กาลัณฑุกชาดก ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

กฏาหกผู้เป็นบุตรของทาสในเรือนพาราณสีเศรษฐี เขาได้แอบหนีไปพักอาศัยอยู่กับปัจจันตเศรษฐีแถบชนบทโดยการโกหกว่าตนเองเป็นบุตรของพาราณสีเศรษฐี จนปัจจันตเศรษฐีไว้วางยกลูกสาวของตนให้เป็นภรรยาของชายหนุ่ม https://dmc.tv/a27893

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 20 เม.ย. 2565 ] - [ ผู้อ่าน : 18286 ]

ชาดก 500 ชาติ

กาลัณฑุกชาดก-ชาดกว่าด้วยมารยาทส่อสกุล

ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งได้ปล่อยให้เพื่อนภิกษุของตนกวาดลานวัดโดยที่ตนเองขอตัวจากไปไม่อยากที่จะช่วยเหลือ

ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งได้ปล่อยให้เพื่อนภิกษุของตนกวาดลานวัดโดยที่ตนเองขอตัวจากไปไม่อยากที่จะช่วยเหลือ  
      
      ในพุทธกาลสมัยหนึ่ง พระเชตวันมหาวิหารอารามอันเป็นที่ประทับแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหล่าภิกษุสาวกมากมายล้วนตั้งใจปฏิบัติธรรม
อย่างสงบสุขเรื่อยมา 
เช้านี้อากาศสดชื่นเหมือนเช่นเคย เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมยิ่งนัก ” “ นั่นนะสิ เอาไว้กวาดลานตรงนี้เสร็จเราเข้าไปศึกษาธรรมกันต่อ
ยังมีอีกหลายข้อเลยที่เราสงสัยใคร่รู้นะท่าน
 
เสร็จจากภารกิจภิกษุบางกลุ่มก็มานั่งศึกษา<a href=http://www.dmc.tv title='ธรรมะ' target=_blank><font color=#333333>ธรรมะ</font></a>กันด้วยความใฝ่รู้
 
เสร็จจากภารกิจภิกษุบางกลุ่มก็มานั่งศึกษาธรรมะกันด้วยความใฝ่รู้
       
        “ อืม ดีเหมือนกัน งั้นเรารีบเร่งมือกันเถอะ ” “ อ้าวๆ จะมัวคุยกันไปถึงไหนละเนี่ย รีบ  เก็บกวาดได้ไหม ข้าเบื่อทำงานสกปรกอย่างนี้จริง  เชิญพวกท่านคุยไป
ทำไปก็แล้วกันนะ
 ” “ อ้าว ” 
ภิกษุทั้งหลายเมื่อปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเรียบร้อยก็ได้เวลาที่จะศึกษาพระธรรมคำสอนตามความสนใจใคร่รู้ของแต่ละรูป และคอย
ช่วยเหลืออธิบายขยายธรรมให้แก่กันเป็นอันดี

 
ภิกษุหนุ่มขี้โอ่ชอบพูดจาถากถางผู้อื่นโดยไม่มีความเกรงใจ
 
ภิกษุหนุ่มขี้โอ่ชอบพูดจาถากถางผู้อื่นโดยไม่มีความเกรงใจ
      
        “ ท่านพอจะเข้าใจถ่องแท้ในจุดนี้บ้างไหม ” “ อ่อ ได้สิ เดี๋ยวเราจะอธิบายให้ท่านทราบนะ ” “ ปัดโธ่เอ๋ย ง่าย  แค่นี้พวกท่านยังไม่เข้าใจกันอีกหรือนี่
เชอะ เหมาะแล้วที่ต้องมากวาดลานอย่างนี้ ฮ่ะ ฮ่ะ ฮ่ะ ” “ อ้าว ” ภิกษุขี้โอ่รูปนี้มักพูดจายกตนข่มท่าน คอยถากถางภิกษุรูปอื่น  อย่างไม่ให้ความเคารพ
เกรงใจ


ภิกษุทั้งหลายต่างพากันมาฉัน<a href=http://www.dmc.tv/search/ภัตตาหาร title='ภัตตาหาร' target=_blank><font color=#333333>ภัตตาหาร</font></a>เพลที่โรงครัว
 
