พุทธศาสนสุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต สุภาษิต รวมพุทธสุภาษิตที่สำคัญตามหมวดหมู่ พร้อมไฟล์ดาวน์โหลด พุทธศาสนสุภาษิตพร้อมคําแปล ความหมายของพุทธศาสนสุภาษิต พุทธศาสนสุภาษิต คําอ่าน คําแปล https://dmc.tv/a16256

บทความธรรมะ Dhamma Articles > บทสวดมนต์
[ 26 ก.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18310 ]

สุภาษิต

พุทธศาสนสุภาษิต

 
พุทธศาสนสุภาษิต
 
การ์ดธรรมะใสๆ
การ์ดธรรมะใสๆ 
 
     สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ = ดี,  ภาษิต = กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้

    พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม


         เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต / พุทธสุภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์)   ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต    ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง     แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ  เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น

พุทธศาสนสุภาษิต : พระราชา


    ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญาณํ
    พระราชาเป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น

    ราชา มุขํ นุสฺสสานํ
    พระราชาเป็นประมุขของประชาชน

    สพฺพํ รฏฺฐํ สุขํ โหตุ ราชา เจ โหติ ธมฺมิโก
    ถ้าพระราชาเป็นผู้ทรงธรรม ราษฎรทั้งปวงก็เป็นสุข

    กุทฺธํ อปฺปฏิกุชฺฌนฺโต ราชา รฏฺฐสฺส ปูชิโต
    พระราชาผู้ไม่กริ้วตอบผู้โกรธ ราษฎรก็บูชา

    สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปติ
    พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบย่อมสง่า

    ขตฺติโย เสฏฺโฐ ชเนตสฺมิง เย โคตฺตปฏิสาริโน
    พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่ชนผู้รังเกียจด้วยสกุล
 

พุทธศาสนสุภาษิต : สิ่งที่เป็นการยาก


    กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ
    ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก

    กิจฺฉํ มจฺจาน ชีวิตํ
    ความเป็นอยู่ของสัตว์เป็นการยาก

    กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
    การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก

    กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
    ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก

    ทุลฺลภํ ทสฺสนํ โหติ สมฺพุทฺธานํ อภิณฺหโส
    การเห็นพระพุทธเจ้าเนืองๆ เป็นการหาได้ยาก
 

พุทธศาสนสุภาษิต : ทรัพย์และอนิจจัง


    น จาปิ วิตฺเตน ชรํ วิหนฺติ
    กำจัดความแก่ด้วยทรัพย์ไม่ได้

    น ทีฆมายุง ลภเต ธเนน
    คนไม่ได้อายุยืนเพราะทรัพย์

    สพฺเพ ว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสยํ
    สัตว์ทั้งปวง จักทอดทิ้งร่างไว้ในโลก

    อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
    ทั้งคนมีทั้งคนจน ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า

    อปฺปกญฺจิทํ ชีวตมาหุธีรา
    ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก

    น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา
    ความผัดเพื่อนกับมฤตยู อันมีกองทัพใหญ่นั้น ไม่ได้เลย

    ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

    ภิยฺโย จ กาเม อภิปตฺถยนฺติ
    ผู้บริโภคกาม ย่อมปรารถนากามยิ่งขึ้นไป

    ชรูปนีตสฺส น สนฺติ ตาณา
    เมื่อสัตว์ถูกชรานำเข้าไปแล้ว ไม่มีผู้ป้องกัน

    น มิยฺยมานสฺส ภวนฺติ ตาณา
    เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน

    น มิยฺยามานํ ธมฺมนฺเวติ กิญฺจิ
    ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้

    สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง

    ขโณ โว มา อุปจฺจคา
    ขณะอย่าล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย

    อติปตฺติ วโย ขโณ ตเถว
    วัยย่อมผ้านพ้นไปเหมือนขณะทีเดียว

    กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
    กาลเวลาย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตัวมันเอง

การ์ดธรรมะใสๆ
การ์ดธรรมะใสๆ  

 พุทธศาสนสุภาษิต : ความโกรธ


    โกธํ ฆตฺวา น โสจติ
    ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมไม่เศร้าโศก

    โกโธ สตฺถมลํ โลเก
    ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก

    โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
    ฆ่าความโกรธได้แล้วย่อมอยู่เป็นสุข
 

พุทธศาสนสุภาษิต : ความทุกข์


    ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
    ความจนเป็นทุกข์ในโลก

    อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
    การกู้หนี้ เป็นทุกข์ในโลก

    ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้

    สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
    สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง
 

พุทธศาสนสุภาษิต : สหาย


    อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา
    เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายเป็นผู้นำสุขมาให้

    สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
    ถ้าได้สหายผู้รอบคอบพึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา

    ปาปมิตฺโต ปาปสโข ปาปอาจารโคจโร
    มีมิตรเลว มีเพื่อนเลว ย่อมมีมรรยาทและมีที่เที่ยวเลว

    นตฺถิ พาเล สหายตา
    ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล

    ภริยา ปรมา สขา
    ภริยาเป็นเพื่อนสนิท, ภรรยาเป็นสหายอย่างยิ่ง
 

พุทธศาสนสุภาษิต : มลทิน


    อสชฺฌายมลา มนฺตา
    มนต์มีการไม่ท่องบ่น เป็นมลทิน

    อนุฏฺฐานมลา ฆรา
    เหย้าเรือนมีความไม่หมั่นเป็นมลทิน

    มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ
    ความเกียจค้านเป็นมลทินแห่งผิวพรรณ

    มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ
    ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง
 

พุทธศาสนสุภาษิต : บริสุทธิ์


    สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺตํ
    ความบริสุทธิ์และความไม่บริสุทธิ์มีเฉพาะตัว

    นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย
    ผู้อื่นพึงทำให้ผู้อื่นบริสุทธิ์ไม่ได้

    สุทฺธสฺส สุจิกมฺมสฺส สทา สมฺปชฺชเต วตํ
    พรตของผู้บริสุทธิ์มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
 

พุทธศาสนสุภาษิต : การชนะ


    สพฺพรติง ธมฺมรติ ชินาติ
    ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง

    ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
    ความสิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง

    น หิ ชิตํ สาธุ ชิตํ ยํ ชิตํ อวชิยฺยติ
    ความชนะที่ไม่กลับแพ้เป็นดี

    อสาธุง สาธุนา ชิเน
    พึงชนะคนไม่ดี ด้วยความดีของตน

    ชิเน กทริยํ ทาเนน
    พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้

    สจฺเจนาลิกวาทินํ
    พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
 

พุทธศาสนสุภาษิต : หว่านพืชเช่นใด ได้ผลเช่นนั้น


    อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
    ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ย่อมได้สิ่งที่เลิศอีก

    มนาปทายี ลภเต มนาปํ
    ผู้ให้สิ่งที่ชอบใจ ย่อมได้สิ่งที่ชอบใจ

    เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปติ ฐานํ
    ผู้ให้สิ่งที่ประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ

    ททโต ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
    บุญของผู้ให้ย่อมเจริญ

    ทเทยฺย ปุรโส ทานํ
    คนควรให้ทาน

    ปุญฺญมากงฺขมานานํ สงฺโฆ เว ยชตํ มุขํ
    พระสงฆ์นั้นแล เป็นประมุขของเหล่าชนผู้จำนงบุญบูชาอยู่
 

พุทธศาสนสุภาษิต : ผู้ครองเรือน


    ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
    เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้ฯ

    อนุฏฺฐานมลา ฆรา
    เหย้าเรือนมีความไม่หมั่น เป็นมลทินฯ

    โภคา สนฺนิจฺจยํ ยนฺติ วมฺมิโก วุปจียติ
    โภคทรัพย์ของผู้ครองเรือนดี ย่อมถึงความพอกพูน เหมือนจอมปลวกกำลังก่อขึ้นฯ
 

พุทธศาสนสุภาษิต : ภรรยา


    ภตฺตา ปุญฺญาณมิตฺถิยา
    ภัสดาเป็นสง่าของสตรีฯ

    ภตฺตารํ นาติมญฺญติ
    ภรรยาดี ไม่ดูหมิ่นภัสดา

    ภตฺตุ ฉนฺทวสานุคา
    ภรรยาย่อมคล้อยตามอำนาจแห่งความพอใจของภัสดา

    ภตฺตุญฺจ ครุโน สพฺเพ ปฏิปูเชติ ปณฺฑิตา
    ภรรยาผู้ฉลาดย่อมนับถือภัสดาและคนควรเคารพทั้งปวง

