คิชฌชาดกว่าด้วยอำนาจบุญคุณ

คิชฌชาดก พญาแร้งผู้มีความกตัญญู ผู้ที่สามารถนำพาเหล่าฝูงแร้งให้อยู่รอดปลอดภัยได้ในทุกสถานการณ์ แต่ตัวมันเองกลับต้องถูกจับเพื่อให้พระเจ้าแผ่นดินลงอาญา...พญาแร้งจะมีโอกาสรอดชีวิตหรือไม่?...เกิดอะไรขึ้นกับพญาแร้ง? https://dmc.tv/a12136

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 9 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18259 ]

ชาดก 500 ชาติ

คิชฌชาดก-ว่าด้วยอำนาจบุญคุณ

คิชฌชาดก "เป็นเรื่องของพญาแร้งที่มีความกตัญญูรู้คุณ คิดตอบแทนคุณท่านเศรษฐีที่ได้ช่วยชีวิตตนและเหล่าบริวาร เมื่อครั้งที่พวกตนต้องเจอกับพายุฝนที่ตกกระหน่ำจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด"
 
พญาแร้งผู้มีความกตัญญูเลี้ยงดูบิดามารดา และดูแลเหล่าบริวารให้อยู่กันอย่างร่มเย็น
 
พญาแร้งผู้มีความกตัญญูเลี้ยงดูบิดามารดาและดูแลเหล่าบริวารให้อยู่กันอย่างร่มเย็น
 
    ครั้งหนึ่งที่แผ่นดินชมพูทวีปสงบเย็นด้วยพระพุทธธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระวัจนอันเป็นคติธรรมนำการดำเนินชีวิตข้อกตัญญูรู้คุณเป็นเกราะแก้วปกป้องอันตรายได้เป็นอีกหลักธรรมข้อหนึ่งที่มหาชนสาธุการกันถ้วนหน้า ดังพระธรรมเทศนา ณ พระมหาวิหารเชตวันอรรถกถาชาดก
 
ภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่ถูกวิพากษ์วิจารย์ ในหมู่สงฆ์ว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ตัดทางโลก
 
ภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่ถูกวิพากษ์วิจารย์ในหมู่สงฆ์ว่าเป็นผู้ที่ยังไม่ตัดทางโลก
 
    ครั้งเสวยพระชาติเป็นพญาแร้ง ซึ่งมีเหตุการณ์ตรัสชาดกนี้เพราะภิกษุใหม่รูปหนึ่ง ภิกษุรูปนี้อุปสมบทไม่นาน ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่ายังไม่ตัดทางโลก ยังวนเวียนสู่บ้านเรือนทุกวันไม่ว่างเว้น “วันนี้มีชาวบ้านมาตักบาตรเยอะเหมือนกัน แวะไปที่บ้านก่อนดีกว่า” “ภิกษุใหม่รูปนั้นกลับไปบ้านอีกแล้วละซิ
 
ภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่แยกตัวออกจากกลุ่มภิกษุสงฆ์ เพื่อเดินทางกลับบ้านของตน
 
ภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่แยกตัวออกจากกลุ่มภิกษุสงฆ์หลังจากรับบิณฑบาตเรียบร้อยแล้ว
   
ภิกษุหนุ่ม ผู้บวชใหม่ผู้มีความกตัญญูเป็นที่ตั้ง ท่านออกบิณฑบาตได้อาหารมาก็นำอาหารส่วนใหญ่กลับไปเลี้ยงบิดามารดาที่บ้านและตนเองก็นำอาหารส่วนน้อยกลับไปฉันที่พระอาราม
  
    ตั้งแต่บวชมาก็เห็นกลับไปบ้านทุกวัน สงสัยคิดถึงบ้านแน่ๆ เฮ้อ พระบวชใหม่ก็อย่างนี้แหละ” ภิกษุใหม่รูปนี้ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์แต่เช้าตรู่ เสร็จแล้วก็มิได้กลับพระอารามดังภิกษุรูปอื่นๆ แต่บ่ายหน้าไปตำบลชนบทของตนพร้อมอาหารที่ภิกขาจารได้มา “รีบแวะไปที่บ้านดีกว่า เดี๋ยวจะเข้าวัดสาย”
 
ภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่เดินทางกลับบ้านทุกวัน หลังจากบิณฑบาตเรียบร้อยแล้ว
 
ภิกษุหนุ่มผู้บวชใหม่เดินทางกลับบ้านทุกวันหลังจากบิณฑบาตเรียบร้อยแล้ว
  
    เมื่อถึงบ้านภิกษุได้แบ่งอาหารส่วนใหญ่ให้บิดามารดาเลี้ยงชีวิตก่อนนำส่วนน้อยกลับไปฉันที่อารามภายหลัง “ลูกเราออกบวชแล้ว ก็ยังกลับมาดูแลเราอยู่ทุกวัน” “ได้กินเต็มอิ่มก็เพราะพระนี่แหละ พวกเรานะแก่ตัวลงมากแล้ว เรี่ยวแรงทำงานก็ไม่ค่อยจะมี เฮ้อ” เรื่องภิกษุกลับมาปรนนิบัติพ่อแม่นี้ หามีใครรู้มาก่อนไม่
 
ภิกษุหนุ่มนำอาหารที่บิณฑบาตมาได้ ให้พ่อและแม่ของตนเป็นประจำทุกวัน
 
ภิกษุหนุ่มนำอาหารที่บิณฑบาตมาได้ให้พ่อและแม่ของตนเป็นประจำทุกวัน
   
    ภิกษุรูปอื่นๆ ต่างเข้าใจผิดไปต่างๆ นาๆ ว่าภิกษุใหม่รูปนี้ไม่สิ้นทางโลก กระทั้งภิกษุท่านนี้ได้กราบทูลต่อเบื้องพระพักตร์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งมหาวิหารถึงได้สิ้นสงสัยลง “เหตุที่ข้าพระองค์กลับไปบ้านก่อน เนื่องจากต้องกลับไปดูแลพ่อแม่ที่แก่ชราแล้วพระเจ้าค่ะ”
 
ภิกษุหนุ่มได้กราบทูลเรื่องที่ตนนำอาหารไปเลี้ยงดู บิดามารดาซึ่งท่านแก่ชรามากแล้ว
 
ภิกษุหนุ่มได้กราบทูลเรื่องที่ตนนำอาหารไปเลี้ยงดูบิดามารดาซึ่งท่านแก่ชรามากแล้ว
   
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงให้เหล่าภิกษุสาธุการกับภิกษุหนุ่มผู้เลี้ยงดูบิดามารดาก่อนที่ท่านจะตรัสเล่า คิชฌชาดกว่าด้วยอำนาจบุญคุณ
 
    เรื่องภิกษุใหม่เลี้ยงดูคฤหัสถ์อันเป็นบิดามารดานี้ พระพุทธเจ้าให้สาธุการว่าดีแล้ว ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ตำหนิโทษภิกษุนี้เลย แม้โบราณกาลก่อนบัณฑิตก็ได้ทำอุปการะแก่ผู้มิใช่ญาติด้วยอำนาจบุญคุณมาแล้ว ส่วนบิดามารดาของภิกษุนี้ ควรถือเป็นภาระแท้”
 
พญาแร้งและเหล่าบริวาร ณ หุบเขาคิชฌบรรพต
 
พญาแร้งและเหล่าบริวาร ณ หุบเขาคิชฌบรรพต
 
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนั้นแล้ว จึงทรงย้อนอดีตชาติครั้งกระโน้นด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ตรัสเล่าคิชฌชาดก ดังนี้ ณ หุบเขาคิชฌบรรพตไกลออกไปจากพาราณสีมหานคร ยังมีพญาแร้งตัวหนึ่งปกครองบริวารและหาอาหารเลี้ยงดูบิดามารดาผู้ชราอยู่ ณ ที่นั่น บ้างฤดูกาลที่เกิดขาดแคลนอัตคัด
 
พญาแร้งพาเหล่าบริวารออกหาอาหารเป็นประจำทุกวัน
 
พญาแร้งพาเหล่าบริวารออกหาอาหารเป็นประจำทุกวัน
 
    พญาแร้งก็ยังดูแลบริวารและแบ่งปันอาหารแก่ผู้ให้กำเนิดจนผ่านวิกฤตได้เสมอ “ยามนี้แห้งแล้งให้พวกเราที่แข็งแรงช่วยกันบินออกไปหาอาหาร มา ตามข้ามาเถิด” “โอ้ย ไม่ได้กินอะไรมาหลายวันแล้ว โอ้ย ไม่มีเรี่ยวแรงเลย เจ้าแข็งแรงดีอยู่ ตามพญาแร้งไปหาอาหารให้ข้าด้วยนะ”
 
พญาแร้งและเหล่าบริวารเจอพายุฝน ตกกระหน่ำในขณะที่บินออกหาอาหาร
 
พญาแร้งและเหล่าบริวารเจอพายุฝนตกกระหน่ำในขณะที่บินออกหาอาหาร
  
    “ทุกทีเลย รออยู่นี่แล้วกัน เดี๋ยวข้าไปหาอาหารให้ หื้อ..”  จนฤดูฝนเวียนมาถึงอีกครั้ง อันเป็นเหตุให้เกิดกรรมแก่ฝูงแร้งทั้งปวง “โอ้ย ฤดูฝนช่างขาดแคลนอาหารจริงๆ ไม่ได้กินอะไรมาหลายวันแล้ว โอ้ย หิวๆๆๆ” “นั่นนะซิ เมื่อไหร่พญาแร้งจะพาเราออกไปหาที่อื่นละเนี่ย โอ๊ย..หิวจะแย่อยู่แล้ว”
 
พญาแร้งพาเหล่าบริวารร่อนลงหลบฝน ยังริมกำแพงเมืองพาราณสี
 
พญาแร้งพาเหล่าบริวารร่อนลงหลบฝนยังริมกำแพงเมืองพาราณสี
 
    “เจ้าก็ไปชวนพญาแร้งซิ” “เออๆๆ ข้าทุกทีเลยเนี่ย โห้ย..เบื่อจริงๆ เจ้านะ ไม่ยอมทำอะไรเลยเนี่ย” พญาแร้งทนต่อการรบเร้าของบริวารไม่ไหว ก็อำลาบิดามารดาแล้วโผขึ้นสู่นภากาศ นำฝูงไปสู่อาหาร ณ ที่ราบเบื้องล่าง “อืม..ไปก็ไป มาเถอะตามเรามา เราจะพาพวกเจ้าไปหาอาหารที่เบื้องล่างนี้เอง”
 
ท่านเศรษฐีสั่งคนรับใช้ให้พาฝูงแร้ง ไปผิงไฟและหาอาหารให้พวกมัน
 
ท่านเศรษฐีสั่งคนรับใช้ให้พาฝูงแร้งไปผิงไฟและหาอาหารให้พวกมัน
 
     “เย้ๆๆ บินไปกันพวกเรา ไปหาอาหารกัน” “ออมแรงไว้บ้างก็ดีนะ เดี๋ยวพวกเจ้าน่ะต้องบินไปอีกไกล” “โห้ย..ถ้าเป็นเรื่องอาหารละก็ แรงข้านะไม่หมดง่ายๆ หรอก ท่านพญาแร้ง” พญาแร้งนำฝูงออกมาจากหุบเขาคิชฌบรรพตได้ไม่ไกลสักเท่าไหร่นัก ก็เกิดอุบัติกาลจากพายุฟ้าคะนองก็เกิดขึ้น
 
คนรับใช้ท่านเศรษฐีพาฝูงแร้งมากินอาหาร จากซากโคกระบือที่บริเวณนอกเมือง
 
คนรับใช้ท่านเศรษฐีพาฝูงแร้งมากินอาหารจากซากโคกระบือที่บริเวณนอกเมือง
 
    ที่เคราะห์ร้ายก็คือตรงนั้นไม่มีภูเขาหรือต้นไม้ให้ร่อนลงได้ทัน และแล้วแร้งทั้งฝูงก็มิอาจต้านทานต่อพายุฝนที่กระหน่ำลงมาได้ “โอ้ย ไม่ไหวแล้ว ลมแรงเหลือเกิน บินไม่ไหวแล้ว” “พวกเราประคองตัวไว้ให้ดี ค่อยพากันบินลงสู่เบื้องล่างนั้นให้ได้” “รวมฝูงกันไว้ พากันไปยังเมืองข้างล่างนั่น ฮึบ..ไปเลย”
 
ท่านเศรษฐีได้ให้รางวัลคนรับใช้ที่ได้ดูแลฝูงแร้งเป็นอย่างดี
 
ท่านเศรษฐีได้ให้รางวัลคนรับใช้ที่ได้ดูแลฝูงแร้งเป็นอย่างดี
  
    พญาแร้งนำบริวารร่อนลงมาหลบฝนหนาวสั่นอยู่ที่กำแพงเมืองพาราณสีได้สำเร็จ แต่ขนและปีกที่เปียกน้ำจนชุ่ม ไม่สามารถทำให้บินต่อได้ ขณะนั้นเศรษฐีใจบุญแห่งพาราณสีได้ผ่านมาพบเข้า จึงคิดสร้างกุศลแก่แร้งเหล่านี้ “พ่อบ้านท่านนะ จงนำคนรับใช้มาขนเอาแร้งเหล่านี้ไปผิงไฟให้อุ่น
 
เมื่อกินอาหารจนอิ่มฝูงแร้งก็พากันบินกลับ ไปยังเขาคิชฌบรรพตที่อยู่ของพวกตน
 
เมื่อกินอาหารจนอิ่มฝูงแร้งก็พากันบินกลับไปยังเขาคิชฌบรรพตที่อยู่ของพวกตน
  
    หาอาหารให้กินจนอิ่มด้วยเถิด” “โอ้ มีคนมาช่วยพวกเราแล้ว รอดตายแล้วเรา” “สาธุ ขอบคุณท่านเศรษฐีจริงๆ” บริวารเศรษฐีรับคำสั่งแล้วก็นำเอาฝูงแร้งไปในที่กำบังฝน จัดการก่อไฟให้อบอุ่น จนปีกและขนเริ่มแห้ง จากนั้นก็นำไปยังแหล่งอาหารนอกเมือง ซึ่งเป็นที่ทิ้งซากโคกระบือ “เย้ ปีกแห้งแล้วเรา เดี๋ยวก็บินได้แล้ว”
 
ฝูงแร้งให้เหล่าบริวารช่วยกันคิดหาวิธีตอบแทน บุญคุณท่านเศรษฐีที่เคยช่วยชีวิตพวกตนไว้
 
ฝูงแร้งให้เหล่าบริวารช่วยกันคิดหาวิธีตอบแทนบุญคุณท่านเศรษฐีที่เคยช่วยชีวิตพวกตนไว้
 
พญาแร้งผู้กตัญญู บอกแผนการกับบริวารในการที่จะตอบแทนคุณท่านเศรษฐีที่เคยช่วยชีวิตพวกตนไว้
  
    “โอ้โห มีแต่อาหารทั้งนั้นเลย พวกเรานนี้ เป็นหนี้บุญคุณท่านเศรษฐีจริงๆ” “พวกแร้งเป็นยังไงบ้างพ่อบ้าน” “แร้งทั้งหมดพ้นความตาย กำลังกินเนื้อซากโคกระบืออยู่” “ดีแล้วๆ เอ้านี่ เงินรางวัล จงนำไปแจกจ่ายแบ่งปันกันให้ทั่วนะ” “โอ้ ขอบคุณมากท่านเศรษฐี” เมื่อพายุฝนสงบลงพญาแร้งก็นำฝูงของตนโผบินกลับภูมิลำเนาของตน
 
ฝูงแร้งพากันขโมยเสื้อผ้าที่ชาวบ้านได้ซักตากไว้
 
ฝูงแร้งพากันขโมยเสื้อผ้าที่ชาวบ้านได้ซักตากไว้
 
    ด้วยความสำนึกในพระคุณของเศรษฐีอย่างล้นพ้น ครั้นฤดูฝนผ่านพ้นไป วันหนึ่งพญาแร้งก็เรียกประชุมบริวารเพื่อหาทางตอบแทนบุญคุณท่านเศรษฐี “เรารอดตายครั้งนั้นได้ เพราะท่านเศรษฐีแท้ๆ เลย พวกเรานะ ควรจะตอบแทนบุญคุณท่าน พวกเจ้าช่วยกันคิดหาวิธีตอบแทนบุญคุณท่านเศรษฐีซิ”
 