ภิกษุทั้งหลายต่างพากันมาฉันภัตตาหารเพลที่โรงครัว
 
       ซ้ำร้ายยังปฏิบัติตนไม่สนใจว่าใครจะเดือดร้อน คิดอยู่เพียงอย่างเดียวว่า ตนไม่คู่ควรที่จะมาอยู่รวมกับภิกษุเหล่านี้ (...เชอะระดับเราไม่น่ามาเกลือกลั้ว
รวมกับภิกษุรูปอื่น
 ๆ อย่างนี้เลยมันคนละชั้นกันเห็น เดี๋ยวหนีไปตั้งสำนักใหม่แล้วจะหนาว อีโธ่แม้ในยามฉันเพลภิกษุทั้งหลายก็พร้อมใจกันมาที่โรงครัว
เพื่อรับภัตตาหาร


ภิกษุหนุ่มขี้โอ่ไม่พอใจในภัตตาหารที่มีแต่ประเภทผักในแต่ละมื้อ
 
 ภิกษุหนุ่มขี้โอ่ไม่พอใจในภัตตาหารที่มีแต่ประเภทผักในแต่ละมื้อ        
        โดยอาหารที่นำมานั้นก็มาจากที่มีชาวบ้านนำมาถวายบ้าง หรือเป็นพืชผักที่ภิกษุปลูกเองบ้าง และเหมือนเช่นทุกครั้งภิกษุขี้โอ่ก็ยังคงแสดงกิริยาโอ้อวด
พูดจาไม่เกรงใจใครเหมือนเช่นเคย
 “ เอาล่ะ ฉันเสร็จแล้วเราว่าจะไปถามพระอาจารย์ถึงข้อธรรมะที่เราสงสัย ท่านจะไปด้วยกันไหม ” “ ได้สิ เออนิท่าน ดูนี่สิ
ผักที่พวกเราปลูกกันเอง

 
"เหล่าภิกษุทั้งหลายต่างพากันพูดถึงภิกษุหนุ่มขี้โอ่ซึ่งได้แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสมในหลายสถานการณ์" src="/images/Jataka/Kalanduka-07.jpg" style="margin: 0px; width: 817px; height: 613px;" title="เหล่าภิกษุทั้งหลายต่างพากันพูดถึงภิกษุหนุ่มขี้โอ่ซึ่งได้แสดงกิริยามารยาทที่ไม่เหมาะสมในหลายสถานการณ์" />

 
 เรื่องราวของภิกษุหนุ่มขี้โอ่ได้ล่วงรู้ไปถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
งั้นก็เชิญท่านเข้าไปพูดกับเขาแล้วกัน พวกเราจะเป็นกำลังใจให้อยู่ห่าง  นะ " “ อ้าว อย่าเกี่ยงกันเลย ของอย่างนี้ไม่มีใครอยากไปพูดหรอกคงต้องให้
เจ้าตัว
รู้ตัวด้วยตนเองละกระมัง ” “ เฮ้อ เหนื่อยใจ ” เหตุการณ์นี้ได้ล่วงรู้ไปถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้ทรงตรัสเรียกภิกษุขี้โอ่นั้นก่อนจะเรียกภิกษุขี้โอ่
รูปนั้นเข้าพบ
 
เศรษฐีแห่งเมืองพาราณสีผู้มีจิตใจเมตตา
 
เศรษฐีแห่งเมืองพาราณสีผู้มีจิตใจเมตตา
        

        และตรัสสอนให้ภิกษุรูปนี้เปลี่ยนแปลงความประพฤติของตนเองซะ “ ดูก่อนภิกษุ เหตุไฉนเล่าท่านจึงได้มักพูดจาโอ้อวด ถากถางผู้อื่นอยู่เยี่ยงนี้เล่า ” “ เอ่อ
ข้าพระองค์ก็เพียงแต่เห็นว่า ข้าน่าจะได้อยู่ ได้ฉันในสิ่งที่ดีกว่านี้เท่านั้น มิได้มีเจตนาจะว่าร้ายใครเยี่ยงไรเลยขอรับ ” “ ภิกษุเอ๋ยการกระทำเยี่ยงนี้นับว่าไม่สมควร
ต่อการครองเพศสมณะยิ่งนัก

