การดูแลพระในบ้านและศีลธรรม "วณิชชสูตร" คุณธรรมที่ทำให้รวยข้ามชาติ หน้า 11
หน้าที่ 11 / 21

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความสำคัญของการดูแลพระในบ้าน เช่น พ่อแม่ ที่ถือเป็นเนื้อนาบุญสำหรับลูกหลาน พร้อมกับการไม่ทำตามสัญญากับพระนอกบ้าน เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าในธุรกิจ โดยเน้นว่าเมื่อไม่ทำตามคำพูดอาจส่งผลให้ประสบความล้มเหลวในกิจการ.

หัวข้อประเด็น

-การดูแลพ่อแม่
-ความสำคัญของการทำบุญ
-ความสัมพันธ์กับองค์กรศาสนา
-ความล้มเหลวในธุรกิจ
-การโกงบุญตัวเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑. ๑๘ ไม่ดูแลพระในบ้านให้ดี พระในบ้านคือใคร ? พระในบ้าน คือ พ่อแม่ พ่อแม่ คือเนื้อนาบุญของลูกหลาน เมื่อไม่ สร้างบุญ คือไม่สร้างเหตุแห่งความดีในขั้นพื้นฐาน ก่อนแล้ว อย่าไปหวังว่าจะทำอะไรสำเร็จ ขนาดพ่อ แม่ทุ่มเทชีวิตเลี้ยงดูมา ให้มีความรู้ความสามารถใน การบริหารธุรกิจ แต่ถึงเวลาต้องตอบแทนพระคุณ ท่าน คนกลุ่มนี้กลับทอดทิ้งพ่อแม่ ๒. ผิดคำพูดที่สัญญาไว้กับผู้มีศีล นอกจากไม่ดูแลพระในบ้านแล้ว เท่านั้นยังไม่ พอ ยังมีนิสัยไม่ดีอีกประการ คือ มักผิดคำพูดกับ พระนอกบ้าน พระนอกบ้าน คือใคร ? พระนอกบ้าน คือพระภิกษุสงฆ์ หรือนักบวช ผู้มีศีลมีธรรมต่างