ข้อควรระวังในการฝึกสมาธิ คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่ (มินิ) เล่ม 3 (ศีลธรรมรุ่งเรือง...สังคมร่มเย็น) หน้า 280
หน้าที่ 280 / 288

สรุปเนื้อหา

ข้อควรระวังในการฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายมีหลายข้อที่ควรปฏิบัติตาม โดยไม่ควรใช้กำลังในการฝึก เช่น การเกร็งกล้ามเนื้อ ต่างๆ รวมถึงการไม่ควรอยากเห็นนิมิตและไม่กังวลกับการหายใจในการฝึกสมาธิ อิสระจากแรงกดดันจะช่วยให้เข้าถึงดวงนิมิตได้อย่างเป็นธรรมชาติ ควรปล่อยวางและมีสติในระหว่างการฝึก การทำเพื่อให้ถึงพระธรรมกายภายในนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และควรเจริญวิปัสสนาในภายหลัง ขั้นตอนของการทำสมาธิจะคล้ายการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลา

หัวข้อประเด็น

-ข้อควรระวังในการฝึกสมาธิ
-การใช้กำลังในร่างกาย
-การทำใจให้เป็นกลาง
-การไม่กังวลในระหว่างการฝึก
-การเจริญวิปัสสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ข้อควรระวัง 1. อย่าใช้กำลัง คือ ไม่ใช่กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อท้อง เพื่อจะให้เห็นนิมิดิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนใดของร่างกายก็จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น 2. อย่าอยากเห็น คือ ทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติ มีให้ผลออกจากบริการวามาภาวนาและบริการนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิิตเมื่อไห่น้อยอย่ากังวล ถึงเวลาแล้วอย่ามองเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิิตนั้น อุปมาเหมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ 3. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหมดใจเข้าออก เพราะการฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน อาศัยการนึกถึง “โลกกัสสัน” คือ กัสสันความว่าง เป็นนบเบื้องต้นเมื่อฝึกสมาธิเข้าถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ฝึกสมาธิต่อไป ผ่านกายมนุษยะละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรหุปพรหม จนกระทั่งเข้าสู่พระธรรมกายแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาในภายหลัง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหมดใจเข้าออกแต่ประการใด ๒๘๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More