 
ชาวเมืองต่างพากันพูดถึงการไปรับอาหารที่ท่านเศรษฐีนำมาแจกจ่าย
 
ชาวเมืองต่างพากันพูดถึงการไปรับอาหารที่ท่านเศรษฐีนำมาแจกจ่าย
       

       มิเพียงแต่ในชาตินี้เท่านั้นหรอกนะที่ท่านประพฤติตนเยี่ยงนี้ แม้ในชาติปางก่อนท่านเองก็เคยประพฤติตนเยี่ยงนี้จนได้รับความเดือนร้อนมาแล้วเหมือนกัน ”
จากนั้นพระพุทธองค์จึงทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณย้อนไปในอดีตชาติตรัสเล่ากาลัณฑุกชาดกเป็นแง่คิดให้กับภิกษุขี้โอ่รูปนี้และเหล่าภิกษุทั้งหลาย
ได้ฟัง

 
บุตรของท่านเศรษฐีและลูกของทาสในเรือนได้คลอดในวันเดียวกัน
 
บุตรของท่านเศรษฐีและลูกของทาสในเรือนได้คลอดในวันเดียวกัน
        

        เพื่อระลึกถึงโทษแห่งการยกตนข่มท่านคอยถากถางคนอื่นไว้ดังนี้ ย้อนไปเมื่อครั้งอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่พระนครพาราณสี ปกครอง
แผ่นดินพาราณสีอย่าสงบสุขร่มเย็น
 “ แหม วันนี้ปลาช่างสดจริง  เลยนะ วันนี้ซื้อปลาไปทำกับข้าวกินกันดีกว่า ” “ โอ้ย จะซื้อไปทำไม ไปที่บ้านท่านเศรษฐีสิ


ลูกชายของทาสเศรษฐีได้ตามลูกเศรษฐีมาเรียนหนังสือด้วยทุกครั้ง    

ลูกชายของทาสเศรษฐีได้ตามลูกเศรษฐีมาเรียนหนังสือด้วยทุกครั้ง 
        

       วันนี้ท่านนำอาหารมาแจกชาวบ้านอีกแล้วนะ ” “ อ้าวเล่นมาพูดกันต่อหน้าแผงข้าแบบนี้ ขายไม่ออกกันพอดี โอ้ย ” ท่านเศรษฐีผู้ใจบุญนั้นแท้จริงคือพระโพธิสัตว์
ที่เสวยพระชาติมาบำเพ็ญคุณงามความดี
 สะสมบารมีนั่นเอง และในภพชาตินี้มหาเศรษฐีโพธิสัตว์ผู้มั่งมีอุดมไปด้วยข้าทาสบริวารและทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมาก
มักนำอาหารมาแจกจ่ายเป็นทานให้แก่ชาวบ้าน จนเป็นที่เลื่องลือกันทั่วเมือง

 
ลูกทาสในเรือนเศรษฐีได้ปลอมแปลงหนังสือเพื่อจะนำติดตัวไปในการเดินทาง
 
ลูกทาสในเรือนเศรษฐีได้ปลอมแปลงหนังสือเพื่อจะนำติดตัวไปในการเดินทาง

        “ ไปกันเถอะพวกเราไปรับทานจากท่านเศรษฐีกันดีกว่า ” “ นี่ไม่ต้องรีบขนาดนั้นก็ได้ นี่ชื่นชมท่านเศรษฐีหรือว่าอยากได้ของแจกกันแน่ หา ” “ รู้ทันข้าอีกแล้ว ”
ในเวลานั้นภรรยาของพาราณสีเศรษฐีได้ให้กำเนิดบุตรชายมาหนึ่งคนซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับที่ทาสของท่านเศรษฐีก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายขึ้นมาพร้อมกัน
โดยเด็กทั้งสองคลอดวันเดียวกัน
 

ลูกทาสหนุ่มได้ออกเดินทางไปยังปัจจันตชนบท
 
ลูกทาสหนุ่มได้ออกเดินทางไปยังปัจจันตชนบท
 
        “ ฮ่ะ ฮ่า ฮ่า ลูกพ่อน่ารักน่าชังอ้วนท้วนสมบูรณ์ดีจริง  เลย น่ารักมาก ” “ ท่านพี่ดูลูกเรายิ้มสิค่ะ ” “ ลูกกระผมก็เกิดวันเดียวกับนายน้อยเลยขอรับนายท่าน ”
“ 
งั้นเหรอ เออดี ดี ต่อไปลูกเจ้ากับลูกเราจะได้เป็นเพื่อนเล่นกัน ดีมาก  ดีมากอย่างนี้หละดีแล้ว ” เด็กทั้งสองนั้นเติบโตมาด้วยกันเมื่อถึงวัยได้เวลาศึกษาเล่าเรียน
บุตรของพาราณสีเศรษฐีได้เรียนหนังสือ ส่วนลูกทาสนั้นก็จะถือเอากระดานชนวนตามไปเรียนด้วยทุกครั้งไปเพื่อศึกษาหนังสือกับบุตรพาราณสีเศรษฐีด้วย

ลูกทาสหนุ่มได้นำหนังสือที่ตนปลอมแปลงมามอบให้กับปัจจันตเศรษฐี
 
ลูกทาสหนุ่มได้นำหนังสือที่ตนปลอมแปลงมามอบให้กับปัจจันตเศรษฐี
       

        “ เจ้านี่ช่างขยันจริง  เลยนะ ถือกระดานชนวนตามเรามาเรียนทุกวันเลย ดีเหมือนกัน เราจะได้ไม่เหงา ” “ ขอรับกระผมจะได้อยู่เป็นเพื่อนเรียน เพื่อนเล่น
ให้นายน้อยด้วยไงขอรับ
 ” เมื่อเขียนอ่านได้เพียงไม่กี่ครั้งลูกทาสก็เริ่มจดจำและฉลาดในถ้อยคำ และฉลาดในโวหารมากขึ้นตามลำดับ จนเวลาล่วงเลยไป
ลูกทาสผู้นี้ก็เติบโตเป็นหนุ่มรูปงามมีนามว่า กฏาหกะ “ เฮ้อร่ำเรียนมาสะสูง แต่ไม่แคล้วยังไงสะเราก็คงได้แค่ลูกทาสนั้นแหละ ”

ลูกทาสได้ชอบทำตนอวดเบ่งใหญ่โตไม่เกรงใจใคร
 
ลูกทาสได้ชอบทำตนอวดเบ่งใหญ่โตไม่เกรงใจใคร
 
     ด้วยความที่ท่านพาราณสีเศรษฐีเห็นว่ากฏาหกะมีความชาญฉลาดจึงได้มอบหมายงานให้ทำในเรือนของท่านเอง ด้วยกฏหกะได้รับหน้าที่เป็นเสมียนประจำอยู่ใน
คลังพัสดุเรือนของท่านพาราณสีเศรษฐีนั่นเอง
 (อืม ท่านเศรษฐีอุตส่าห์มอบความไว้วางใจให้กับเรา เราต้องตั้งใจทำงานให้ดีที่สุด ให้สมกับที่ท่านมอบโอกาสให้)
ต่อมากฏาหกะก็เริ่มคิดขึ้นมาได้ว่าเขาคงจะไม่อยู่ทำงานเป็นเสมียนที่นี่ตลอดไป เนื่องจากรู้ตัวว่าตนเองเป็นเพียงแค่ลูกทาส อย่างไรเสียก็คงถูกใช้เยี่ยงทาสอยู่ดี
 
เศรษฐีพาราณสีได้ให้บริวารออกตามหาตัวลูกทาสที่ได้หายตัวไป
 
เศรษฐีพาราณสีได้ให้บริวารออกตามหาตัวลูกทาสที่ได้หายตัวไป
 
     (คิด  ไปคนที่นี่เขาคงไม่เอาเราเป็นเสมียนไปตลอดเหมือนกันนั่นแหละ อีกหน่อยพอมีอะไรผิดพลาดไปก็คงไม่แคล้วมาเฆี่ยนตีเรา แล้วก็ใช้เราไม่ต่างกับทาสอยู่ดี
แล้วเราจะทนอยู่ทำไม อืม จะว่าไปเห็นเขาว่ากันว่าที่ชายแดนมีปัจจันตเศรษฐีที่เป็นสหายกับท่านเศรษฐีของเราอยู่ด้วย หรือว่าเราจะสวมรอยไปอยู่ที่นั้นดีนะ ) เมื่อตัด
สินใจได้ดังนั้นกฏาหกะจึงลงมือปลอมแปลงหนังสือขึ้นมาหนึ่งฉบับโดยอ้างเอาว่าตนเป็นลูกชายของท่านพาราณสีเศรษฐีหวังจะให้ปัจจันตเศรษฐีหลงเชื่อและรับตน
เข้าไปทำงานด้วย
 
