อัตถัสสทวารชาดก ชาดกว่าด้วยประตูแห่งประโยชน์

“ อาจารย์ครับ ประตูแห่งประโยชน์ คือสิ่งใดหรือครับ ผมศึกษาจากตำราแล้ว ทั้งอาจารย์สำนักอื่น ก็ไม่มีใครตอบได้เลยครับ ” “ ศิษย์เอ๋ย ปัญหานี้มันช่างยากจริงๆ แม้แต่อาจารย์คนนี้ ก็ตอบเจ้าไม่ได้เช่นกัน ” https://dmc.tv/a24484

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 27 ม.ค. 2562 ] - [ ผู้อ่าน : 18269 ]

ชาดก 500 ชาติ

อัตถัสสทวารชาดก-ชาดกว่าด้วยประตูแห่งประโยชน์

ณ นครสาวัตถีที่สงบร่มเย็น

ณ นครสาวัตถีที่สงบร่มเย็น
  
     ลูกเป็นเหมือนแก้วตาดวงใจของพ่อและแม่ เมื่อได้ให้กำเนิดออกมาแล้ว ผู้เป็นพ่อและแม่ก็ย่อมอยากเลี้ยงดูบุตรของตัวเองให้ดีที่สุด ดังเศรษฐีคนหนึ่งในนครสาวัตถี
เมื่อผู้เป็นภรรยาได้ให้กำเนิดลูกชายกับเขาแล้ว เขาก็เพียรหาสิ่งที่ดีที่สุดให้ลูกของเขาเสมอ
 
บุตรชายซึ่งเป็นที่รักยิ่งของครอบครัวเศรษฐีครอบครัวหนึ่งในนครสาวัตถี
 
บุตรชายซึ่งเป็นที่รักยิ่งของครอบครัวเศรษฐีครอบครัวหนึ่งในนครสาวัตถี
 
     ไม่ว่าจะเป็นอาหารดีๆ ของเล่นดีๆ หรือสิ่งอื่นๆ ไม่ว่าจะมีราคามากเท่าไหร่ หายากเพียงไหน เขาก็จะพยายามเสาะหามาจนได้ “ โอ้ ลูกน้อยของพ่อ
พ่อรักลูกมากที่สุดเลยรู้ไหม ขอให้เจ้ามีสุขภาพที่แข็งแรง ได้เป็นใหญ่เป็นโตนะลูก ดูสิ เด็กอะไรก็ไม่รู้หน้าตาหล่อเหลาเหมือนพ่อไม่มีผิดเลย ”
 
บุตรชายของเศรษฐีเป็นเด็กฉลาด ช่างคิด ช่างสังเกต
 
บุตรชายของเศรษฐีเป็นเด็กฉลาด ช่างคิด ช่างสังเกต
 
     ลูกชายเศรษฐีเมื่อเจริญวัย พูดได้ เดินได้ วิ่งได้ ก็เริ่มซุกซน ชอบสังเกต ชอบถามชั่งพูดช่างจา เมื่อเห็นอะไรที่ไม่เข้าใจก็จะซักถามผู้เป็นพ่อของเขาเสมอ
“ พ่อๆ ทำไมผีเสื้อมันชอบบินมาเกาะบนดอกไม้ละครับ ” “ ผีเสื้อมันดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้นะลูก นี่ไงข้างในดอกไม้มันจะมีเกสรอยู่ ”

ท่านเศรษฐีได้จัดหาอาจารย์จากสำนักต่างๆ มาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับบุตรของตน
 
ท่านเศรษฐีได้จัดหาอาจารย์จากสำนักต่างๆ มาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับบุตรของตน
 
     บุตรเศรษฐีผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาฉลาดเฉลียว เมื่อได้ 7 ขวบ ก็มีเรื่องราวต่างๆ ที่ไม่เข้าใจมากขึ้น จนผู้เป็นพ่ออธิบายไม่ไหว เศรษฐีจึงเสาะหาอาจารย์มาประสิทธิ์ประสาทวิชา
ให้กับบุตรชายของเขา “ อาจารย์ครับ ทำไมเรื่องนี้ ถึงเป็นอย่างนี้ละครับ ” อาจารย์ได้เสาะหาตำรามากมายให้ลูกเศรษฐีผู้เป็นศิษย์ได้ศึกษา
 
