหรือคนลากจูง การแห่ของชาวบ้านก็จะมีฆ้อง กลอง กรับ และการฟ้อนรำด้วยความสนุกสนาน

      ในระยะเวลาประมาณ พ.ศ.2480 การทำต้นเทียนได้พัฒนาขึ้น ถึงขั้นใช้การหล่อออกจากเบ้าพิมพ์ที่เป็นลายง่ายๆ เช่น ประจำยาม กระจัง ตาอ้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู ฯลฯ แล้วนำไปติดที่ลำต้นเทียน ช่างผู้มีชื่อเสียงในทางนี้คือ นายโพธิ์ ส่งศรี ลายที่พ่อใหญ่โพธิ์ทำขึ้นเป็นลายง่ายๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำบัวหงาย พ่อใหญ่โพธิ์เป็นช่างทำต้นเทียน ให้กับวัดทุ่งศรีเมือง ต่อมา นายสวน คูณผล ได้นำวิธีการดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ และประดับฐานต้นเทียนด้วยรูปปั้นสัตว์และลายไม้ฉลุทำให้ดูสวยงามมากขึ้น ผลงานทำต้นเทียน ของนายสวน คูณผล จึงมักจะได้รางวัลชนะเลิศอยู่เป็นประจำ
 
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา

ประวัติความเป็นมาของประเพณีแห่เทียนพรรษา


      ในช่วงปี พ.ศ.2494 ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและเห็นความสำคัญ ในการทำและแห่เทียนพรรษามากขึ้น เมื่อทางจังหวัดได้ส่งเสริมให้งานเข้าพรรษาเป็นงานประเพณีประจำปี แต่ต้นเทียนในขณะนั้นยังมีการจัดทำอยู่เพียง 2 ประเภท คือ ประเภทมัดเทียนรวมกันแล้วติดกระดาษสีและประเภทพิมพ์ลายติดลำต้น

      ใน พ.ศ.2495 ได้มีการฟื้นฟูศิลปะการทำต้นเทียน และการแห่เทียนพรรษาของ จังหวัดอุบลราชธานี มีการประกวดเทียนพรรษา 2 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภท ติดพิมพ์

     ครั้น พ.ศ.2497 ช่างฝีมือรุ่นเยาว์ อันได้แก่ นายอารีย์ สินสวัสดิ์ นายประดับ ก้อนแก้ว ได้พัฒนาวิธีทำขึ้นใหม่ โดยใช้ปูนพลาสเตอร์แกะเป็นแม่พิมพ์ลายต่างๆ แล้วหล่อด้วยเทียนออกมาเป็นดอกๆ ผึ้งที่ใช้หล่อดอกไม้คนละสีกับลำต้น จึงทำให้มองเห็นเป็นส่วนลึกของลายอย่างชัดเจน  นายประดับก้อนแก้ว ได้ทำต้นเทียนติดพิมพ์ และตกแต่งขบวนต้นเทียนของวัดมหาวนารามได้อย่างสวยงาม จนได้รับรางวัลชนะเลิศ

      ประมาณปี พ.ศ.2500 มีการจัดงานกึ่งพุทธกาลทั่วประเทศ งานด้านศาสนาจึงเฟื่องฟูมาก การแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการสนับสนุนให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น ทั้งด้านการจัดขบวนแห่ และการจัดหาสาวงามสำหรับต้นเทียน

     พ.ศ.2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างสูงอายุคนหนึ่งได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา  ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม ดังนั้น ในปีต่อมา จึงได้มีการเสนอให้จัดประกวดต้นเทียน 3 ประเภท คือ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ระยะต่อมา จึงตัดต้นเทียนประเภทมัดรวมติดลายที่เป็นต้นเทียนแบบเก่า ออกจากการประกวด ช่างแกะสลักต้นเทียนที่มีฝีมือในรุ่นต่อมา  ได้แก่ นายอุตส่าห์ จันทรวิจิตร และนายสมัยจันทรวิจิตร ซึ่งเป็นพี่น้องกัน

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา
 
        นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา   ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร มีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ ประกวด    ขบวนแห่ และนางฟ้า โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการให้คะแนนอย่างรัดกุม มีการประชาสัมพันธ์งานกันอย่างกว้างขวาง ทำให้มีผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติมาเที่ยวและชมงานเป็นจำนวนมาก

