วันวิสาขบูชา: ความสำคัญและความหมาย วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2548 หน้า 7
หน้าที่ 7 / 32

สรุปเนื้อหา

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญของชาวพุทธ เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเกิด ตรัสรู้ และดับขันธ์ปรินิพพานในวันเดียวกัน ถือเป็นความยิ่งใหญ่และสำคัญที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของชาวพุทธ โดยพระพุทธเจ้าทรงสอนหลักธรรมสำคัญเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจเกี่ยวกับทุกข์และวิธีการดับทุกข์เพื่อไปสู่พระนิพพาน ชาวพุทธควรน้อมบูชาพระองค์ด้วยการปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและผู้อื่นในสังคม

หัวข้อประเด็น

-วันวิสาขบูชา
-พระพุทธเจ้า
-ความสำคัญของวันสำคัญ
-หลักธรรมคำสอน
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4 มเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัม- ที่มีความพิเศษแตกต่างจากบุคคลทั่วไปหลาย ประการ ประการหนึ่งคือ วันที่พระพุทธองค์ประสูติ วันที่พระพุทธองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณ และวันที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ ปรินิพพาน เป็นวันเดียวกัน คือ วันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน 5 ตามปฏิทิน นี้ถือว่าเป็นความยิ่งใหญ่ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประการหนึ่ง ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี พระบรมโพธิสัตว์ ประสูติ ใต้ควงไม้สาละ ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งเป็น สวนพฤกษชาติที่อยู่ระหว่าง กรุงกบิลพัสดุ์ และ กรุงเทวทหะ (ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศเนปาล) เมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีจอ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นบนโลกมนุษย์ ในชาติตระกูลที่สูงส่งที่สุดที่ได้รับการยกย่องใน ยุคนั้น คือ บังเกิดภายใต้มหาเศวตฉัตรกษัตริยา ธิราช พุทธบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ และพุทธ มารดาคือพระนางสิริมหามายา พุทธประวัติจึง งดงามอย่างไม่มีที่ติ ในวันประสูติ พระบรมโพธิสัตว์ทรงเปล่ง อาสภิวาจา ซึ่งทำให้เราระลึกถึงการสร้างบารมี มาอย่างยาวนานของพระพุทธองค์ กว่าจะมาถึง พระชาติสุดท้ายนี้ ที่จะสามารถไปค้นเอาความ จริงอันบริสุทธิ์ ที่จะนำพามนุษย์ทุกคนให้ไปสู่จุด ที่สูงที่สุดคือ การปราบกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือ เศษเข้าพระนิพพานอันเป็นบรมสุข ในฐานะชาว พุทธ ทรงบังเกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือมนุษย์ผู้ยาก ด้วยอาศัยพระมหากรุณาธิคุณ จึงเป็นสิ่งที่ชาว พุทธทุกคนควรน้อมบูชาพระพุทธองค์ ด้วยการ ปฏิบัติบูชาถวาย ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี วันเพ็ญเดือน 5 ณ ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ทรงดำเนินไปตาม หนทางสายกลาง ด้วยการปฏิบัติสมาธิเข้าไป ภายใน จนบรรลุธรรมไปตามลำดับ คือ ในยาม ต้นทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือทรง ระลึกชาติในอดีตของตนเองได้ ในยามสองทรง บรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิด และดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และในยามสาม ทรงบรรลุ “อาสวักขยญาณ” คือรู้วิธีกำจัดกิเลส ด้วยอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ได้ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยความจริง ของชีวิต ๔ ประการคือ ๑. ทุกข์ คือ ความลำบาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ๒. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ๓. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ และ ๔. มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่ง ทุกข์ ณ ร่มไม้รัง (ต้นสาละ) คู่ ในสาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา เมื่อวันเพ็ญ เดือน 5 ก่อนพุทธศักราช ๑ ปี วันที่พระพุทธ องค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน ทรงประทานปัจฉิม โอวาทว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลาย ย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่าน ทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตน และประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ ประมาทเถิด” วันวิสาขบูชา จึงเป็นวันสำคัญยิ่งของชาว พุทธ เป็นการประกาศความยิ่งใหญ่ และงดงาม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นวันที่บังเกิดใหม่ อันประเสริฐ ๓ ประการ คือ บังเกิดด้วยกายเนื้อ บังเกิดด้วยกายธรรม และบังเกิดในพระนิพพาน ทุกจังหวะก้าวอันประเสริฐเหล่านี้ ล้วนมีธรรมะ ยิ่งใหญ่ให้พุทธบริษัท ๔ ได้น้อมนำมาตรึกตรอง และประพฤติปฏิบัติ ยากจะหาศาสดาใดในโลกนี้ เสมอเสมือน สมควรที่พุทธบริษัท ๔ จะได้รำลึก ถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระ มหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อ มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการ รำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง ๓ ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางใน การประพฤติปฏิบัติ 9) &
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More