บุตรเศรษฐีมักจะมีปัญหามากมายสอบถามอาจารย์ของตนอยู่เสมอ
 
บุตรเศรษฐีมักจะมีปัญหามากมายสอบถามอาจารย์ของตนอยู่เสมอ
 
     วันหนึ่งเขาก็มีเรื่องที่ไม่เข้าใจ เมื่อได้ศึกษาจากตำราที่อาจารย์ให้ไว้ก็ยังไม่บรรลุถึงคำถามข้อนั้นจึงนำมาถามผู้เป็นอาจารย์ “ อาจารย์ครับ ประตูแห่งประโยชน์ คืออะไรหรอครับ
ศิษย์ได้พยายามเสาะหาคำตอบจากตำราแล้ว แต่ก็ไม่มีเล่มไหน กล่าวถึงเรื่องนี้เลยครับ ” “ คำถามนี้ชั่งยากยิ่งนัก อาจารย์ตอบเจ้าไม่ได้หรอกศิษย์เอ้ย ” 

บุตรชายเศรษฐีได้นำปัญหามาสอบถามพ่อของตน ในข้อปัญหาที่อาจารย์แต่ละท่านก็ตอบไม่ได้
 
บุตรชายเศรษฐีได้นำปัญหามาสอบถามพ่อของตน ในข้อปัญหาที่อาจารย์แต่ละท่านก็ตอบไม่ได้
 
     เมื่อผู้เป็นอาจารย์ตอบคำถามนี้ไม่ได้ ลูกเศรษฐีจึงนำคำถามนี้ไปถามพ่อ “ พ่อครับ ประตูแห่งประโยชน์คืออะไรเหรอครับ อาจารย์บอกว่า ปัญหานี้ยากเกินกว่าจะตอบได้ครับ ”
ท่านเศรษฐีผู้บิดาไม่ทราบปัญหานั้น จึงได้เกิดปริวิตกว่า ปัญหานี้สุขุมยิ่งนัก เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ผู้อื่นที่ชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ ไม่มีเลย 
 
เศรษฐีได้พาลูกชายเดินทางไปยังพระเชตวันมหาวิหาร
 
เศรษฐีได้พาลูกชายเดินทางไปยังพระเชตวันมหาวิหาร
 
     เศรษฐีจึงพาลูกถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมากไปสู่พระเชตวันวิหาร เมื่อถึงแล้วทั้งสองพ่อลูกบูชาพระศาสดาแล้วถวายบังคมนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง
ผู้เป็นพ่อกราบทูลความข้อนี้กับพระผู้มีพระภาพเจ้า “ ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ เด็กนี้มีปัญญา ฉลาดในประโยชน์ ถามปัญหาประตู้แห่งประโยชน์กับข้าพระองค์
 
เศรษฐีได้กราบทูลถามปัญหาของบุตรชายต่อองค์พระศาสดา
 
เศรษฐีได้กราบทูลถามปัญหาของบุตรชายต่อองค์พระศาสดา
     
     ข้าพระองค์ไม่ทราบจะตอบคำถามนั้นได้อย่างไร จึงมาสู่สำนักของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตัวข้าพระองค์นี้ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดแก้ปัญหานั้นด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ ”
“ ดูก่อนอุบาสก แม้ในกาลก่อนเราก็ถูกเด็กนี้ถามปัญหานั้นแล้ว แล้วเราก็กล่าวแก้ปัญหานั้นแล้ว ในครั้งนั้น เด็กนี้รู้ปัญหา นั้น แต่บัดนี้เขากำหนดไม่ได้ เพราะความสิ้นไปแห่งภพ ”
 
ภรรยาของเศรษฐีได้ให้กำเนิดบุตรชาย
 
ภรรยาของเศรษฐีได้ให้กำเนิดบุตรชาย
 
     ครั้นเมื่อท่านเศรษฐีกราบทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องในอดีตมาสาทกดังต่อไปนี้ ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี เศรษฐีคนหนึ่งในกรุงพาราณสีนั้น
ได้เกิดความปรีดีล้นปรี่ เมื่อภรรยาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรชาย “ นี่นะเหรอลูกของเรา ” ลูกของพ่อพ่อดีใจเหลือเกินที่เจ้าคลอดอย่างปลอดภัย ขอบคุณมากนะน้องของพี่ที่เจ้าให้สิ่งที่
วิเศษที่สุดแก่พี่
 
