การสร้างทีมภายใต้หลักอปริหานิยธรรม นิตยสาร V-Peace เดือนเมษายน พ.ศ.2555 หน้า 10
หน้าที่ 10 / 52

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เกี่ยวกับการสร้างทีมที่สามารถรองรับงานของพระพุทธศาสนา โดยอิงจากหลักอปริหานิยธรรม ตามแนวทางของพระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฒโฑ ซึ่งเน้นให้ทีมสร้างสรรค์ที่มีความสามัคคีและความเหมาะสมในแต่ละบทบาท โดยยกตัวอย่างการทำงานในชมรมพุทธฯ ที่จุฬาฯ ที่เคยใช้หลักนี้สร้างความสำเร็จและเป็นที่นิยมสูงสุดในเวลานั้น นอกจากนี้ยังมีการชักชวนให้ผู้สนใจติดตามกิจกรรมเพิ่มเติมจากทีมงานที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อประเด็น

- หัวหน้าทีมและการประชุม
- หลักอปริหานิยธรรม
- การสร้างทีมภายใต้พระพุทธศาสนา
- ความสำเร็จของชมรมพุทธฯ จุฬาฯ
- การร่วมมือและทำงานเป็นทีม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

องศาทีม : แว่นกลม : สวัสดีจ้า ท่านผู้อ่านทุกท่าน ฉบับนี้แว่นกลมจะพาไป เกาะติดกระแส V-PEACE 1,000 ทีม ในเดือนมีนาคมที่ผ่าน มากันค่ะ เริ่มต้นที่วันเสาร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2555 หัวหน้าทีม ไฟนิรันดร์จำนวนกว่า 150 ท่าน ได้พร้อมใจกันมาร่วมประชุม หัวหน้าทีมครั้งที่ 1 ประจำปีพุทธศักราช 2555 โดยได้รับความเมตตาจาก พระมหา ดร.สมชาย ฐานวุฒโฑ ผู้ ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย มาให้แนวทางการสร้างทีมให้ สามารถรองรับงานของพระพุทธศาสนา ให้สามารถรองรับคน ล้านได้จริง ซึ่งท่านได้ให้หลัก “อปริหานิยธรรม” ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญอย่างเดียว ไม่มีเสื่อม ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าการันตีไว้แล้วว่า ถ้าทำตามหลักนี้ไม่มีทางเสื่อม เช่น ทำชมรมก็ ไม่มีว่าหันไปไม่เห็นใครเหมาะที่จะมาเป็นประธานชมรม ทำแผนกไม่รู้จะให้ใครเป็นหัวหน้า แผนก อย่างนี้ไม่มี มีแต่ว่ามองไปรอบตัวมีคนเหมาะสมเพียบเลย และเมื่อเลือกใครขึ้นมาแล้ว ทั้งหมดก็พร้อมที่จะทำด้วยกันเป็นทีม สมัยท่านเป็นประธานชมรมพุทธฯ ก็ใช้หลักอปริหานิยธรรมนี้ในการสร้างชมรมพุทธฯ จุฬาฯ ขึ้นมา จากที่มีสมาชิกเป็นหลักหน่วย กลายเป็นต้องขยายห้องชมรม จนเป็นชมรมที่มี พื้นที่ห้องชมรมกว้างที่สุด เป็นชมรมที่มีกิจกรรมมากที่สุด เป็นชมรมที่มีงบประมาณในการจัด กิจกรรมสูงสุด แถมยังเป็นชมรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจุฬาฯ สมัยนั้นอีกด้วย น่าสนใจ แล้วใช่ไหมล่ะคะ ท่านใดได้ฟังแล้วก็อย่าลืมนำไปทำตาม ส่วนท่านใดยังไม่ได้ฟัง หรืออยากฟังซ้ำติดต่อ ได้ที่ผู้ประสานงาน หรือที่เสา P21 สภาธรรมกายสากลในวันอาทิตย์ค่ะ 1.000 10 V-PEACE PEACE 1-PEACE PEACE V-PEACE
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More