ตัณฑุลนาฬิชาดก ชาดกว่าด้วยการตีราคาสินค้า

พนักงานตีราคาคนใหม่ผู้มีนิสัยตระหนี่ เห็นแก่ได้ โลภมาก สามารถตีราคาสินค้าเอาเปรียบพ่อค้าจากเมืองใกล้ไกลได้กำไรมากมาย จนเป็นที่ถูกอกถูกใจพระเจ้าพรหมทัต ต่อมาเขาได้รับสินบนจากพ่อค้าม้าคนหนึ่งจนเป็นเหตุซึ่งทำให้เขาถูกไล่ออกจากวังในที่สุด https://dmc.tv/a28564

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 8 ก.ย. 2565 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]

ชาดก 500 ชาติ

ตัณฑุลนาฬิชาดก-ชาดกว่าด้วยการตีราคาสินค้า

ณ พระเชตวันมหาวิหารแห่งเมืองราชวัตถี

ณ พระเชตวันมหาวิหารแห่งเมืองราชวัตถี
  
       ณ พุทธกาลหนึ่งในสาวัตถีมหานครพระเชตวันอันสงบร่มเย็นมีอันต้องวุ่นวาย พระสงฆ์สาวกต่างรุ่มร้อนใจไม่เป็นปกติ ด้วยมีเหตุไม่งามตามพระวินัย
เกิดขึ้นในโรงทาน เนื่องจากตอนนั้น ภิกษุนามพระทัพพมัลลบุตรรับหน้าที่คอยจัดสรรปันส่วนอาหารให้แก่พระภิกษุสงฆ์จำนวนมาก
 
พระทัพพมัลลบุตรผู้ดูแลเรื่องอาหารให้กับเหล่าภิกษุสงฆ์
 
พระทัพพมัลลบุตรผู้ดูแลเรื่องอาหารให้กับเหล่าภิกษุสงฆ์
 
        ในมหาวิหารแห่งนี้ ซึ่งนับเป็นภาระที่หนักมาก “ วันนี้เป็นแกงจืดนะท่าน ” “ ขอบใจมากท่าน ข้าทานอะไรไปมันก็เหมือนกันนั่นแหละ ”
“ ข้าก็เหมือนกัน ทานอะไรก็ได้แต่เร็วๆ หน่อยก็ดีท่านอย่ามัวแต่คุยกันได้ไหม ” หน้าที่การจัดสรรปันส่วนอาหารนี้

เหล่าภิกษุสงฆ์ต่างพากันต่อแถวรับภัตตาหาร
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ต่างพากันต่อแถวรับภัตตาหาร
 
        หากมีพระที่อาพาธก็ต้องจัดดูแลเป็นพิเศษรวมทั้งพระราชาที่ต้องจัดให้เหมาะสมเป็นพิเศษกว่าพระภิกษุทั้งหลาย  เหตุไม่งามทางพระวินัย
เกิดจากพระภิกษุอุทายีผู้มีนิสัยเหลาะแหละ เจ้าอารมณ์เห็นแก่ได้และติดในรสอาหารอย่างหนักเป็นผู้ก่อกวน

พระอุทายีผู้มีนิสัยเห็นแก่ได้และติดใจในรสอาหารเป็นอย่างมาก
 
พระอุทายีผู้มีนิสัยเห็นแก่ได้และติดใจในรสอาหารเป็นอย่างมาก
 
        “ หิว ๆ ๆ โอยมีอะไรกินมั่งวันนี้ อยากกินพิซซามีอะป่าว เมื่อวานก็กินแกงจืด วันนี้ก็แกงจืดอีกแล้ว แบ่งอาหารยังไงเนี่ย ” “ เฮ้อ ไม่รู้จะบ่น
ไปทำไมทุกวี่ทุกวันไม่รู้เมื่อไหร่แกจะปลงกิเลสได้สักทีนะ ” “ หรือว่าเขาจะลืมไปว่าออกบวชอยู่ ”

พระอุทายีมักจะชอบโวยวายไม่พอใจในเรื่องของอาหารที่ตนได้รับ
 
พระอุทายีมักจะชอบโวยวายไม่พอใจในเรื่องของอาหารที่ตนได้รับ
 
        ภิกษุเจ้าอารมณ์จะก่อความวุ่นวายเช่นนี้ประจำเป็นที่เอือมระอาต่อภิกษุอื่นทุก ๆ ครั้ง “ ถ้าท่านไม่พึงใจก็ทำหน้าที่แบ่งอาหารแทนพระทัพพมัลลบุตรซะสิ ”
“ อือ เปลี่ยน ๆ กันสะ ตัดความรำคาญไป ” “ อืม ถ้าเช่นนั้นข้าจะรับไว้ก็ได้ จริง ๆ แล้วไม่อยากทำเลยนะเนี่ย
 