เศรษฐีได้คัดสรรซื้อหาผ้าอย่างดีสำหรับบุตรชายของเขา
 
เศรษฐีได้คัดสรรซื้อหาผ้าอย่างดีสำหรับบุตรชายของเขา
 
     เศรษฐีรักและเอ็นดูบุตรชายของเขามาก เมื่อมีโอกาสได้เจอะเจอกับพ่อค้าต่างแดน เขาก็จะสรรหาซื้อของที่คิดว่าดีที่สุดให้กับลูกรักของเขา “ ท่านเศรษฐีดูนี่เถอะ
เสื้อผ้าเหล่านี้งามยิ่งนัก ” “ ก็ผมนำมาจากต่างเมืองโน่น ผ้าเนื้อดี เหมาะสำหรับเด็กๆ ใส่แล้วไม่ระคายผิว นุ่มสบายดีนะท่านเศรษฐี ”
 
ท่านเศรษฐีได้เน้นย้ำเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยภายในบ้านเพื่อปกป้องบุตรของตน
 
ท่านเศรษฐีได้เน้นย้ำเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยภายในบ้านเพื่อปกป้องบุตรของตน
  
     ไม่เพียงแต่เรื่องสิ่งของที่ให้กับลูกเท่านั้นที่เศรษฐีให้ความสำคัญ แม้แต่ห้องหับที่พักอาศัย เศรษฐีก็ให้เด็กรับใช้ในบ้านจัดให้สะอาดอยู่เสมอ สิ่งไหนที่เห็นว่าไม่เหมาะเป็นอันตราย
ต่อลูกก็สั่งให้รื้อทิ้งทำใหม่ทั้งหมด “ ตอนนี้ลูกของเราก็เริ่มคลานได้แล้ว พวกเจ้าคอยดูให้ดี หากมีตรงไหนเป็นช่องเป็นหลุมให้ทำใหม่ให้หมด เดี๋ยวลูกของเราจะพลัดตกลงไป
 
ท่านเศรษฐีนั่งสมาธิและประพฤติตนตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม    

ท่านเศรษฐีนั่งสมาธิและประพฤติตนตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
 
     แล้วพื้นก็ต้องถูให้สะอาดอย่าให้มีฝุ่นเชียว เดี๋ยวลูกเราจะหายใจเอาฝุ่นพวกนี้เข้าไป ” “ นี่แก่ ท่านเศรษฐีก็เห่อลูกเนาะ อะไรๆ ก็ลูกหมด ฉันถูพื้นทีจนมือจะหงิกอยู่แล้ว ”
“ เอาเถอะน่า คุณพ่อก็อย่างนี้แหละ เขาก็ต้องห่วงลูกเขาอยู่แล้ว คุณหนูแก่น่ารักด้วย ” เศรษฐีผู้นี้นอกจากจะทำหน้าที่ของผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวได้เป็นอย่างดีแล้ว
 
ท่านเศรษฐีรักและเอ็นดูบุตรของเขายิ่งนัก
 
ท่านเศรษฐีรักและเอ็นดูบุตรของเขายิ่งนัก
  
     แต่กิจอีกอย่างที่เค้าปฏิบัติไม่ขาดเว้นเลย คือการนั่งสมาธิตั้งอานาปานสติประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม “ โอ้ ลูกของพ่อ ไหน เรียกพ่อสิลูก เรียกว่าพ่อเร็ว ” “ พ่อจ๋าๆ ”
“ เฮอะๆ น่ารักน่าเอ็นดูจริงๆ เลย ลูกรักของเรา ” บุตรเศรษฐีเป็นผู้มีปัญญาฉลาดเฉลียว เมื่อเจริญวัยพูดได้ก็กลายเป็นเด็กน่ารัก ช่างซักช่างถาม ช่างพูดช่างคุย
 
บุตรชายเศรษฐีเมื่อเจริญวัยมีความเฉลียวฉลาดยิ่งนัก
 
บุตรชายเศรษฐีเมื่อเจริญวัยมีความเฉลียวฉลาดยิ่งนัก
 
      จนเป็นที่รักของทุกคนในบ้าน ไม่เว้นแม่แต่คนรับใช้หรือผู้คนทั่วไปที่พบเห็น “ ตามมาเร็วๆ เราจะตามนกตัวนั้นไป เราอยากรู้นกมันจะบินไปไหนกัน ” ด้วยความเป็นเด็กฉลาด
ลูกเศรษฐีจึงมักจะมีคำถามต่างๆ มาถามผู้เป็นพ่อของเขาเสมอ “ พ่อๆ นกมันบินไปไหนกัน วันนี้ลูกวิ่งตามจะไปดู แต่ก็วิ่งตามนกไม่ทัน มันบินสูงมาก ลูกวิ่งตามทีไร ก็ไม่เคยทันสักที ”
 