ฝูงแร้งทำการขโมยเสื้อผ้าชาวบ้านทุกวัน จนเกิดความวุ่นวายไปทั่วทั่งเมือง
 
ฝูงแร้งทำการขโมยเสื้อผ้าชาวบ้านทุกวันจนเกิดความวุ่นวายไปทั่วทั่งเมือง
 
ฝูงแร้งจากเขาคิชฌบรรพต ได้ทำการขโมยเสื้อผ้าทำให้ชาวเมืองได้รับความเดือดร้อนเกิดความวุ่นวายไปทั่วพาราณสี
  
     “ข้าว่า เราคาบอาหารที่พวกเราหาได้ แบ่งให้ท่านเศรษฐีบ้าง ดีไหม๊ ท่านพญาแร้ง” “ไม่ดีๆๆ ท่านเศรษฐีเค้าไม่ได้กินอาหารเหมือนพวกเรา” “ข้าว่า เราน่าจะหาอะไรที่ท่านเศรษฐีใช้เป็นประโยชน์นะท่านพญาแร้ง” “อือ ข้านึกออกแล้วเสื้อผ้ายังไงละ พวกเจ้าทุกตัวจงคอยดูเสื้อผ้าอาภรณ์ที่มนุษย์ตากไว้
 
ฝูงแร้งทำการขโมยเสื้อผ้าชาวบ้านนำมาให้ท่านเศรษฐี
 
ฝูงแร้งทำการขโมยเสื้อผ้าชาวบ้านนำมาให้ท่านเศรษฐี
 
    เมื่อเห็นที่ไหนให้เร่งฉกฉวยเอาไปให้หมด” “โหย เสื้อผ้าพวกนั้น พวกเราใส่ไม่ได้หรอก” “โอ้ย เค้าไม่ได้ให้เอามาใส่เอง ท่านพญาแร้งเค้าเอาไปให้ท่านเศรษฐี เจ้านี่ซื่อบื้อจริงๆ เลย” และแล้วความเดือดร้อนของประชาชนก็เริ่มมีขึ้น และมีต่อๆ ไปทุกวันทั่วพาราณสี “อุ๊ย เสื้อตัวนี้ลายสวยดี ขอแล้วกันนะจ๊ะ”
 
 
ท่านเศรษฐีประหลาดใจยิ่งนักกับการกระทำของฝูงแร้ง
 
ท่านเศรษฐีประหลาดใจยิ่งนักกับการกระทำของฝูงแร้ง
 
    “โอ้ย เนื้อผ้าอันนี้ก็สวย ขอล่ะ” “เร็วๆ พวกเราช่วยกันคาบไปให้ท่านเศรษฐีกันเถอะ” “เฮ้ย เสื้อผ้าชั้น พวกแกจะคาบเสื้อผ้าชั้นไปไหนเนี่ย” ปฏิบัติการครั้งนี้ นำความมึนงงแก่เศรษฐีเป็นอย่างมาก แต่ท่านมิใช่คนโลภที่รวยแล้วไม่รู้จักพอ จึงสั่งบริวารเก็บผืนผ้าอาภรณ์พรรณที่แร้งทิ้งลงในคฤหาสน์ไว้เป็นส่วนๆ
 
ราษฎรพาราณสีเข้าถวายฎีกาเรื่องที่ได้รับ ความเดือดร้อนจากการกระทำของฝูงแร้ง
 
ราษฎรพาราณสีเข้าถวายฎีกาเรื่องที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของฝูงแร้ง
 
    “เกิดอะไรขึ้นกันเนี่ย พวกแร้งไปคาบเอาเสื้อผ้านั้นมาจากไหน” “เหมือนพวกมันจะจงใจคาบมาไว้ที่เรานะ ขอรับ” “นั่นนะซิ พวกเจ้า เก็บเสื้อผ้าพวกนั้นไว้ก่อนนะ” ชาวบ้านชาวเมืองได้รับความเดือดร้อน ก็เข้าเฝ้าถวายฎีกาต่อพระเจ้าพรหมทัต “ข้าแต่ฝ่าบาท พวกเราได้รับความเดือดร้อนจากแร้งฝูงนี้มากพะยะค่ะ”
 