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ต่างพากันเชียร์ให้พระอุทายีรับหน้าที่ดูแลภัตตาหาร
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ต่างพากันเชียร์ให้พระอุทายีรับหน้าที่ดูแลภัตตาหาร 
        
       ....ดีจังคราวนี้จะได้เลือกของกินได้เอง ” ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาพระอุทายีก็แบ่งสรรปันส่วนอาหารสงฆ์ในหอฉันโรงทานตามอำเภอใจ มิได้คำนึง
ถึงความเหมาะสมลำดับพรรษาแต่อย่างใด “ อ่ะ นี่ พวกท่านเอาแกงแกงจืดไปทานแล้วกัน ย่อยง่ายน่า ส่วนพวกไก่ทอดหมูทอดนี่ข้าจะเก็บไว้ทานเอง ”

 
พระอุทายีได้มาทำหน้าที่ดูแลเรื่องภัตตาหารของเหล่าภิกษุทั้งหลาย
 
พระอุทายีได้มาทำหน้าที่ดูแลเรื่องภัตตาหารของเหล่าภิกษุทั้งหลาย
 
       “ เฮ้ย ตั้งแต่ท่านมาทำหน้าที่นี้ ข้าไม่เคยทานอิ่มเลยสักมื้อ ” “ โอ้ย พวกเราทนไม่ไหวแล้วท่านนิมนต์ออกไปสะเถอะ ” “ ใช่ ตักแต่ของดี ๆ
ให้ตัวเอง พระที่อาพาธอยู่ก็ไม่สนใจ ” “ อ้าว ก็นึกว่าไม่ชอบ เห็นว่าป่วยอยู่ท้องมันย่อยยากเลยไม่อยากให้ทานอะไรมาก ๆ
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ไม่พอใจในการทำหน้าที่แบ่งภัตตาหารของพระอุทายี
 
เหล่าภิกษุสงฆ์ไม่พอใจในการทำหน้าที่แบ่งภัตตาหารของพระอุทายี
     
        ข้าวต้มเปล่า ๆ ก็น่าจะพอแล้ว ” “ โอ้ยหิวจนหน้ามืดแล้ว ข้าก็ทนไม่ไหวแล้วเหมือนกัน ” “ บ่นอะไรกันนักหนานี่ ไม่พอใจอะไรข้าก็ทำ
อย่างสุดความสามารถแล้วนะเนี่ย พวกท่านไม่พอใจข้าจะลาออกก็ได้ ไม่เห็นอยากจะทำเลย ”
 
พระศาสดาเรียกพระอานนท์มาตร้สถามถึงเรื่องวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโรงทาน
 
พระศาสดาเรียกพระอานนท์มาตร้สถามถึงเรื่องวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโรงทาน
 
        พระบรมศาสดาประทับอยู่ด้านในหอฉันโรงทานครั้นได้สดับเสียงนั้นจึงตรัสเรียกพระอานนท์มาซักถาม เมื่อทรงทราบโดยตลอดแล้วจึงทรงระลึกชาติ
ด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้วพระบรมศาสดาก็ทรงโปรดให้รำลึกโทษความโลภโมโทสันพระชาติในอดีตขึ้น ณ บัดนั้น
 
พระศาสดาทรงโปรดเล่า ตัณฑุลนาฬิชาดก ให้เห็นถึงโทษแห่งความโลภ
 
พระศาสดาทรงโปรดเล่า ตัณฑุลนาฬิชาดก ให้เห็นถึงโทษแห่งความโลภ
 
       “ ดูก่อนอานนท์มิใช่แต่เดี๋ยวนี้เท่านั้น เมื่อชาติก่อน ๆ อุทายีก็ทำความเดือดร้อนเสื่อมลาภให้แก่ผู้อื่นมาแล้วเหมือนกัน ” ในอดีตกาล
สมัยเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ณ  นครพารานสี มหานครที่กล่าวกันว่ามิเคยหลับไหล

พระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชสมบัติ ณ นครพาราณสี
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงครองราชสมบัติ ณ นครพาราณสี
  