แห่เทียนพรรษา การทำต้นเทียนประเภทแกะสลัก


        ต้นเทียนประเภทแกะสลัก เป็นต้นเทียนสมัยใหม่ ทำเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 โดยนายคำหมา แสงงาม ต้นเทียนต้นหนึ่งจะใช้ขี้ผึ้งประมาณ 70-100 กิโลกรัม โดยใช้ขี้ผึ้งดีผสมกับขี้ผึ้งชนิดไม่ดี ในอัตราส่วน 5 ต่อ 1 หลังจากหล่อและกลึงต้นเทียนแล้ว จะเริ่มแกะสลักต้นเทียนด้วยขั้นตอน ดังนี้

      ออกแบบลายที่จะแกะสลัก โดยการ่างทั้งส่วนฐานลำต้นและยอดเทียน ใช้เครื่องมือแกะสลักซึ่งจะมีการเซาะ เจาะ ขีด และขูด ให้เป็นรูปสามมิติ เหมือนของจริง หรือรูปที่ร่างไว้ตามจินตนาการ แก้ไขส่วนที่บกพร่องในระหว่างการแกะสลัก อาจมีการผิดพลาดได้ เช่น รูปที่แกะมีขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป หรือบางส่วนแตกหัก ก็ต้องแก้ไขปรับปรุงให้เรียบร้อย

เครื่องมือที่ใช้ในการแกะสลักต้นเทียนพรรษา


      1. มีด มีรูปแบบและขนาดต่างๆ กันตามความต้องการใช้งานของช่างทำต้นเทียน เช่น มีดปลายแหลมชนิดคมเดียว มีดปลายแหลมชนิดสองคม มีดปลายแหลมชนิดคมเดียวและโค้งงอ มีดอีโต้ปลายแหลมคมเดียว

     2. สิ่ว เช่น สิ่วใบใหญ่ปลยตัดตรง สิ่วใบใหญ่ปลายตัดเฉียง สิ่วใบใหญ่ปลายปากโค้ง สิ่วใบเล็กปลายตัดตรง สิ่วใบเล็กปลายตัดเฉียง สิ่วใบเล็กปลายปากโค้ง

    3. ตะขอเหล็กและเหล็กขูด เช่น ตะขอเหล็กมีคมคล้ายเคียวแต่ปลายงอน ตะขอเหล็กเป็นห่วงโค้งเป็นวงรีหรือรูปน้ำเต้า และเหล็กขูดมีคมทั้งสองด้าน

     4. แปรงทาสีชนิดดี

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

การทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์


      การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มีขั้นตอนและวิธีการคล้ายกันกับการหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลักทุกขั้นตอน แต่มีความแตกต่างกัน 2 ประการ คือ

     การหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพพอใช้ได้ซึ่งมีราคาถูก แต่การหล่อต้นเทียนประเภทแกะสลัก ใช้ขี้ผึ้งคุณภาพดี และราคาแพงกว่า ทั้งนี้ ก็เพราะว่า หากขี้ผึ้งคุณภาพไม่ดี เมื่อแกะสลักลึกและซับซ้อนหลายขั้น ขี้ผึ้งจะแตกหัก

     ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ มักหล่อให้มีขนาดเล็กกว่าต้นเทียนประเภทแกะสลัก เพราะการหล่อต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ จะต้องนำไปกลึงให้เป็นรูปและขนาดเล็กลงบางส่วน แล้วจึงติดดอกเสริมโดยรอบให้หนาขึ้น ส่วต้นเทียนประเภทแกะสลัก ต้องทำให้มีขนาดใหญ่เอาไว้ เพื่อที่จะแกะสลักหรือขูดออก
 
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา
ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

     งานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลราชธานี นอกจากจะเป็นงานที่แสดงออกถึง การยึดมั่นสืบสานงานบุญทางพระพุทธศาสนา อย่างเคร่งครัดของชาวเมืองอุบลฯ แล้ว ยังเป็นงานที่แสดงออกถึงวิวัฒนาการด้านศิลปะของสกุลช่างเมืองอุบลฯ อีกด้วย ทั้งนี้ เนื่องจาก บรรดาช่างศิลป์เมืองอุบลฯ ที่มีอยู่มากมายหลากหลายแขนง และผลิตงานด้านศิลปอย่างต่อเนื่องตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปร่วมสมัย งานหัตถกรรมพื้นบ้าน และงานก่อสร้างตกแต่งโบสถ์วิหารต่างๆ จะใช้โอกาสในช่วงเทศกาลนี้กลับมาทดสอบ ทดลอง และประลองฝีมีเชิงช่าง โดยผ่านต้นเทียนพรรษา ดังนั้น ผู้ที่มาร่วมงานประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี จึงสามารถชื่นชม และศึกษากิจกรรมของงาน ทั้งในด้านการสืบสานจารีตประเพณีพื้นเมือง และในด้านศิลปการตกแต่งต้นเทียนกิจกรรมภายในงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่

1. เยือนชุมชน ชมวิถีวัฒนธรรมการตกแต่งต้นเทียน

       การไปเยือนชุมชน หรือ คุ้มวัดต่าง ๆ ในช่วงที่กำลังเตรียมการตกแต่งต้นเทียน คือในช่วงประมาณ 2-3 วัน ก่อนวันแห่นั้น นอกจากผู้มาเยือนจะได้ศึกษากรรมวิธีและขั้นตอน การตกแต่งเทียนอันเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นแล้ว ยังจะได้สัมผัสบรรยากาศการร่วมแรงร่วมใจ ของชุมชนในการทำกิจกรรมทางพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สำคัญของชาวอุบลฯ สำหรับคุ้มวัดที่น่าสนใจ เช่น วัดบูรพา วัดหนองบัว วัดสว่างอารมณ์ วัดศรีประดู่ทรงธรรม วัดสุทัศวนาราม วัดทุ่งศรีเมือง และวัดผาสุการาม เป็นต้น

2. การเวียนเทียนวันอาสาฬหบูชาที่วัดงามในเมืองอุบลฯ

       การเวียนเทียนเนื่องในวันอาสาฬหบูชาจัดขึ้นในช่วงค่ำของ ตามวัดต่างๆ โดยทั่วไปกิจกรรมนี้ นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่สำคัญ ของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นโอกาสอันดีของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่จะได้ชื่นชมเอกลักษณ์ ทางสถาปัตยกรรมพื้นเมือง อันงดงามตามวัดต่างๆ ในอีกมิติหนึ่ง

3. การตั้งแสดงต้นเทียนรอบทุ่งศรีเมือง

      ในช่วงค่ำของวันอาสาฬหบูชา จะเป็นเวลาที่ต้นเทียน พรรษาจากคุ้มวัดต่างๆ กว่า 30 ต้น จะถูกเคลื่อนย้ายมาตั้งไว้ ณ บริเวณถนนรอบๆ ทุ่งศรีเมือง เพื่อเตรียมการเข้าร่วมขบวนแห่ในเช้าวันรุ่งขึ้น ในช่วงนี้ ต้นเทียนจะได้รับการตกแต่งอย่างสมบูรณ์ ประกอบกับสถานที่ตั้ง จะได้รับการจัดเตรียมไว้อย่างดี เช่น การเตรียมแสงไฟ ไว้สาดส่องต้นเทียน การประดับประดาบริเวณงาน อย่างเป็นระเบียบ ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็น ช่วงเวลาที่ดีที่สุด ในการชื่นชมศิลปการตกแต่งเทียนอย่างละเอียดละออ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลา และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการแสดงศิลปะตกแต่งเทียนที่งดงาม และสมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย

4. กิจกรรมขบวนแห่เทียนพรรษา

    จะจัดขึ้นในวันรุ่งขึ้น คือวันเข้าพรรษา ตั้งแต่เวลา ประมาณ 08.00 น. เป็นต้นไป โดยจะเคลื่อนขบวนไปตามถนนอุปราช ผ่านหน้าศาลากลาง ไปถนนชยางกูร เป็นระยะทางประมาณ2-3 กม. จึงสลายขบวน รูปแบบของการจัดขบวนประกอบด้วย ขบวนเทียนหลวงพระราชทาน ขบวนต้นเทียนของคุ้มวัดต่าง ๆ ซึ่งแต่ละขบวนจะประกอบด้วยการแสดง การละเล่น การฟ้อนรำ การบรรเลงดนตรีในรูปแบบของศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง การเข้าชมขบวนแห่ คณะกรรมการจัดงาน จะจัดเตรียมอัฒจันทร์นั่งชมไว้บริการ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด
 