บุตรชายเศรษฐีมักจะมีปัญหามาสอบถามท่านเศรษฐีอยู่เสมอ
 
บุตรชายเศรษฐีมักจะมีปัญหามาสอบถามท่านเศรษฐีอยู่เสมอ
 
     “ ลูกเอ๋ย เจ้าวิ่งตามนกไปไม่ได้หรอกนะ เพราะนกมันบินบนท้องฟ้า แต่เจ้าวิ่งอยู่บนพื้นดิน ” “ พ่อดูสิ ทำไมผีเสื้อมันไม่บินไปเกาะนกละพ่อ มันบินได้เหมือนกันนี่น่า ”
“ มันบินได้เหมือนกัน แต่มันเป็นสัตว์คนละชนิดกันนะลูก มันย่อมใช้ชีวิตแตกต่างกันไป เจ้านี่ นับวันก็ช่างซักช่างถามจริงๆ เลยนะ ”
 
บุตรชายเศรษฐีเป็นคนช่างสังเกตและชอบซักถามในสิ่งที่ตนไม่รู้เสมอ
 
บุตรชายเศรษฐีเป็นคนช่างสังเกตและชอบซักถามในสิ่งที่ตนไม่รู้เสมอ
 
     วันเวลาผ่านไป เมื่อบุตรเศรษฐีได้เจริญวัยขึ้น จนสามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้แล้ว เศรษฐีก็เกิดความคิดที่จะหาอาจารย์มาสั่งสอนวิทยาการต่างๆ ให้ลูกของเขา “ นี่ลูกของเราโตแล้วสินะ
แต่ละวันมีเรื่องถามมากมาย หากเราเป็นผู้ให้คำตอบเพียงผู้เดียว เกรงว่าจะไม่พอแน่ๆ ควรแล้วที่มีอาจารย์มาสืบสานวิชาต่างๆ ให้เพิ่มเติม ” ตั้งแต่นั้นมาเศรษฐีก็จัดหาอาจารย์ต่างๆ
มาศิลปะศาสตร์ให้กับบุตรของตน
 
ท่านเศรษฐีได้จัดหาอาจารย์มาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับบุตรของตน
 
ท่านเศรษฐีได้จัดหาอาจารย์มาประสิทธิ์ประสาทวิชาให้กับบุตรของตน
 
       ลูกเศรษฐีด้วยความเป็นคนกระตือรือร้นในการเสาะหาความรู้อยู่แล้วจึงตั้งใจศึกษาเล่าเรียนกับอาจารย์ต่างจากเด็กวัยเดียวกันที่สนใจแต่เรื่องการเล่นซนเพียงอย่างเดียว
“ วันนี้มีแต่พวกเราเหรอ แล้วคุณหนูลูกเศรษฐีไม่มาด้วยเหรอ ” “ วันนี้เขาไม่มาหรอก ท่านเศรษฐีหาอาจารย์มาสอนหนังสือแล้ว คงเย็นโน่นแหละถึงจะมาเล่นกับพวกได้ ”
 
เด็กๆ ต่างพากันถามถึงลูกเศรษฐีที่ไม่ได้มาวิ่งเล่นกันพวกตน
 
เด็กๆ ต่างพากันถามถึงลูกเศรษฐีที่ไม่ได้มาวิ่งเล่นกันพวกตน
 
      “ โฮ้ ทำไม่ต้องเรียนด้วยนะ วิ่งเล่นสนุกว่ากันตั้งเยอะ ” นอกจากความรู้ศาสตร์ต่างๆ แล้ว เศรษฐียังให้อาจารย์สอนบุตรของเขาเรียนรู้ด้านวิชาการต่อสู้รูปแบบต่างๆ ด้วย
เพื่อใช้ในการป้องกันภัย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ลูกเศรษฐีที่มีวัยเพียงเจ็ดขวบ แต่มีความรู้วิชาการต่างรอบตัวมากมาย “ เฮ้ย แบบนี้ใช่ไหมครับท่านอาจารย์ ”

บุตรชายลูกเศรษฐีได้ร่ำเรียนวิชาการต่อสู้ในทุกรูปแบบ
 
บุตรชายลูกเศรษฐีได้ร่ำเรียนวิชาการต่อสู้ในทุกรูปแบบ
 
     นอกเหนือจากการเล่าเรียนศิลปะศาสตร์วิทยาต่างๆ แล้ว เศรษฐียังสอนบุตรชายของตัวเองนั่งสมาธิ สอนให้เป็นคนดี อยู่ในศีลในธรรม ไม่คิดเอาเปรียบผู้อื่น บุตรเศรษฐีแม้นจะ
มีอาจารย์มาสอนสั่งวิชาต่างๆ ให้มากมาย แต่เขาก็ยังมีคำถามที่ยังไม่เข้าใจหลายเรื่อง บางเรื่องเขาจะศึกษาจากตำราที่อาจารย์ให้ บางเรื่องเขาก็จะศึกษาจากอาจารย์แต่ละท่าน
แต่ละสำนัก
 