        เหตุเพราะมีการค้าแลกเปลี่ยนกันอยู่มิเคยว่างเว้นนั้นเอง พระเจ้าพรหมทัตทรงมีบัณฑิตผู้หนึ่งเป็นพนักงานตีราคาสินค้าที่เข้ามาขายในพระนคร
โดยมีกฎว่าตีราคาอย่างไรก็ต้องขายตามนั้นมิสามารถต่อรองได้ จนเวลาผ่านไปพระองค์ไม่ทรงพอพระทัย
 
เมืองพาราณสีเมืองแห่งศูนย์กลางการค้าขาย    

เมืองพาราณสีเมืองแห่งศูนย์กลางการค้าขาย
 
        การทำงานของบัณฑิตที่เป็นเจ้าพนักงานตีราคาพัสดุที่จะซื้อเข้ามาเป็นของหลวง หลังจากมอบหน้าที่ให้ทำเป็นเวลานานพอสมควร
“ โอ้ ช้างเชือกนี้ช่างสง่างามดีแท้แรงกำลังก็มหาศาลข้าจะให้ราคาตอบแทนท่านอย่างดี ”

บัณฑิตหนุ่มผู้ทำหน้าที่ตีราคาสินค้าด้วยความเที่ยงธรรม
 
บัณฑิตหนุ่มผู้ทำหน้าที่ตีราคาสินค้าด้วยความเที่ยงธรรม
  
       “ จะยุติธรรมอะไรนักหนา กดราคาบ้างก็ได้ ทำงานไม่ได้เรื่องเลยเจ้านิ ไม่มีหัวธุรกิจเอาซะเลย ทหารเรียกตัวบัณฑิตคนนั้นมาพบเราหน่อยสิ
เจ้าทำงานประสาอะไรนี่ ไม่ได้เรื่อง เฮ้อ ” “ ข้าพระพุทธเจ้าทำงานอย่างดีที่สุดแล้ว


การตีราคาของบัณฑิตหนุ่มอยู่ในสายตาของพระเจ้าพรหมทัต
 
การตีราคาของบัณฑิตหนุ่มอยู่ในสายตาของพระเจ้าพรหมทัต
 
        ให้ราคาตามจริงตามที่สินค้านั้นพึงได้ พะยะค่ะ ” “ ตาย ตาย ตาย ถ้าเป็นเช่นนี้ไม่นานทรัพย์ในท้องพระคลังของเราจะหมดสิ้นไป
เพราะเจ้าเป็นแน่ เฮ้อ ” บัณฑิตหนุ่มผู้นี้เป็นผู้เที่ยงธรรมยิ่งนักแม้พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงมีดำริเช่นนั้น


บัณฑิตหนุ่มได้ทำหน้าที่ตีราคาช้างเพื่อใช้ในการศึกสงคราม
 
บัณฑิตหนุ่มได้ทำหน้าที่ตีราคาช้างเพื่อใช้ในการศึกสงคราม
 
     ก็มิได้ทำตามแต่อย่างใด เขายังคงตีราคาซื้อสินค้าอย่างยุติธรรมต่อไป วันหนึ่งขณะที่พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรออกไปนอกวังก็เห็นชายคนหนึ่ง
กำลังต่อรองสินค้ากับแม่ค้าอย่างเอาเป็นเอาตายจึงเรียกให้ทหารนำตัวเข้ามา
 
พระเจ้าพรหมทัตไม่พอใจในความเที่ยงธรรมของบัณฑิตหนุ่มในการตีราคาสินค้า
 
พระเจ้าพรหมทัตไม่พอใจในความเที่ยงธรรมของบัณฑิตหนุ่มในการตีราคาสินค้า
 
        “ ทหารนำตัวชายที่อยู่ตรงหน้าวังมาพบข้าหน่อยสิ แล้วก็เรียกบัณฑิตผู้ตีราคามาพบข้าด้วย ” “ ฮ่า ฮ่า เจ้านี่ช่างมีนิสัยตระหนี่ เห็นแก่ได้
ถูกใจข้าจริง ๆ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ดี ข้าจะแต่งตั้งให้เจ้าเป็นพนักงานราชสำนัก
 
บัณฑิตหนุ่มยังคงตีราคาสินค้าอย่างเที่ยงธรรมไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะถูกตักเตือน
 
บัณฑิตหนุ่มยังคงตีราคาสินค้าอย่างเที่ยงธรรมไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะถูกตักเตือน
 
