นังคลีสชาดก ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

“ มานพนี้ เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสด ขาวอยู่เป็นนิจ ทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลย เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว ” https://dmc.tv/a26904

บทความธรรมะ Dhamma Articles > นิทานชาดก 500 ชาติ
[ 20 มี.ค. 2564 ] - [ ผู้อ่าน : 18275 ]

ชาดก 500 ชาติ

นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

พระศาสดาทรงประกาศพระธรรมคำสอนแก่เหล่าภิกษุสงฆ์

พระศาสดาทรงประกาศพระธรรมคำสอนแก่เหล่าภิกษุสงฆ์
  
        ณ ดินแดนชมพูทวีปในกาลสมัยที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศพระธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงตรัสรู้ชอบดีแล้ว หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์
ที่สั่งสมบารมีมาอย่างยาวนานหลายชาติภพนั้นเป็นที่แจ้งประจักษ์ในหมู่พุทธสาวกทั้งหลายว่า เป็นหลักธรรมที่ประกอบขึ้นด้วยเหตุและผล เป็นไปตามกฎแห่ง
ธรรมชาติซึ่งเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ 
 
พระโลลุทายีเถระผู้เลื่อนเปื้อน
 
พระโลลุทายีเถระผู้เลื่อนเปื้อน
 
        ในกาลนั้น ขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารนั้น มีเหตุอันมีเรื่องเล่าขานขึ้นมากมาย ดังเช่นในตอนนี้ที่มีเหตุหนึ่ง ถึงพระเถระผู้เลื่อนเปื้อน
นามว่า พระโลลุทายีเถระ เหตุวิพากษ์นั้นเกิดจากการที่พระเถระโลลุทายีรูปนี้ เป็นผู้ที่ไม่ได้รับรู้ข้อที่ควรและไม่ควรว่า ในที่นี้ควรกล่าวธรรมข้อนี้ ในที่นี้ไม่ควรกล่าว
ธรรมข้อนี้ ในงานมงคลก็กล่าวอวมงคล กล่าวอนุโมทนาอวมงคลเป็นต้น
 
พระโลลุทายีเถระชอบกล่าวข้อธรรมในที่ที่ไม่ควรกล่าวอยู่เป็นนิจ
 
พระโลลุทายีเถระชอบกล่าวข้อธรรมในที่ที่ไม่ควรกล่าวอยู่เป็นนิจ
 
        “ อ่ะ แอ่ม อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เปรตทั้งหลายพากันยืนอยู่นอกฝาเรือนและที่กรอบประตูและเช็ดหน้า ” “ อะไรกันนี่ พระเถระรูปนี้พูดอะไรไม่เป็นมงคล
เอาเสียเลย นี่มันงานมงคลแท้ ๆ มาผิดงานหรือเปล่านี่ เฮ้อ ” “ นั่นนะสิพูดออกมาได้ยังไงไม่ดูบ้างเลย เฮ้อ ต่อไปใครจะกล้านิมนต์ ”

ชาวบ้านทั้งหลายต่างพากันเอือมระอาในพฤติกรรมเลื่อนเปื้อนของพระโลลุทายีเถระ
 
ชาวบ้านทั้งหลายต่างพากันเอือมระอาในพฤติกรรมเลื่อนเปื้อนของพระโลลุทายีเถระ
 
        ครั้นพอมีอุบาสกนิมนต์ท่านไปทำพิธีในงานอวมงคล เมื่อกระทำอนุโมทนากลับ พระโลลุทายีเถระกลับกล่าวว่า “ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก
ได้คิดมงคลทั้งหลายกันแล้ว ขอให้พวกท่านสามารถกระทำมงคลเห็นปานนั้นให้ได้ร้อยเท่าพันเท่าเถิด ” “ เอาอีกแล้ว งานก่อนก็พูดผิดพูดถูก
มางานนี้ยังพูดผิดอีก ”
 
เรื่องของพระโลลุทายีเถระเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ภิกษุสงฆ์
 
เรื่องของพระโลลุทายีเถระเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ภิกษุสงฆ์
 
        เหตุดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ภิกษุสงฆ์ จนมีการหยิบยกมาถกกันในโรงธรรมสภา “ ผู้มีอายุทั้งหลายพระโลลุทายีมิได้รู้ข้อที่ควรและไม่ควร
กล่าววาจาที่ไม่น่ากล่าวทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ” “ เรื่องนี้เราก็ได้ยินชาวบ้านเขาบ่นมาเหมือนกัน แต่เราจะทำอย่างไรกันดีละท่าน ปล่อยไว้ก็รังแต่จะทำให้
ชาวบ้านเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาและพระบรมศาสดาของเรา ”
 
พระศาสดาทรงตรัสถามถึงเหตุที่เหล่าภิกษุสงฆ์กำลังสนทนากันอยู่
 
พระศาสดาทรงตรัสถามถึงเหตุที่เหล่าภิกษุสงฆ์กำลังสนทนากันอยู่
 
        ในระหว่างนั้นพระพุทธองค์เสด็จผ่านมา จึงตรัสถามขึ้นว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ” “ เรื่องที่พระโลลุทายีเถระ
มิรู้ข้อที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าวพระเจ้าค่ะ ” “ เรื่องนี้ เราก็ทราบอยู่เหมือนกัน ” “ แล้วจะทำอย่างไรดีพระเจ้าค่ะ ” “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น
ที่โลลุทายีนี้มีไหวพริบช้า เมื่อกล่าวก็ไม่รู้ข้อที่ควรและไม่ควร
 
ภิกษุสงฆ์ได้กราบทูลเรื่องราวของพระโลลุทายีเถระให้พระศาสดาทรงทราบ
 
ภิกษุสงฆ์ได้กราบทูลเรื่องราวของพระโลลุทายีเถระให้พระศาสดาทรงทราบ
 
       แม้ในครั้งก่อนก็ได้เป็นอย่างนี้ เธอผู้เป็นเลื่อนเปื้อนเรื่อยที่เดียว ” แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงรำลึกอดีตชาติด้วยปุบเพนิวาสานุสติญาณทรงนำ นังคลีสชาดก
มาตรัสเล่าเป็นพุทธโอวาทแก่เหล่าภิกษุทั้งหลายดังนี้ ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติแห่งกรุงพาราณสีนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ
บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่า นังคลีสชาดก ให้กับเหล่าภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้ฟัง
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่า นังคลีสชาดก ให้กับเหล่าภิกษุสงฆ์ทั้งหลายได้ฟัง
     
        เจริญวัยแล้วเล่าเรียนสรรพศาสตร์วิทยาในสำนักตักศิลาจนแตกฉาน ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีเหล่ามานพมากมายมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ในสำนัก
กว่า ๕๐๐ คน ในบรรดามานพเหล่านั้น มีมานพผู้หนึ่งเป็นผู้มีไหวพริบย่อหย่อนเลื้อนเปื้อนเป็นธัมมันเตวาสิก ร่ำเรียนศิลปะจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แม้จะมี
ความตั้งใจ แต่ก็ไม่อาจจะเล่าเรียนเหมือนมานพคนอื่น ๆ
 

พระเจ้าพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสี
 
พระเจ้าพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสี
 
        เพราะความที่เป็นคนหัวทึบ แต่ได้เป็นผู้อุปการะต่ออาจารย์ คอยทำกิจทุก ๆ อย่างให้เหมือนทาสไม่มีผิด “ ทะ ท่านอาจารย์ ไม่ต้อง ๆ  เดี๋ยวให้ศิษย์ทำเอง
อาจารย์อยู่เฉย ๆ เถอะนะขอรับ ” “ ถ้าเป็นความต้องการของเจ้าก็เอาเถอะ ”
 
พระโพธิสัตว์ได้ร่ำเรียนสรรพวิชาจนแตกฉานจากสำนักตักศิลา
 
พระโพธิสัตว์ได้ร่ำเรียนสรรพวิชาจนแตกฉานจากสำนักตักศิลา
 
       อยู่มาวันหนึ่งหลังจากที่อาจารย์ทิศาปาโมกข์บริโภคอาหารเย็นเสร็จแล้ว ก็นอนพักผ่อนเหนือเตียงนอน ได้ กล่าวกับมานพนั้นผู้ทำการนวดมือเท้าและหลังให้ว่า
“ ก่อนที่เจ้าจะออกไปช่วยหนุนเท้าเตียงให้อาจารย์ก่อน นะเจ้า ” “ ขอรับท่านอาจารย์ ” มานพหาของที่มาหนุนเท้าเตียงได้เพียงข้างเดียว
 
พระโพธิสัตว์ได้เป็นอาจารย์สอนในสำนักทิศาปาโมกข์
 
พระโพธิสัตว์ได้เป็นอาจารย์สอนในสำนักทิศาปาโมกข์
  
        ด้วยความอับปัญญาจึงไม่สามารถหาของที่จะมาหนุนเท้าเตียงอีกข้างหนึ่งได้ จึงใช้ขาของตนหนุนเท้าเตียงไว้ตลอดทั้งคืน “ แย่แล้วขาเตียงยังเหลืออีกข้าง
แล้วเราจะเอาอะไรหนุนดีละนี่ ไม่เห็นมีอะไรให้หนุนได้เลย อ้อนึกออกแล้ว ก็ใช้ขาของเรานี่ไง นี่ๆ ๆ เอารองไว้อย่างนี้ก็ได้แล้วนี่ ฉลาดเหมือนกันนะเนี่ยเรา ”
 
