ความสุขสงบใจในวัดพระธรรมกาย อะไร...ที่ทำให้ต้องเปลี่ยนใจ 1 หน้า 38
หน้าที่ 38 / 49

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ ผู้เขียนได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับความสงบสุขที่เกิดจากการมองโลกในแง่ดีและเปิดใจให้กับสำนักที่แตกต่าง โดยเฉพาะที่วัดพระธรรมกาย สังเกตเห็นความน่ารักและความอ่อนน้อมของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานหนักเพื่อวัด แม้ว่าจะได้รับค่าตอบแทนที่น้อย โดยผู้เขียนเชื่อว่าความดีของพวกเขาเป็นผลมาจากการอบรมในวัด และเป็นสิ่งที่สื่อถึงความสุขที่แท้จริงของชาวพุทธ. บทความนี้ยังพูดถึงความสำคัญของการมีความเข้าใจและไม่วู่วามตามกระแสในสังคม ซึ่งทำให้ชาวพุทธสามารถมีความสุขสงบใจมากกว่าคนในโลก.

หัวข้อประเด็น

-ความสุขสงบใจ
-เจ้าหน้าที่วัดพระธรรมกาย
-การเปิดใจ
-การอบรมในวัด
-การตัดสินใจในเรื่องเชื่อ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไม่ได้ ก็อาจไปทางใจ คือมองสำนักที่ต่างไปจากสำนักอาจารย์ ตนอย่างมีเมตตา อย่างพยายามที่จะเข้าใจ และฟังอะไรอย่างฟัง หูไว้หู ไม่วู่วามไปตามกระแสของสื่อ หรือของคนหมู่มาก ทำได้ อย่างนี้ เราชาวพุทธคงจะเป้นกลุ่มคนที่มีความสุขสงบใจมากกว่า ใครในโลก มีสิ่งหนึ่งที่ผมอยากกล่าวเป็นการปิดท้ายข้อเขียนนี้คือ ผมสังเกตเห็นว่า วัดพระธรรมกายมีอะไรบางอย่างที่ผมไม่ค่อย พบที่อื่น สิ่งนี้คือความน่ารักของเจ้าหน้าที่ประจำ ที่ทำงานเต็มเวลา ให้แก่วัดโดยได้รับค่าตอบแทนน้อยมาก เจ้าหน้าที่เหล่านี้ที่ผม รู้จักมักจะเป็นอุบาสิกาที่กิริยามารย ารยาทงดงาม ไม่ถือตัว อ่อนน้อม และเวลาได้พูดคุยด้วยเราจะรู้สึกเป็นสุข ผมถือว่าท่านเหล่านี้ น่ารักอย่างนั้นก็ต้องเพราะวัดอบรมมาดี บางท่านที่ไม่ชอบวัด เป็นทุนอาจแย้งผมว่า คนเหล่านี้กำลังจัดฉากอยู่หรือเปล่า ผมไม่ เชื่อว่าใครจะจัดฉากได้ยาวนานและแนบเนียนอะไรปานนั้น คนเรา หากได้อยู่ใกล้ชิดกัน ได้คุยกัน ดวงตาจะบอกได้ว่าเขาเสแสร้ง หรือไม่ สำหรับพระคุณเจ้าที่นี่ในส่วนที่ผมรู้จักนั้น เนื่องจาก ส่วนหนึ่งเป็นปัญญาชนก่อนที่จะมาบวช (ผมหมายความว่าท่านเคย เป็นนิสิตนักศึกษามาก่อน บางท่านอาจมาบวชทั้งที่ยังเรียนไม่ จบด้วยซ้ำ เพราะเห็นว่าทางธรรมประเสริฐกว่าทางโลก) ส่วนใหญ่ 37
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More