       ตีราคาแทนคนเก่าที่มันดื้อด้านหัวแข็งนัก ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ” “ ข้าจะให้ชายผู้นี้มาทำหน้าที่ตีราคาแทนเจ้าเอง เจ้ากลับไปอยู่บ้านซะเถอะ ”
“ ขอบพระทัยพะย่ะค่ะ กระผมจะถวายงานอย่างสุดความสามารถเลยพะย่ะค่ะ ” “ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ฮ่ะ ฮะ ”
 
พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นชายผู้หนึ่งต่อราคาสินค้าอย่างไม่ยอมลดละ
 
พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นชายผู้หนึ่งต่อราคาสินค้าอย่างไม่ยอมลดละ
 
       “ ทำไมเราต้องโดนไล่ออกด้วย ” ยาจกที่ถูกยกให้เป็นคนสำคัญทำงานสนองพระเจ้าพรหมทัตได้เป็นที่ถูกอกถูกใจ สามารถเอาเปรียบ
พ่อค้าจากเมืองใกล้ไกลได้กำไรมากมาย “ ช้างสิบเชือกที่เจ้านำมาให้ข้านี่ราคาได้แค่สามสิบบาทเท่านั้นแหละ ”
 
พระเจ้าพรหมทัตได้แต่งตั้งให้ชายพเนจรเป็นผู้ตีราคาสินค้าแทนบัณฑิตหนุ่ม
 
พระเจ้าพรหมทัตได้แต่งตั้งให้ชายพเนจรเป็นผู้ตีราคาสินค้าแทนบัณฑิตหนุ่ม

        “ ช้างนะท่าน ทำไมถูกจัง ” “ อย่ามาเล่นลิ้นกับข้า ข้าจะให้เท่านี้แหละ เจ้าจะเอาหรือไม่เอาล่ะ ” “ ฮ่ะฮ่า เจ้านี่ซื้อของได้เต็มเมือง
แต่ไม่เปลืองเงินเลย เก่งมาก หึ หึ ฮ่ะฮ่า ” ต่อมามีพ่อค้าได้นำม้าพันธุ์ดี ๕๐๐ ตัวมาเสนอขาย

ยาจกพเนจรได้ทำหน้าที่ตีราคาสินค้าเอารัดเอาเปรียบแก่ผู้ขายทุกราย
 
ยาจกพเนจรได้ทำหน้าที่ตีราคาสินค้าเอารัดเอาเปรียบแก่ผู้ขายทุกราย

       เพื่อใช้ในราชการสงคราม พระเจ้าพรหมทัตจึงรับสั่งให้พนักงานตีราคาคนใหม่เป็นคนตีราคา “ ม้าของเจ้าข้าจะรับไว้แล้วกัน
ส่วนค่าตอบแทนนั้นข้าจะให้พนักงานของข้ามาตีราคาให้เจ้าอีกที ” “ เจ้าจงตีราคาม้าฝูงนี้ให้ดี ๆ อย่าให้ข้าผิดหวังล่ะ ”

พ่อค้าได้นำมาม้าพันธุ์ดีมาเสนอขายต่อพระเจ้าพรหมทัต

พ่อค้าได้นำมาม้าพันธุ์ดีมาเสนอขายต่อพระเจ้าพรหมทัต
 
       “ ม้า ๕๐๐ ตัวของท่านมันดูซูบๆ ไปนะ ข้าให้ราคาเท่ากับข้าวสารทนานหนึ่งแล้วกัน ” “ โธ่ท่าน ข้าวสารทนานเดียวครอบครัวของข้า
กินอาทิตย์ก็หมดแล้ว ” “ อ้าว เจ้าก็กินประหยัด ๆ หน่อยสิ ม้าแค่ห้าร้อยตัวจะเอาอะไรนักหนา ”
 
ยาจกพเนจรได้ติติงว่าม้าของพ่อค้าดูไม่ซูบไม่ค่อยแข็งแรง
 
ยาจกพเนจรได้ติติงว่าม้าของพ่อค้าดูไม่ซูบไม่ค่อยแข็งแรง
 
       เจ้าของฝูงม้าแทบเป็นลมเมื่อได้ยินค่าตอบแทนที่พนักงานตีราคาบอกไว้แต่สุดจะขัดขืนได้ จำต้องรับเอาข้าวทนานเดียวกลับมา พ่อค้าม้า
ไม่พอใจกับราคาที่ได้จึงนำความไปปรึกษากับบัณฑิตที่เป็นพนักงานตีราคาคนเดิม “ ท่านบัณฑิตข้าจะทำเช่นไรดี
 