มานพ<a href=http://www.dmc.tv/pages/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1/Karma-Retribution-%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2-%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81.html title='ปัญญาทึบ' target=_blank><font color=#333333>ปัญญาทึบ</font></a>ผู้หนึ่งคอยปรนนิบัติบีบนวดอาจารย์ทิศาปาโมกข์    

มานพปัญญาทึบผู้หนึ่งคอยปรนนิบัติบีบนวดอาจารย์ทิศาปาโมกข์
 
        ในตอนเช้าอาจารย์ทิศาปาโมกลุกตื่นมาเห็นศิษย์ทึ่มของตนนั่งอยู่ไม่จากไปไหนจึงถามว่า “ เจ้ามานั่งอยู่นี่ทำไมเล่า ” “ ท่านอาจารย์ขอรับกระผมหาอะไรหนุนเตียง
ไม่ได้ ก็เลยเอาขาตัวเองหนุนไว้ จึงนั่งอยู่ขอรับท่านอาจารย์ ” เมื่ออาจารย์ได้ยินดังนั้นก็เกิดความรู้สึกสลดใจยิ่งนัก “ ศิษย์ผู้นี้ช่างมีอุปการะคุณแก่เรายิ่งนัก
 
มานพปัญญาทึบได้ใช้ขาของตนเองหนุนเท้าเตียงไว้ตลอดทั้งคืน
 
มานพปัญญาทึบได้ใช้ขาของตนเองหนุนเท้าเตียงไว้ตลอดทั้งคืน
  
       ในกลุ่มศิษย์ทั้งหลายของเราก็มีเจ้าคนนี้นี่แหละที่มีปัญญาทึบที่สุดไม่อาจจะศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ ได้เลย เฮ้อ ทำอย่างไรเล่าหนอ เราจึงจะทำให้เขาฉลาด
ขึ้นมาได้ ” อาจารย์ครุ่นคิดหาวิธีการที่จะสั่งสอนให้ศิษย์ผู้นี้มีความฉลาดขึ้นด้วยความเมตตา ครั้นแล้วก็ได้เกิดความคิดขึ้นว่า “ ใช่แล้ว มีอุบายอยู่อย่างหนึ่งจากนี้ไป
 
มานพผู้มีปัญญาทึบไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการต่างๆ ได้
 
มานพผู้มีปัญญาทึบไม่สามารถศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาการต่างๆ ได้
 
        เราต้องคอยถามมานพนี้ ผู้ไปหาฟืนหาผักมาแล้ว ว่าวันนี้จะเจ้าได้เห็นอะไร เจ้าได้ทำอะไรบ้าง เป็นเช่นนี้เขาจะได้บอกแก่เราว่า วันนี้ได้เห็นสิ่งชื่อนี้ ทำกิจชื่อนี้
ครั้นแล้วเราก็ต้องถามเขาต่อไปว่า ที่เจ้าเห็นที่เจ้าทำเช่นอะไร เขาจะบอกโดยอุปมาและโดยเหตุผลว่าอย่างนี้ ด้วยวิธีนี้ เราให้เขากล่าวอุปมาและเหตุแล้ว
จะทำให้เค้าฉลาดขึ้นได้อย่างแน่นอน ”
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์พยายามคิดหาวิธีการเพื่อที่จะสอนให้ศิษย์ปัญญาทึบของตนมีความฉลาดขึ้น
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์พยายามคิดหาวิธีการเพื่อที่จะสอนให้ศิษย์ปัญญาทึบของตนมีความฉลาดขึ้น
 
       ด้วยอุบายนี้ท่านอาจารย์จึงเรียกเขามา แล้วบอกแก่เขาว่า “ ตั้งแต่บัดนี้ไป ในที่ที่เจ้าไปหาฟืนและก็หาผัก เจ้าได้เห็น ได้กิน ได้ดื่ม หรือได้เคี้ยวสิ่งใดในที่นั้น
เจ้าต้องบอกสิ่งนั้นแก่อาจารย์ทุกครั้งนะเจ้า เข้าใจไหม ” “ ขอรับท่านอาจารย์ ” วันหนึ่งอาจารย์พาศิษย์ทั้งหลายเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืน 
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้คิดหาวิธีที่จะสอนศิษย์ปัญญาทึบของตนออกในที่สุด
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้คิดหาวิธีที่จะสอนศิษย์ปัญญาทึบของตนออกในที่สุด
 