    ภตฺตุมนา ปญฺจรติ
    ภรรยาดีย่อมประพฤติเป็นที่พอใจของภัสดา

    สมฺภตํ อนุรกฺขติ
    ภรรยาดีย่อมคอยรักษาทรัพย์ที่ภัสดาหามาได้ไว้

    สุสํวิหิตกมฺมนฺตา
    ภรรยาดีเป็นผู้จัดทำการงานดี

    สุสฺสูสา เสฏฺฐา ภริยานํ
    บรรดาภิรยาทั้งหลาย ภริยาผู้เชื่อฟังเป็นผู้ประเสริฐ
 

พุทธศาสนสุภาษิต : วาจา

    หทยสฺส สทิสี วาจา
    วาจาเช่นเดียวกับใจ

    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
    ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน

    ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
    คนโกรธมีวาจาหยาบคาย

    มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
    คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน

    อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก

    สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
    ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์

    ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน

    น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
    ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย

    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิํ
    ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ

    วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม

    โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
    เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

    มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ

    นามนุญฺญํ กุทาจนํ
    ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ

    วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ
    ไม่ควรกล่าววาจาที่ดี ให้เกินกาล

การ์ดธรรมะใสๆ
การ์ดธรรมะใสๆ 

พุทธศาสนสุภาษิต : ความกตัญญูและพรหมวิหาร


    หิริโอตฺตปฺ ปิยญฺเญว โลกํ ปาเลติ สาธุกํ
    หิริและโอตตับปปะ ย่อมรักษาโลกไว้เป็นอันดี

    โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา
    เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก

    อรติ โลกนาสิกา
    ความริษยาเป็นเหตุทำโลกให้ฉิบหาย

    มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห
    อัชฌาศัยที่ทนไม่ได้เพราะกรุณาเป็นลักษณะของความเป็นมหาบุรุษ

    นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา
    ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายแห่งคนดี

    สพฺพญฺเจ ปฐวิง ทชฺชา เนว นํ อภิราธเย
    ถึงแม้ให้แผ่นดินทั้งหมดก็ยังคนอกตัญญูให้จงรักไม่ได้
 

พุทธศาสนสุภาษิต : คนชั่วกับลาภสักการะ


    หนฺติ โภคา ทุมฺเมธํ
    โภคทรัพย์ย่อมฆ่าคนมีปัญญาทราม

    สกฺกาโร กาปุริสํ หนฺติ
    สักการะ ย่อมฆ่าคนชั่วเสีย
 

พุทธศาสนสุภาษิต : การงาน


    อกิลาสุ วินฺเท หทยสฺส สนฺติง
    คนไม่เกียจคร้าน พึงได้รับความสงบใจ

    สุทสฺสํ วชฺชมญฺเญสํ อตฺตโน ปน ทุทฺทสํ
    ความผิดของผู้อื่นเห็นง่าย ฝ่ายของตนเห็นยาก

    อิติ วิสฺสฏฺฐกมฺมนฺเต อตฺถา อจฺเจนฺติ มาณเว
    ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนหนุ่มผู้ทอดทิ้งการงาน

    นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา
    ประโยชน์ย่อมล่วงเลยคนโง่ผู้มัวถือฤกษ์อยู่


พุทธศาสนสุภาษิต หมวดความประมาท


1 ความประมาท เป็นทางแห่ง ความตาย
2 ความประมาท บัณฑิต ติเตียนทุกเมื่อ
3 ความประมาท เป็นมลทินของผู้รักษา
4 ผู้ประมาท เหมือนคนตายแล้ว
5 ไม่ควรสมคบด้วยความประมาท
6 อย่ามัวประกอบความประมาท
7 คนมีปัญญาทราม ย่อมประกอบแต่ความประมาท
8 คนประมาท ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน
9 ความรู้เกิดแก่คนพาล ก็เพียงเพื่อความฉิบหาย, มันทำสมองของเขาให้เขว, ย่อมฆ่าส่วนที่ขาวของคนพาลเสีย
10 ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่า
11 เมื่อก่อนประมาท ภายหลังไม่ประมาท เขาชื่อว่ายังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนพระจันทร์พ้นจากเมฆหมอกฉะนั้น
12 คนทอดทิ้งกิจที่ควรทำ ไปทำกิจที่ไม่ควรทำ เมื่อเขาถือตัวมัวประมาท อาสวะย่อมเจริญ
13 หากกล่าวพุทธพจน์ได้มาก แต่เป็นคนประมาท ไม่ทำตามพุทธพจน์นั้น ก็ไม่มีส่วนแห่งสามัญญผล เหมือนคนเลี้ยงโคคอยนับโคให้ผู้อื่นฉะนั้น