ยาจกพเนจรได้ตีราคาม้า ๕๐๐ ตัวเท่ากับข้าวสารหนึ่งทนาน
 
ยาจกพเนจรได้ตีราคาม้า ๕๐๐ ตัวเท่ากับข้าวสารหนึ่งทนาน
 
       พนักงานตีราคาคนใหม่ช่างใจดำนักกดราคาม้าของข้าจนไม่เหลือแม้แต่ทุน ท่านบัณฑิตช่วยข้าด้วยเถิดขอความยุติธรรมให้ข้าด้วย ”
“ ท่านจงไปให้สินบนแก่พนักงานตีราคาคนนั้น ให้เขาเทียบราคาข้าวสารทนานหนึ่งเท่ากับนครพาราณสี
 
พ่อค้าม้าจำยอมต้องรับข้าวสารหนึ่งทนานกลับบ้านไป
 
พ่อค้าม้าจำยอมต้องรับข้าวสารหนึ่งทนานกลับบ้านไป
 
      แล้วให้เขาตอบคำถามนี้ต่อหน้าพระที่นั่ง แล้วข้าจะตามไปช่วยท่านอีกแรง ” “ ได้เลยท่านตามแผนนี้เลยนะ ” ด้วยความโลภ
และความเห็นแก่ได้ของยาจกที่ถูกยกย่องให้เป็นพนักงานตีราคาเริ่มทำให้พระเจ้ากรุงพาราณสีเสื่อมพระเกียรติแล้ว
 
พ่อค้าม้ามาปรึกษาเพื่อขอความเป็นธรรมกับบัณฑิตหนุ่มผู้ตีราคาคนเดิม
 
พ่อค้าม้ามาปรึกษาเพื่อขอความเป็นธรรมกับบัณฑิตหนุ่มผู้ตีราคาคนเดิม
 
       “ ท่านโปรดรับเงินเหล่านี้ไว้เถอะ แต่ท่านช่วยตอบคำถามของข้าตามนี้ด้วยนะ ” “ โอ้ย เงิน เงิน เงิน ได้เลยท่านให้พูดอะไรก็ได้
ข้าตอบตามใจท่านเลย ” เมื่อแผนขั้นต้นการติดสินบนเรียบร้อยแล้ว ต่อมาบัณฑิตและพ่อค้าม้าก็พากันขอเข้าเฝ้า
 
 
พ่อค้าม้าได้นำสินบนมาให้ยาจกพเนจรผู้ตีราคาม้าของตน
 
พ่อค้าม้าได้นำสินบนมาให้ยาจกพเนจรผู้ตีราคาม้าของตน
 
       พระเจ้าแผ่นดินตามนัดหมายกับพนักงานตีราคา “ พ่อค้าม้า เจ้ามีอะไรก็ว่ามา เรียกคนมาตั้งเยอะตั้งแยะ ชาวบ้งชาวบ้าน
มากันหมดตามที่เจ้าต้องการแล้วนะเนี่ย ” “ ขอเดชะ ม้า ๕๐๐ ตัวที่ข้าพระองค์นำมา

ผู้คนได้มาฟังการตีราคาข้าวสารหนึ่งทนานตามความต้องการของพ่อค้าม้า
 
ผู้คนได้มาฟังการตีราคาข้าวสารหนึ่งทนานตามความต้องการของพ่อค้าม้า
 
      พนักงานตีราคาบอกว่ามีค่าเท่ากับข้าวสารหนึ่งทนาน ข้าพเจ้ายังไม่รู้ว่ามันจะมีค่าเทียบทรัพย์สินได้สักเท่าไหร่พะย่ะค่ะ ” “ ว่ายังไง เจ้าตอบเขา
ไปสิว่าข้าวสารหนึ่งทนานมันมีค่าเท่าไหร่กัน ของง่าย ๆ ตอบให้ข้าฟังหน่อยสิเจ้าพนักงานตีราคาคนใหม่ ”
 
พ่อค้าม้าได้สอบถามพระเจ้าพรหมทัตว่าข้าวสารหนึ่งทนานจะมีค่าเทียบกับทรัพย์สินได้สักเท่าไหร่
 
พ่อค้าม้าได้สอบถามพระเจ้าพรหมทัตว่าข้าวสารหนึ่งทนานจะมีค่าเทียบกับทรัพย์สินได้สักเท่าไหร่
 