        ในขณะที่กำลังเก็บฟืนอยู่นั้น เขาก็เห็นงูหัวหนึ่งกำลังเลื้อยอยู่ จึงระลึกถึงคำสั่งสอนของอาจารย์ ครั้นมาแล้วก็รีบไปบอกกับอาจารย์ของตนว่า “ ท่านอาจารย์ขอรับ
กระผมเห็นงูขอรับ ” “ เจ้าเห็นงูอย่างนั้นรึ แต่ขึ้นชื่อว่างู เจ้าคิดว่างูนั้นเหมือนอะไรเล่า ” “ มันเหมือนงอนไถขอรับท่านอาจารย์ ” 
 
ศิษย์ปัญญาทึบได้เจองูตัวหนึ่งในขณะที่กำลังหาฟืนอยู่
 
ศิษย์ปัญญาทึบได้เจองูตัวหนึ่งในขณะที่กำลังหาฟืนอยู่
 
        ( “….ดีแล้วล่ะ ดูท่าว่าวิธีการของเราน่าจะได้ผลซะแล้ว มานพผู้นี้รู้จักอุปมาอุปไมยงูเหมือนงอนไถ ช่างน่าพอใจยิ่งนัก หากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เขาก็คง
ฉลาดขึ้นแน่ ๆ  ” ) ต่อมามานพผู้นี้ได้ไปพบเห็นช้างป่า ก็นำมาบอกแก่อาจารย์ “ ท่านอาจารย์ขอรับ วันนี้กระผมไปเห็นช้างมาขอรับ ”
 
 
มานพผู้ปัญญาทึบได้บอกอาจารย์ว่าตนไปเจองูในขณะที่กำลังหาฟืน
 
มานพผู้ปัญญาทึบได้บอกอาจารย์ว่าตนไปเจองูในขณะที่กำลังหาฟืน
 
       “ เจ้าไปเห็นช้างมาอย่างนั้นรึ แล้วเจ้าว่าช้างเหมือนอะไรเล่า ” “ ช้าง ๆ ๆ อ่อ คิดออกแล้ว ช้างก็เหมือนงอนไถ่ขอรับท่านอาจารย์ ” “ งอนไถเหรอ อือ สงสัยคงจะ
หมายถึงงวงช้างนั่นเอง เริ่มจะฉลาดขึ้นมาแล้ว ” อาจารย์ทิศาปาโมกดำริแล้วว่างวงช้างหรืองาก็มีลักษณะเหมือนงอนไถ่จริง
 
มานพผู้ปัญญาทึบได้ไปพบเจอช้างในป่าใหญ่
 
มานพผู้ปัญญาทึบได้ไปพบเจอช้างในป่าใหญ่
 
        อย่างที่มานพนั้นกล่าว แต่แท้ที่จริงแล้วมานพผู้นี้ไม่อาจจำแนกกล่าวได้ว่าส่วนใดของช้างที่มีลักษณะคล้ายงอนไถ่อย่างที่ตอบไป เพราะตนเป็นคนปัญญาทึบ
นั่นเอง ชะรอยจะพูดหมายเอางวงช้าง เมื่อเห็นอาจารย์ไม่ได้กล่าวท้วงติงก็คิดว่าตอบถูกแล้วก็นิ่งไว้ “ ไชโย ๆ เราตอบถูกอีกแล้ว ภูมิใจจริง ๆ เลย ”
 
มานพผู้ปัญญาทึบบอกอาจารย์ของตนไปว่าช้างมีลักษณะเหมือนงอนไถ
 
มานพผู้ปัญญาทึบบอกอาจารย์ของตนไปว่าช้างมีลักษณะเหมือนงอนไถ

       อยู่มาวันหนึ่งมีชาวบ้านมาเชิญมานพผู้นี้ไปที่บ้านแล้วได้ให้อ้อยแก่มานพนั้น “ ท่านมานพ เชิญทานอ้อยนี้ตามสบายเถิด ” “ ขอบใจท่านมากนะ อือ หวานจังอร่อยดี
เดี๋ยวกินอ้อยเสร็จเราจะไปรายงานท่านอาจารย์ดีกว่า หือ ชานอ้อยติดฟัน ” “ ท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ วันนี้กระผมได้เคี้ยวอ้อย อร้อย อร่อยขอรับท่านอาจารย์ ”