พญาแร้งติดบ่วงจับดักและถูกนำตัวเข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต
 
พญาแร้งติดบ่วงจับดักและถูกนำตัวเข้าเฝ้าพระเจ้าพรหมทัต
  
    “ใช่เพคะ เสื้อผ้าที่ตากไว้หายหมดเกลี้ยงทุกวัน” “ทหารฟังเรานะ ให้พวกเจ้าวางบ่วงดักจับพญาแร้งฝูงนั้นให้ได้ จับได้พญาแร้งตัวเดียวพวกท่านก็จะได้ของคืนทั้งหมด เอาหล่ะ จงไปวางบ่วงจับเถิด”  “พะยะค่ะ” เมื่อได้ฟังแผนการจากพระเจ้าพรหมทัตแล้ว มหาชนก็ชุมนุ่มกัน ทำการวางกลอุบายหาทางวางบ่วงดักจับพญาแร้ง
 
ท่านเศรษฐีตามพญาแร้งเข้าไปในพระราชวังด้วยความห่วงใย
 
ท่านเศรษฐีตามพญาแร้งเข้าไปในพระราชวังด้วยความห่วงใย
 
    “พวกเรามาช่วยกันวางบ่วงดักจับพญาแร้งกันเถอะ มาช่วยกันคนละไม้ละมือ รับรองพญาแร้งเสร็จเราแน่ๆ” “ดีๆ ที่นี้แหละ ข้าจะได้เสื้อผ้าของข้าคืนซะที” “เราเอาซากสัตว์มาล่อ แล้ววางบ่วงไว้ดีไหม๊ พวกเจ้าว่ามันจะได้ผลรึเปล่า รึว่าเราจะวางกับดักด้วยเสื้อผ้าดี” “ข้าว่าเป็นเสื้อผ้าดีกว่า ใช้แผนนี้นะ
 
พระราชาทรงตรัสสอบถามพญาแร้ง ถึงสาเหตุที่ได้ขโมยเสื้อผ้าของชาวบ้าน
 
พระราชาทรงตรัสสอบถามพญาแร้งถึงสาเหตุที่ได้ขโมยเสื้อผ้าของชาวบ้าน
 
    เจ้าพญาแร้งมันไม่รู้หรอก” “เอ้า..ถ้าอย่างนั้นก็ลงมือกันเลยซิพวกเรา” วันต่อมาพญาแร้งก็ต้องกลอุบายถูกบ่วงรัดจนชาวพระนครจับได้ เมื่อนำไปถวายให้พระเจ้าแผ่นดินลงพระอาญา เศรษฐีก็ตามเข้าเฝ้าด้วยเพราะความห่วงใยพญาแร้ง เกรงว่าจะถูกฝูงชนรังแก “พวกท่านจะนำพญาแร้งไปที่ไหนเหรอ”
 
พญาแร้งได้เล่าถึงสาเหตุที่ตนและเหล่าบริวาร ต้องกระทำการขโมยเสื้อผ้า
 
พญาแร้งได้เล่าถึงสาเหตุที่ตนและเหล่าบริวารต้องกระทำการขโมยเสื้อผ้า
 
    “อ้าว ถามได้ก็นำไปถวายพระเจ้าพรหมทัตให้ลงอาญานะซิ” “ถ้าอย่างนั้นนะ รอเราด้วย เราขอไปกับพวกท่านด้วย” เมื่อพระราชาเสด็จออกทอดพระเนตร จึงตรัสถามเอาความจริงกับพญาแร้ง “พวกเจ้าปล้นเมืองคาบผ้าไปหรืออย่างไร” “ใช่แล้วพระเจ้าคะ” “ทำไมต้องทำอย่างนั้นล่ะ” “ข้าแต่มหาราช ข้าและบริวารทำการขโมยก็จริงแต่ก็เพื่อนำไปให้ท่านเศรษฐี พระเจ้าค่ะ”
 