ประเพณีแห่เทียนพรรษา

 ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา

ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา 2559

     เทศกาลแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับความสนใจและโด่งดังไปทั่วไปโลก ด้วยการแกะสลักลวดลายบนเทียนและรถประดับเทียนอย่างวิจิตรตระการตา ซึ่งประเพณีนี้มีขึ้นในช่วงวันเข้าพรรษาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา จึงถือได้ว่าเป็นงานยิ่งใหญ่ของภาคอีสาน ในงานจัดให้มีการแสดงทางวัฒนธรรม ชมริ้วขบวนแห่เทียนโบราณ ขบวนแห่เทียนพรรษา การประกวดธิดาเทียนพรรษา การประกวดต้นเทียนประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ การประกวดภาพถ่ายความประทับใจในงาน และกิจกรรมเยือนชุมชนตามคุ้มวัดต่างๆ นอกจากนี้ยังเชิญศิลปินจากทั่วโลกเดินทางมาสร้างประติมากรรมเทียนนานาชาติ จัดแสดงตลอดทั้งเดือนกรกฏาคม

ประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี

      ขอชวนประชาชนร่วมประเพณีแห่เทียนพรรษาอุบลราชธานี 2559 วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2559 ที่ทุ่งศรีเมือง (ไฮไลท์สำคัญคือวันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เป็นวันแสดงขบวนแห่เทียนช่วงเช้าเวลา 08.00-12.00 น. และขบวนแห่ช่วงเย็นเวลา 17.00 น. เป็นต้นไป กับประกอบแสง-สี ภาคกลางคืน)

             การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ขอเชิญร่วมงาน "ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี" ระหว่างวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2559 ณ ทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สำหรับการจัดงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นและส่ง เสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมทั้งได้กำหนดการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่พิธีเปิดเทศกาลงานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ดังนี้...

ประเพณีแห่เทียนพรรษา งานแห่เทียนพรรษา

กำหนดการและกิจกรรมที่น่าสนใจ


          - วันที่ 5-19 กรกฎาคม 2559 ร่วมเยือนชุมชนคนทำเทียนภายในคุ้มวัดต่าง ๆ พร้อมศึกษาเรียนรู้และร่วมทำเทียนกับชาวอุบลฯ

          - วันที่ 18-20 กรกฎาคม 2559 ร่วมเทศกาลศิลปะเทียนนานาชาติเมืองอุบลฯ จัดแสดงบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี

          - วันที่ 19-20 กรกฎาคม 2559 วันรวมเทียน (เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป) และวันแห่ภาคกลางคืน หน้าวัดศรีอุบลฯ และในช่วงเวลาบ่ายร่วมสนุกกับขบวนส่งเทียนจากชุมชนสู่คุ้มวัดต่าง ๆ เข้าสู่สถานที่รวมเทียน บริเวณหน้าเทศบาลนครอุบลฯ และการชมเทียนพรรษาทุกต้น ทุกประเภทได้ที่นี่ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำเรื่อยไปจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น

          - วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป พิธีเปิดงานประเพณีแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี 2559 ชมขบวนแห่ต้นเทียนพรรษาเมืองอุบลฯ สุดยิ่งใหญ่ตระการตา ขบวนฟ้อนรำ สัมผัสวิถีชีวิตชาวอีสานที่ฟ้อนรำอย่างพร้อมเพรียงสวยงาม

          - วันที่ 20-22 กรกฎาคม 2559 ร่วมชมการจัดแสดงต้นเทียนที่ชนะการประกวดที่บริเวณถนนหน้าเทศบาลนครอุบลฯ พร้อมกับกิจกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม อาทิ ประติมากรรมเทียนนานาชาติ ถนนสายเทียนถนนสายธรรม ฯลฯ