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้นึกถึงคำของศิษย์ที่เปรียบว่าช้างเหมือนงอนไถ
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้นึกถึงคำของศิษย์ที่เปรียบว่าช้างเหมือนงอนไถ
 
       “ แล้วอ้อยนั้นเหมือนอะไรละเจ้า ” “ อ้อยนี่ก็เหมือนงอนไถยังไงละขอครับท่านอาจารย์ ” “ แล้วเหมือนงอนไถ่ยังไงละ ไหน เจ้าลองอธิบายให้อาจารย์ฟังหน่อยสิ ”
“ อ้อยมันก็ยาว ๆ เหมือนงอนไถ่ขอรับท่านอาจารย์ ” อีกวันหนึ่งมานพผู้นี้ก็ได้รับเชิญไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง บางหมู่ได้บริโภคน้ำอ้อยกับนมส้ม บางหมู่บริโภคน้ำอ้อย
กับนมสด เมื่อกลับมาถึงสำนัก มานพนั้นจึงกลับรายงานอาจารย์
 
ชาวบ้านได้มอบอ้อยให้แก่มานพผู้ปัญญาทึบได้ทาน
 
ชาวบ้านได้มอบอ้อยให้แก่มานพผู้ปัญญาทึบได้ทาน

       “ ท่านอาจารย์ขอรับวันนี้กระผมได้บริโภคทั้งนมส้มและนมสดขอรับ ” “ แล้วนมส้มและนมสดนั้นเหมือนอะไรละเจ้า ” “ ก็เหมือนงอนไถ่อย่างไรเล่าขอรับ ” เมื่อได้ฟัง
ดังนั้นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ก็รู้สึกประหลาดใจ “ มานพนี้เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้
ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง

มานพผู้ปัญญาทึบได้บริโภคนมส้มและนมสด
 
มานพผู้ปัญญาทึบได้บริโภคนมส้มและนมสด
 
       แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสดขาวอยู่เป็นนิจทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลย
เราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว เฮ้อ ”
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้พิจารณาว่าศิษย์ของตนไม่สามารถเล่าเรียนศิลปวิทยาต่อไปได้อีกเหตุเพราะปัญญาทึบ
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้พิจารณาว่าศิษย์ของตนไม่สามารถเล่าเรียนศิลปวิทยาต่อไปได้อีกเหตุเพราะปัญญาทึบ
 
       เมื่อดำริได้ดังนั้นอาจารย์ทิศาปาโมกจึงบอกกล่าวแก่พวกอันเตวาสิกทั้งหลายเก็บเสบียงแล้วส่งมานพนั้นกลับไป “ คนโง่ย่อมกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าวทุกอย่าง
ได้ในที่ทุกแห่ง คนโง่นี้ไม่รู้จักเนยข้นและงอนไถย่อมสำคัญ เนยข้นและนมสดอุปมาว่าเหมือนงอนไถ่ ฉะนั้นแล ”

อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ส่งศิษย์ปัญญาทึบกลับไปยังบ้านที่จากมา
 
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ส่งศิษย์ปัญญาทึบกลับไปยังบ้านที่จากมา
 
 
ในพุทธกาลนั้น มานพผู้เลื่อนเปื้อน กำเนิดเป็น พระโลลุทายี
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ เสวยพระชาติเป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
 
 
 




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      ธัมมัทธชชาดก ชาดกว่าด้วยพูดอย่างหนึ่งทำอย่างหนึ่ง
      เกฬิสีลชาดก ชาดกว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย
      ปานียชาดก ชาดกว่าด้วยการทำบาปแล้วรังเกียจบาปที่ทำ
      ชนสันธชาดก ชาดกว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน
      ฆตาสนชาดก ชาดกว่าด้วยภัยที่เกิดจากที่พึ่ง
      มหาสุวราชชาดก ชาดกว่าด้วยความพอเพียง
      ฌานโสธนชาดก ชาดกว่าด้วยสุขเกิดจากสมาบัติ
      สุนักขชาดก ชาดกว่าด้วยผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้
      สังวรมหาราชชาดก ชาดกว่าด้วยพระราชาผู้มีศีลาจารวัตรที่ดีงาม
      อสัมปทานชาดก ชาดกว่าด้วยการไม่รับของทำให้เกิดการแตกร้าว
      สัจจังกิรชาดก ชาดกว่าด้วยไม้ลอยน้ำดีกว่าคนอกตัญญู
      สัมโมทมานชาดก ชาดกว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน
      อภิณหชาดก ชาดกว่าด้วยการเห็นกันบ่อยๆ