ท่านเศรษฐีได้สอนลูกชายในการเจริญสมาธิภาวนา
 
ท่านเศรษฐีได้สอนลูกชายในการเจริญสมาธิภาวนา
 
     วันหนึ่ง เด็กคนนี้ก็เกิดไม่เข้าใจอยู่ปัญหาหนึ่ง เด็กวัยเจ็ดขวบศึกษาหาคำตอบที่เขาไม่เข้าใจ ไม่ว่าจะอ่านจากตำราหรือถามจากอาจารย์ แต่ก็ไม่มีใครตอบปัญหานี้ได้เลย
“ เอ้ ประตูแห่งประโยชน์คือสิ่งใดกันนะ ทำไมในตำราไม่มีบอกเรื่องนี้ไว้เลย ” “ อาจารย์ครับ ประตูแห่งประโยชน์คือสิ่งใดหรือครับ ทำไมผมศึกษาจากตำราแล้ว ไม่มีบอก
เรื่องนี้ไว้เลยครับ ”
 
บุตรเศรษฐีมักจะมีข้อสงสัยมากมายที่ตนไม่รู้มาสอบถามอาจารย์อยู่เสมอ
 
บุตรเศรษฐีมักจะมีข้อสงสัยมากมายที่ตนไม่รู้มาสอบถามอาจารย์อยู่เสมอ
 
      “ ศิษย์เอ้ย อาจารย์ตอบคำถามของเจ้าไม่ได้หรอก ปัญหานี้มันยากนัก เจ้าลองไปถามอาจารย์จากสำนักอื่นดูเถอะ ” “ อาจารย์ครับ ประตูแห่งประโยชน์ คือสิ่งใดหรือครับ
ผมศึกษาจากตำราแล้ว ทั้งอาจารย์สำนักอื่น ก็ไม่มีใครตอบได้เลยครับ ” “ ศิษย์เอ๋ย ปัญหานี้มันช่างยากจริงๆ แม้แต่อาจารย์คนนี้ ก็ตอบเจ้าไม่ได้เช่นกัน ”
 
ท่านเศรษฐีได้ตอบคำถามข้อสงสัยที่บุตรชายของตนยังหาคำตอบไม่ได้
 
ท่านเศรษฐีได้ตอบคำถามข้อสงสัยที่บุตรชายของตนยังหาคำตอบไม่ได้
 
      เมื่อซักถามอาจารย์ท่านใดก็ไม่เป็นผล บุตรเศรษฐีจึงนำปัญหานี้ไปถามบิดา “ พ่อครับ ผมมีปัญหาหนึ่งที่ไม่เข้าใจมานานแล้ว แม้ว่าจะศึกษาตามตำรา หรือถามจากอาจารย์
หมดแล้วทุกคน แต่ก็ไม่มีใครตอบลูกได้เลยครับ ” “ ปัญหาอะไรล่ะ ลูกเอ้ย บอกพ่อมาสิ ” “ อะไรที่ชื่อว่า ประตูแห่งประโยชน์ ตำราเล่มไหนๆ ก็ไม่มีบอกไว้ แม้แต่อาจารย์ก็ตอบไม่ได้ ”
 
บุตรของท่านเศรษฐีได้ประพฤติตนอยู่ในธรรม 6 ประการ อย่างมีความสุข
 
บุตรของท่านเศรษฐีได้ประพฤติตนอยู่ในธรรม 6 ประการ อย่างมีความสุข
 
     เมื่อเศรษฐีได้ยินคำถามนั้นจึงตอบว่า “ บุคคลควรปรารถนาลาภอย่างยิ่ง คือความไม่มีโรค ศีล ความคล้อยตามผู้รู้ การสดับตรับฟัง การประพฤติตามธรรม ความไม่ท้อถอย
คุณธรรมหกประการนี้ เป็นประตูแห่งประโยชน์นั่นเองละลูก ” บุตรเศรษฐีเมื่อได้รับคำตอบจากพ่อ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ประพฤติในธรรม 6 ประการนั้น ส่วนเศรษฐีก็ตั้งตนบำเพ็ญบุญ
มีทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม
 
 

บุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็น บุตรคนปัจจุบัน
ท่านเศรษฐี เสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 


รับชมคลิปวิดีโอ
ชมวิดีโอ   Download ธรรมะ
 
 
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