ท่านเศรษฐีได้ให้นกแขกเต้าออกตามหาชายหนุ่มลูกทาสไปยังแถบชนบท
 
ท่านเศรษฐีได้ให้นกแขกเต้าออกตามหาชายหนุ่มลูกทาสไปยังแถบชนบท
 
       “ ฮ่ะ ฮ่า เอาล่ะที่นี้ก็เรียบร้อย แหมเรานี่ช่างฉลาดจริง  แค่นี้ก็สบายไปทั้งชาติ ดีกว่าต้องอยู่เป็นทาสที่นี่ไปจนวันตาย ” จากนั้นก็นำหนังสือเล่มนั้นไปด้วยแล้วก็
ออกเดินทางไปหาปัจจันตเศรษฐีหวังจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นั้น
 “ ต่อไปก็แค่มอบหนังสือนี้ให้กับท่านปัจจันตเศรษฐีดู แค่นี้ก็เป็นไปตามแผน หนังสือเราก็ปลอมซะเหมือน
ขนาดนี้ไม่มีทางดูออกแน่
  ” เมื่อได้พบกับปัจจันตเศรษฐี กฏาหกะก็จัดแจงมอบหนังสือที่นำติดตัวมาด้วยให้ท่านเศรษฐีได้พิจารณา
 
นกแขกเต้าได้ออกตามหาชายหนุ่มไปยังชายแดนชนบท
 
นกแขกเต้าได้ออกตามหาชายหนุ่มไปยังชายแดนชนบท

         “ อืม ที่แท้ท่านก็เป็นลูกของพาราณีเศรษฐีเองหรอกหรือ ถ้างั้นก็เชิญอยู่ที่นี่ได้ไม่ต้องเกรงอกเกรงใจหรอกนะ ตามสบายเลย ตามสบาย ” “ ขอบพระคุณท่านมาก ”
(
สำเร็จเป็นไปตามแผนเลย เฮอะๆๆ) กฏาหกะอาศัยอยู่ที่นี่อย่างเปี่ยมสุข ไม่นานนักปัจจันตเศรษฐีก็มอบบุตรธิดาของตนให้แต่งงานด้วยและอาศัยอยู่ท่ามกลางบริวาร
ที่มีมากมาย แต่ยิ่งนานไปกิริยาของกฏาหกะก็ยิ่งโอ้อวดจองหองกระทำตนใหญ่โตไม่เกรงใจใคร

หนุ่มลูกทาสและภรรยาได้ออกไปนั่งเรือเล่น
 
หนุ่มลูกทาสและภรรยาได้ออกไปนั่งเรือเล่น

       “ อะไรกันนี่พวกบ้านนอกอย่างเจ้าทำของอย่างนี้ให้ข้ากินหรือนี่ ไม่รู้หรือยังไง ข้านะเป็นบุตรเศรษฐีในเมืองนะ ไปทำของดี  มาให้ข้ากินสิ แล้วเครื่องอบ
เครื่องหอมก็กลิ่นเหม็นเหลือเกิน
 อยากจะอ้วก เฮ้อ พวกบ้านนอกนี่จริง  เล้ย ” ย้อนกลับมาที่ทางฝั่งพาราณสีเศรษฐีหลังจากที่กฏาหกะหายตัวไปก็เที่ยวส่งคน
ออกตามหาตัวกฏาหกทั่วแคว้นพาราณสี
  แต่ก็ไม่มีผู้ใดพานพบกฏาหกะเลยแม้แต่คนเดียว “ ข้าน้อยออกค้นหาทั่วพารารณสีแล้ว แต่ก็หาพบกฏาหกะ
ไม่ขอรับนายท่าน
 ”

หนุ่มลูกทาสได้บ้วนนมสดลงไปบนศีรษะภรรยาของตน

หนุ่มลูกทาสได้บ้วนนมสดลงไปบนศีรษะภรรยาของตน
 
        “ ข้าเองก็เหมือนกันนายท่าน เที่ยวถามคนรู้จักก็ไม่มีใครรู้เลย ” “ เอ้ เจ้ากฏาหกะหายไปไหนนะ อยู่ดี  ก็หายไปแบบนี้มันต้องมีอะไรไม่ชอบมาพากล
แน่
  เลย ” เมื่อไม่สามารถหาตัวกฏาหกะเจอ ท่านเศรษฐีจึงได้สั่งให้นกแขกเต้าของตนเป็นผู้ตามหาตัวกฏาหกะ “ ไปเถอะเจ้านกแขกเต้าไปช่วยเราตามหา
ทีสิ
 ว่าเจ้ากฏาหกอยู่แห่งหนใดกัน ” “ ได้เลยท่านเศรษฐีไว้เป็นหน้าที่ของข้าเอง ” นกแขกเต้านั้นมีปีกบิน จึงสามารถบินและมองหาจากที่สูงได้และสามารถ
บินได้ไกล
 