      นอกจากนี้ยังมี "งานประติมากรรมเทียนร่วมสมัย" อีกหนึ่งกิจกรรมไฮไลท์ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Her Story" โดยศิลปินจากประเทศชิลี ลัตเวีย รัสเซีย สเปน ไต้หวัน เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และไทย จำนวน 9 ชิ้นงาน ขนาด Oversize พร้อมศิลปินรุ่นใหม่ Young Artist จากสถาบันศิลปะชั้นนำในประเทศไทย อาทิ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี แห่งเดียวในโลกที่ศิลปินนำเทียนมาใช้เป็นองค์ประกอบหลักของการสร้างงาน โดยประยุกต์จากศิลปะการแกะสลักเทียนประเพณีมาเป็นงานศิลปะร่วมสมัย อีกด้านหนึ่งของงานศิลปะในมุมความคิดของศิลปินต่างแดน ชมการทำงานของศิลปินได้ในวันที่ 5-16 กรกฎาคม และชมงานประติมากรรมที่สมบูรณ์แล้วพร้อมมาฟัง story ของชิ้นงานผ่านเสียงดนตรีในชุด "Candle of Music" ได้ในวันที่ 18-20 กรกฎาคม 2559

          Installation Art งานศิลปะแบบจัดวางที่เพิ่มสีสัน และเรื่องราวสนุก ๆ ตามจินตนาการ

          Creative Art งานศิลปะสร้างสรรค์ที่นักท่องเที่ยวจะได้ร่วมสร้างประสบการณ์พร้อมได้เรียน รู้เพื่อการนำไปสู่แรงบันดาลใจให้เกิดความคิดสร้างสรรค์กับชีวิตประจำวัน เพราะชีวิตคือธรรมชาติและศิลปะ

          กิจกรรม "เยือนชุมชน คนทำเทียน" ปีละครั้งกับการเปิดให้เข้าชมขั้นตอนการสร้างและตกแต่งเทียนพรรษาตามคุ้มวัด ต่าง ๆ ของเมืองอุบลอย่างใกล้ชิด ต้นเทียนที่งดงามด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของครูช่างเทียนที่สั่งสมประสบการณ์ และความรู้ที่ได้ถ่ายทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาตามคุ้มวัดต่าง ๆ และร่วมทำบุญหลอมเทียนที่นำไปเป็นส่วนหนึ่งของต้นเทียนในขบวนแห่ได้ในวันที่ 5-19 กรกฎาคม 2559
 
     สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปร่วมงานสามารถนั่งชมขบวนแห่อย่างสวยงามได้ ที่อัฒจรรย์ที่ทางเทศกาลได้จัดเตรียมให้นั่งชมฟรี !! ตั้งแต่บริเวณหน้าวัดศรีอุบลรัตนาราม ยาวไปจนถึงบริเวณหน้าศาลากลางหลังเก่า บริเวณหน้าทุ่งศรีเมืองอุบลราชธานี ภายในงานมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การชมขบวนแห่เทียนทั้งประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ พร้อมทั้งมีขบวนฟ้อนรำจากคุ้มวัดต่าง ๆ ที่ส่งเทียนเข้าประกวด รวมทั้งงานแสดงสินค้าต่าง ๆ ทั้งนี้สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมงานสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลนครอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4524 6060 หรือ ททท. สำนักงานอุบลราชธานี โทรศัพท์ 0 4524 3770, 0 4525 0714
 
บทความที่เกี่ยวข้องกับประเพณีแห่เทียนพรรษา
 

http://goo.gl/pcDci


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      เพลงวันสงกรานต์
      คำขวัญวันเด็ก 2567 รวมคำขวัญวันเด็กทุกปี
      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย เนื่องในวันเข้าพรรษา
      พระประวัติ "สมเด็จพระสังฆราช” องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      โทษภัยของบุหรี่ ทำไมต้องมีกิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่
      วัดพระธรรมกาย เชิญชวนประชาชน ร่วมสวดธรรมจักร ถวายพระกุศลแด่สมเด็จพระสังฆราช ในเวลา 19.00 น. พร้อมกันทั่วโลก
      โครงการธัมมจักกัปปวัตตนสูตร [ประวัติความเป็นมาของโครงการ]
      วันสงกรานต์ 2566 ประเพณีวันสงกรานต์ ประวัติความเป็นมาวันสงกรานต์
      สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี 2566
      กิจกรรมเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ระหว่างกรกฎาคม – กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓
      กิจกรรมส่งเสริมศีลธรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๒ "เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์"
      วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย จัดกิจกรรมถวายพระพรชัยมงคล และถวายพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ
      Be Part of History in the Making




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related