ธรรมะเพื่อประชาชน Dhamma Time เดือน มีนาคม พ.ศ.2555 หน้า 30
หน้าที่ 30 / 40

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นการทำบุญและการฝึกจิตใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำ โดยอ้างอิงถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างกรรมดีและหลีกเลี่ยงกรรมชั่ว โดยยกตัวอย่างพระเทวทัตเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่า การสะสมบุญเพื่อเตรียมตัวสำหรับชีวิตในสัมปรายภพและลดทุกข์ในโลกนี้ พร้อมอ้างอิงถึงหลักคำสอนในธรรมบทที่ส่งเสริมให้คนทำความดี

หัวข้อประเด็น

-การทำบุญ
-การละชั่ว
-คำสอนของพระพุทธเจ้า
-ความสำคัญของกรรมดี
-ตัวอย่างพระเทวทัต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมะเพื่อประชาชน เวลาในโลกนี้แสนสั้น แต่เวลาหลังจากที่ เห็นทุกข์ ละโลกนี้ไปแล้วยาวนานมาก นักปราชญ์บัณฑิต ทั้งหลายท่านมองเห็นภัยในสังสารวัฏ เห็นโทษในอบายภูมิ และมองเห็นสุขในสุคติภูมิ จึงละชั่วทั้งทางกาย วาจา และใจ หมั่นสั่งสมบุญ กุศลอย่างเต็มที่ ฝึกฝนใจให้หยุดนิ่งเป็นประจำ สม่ำเสมอ เพื่อให้ชีวิตที่อยู่ในโลกนี้มีคุณค่า และ ให้ชีวิตในสัมปรายภพมีความปลอดภัย มีความ สุขสดใสยิ่งๆ ขึ้นไป เราทั้งหลายก็ควรดำเนินตาม ปฏิปทาของบัณฑิตผู้รู้เหล่านั้น ชีวิตเราจะได้ไม่ ผิดพลาด เรามีเวลาอยู่ในโลกนี้อย่างจำกัด ดังนั้น ต้องรีบสั่งสมบุญกันให้เต็มที่ ทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับ ตัวเองและชาวโลก ให้สมกับที่เป็นยอดนักสร้าง บารมี ที่เกิดมาทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ให้แก่มวล มนุษยชาติ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า "สุกร สาธุนา สาธุ สาธุ ปาเปน ทุกกร ปา ปาเปน สุกร ปาปมริเย หิ ทุกกร ความดี คนดีทำได้ง่าย แต่คนชั่วทำได้ยาก ความชั่ว คนชั่วทำได้ง่าย แต่คนดีทำได้ยาก" ในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์พร้อม มีทั้งคนดีและ คนไม่ดีอาศัยอยู่ บางครั้งตัวเราเองก็เป็นคนดี คิด ดี พูดดี แต่บางทีก็ไม่ค่อยจะดี ขุ่นมัว ขัดเคือง โกรธ คนนั้นโกรธคนนี้ ยังมีทั้งดีและไม่ดีสลับกัน ถ้า ช่วงไหนกุศลธรรมเข้ามาในจิตใจ เราก็อยากจะ ทำแต่ความดี เมื่อทำความดีไว้มากๆ ความดีนั้นก็ จะส่งผลให้เจริญรุ่งเรือง ให้พรั่งพร้อมด้วยมนุษย์ สมบัติ สวรรค์สมบัติ หรือกระทั่งนิพพานสมบัติ จะได้ไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีกต่อ ทุกข์ในอเวจีมหานร ไป แต่ถ้าช่วงไหนอกุศลธรรมเข้ามาในจิตใจ ก็จะ บังคับให้สร้างกรรม กรรมนั้นก็จะส่งผลเป็นวิบาก อันเผ็ดร้อน ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสใน อบายภูมิ ทุคติ วินิบาต นรก ดังเช่นพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง ท่านเป็น บุคคลประเภททำความชั่วได้ง่าย แต่ทำความดีได้ ยาก จึงได้ทำกรรมหนักหลายอย่าง แม้ว่าท่านจะ บวชเป็นพระ แต่ด้วยความคิดจะเป็นใหญ่ปกครอง สงฆ์แทนพระพุทธองค์ จึงได้ทำสังฆเภท ทำสงฆ์ ให้แตกแยกกัน เมื่อละโลกไปแล้วจึงต้องไปเกิดใน อบายภูมิ ตกนรกอเวจีอยู่นานถึง ๑ อันตรกัป เรื่องพระเทวทัตเราได้ยินกันบ่อยๆ ว่า เป็นคู่ปรับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่สมัย สร้างบารมีกันมา เจอกันทีไรพระเทวทัตเป็นต้องหา เรื่องประทุษร้ายพระบรมโพธิสัตว์ทุกที เพราะได้ จองเวรกับพระพุทธองค์ ทั้งๆ ที่พระองค์ก็ไม่เคยคิด ร้ายให้โทษใคร แต่พระเทวทัตก็ผูกพยาบาทจองเวร เรื่อยมา แม้ภพชาติสุดท้ายท่านก็ยังชักชวนพระเจ้า อชาตศัตรูให้ทำปิตุฆาต คือฆ่าพระเจ้าพิมพิสารผู้ เป็นพระราชบิดาของพระองค์เอง และว่าจ้างนาย ขมังธนูหลายคน ให้ไปลอบปลงพระชนม์พระสัมมา สัมพุทธเจ้า แต่ไม่สำเร็จ ถึงกระนั้นพระเทวทัตก็ไม่ ละความพยายาม วันหนึ่งพระเทวทัตได้ขึ้นไปบนยอดเขา แล้วกลิ้งก้อนหินลงมาหมายจะให้ทับพระบรม ศาสดา เศษหินได้กระเด็นมาถูกพระพุทธองค์จน เกิดห้อพระโลหิตที่เรียกว่า โลหิตุปบาท ซึ่งถือว่า เป็นกรรมหนักทีเดียว โทษของท่านปรากฏชัดเจน มากขึ้นตอนที่ปล่อยช้างนาฬาคีรีให้วิ่งเข้าใส่พระ ผู้มีพระภาคเจ้า แต่ด้วยกระแสแห่งเมตตาจิตของ ๓๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More