       ( หึหึ....เดี๋ยวเจ้าก็จะเจอความหายนะเพราะความโลภของเจ้า ) คำถามนี้เป็นอุบายที่ซักซ้อมกันมาแล้วเป็นอย่างดี เมื่อพ่อค้าถามพนักงาน
ตีราคาก็ตอบไปตามที่ตกลงรับสินบนกันไว้ “ เออ ข้าวสารหนึ่งทนานก็มีค่าเท่ากับนครพาราณสีทั้งภายในและภายนอกรวมกันพระเจ้าค่ะ ”


พระเจ้าพรหมทัตได้รับสั่งให้ยาจกพเนจรตีราคาข้าวสารหนึ่งทนาน
 
พระเจ้าพรหมทัตได้รับสั่งให้ยาจกพเนจรตีราคาข้าวสารหนึ่งทนาน
 
       (…เอเป็นยังไง ข้าท่องมาให้เหมือนเด๊ะเลยนะเนี่ย เป็นไง ๆ สมราคาสินบนไหม หึ หึ ) “ เฮ้ย เจ้าตอบว่ากระไรนะ ” พระเจ้าพรหมทัต
ได้ฟังคำตอบแล้วถึงกับตกพระทัย “ ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าวสารหนึ่งทนานมีมูลเท่ากับม้า ๕๐๐ ตัว


ยาจกพเนจรตีราคาข้าวสารหนึ่งทนานเทียบเท่ากรุงพาราณสีทั้งภายในและภายนอก
 
ยาจกพเนจรตีราคาข้าวสารหนึ่งทนานเทียบเท่ากรุงพาราณสีทั้งภายในและภายนอก
 
       แล้วข้าวสารหนึ่งทนานนี้มีข้าเท่ากับกรุงพาราณสีทั้งภายในภายนอกเชียวหรือ ” “ อะไรนะ กล้าตีราคากรุงพาราณสีของข้าให้ตกต่ำ
เพียงนั้นเชียวหรือ ” “ ฮ่ะ ฮ่า เมื่อก่อนพวกเราเข้าใจว่าแผ่นดินและราชสมบัติและเมืองพาราณสีนี้ประเมินค่ามิได้
 
ผู้คนต่างหัวเราะในการตีราคาของยาจกพเนจร
 
ผู้คนต่างหัวเราะในการตีราคาของยาจกพเนจร
 
       แต่ที่ไหนได้กลับมีค่าแค่ข้าวสารทนานเดียวเท่านั้นนะหรือ โอ้ ท่านช่างเหมาะสมเป็นพระราชาของพวกเราเสียจริง ๆ ” “ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า
พระเจ้าพรหมทัตของเราโปรดคนตีราคาอย่างนี้เองนะเหรอน่าขันจริง ๆ ” “ ตีราคาไม่ได้เรื่องเลย ตีราคามั่ว ๆ อย่างนี้ข้าก็ทำได้ ”
 

พระเจ้าพรหมทัตได้ไล่ยาจกพเนจรผู้โลภมากออกจากการทำหน้าที่พนักงานตีราคา
 
พระเจ้าพรหมทัตได้ไล่ยาจกพเนจรผู้โลภมากออกจากการทำหน้าที่พนักงานตีราคา
 
      “ อะไรกัน น่าละอายจริง ๆ ข้าไล่เจ้าออกไปให้พ้น ข้าจะให้บัณฑิตคนเก่ามาทำงานเหมือนเดิม ไม่น่าเชื่อว่าข้าจ้างคนอย่างนี้มาทำงาน น่าโมโหจริง ๆ เฮ้ย ”
ความละโมบโลภมากของพระเจ้าพรหมทัตและความฉลาดเที่ยงธรรมของบัณฑิตหนุ่มถูกร่ำลือไปทั่วพระนครเมื่อทุกอย่างกลับสู่สภาพ เดิมพาราณสีก็กลับมา
เป็นมหานครศูนย์กลางการค้าพาณิชย์ต่อไปอีกนานเท่านาน 
 
 
พนักงานตีราคาคนใหม่ผู้โลภมาก ได้เกิดเป็นพระอุทายี ผู้หลงไหลในรสอาหาร
บัณฑิตพนักงานตีราคาผู้เที่ยงธรรม ได้เสวยพระชาติเป็นพระพุทธเจ้า 
ชาดกเรื่องนี้ ได้สอนให้รู้ว่าโลภมากมักลาภหาย


รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