วัดพระธรรมกายและอนาคตของพระพุทธศาสนา อะไร...ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ 1 หน้า 37
หน้าที่ 37 / 49

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงบทบาทของวัดพระธรรมกายในการสนับสนุนพระพุทธศาสนาในอนาคต โดยเน้นว่าถึงแม้ว่าวัดมีหลายแห่ง วัดพระธรรมกายควรได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากมีศักยภาพในการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งในการสร้างคุณประโยชน์ให้แก่โลก นอกจากนี้ ยังเน้นถึงคุณสมบัติพื้นฐานของการเป็นชาวพุทธที่ควรมี คือการมองหาสิ่งดีๆ จากการเข้าวัดทุกแห่ง ผู้ที่ไม่เคยมาที่วัดพระธรรมกายก็ควรเปิดใจเข้าเยี่ยมชมดูบ้าง เพื่อความเข้าใจและความเห็นใจ.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของวัดพระธรรมกาย
-อนาคตของพระพุทธศาสนา
-การศึกษาในพระพุทธศาสนา
-คุณสมบัติของชาวพุทธ
-ความร่วมมือของสถาบันการศึกษาในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แบบเช่นนี้ ผมคิดว่าสมัยนี้น่าจะมีวัด มีวัดพระธรรมกายนี่แหละ ที่ จะสร้างขึ้นมาใหม่ได้ เวลานี้เรามีมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยมหา มกุฏราชวิทยาลัยเป็นเสาหลักให้ ต่อไปก็คงมีวัดพระธรรมกาย ที่จะช่วยเป็นเสาที่ 3 ในการค้ำยันพระพุทธศาสนาให้คงอยู่คู่โลก ต่อไป ผมยังคิดด้วยว่า ในอนาคตหาก 3 สถาบันนี้ร่วมมือร่วมใจ กัน อะไรจะเกิดขึ้น ท่านผู้อ่านน่าจะจินตนาการออก อาจเป็นไป ได้ที่เราจะทำคุณประโยชน์ต่อโลก ได้มากกว่ามหาวิทยาลัยนาลัน ทาที่เลื่องลือนั้น ที่กล่าวมานี้ไม่ได้แปลว่า ผมคิดว่าวัดพระธรรมกายดีกว่า วัดอื่น ผมเพียงแต่บอกว่าเราควรมองไปที่ใดในวัดพระธรรมกาย บ ความร้อนรุ่มที่อยู่ในใจเพราะไม่ชอบวัดจะลดลงได้บ้าง ผมนั้น ไปทุกวัด เช่น วัดสวนแก้วของท่านเจ้าคุณพยอม สำนักสันติอโศก ของท่านสมณะโพธิรักษ์ ท่านเจ้าคุณพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ที่แต่งหนังสือ “กรณีธรรมกาย” และ “กรณีสันติอโศก” แม้ผมไม่เคยไปกราบท่านถึงวัด แต่ก็เป็นผู้ที่ผมเคารพนับถือมาก ที่สุดท่านหนึ่ง การเป็นชาวพุทธสำหรับผมนั้น น่าจะมีคุณสมบัติพื้นฐาน อย่างหนึ่งคือ เข้าวัดไหนก็ได้ แล้วมองแต่สิ่งที่ดีมาใช้ ถ้าคิดอย่าง นี้ได้ คนที่ไม่เคยมาวัดพระธรรมกายก็น่าจะลองมาดูบ้าง หรือผู้ที่ มาอยู่แล้วก็น่าจะลองหาโอกาสไปวัดอื่นๆ บ้าง หากไปทางกาย อะไรที่ทำให้ต้อง เปลี่ยนใจ 36
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More