นกแขกเต้าได้กล่าวตักเตือนถึงกิริยาที่ไม่เหมาะสมที่ชายหนุ่มได้ทำกับภรรยาของตน
 
นกแขกเต้าได้กล่าวตักเตือนถึงกิริยาที่ไม่เหมาะสมที่ชายหนุ่มได้ทำกับภรรยาของตน
 
      ไม่นานนักก็บินมาจนถึงชายแดนที่ซึ่งปัจจันตเศรษฐีอาศัยอยู่ ฝั่งกฏาหกเองก็กำลังนั่งเรื่อเล่นกับภรรยาโดยให้คนถือดอกไม้เครื่องหอมมากมายไว้ในเรือ
ด้วยพร้อมด้วยโภชนียอีกมากมายไปบนเรือ
 เนื่องจากธรรมเนียมของที่นี่เวลาเหล่าเศรษฐีจะนั่งเรือเล่น ก็จะดื่มนมสดแกล้มด้วยเภสัชที่มีรสเข้มเพื่อทำให้ร่างกาย
อบอุ่นเวลานั่งเรือเล่นน้ำก็จะไม่รู้สึกหนาว 
“ เฮ้อ ธรรมเนียมของที่นี่ช่างแปลกนักกับอีแค่เราจะนั่งเรือเล่นทำไมต้องมีอะไรมากมายขนาดนี้เนี่ย ”
 
นกแขกเต้าได้บินหนีทันทีที่รู้ว่าชายหนุ่มจะหลอกจับแล้วทำร้ายตน
 
นกแขกเต้าได้บินหนีทันทีที่รู้ว่าชายหนุ่มจะหลอกจับแล้วทำร้ายตน
 
       กฏหกนั้นหาได้นำนมนั้นมาดื่มเพื่อทำความอบอุ่นให้ร่างกายไม่ แต่กลับนำนมนั้นมาป้วนปาก มิหน่ำซ้ำยังถ่มนมในปากใส่ศีรษะของภรรยาอีกต่างหาก “ บ้วนปาก
ด้วยนมแปลกใหม่อย่าบอกใคร
 ฮ่ะฮ่า ฟันขาวสะอาดแข็งแรง ” “ อุ๊ย ท่านพี่ทำไมท่านมาบ้วนใส่น้องอย่างนี้เล่า แล้วนมนั่น เขาเอาไว้ให้กินแกล้มกับเภสัชเพื่อกันหนาวนะ
ไม่ใช่ให้ท่านมาบ้วนเล่นแบบนี้ ” “ เออน่า เจ้าอย่าพูดมากน่า ธรรมเนียมคนบ้านนอกอย่างพวกเจ้าน่ะคนในเมืองอย่างข้าไม่สนหรอก ”
 
นกแขกเต้าได้กลับมารายงานเรื่องที่ตนได้ไปพบกับชายหนุ่มลูกทาสที่ปัจจันตชนบทให้ท่านเศรษฐีทราบ
 
นกแขกเต้าได้กลับมารายงานเรื่องที่ตนได้ไปพบกับชายหนุ่มลูกทาสที่ปัจจันตชนบทให้ท่านเศรษฐีทราบ
 
      ฝ่ายนกแขกเต้าเมื่อบินมาถึงฝั่งแม่น้ำก็เหลือบเห็นกฏาหกะเข้าพอดี จึงบินลงมาเกาะที่กิ่งมะเดื่อเพื่อสังเกตท่าที เมื่อเห็นกฏาหกะบ้วนนมใส่ศีรษะธิดาเศรษฐีจึงเข้าไป
ต่อว่ากฎหกอย่างเหลืออด
 “ หนอย ๆๆๆ ท่านกาลัณฑุกะชั่วเอ๋ย ไม่ได้สำนึกพึงสังวรเลยว่าตนเป็นอะไรมาก่อน เที่ยวเอานมสดมาบ้วนปากอย่างนี้ได้อย่างไร แล้วที่สำคัญ
เจ้ากล้าดีเยี่ยงไรถึงได้ไปถ่มรดศีรษะธิดาเศรษฐีอย่างนั้น
 นี่เจ้าช่างไม่รู้จักประมาณตนเลยหรือนี่ สกุลของเจ้ามิใช่สกุลสูง
 