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดความไม่ประมาท


1 ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตาย
2 ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
3 ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีในความไม่ประมาท
4 ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อม
5 บัณฑิตย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท
6 บัณฑิตย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท
7 บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ย่อมได้รับประโยชน์ทั้งสอง
8 ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
9 ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนทรัพย์ประเสริฐสุด
10 คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะที่น้ำหลากมาให้ท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ
11 ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไปฉะนั้น
12 ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม ชื่อว่าอยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
13 ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน
14 คนมีปัญญาดีไม่ประมาทในเมื่อผู้อื่นประมาท มักตื่นในเมื่อผู้อื่นหลับ ย่อมละทิ้งผู้ประมาท (คนโง่) เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว ทิ้งม้าไม่มีกำลังไปฉะนั้น
15 ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
16 ภิกษุผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ มีสติ ไม่ประมาท ละความนับถือมั่นว่าของเราได้แล้วเที่ยวไป เป็นผู้รู้ พึงละชาติ ชรา โสกะ ปริเทวะ และทุกข์ ในโลกนี้ได้
17 ยศย่อมเจริญแก่ผู้มีความหมั่น มีสติ มีการงานสะอาด ใคร่ครวญแล้วทำ ระวังดีแล้ว เป็นอยู่โดยธรรม และไม่ประมาท
 