ท่านเศรษฐีได้เล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งที่ตนเคยช่วยชีวิต ฝูงแร้งเอาไว้ต่อพระเจ้าพรหมทัต
 
ท่านเศรษฐีได้เล่าเหตุการณ์เมื่อครั้งที่ตนเคยช่วยชีวิตฝูงแร้งเอาไว้ต่อพระเจ้าพรหมทัต
 
    “ห๊า...เอาไปให้ท่านเศรษฐีรึ” “ทำไมล่ะ ทำไมต้องเอาไปให้ท่านเศรษฐีด้วย” “เจ้าทำเช่นนั้นเพราะเหตุใดรึ” “ท่านเศรษฐีเคยช่วยชีวิตข้าและบริวารไว้ การทำอุปการะตอบแทนย่อมสมควรพระเจ้าคะ” พระราชาฟังแล้วก็ตรัสชมเชยในแรงกตัญญู อีกทั้งทรงถามเรื่องสงสัยประการหนึ่ง “เราได้ยินว่าสายตาแร้งนั้น มองได้ไกลเป็นร้อยโยชน์
 
ท่านเศรษฐีได้นำเสื้อผ้าทั้งหมดส่งคืน ชาวเมืองพาราณสีครบถ้วนทุกครัวเรือน
 
ท่านเศรษฐีได้นำเสื้อผ้าทั้งหมดส่งคืนชาวเมืองพาราณสีครบถ้วนทุกครัวเรือน
 
    แต่ทำไมไม่เห็นบ่วงที่เค้าดักไว้เล่า” “เกิดแต่กรรมพระเจ้าคะ เมื่อสัตว์มีความเสื่อม ถึงเข้าใกล้กับดักก็มิอาจรู้ได้” เมื่อพระเจ้าพรหมทัตสอบถามมหาเศรษฐีว่าตรงกันแล้ว ก็ทรงตัดสินให้ปล่อยพญาแร้งไป “เสื้อผ้าอาภรณ์ทั้งหลายนั้น ข้าพระองค์จะนำคืนเจ้าของให้ครบถ้วน” “อืม..ดีๆๆ ถ้าอย่างนั้นก็จบเรื่องนี้ไป”
 
เมืองพาราณสีกลับสู่ภาวะปกติสงบเรียบร้อยดังเดิม
 
เมืองพาราณสีกลับสู่ภาวะปกติสงบเรียบร้อยดังเดิม
 
    “ถวายพระพรลาพระเจ้าคะ” กาลนั้นเศรษฐีแห่งพาราณสีก็เร่งจัดเอาอาภรณ์พรรณที่คัดแยกไว้เอาออกไปคืนให้ชาวเมืองทุกคน เรื่องราวแห่งกตเวทีของพญาแร้งก็ได้รับการบอกเล่ากล่าวขานไว้อบรมบุตรธิดากันทุกครอบครัว “ฮึบ เสื้อผ้าตั้งเยอะตั้งแยะ พวกแร้งมันขยันคาบมาทุกวันจริงๆ ชั่งกตัญญูแท้ๆ เลย”
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าชาดกจบลง ก็ทรงแสดงอริยสัจโดยเอนกปริยาย
 
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเล่าชาดกจบลงก็ทรงแสดงอริยสัจโดยเอนกปริยาย
 
    พญาแร้งทำการขอบคุณเศรษฐี ถวายบังคมลาพระเจ้าพรหมทัต แล้วก็โผบินสู่ขุนเขาคิชฌบรรพตเพื่อเลี้ยงดูบิดามารดาและปกครองบริวารต่อไป ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาทจนสิ้นอายุขัยจากโลกไป สมเด็จพระพุทธศาสดา จบพระธรรมเทศนาคิชฌชาดกไว้ดังนี้ ทรงแสดงอริยสัจ เป็นเอนกภิกษุผู้เลี้ยงดูบิดามารดาก็ตั้งอยู่ในธรรมอันประเสริฐ
 
 
ในพุทธสมัย พระราชาพรหมทัต กำเนิดเป็น พระอานนท์
เศรษฐีแห่งพาราณสี กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
พญาแร้งผู้รู้บุญคุณ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 

รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 

http://goo.gl/tAmWb


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