เศรษฐีพาราณสีได้มารับชายหนุ่มกลับไปเป็นทาสในเรือนตนเช่นเดิม
 
เศรษฐีพาราณสีได้มารับชายหนุ่มกลับไปเป็นทาสในเรือนตนเช่นเดิม
 
       นี่ถ้านายท่านรู้ว่าเจ้ามาทำตัวเยี่ยงนี้คงไม่แคล้วต้องเดินทางมาจับตัวเจ้าไปแน่  เจ้าจงดื่มน้ำนมนั้นเสียอย่าเที่ยวเอามาทำเสียของอย่างนี้นะ ” ฝ่ายกฏาหกะนั้นก็จำได้
ว่านี่คือนกแขกเต้าของพาราณสีเศรษฐีจึงเกิดความกลัวว่านกแขกเต้าจะนำเรื่องไปบอกให้กับพาราณสีได้ทราบ
 “ ใจเย็น  สิ พ่อนกแขกเต้ามานี่มา มานั่งข้าง  เราก่อนนี่
คุยกันดี
  ก่อนก็ได้นะจ๊ะ ” นกแขกเต้ารู้ดีว่ากฏาหกะแสร้งทำอุบายเรียกเข้าไปใกล้เพื่อหวังจะฆ่าตนปิดปากเป็นแน่จึงตัดสินใจบินหนีออกมามุ่งหน้ากลับไปรายงานให้
พาราณสีทราบโดยทันที
 
พระพุทธองค์ทรงเล่าชาดกจบลงและได้ประชุมชาดกในลำดับต่อมา
 
พระพุทธองค์ทรงเล่าชาดกจบลงและได้ประชุมชาดกในลำดับต่อมา
 
     “ เชอะ อยู่ให้โง่เหรอ ขืนอยู่เจ้าก็บีบคอเราตายเราตายนะสิ เราไปดีกว่า ” “ เดี๋ยว  เดี๋ยวนะ เจ้านกบ้ากลับมาเดี๋ยวนี้ โธ่โว้ย มันน่านัก อืม ” เมื่อนกแขกเต้าบินมา
ถึงเมืองพาราณสีก็รีบนำเรื่องที่ตนไปพบกับกฏาหกะมาเล่าให้ท่านพาราณสีเศรษฐีทราบโดยทันที
 “ อืม ที่แท้ก็เป็นเช่นนี้นี่เอง เฮ้อ เห็นทีเราจะปล่อยให้เจ้ากฏาหกะ
สร้างความเดือดร้อนให้ที่นั่นต่อไปไม่ได้สะแล้ว
 เราคงต้องไปนำตัวเขากลับมาเป็นทาสที่นี่เสียแล้ว ” “ ดีเหมือนกันนายท่าน คนลืมตนแบบนี้ต้องจับกลับมาเป็นทาส
ดัดนิสัยซะให้เข็ด
 ”
     
     หลังจากนั้นไม่นานพาราณสีเศรษฐีก็เดินทางไปพบกับปัจจันตเศรษฐีเพื่อขอนำตัวกฏาหกะกลับเมืองพาราณสีเพื่อใช้งานเยี่ยงทาสต่อไป
 “ กลับพาราณสีซะเถอะ
เจ้ากฏาหกะเอ๋ย 
เจ้าอย่าได้สร้างความเดือดร้อนให้เขาอีกเลย ” “ โธ่ เราไม่น่าเลย เป็นเพราะความโอ้อวด อวดดีของเราแท้  ” หลังจากองค์พระศาสดาทรงนำชาดก
เรื่องนี้มาตรัสเล่าแล้ว 
ก็ทรงประชุมชาดกว่า
 

 

 

กาลัณฑุกะผู้โออวดผู้นั้นในชาติที่แล้ว ก็คือภิกษุผู้นี้แล

ส่วนพาราณสีเศรษฐีในครานั้น ก็คือเราตถาคตในชาตินี้เอง 

 

 

 

 





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