การ์ดธรรมะใสๆ
การ์ดธรรมะใสๆ  

พุทธศาสนสุภาษิต หมวดตน-การฝึกตน


1 บุคคลไม่ควรลืมตน
2 ตนนั่นแหละเป็นที่รักยิ่ง
3 ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตนอยู่เป็นนิจ
4 ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
5 ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
6 ตระเตรียมตนให้ดีเสียก่อนแล้ว ต่อไปจะได้สิ่งอันเป็นที่รัก
7 รู้ตนว่าเป็นคนเช่นใด เหล่าเทพไท้ก็รู้เช่นนั้น
8 ผู้ฝึกตนได้ เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์
9 ไม่ควรพร่าประโยชน์แห่งตน เพราะประโยชน์ผู้อื่นแม้จะมีมาก
10 แน่ะ บุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวท่านเองย่อมรู้
11 ฝึกตนได้แล้วจึงควรฝึกคนอื่น
12 จงถอนตนขึ้นจากหล่ม เหมือนช้างตกหล่มถอนตนขึ้นฉะนั้น
13 ติตนเองเพราะเหตุใด ไม่ควรทำเหตุนั้น
14 ได้ยินมาว่า ตัวเราฝึกได้ยาก
15 ถ้ารู้ว่าตนเป็นที่รัก ก็ไม่ควรประกอบตนนั้นด้วยความชั่ว
16 ควรรักษาตนนั้นไว้ให้ดี
17 ความบริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ เป็นของเฉพาะตัว
18 จงเป็นผู้ตามรักษาตน อย่าให้เดือดร้อน
19 อย่าฆ่าตัวเองเสียเลย
20 บัณฑิตพึงทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิต
21 เป็นที่รู้กันว่า ตนนี่แหละ ฝึกได้ยาก
22 ความผิดของตน มองเห็นได้ยาก
23 ทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
24 ไฉนจึงดูถูกตัวเองเล่า
25 ทุกท่านสามารถทำดีได้
26 พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
27 ตนมีทางไป เป็นของตน
28 ติตนด้วยข้อใด อย่าทำข้อนั้นเสียเอง
29 บัณฑิต ย่อมฝึกตน
30 บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตนเอง
31 รักอื่นเสมอด้วยรักตน นั้นไม่มี
32 ไม่พึงอาศัยผู้อื่นยังชีพ
33 คนชั่วฆ่าตัวเองก่อน ภายหลังจึงฆ่าคนอื่น
34 ความผิดของผู้อื่นเห็นได้ง่าย
35 จงเตือนตนด้วย ตนเอง
36 บุรุษ ไม่พึงสละเสียซึ่งตัวเอง
37 ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นความโชติช่วงแห่งคน
38 ตนแล เป็นคติของตน
39 ความรักอื่น เสมอด้วยความรักตนเองไม่มี
40 คนอื่นจะทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้
41 จงพิจารณาตนด้วยตนเอง
42 ไม่ควรเอาตัวไปพัวพันกับความชั่ว
43 คนมิได้เป็นโจรเพราะคำของคนอื่น มิได้เป็นมุนีเพราะคำของคนอื่น
44 ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
45 ผู้มีตน ฝึกตนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งได้ยาก
46 ชื่อว่าที่ลับ ไม่มีในโลก
47 บัณฑิตไม่ควรขุดโค่นความดีของตนเสีย พึงรักษาตนไว้ให้ได้ทุกเมื่อ
48 กำหนดประโยชน์ที่หมายของตนให้แน่ชัด แล้วพึงขวนขวายแน่วในจุดหมายของตนนั้น
49 ผู้ใดรักษาตนได้ ภายนอกของผู้นั้นก็เป็นอันได้รับการรักษาด้วย
50 ท่านเอ๋ย ท่านก็สามารถทำดีได้ ไยจึงมาดูหมิ่นตัวเองเสีย
51 การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ถึงจะมากก็ไม่ควรให้เป็นเหตุ ทำลายประโยชน์ที่เป็นจุดหมายของตน
52 จงอยู่อย่างมีหลักยึดเหนี่ยวใจ อย่าเป็นคนไร้ที่พึ่ง
53 ตนทำชั่ว ตัวก็เศร้าหมองเอง ตนไม่ทำชั่ว ตัวก็บริสุทธิ์เอง
54 มัวพะวงอยู่ว่า นี่ของเราชอบ นี่ของเรารัก แล้วปล่อยปละละเลยตนเองเสีย คนอย่างนี้จะไม่ได้ประสบสิ่งที่ชอบสิ่งที่รักเลย
55 โทษคนอื่นเที่ยวกระจาย เหมือนโปรยแกลบ แต่โทษตนปิดไว้ เหมือนพรานนกเจ้าเล่ห์แฝงตัวบังกิ่งไม้
56 โทษคนอื่น เห็นง่าย แต่โทษตนเองเห็นยาก
57 ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว
58 บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ในคุณอันสมควรก่อน แล้วจึงสอนผู้อื่นภายหลัง จึงไม่มัว
หมอง
59 ชัยชนะใดกลับแพ้ได้ ชัยชนะนั้นไม่ดี ชัยชนะใดไม่กลับแพ้ ชัยชนะนั้นแลเป็นชัยชนะที่ดี
60 ถ้าสอนผู้อื่นฉันใด พึ่งทำตนฉันนั้น ผู้ฝึกตนดีแล้ว ควรฝึกผู้อื่น ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
61 สิ่งที่รักอื่นเสมอด้วยตนไม่มี ทรัพย์อื่นเสมอด้วยข้าวเปลือกไม่มี แสงสว่างอื่นเสมอด้วยปัญญาไม่มี ฝนแลเป็นสระที่ใหญ่
62 กรรมไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน ทำได้ง่าย ส่วนกรรมใดดีและเป็นประโยชน์ กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง
63 ถึงผู้ใดจะชนะเหล่าชนได้พันคนพันครั้งในสงคราม ก็หาชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมไม่ ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียว ผู้นั้นแลชื่อว่าผู้ชนะยอดเยี่ยมในสงคราม
64 ไม่ควรใส่ใจคำแสลงหูของผู้อื่น ไม่ควรแส่มองธุระที่เขาทำและยังไม่ทำ ควรตั้งใจตรวจตราหน้าที่ของตนนี่แหละทั้งที่ทำแล้วและยังไม่กระทำ
65 ตนเองนี่แหละสำคัญกว่า สำคัญกว่าเป็นไหนๆ ตระเตรียมตนไว้ให้ดีก่อนแล้ว ต่อไปก็จะได้สิ่งที่รัก

พุทธสุภาษิต


 
 
บทแผ่เมตตาบทสวดมนต์ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็น

http://goo.gl/j5pjH7


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      คำอธิษฐานจิตถวายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าเช็ดตัวและหลอดไฟ
      คำกล่าวถวายผ้าอาบน้ำฝนผ้าเช็ดตัวและหลอดไฟ
      โอวาทปาฏิโมกขาทิปาโฐ
      转法轮经 (บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ภาษาจีน)
      Dhammacakkappavattana Sutta
      รวมบทสวดมนต์ข้ามปี
      คำกล่าวถวายเครื่องกันหนาว
      คำถวายดอกไม้ธูปเทียนในวันอัฏฐมีบูชา
      บทสวดมนต์พาหุงมหากา พร้อมคำแปล
      คําอธิษฐานจิตปล่อยปลา
      คำกล่าวถวายร่มเป็นสังฆทาน
      บทสวดธรรมกายานุสติกถา
      อานิสงส์ของการรักษาศีล 5




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related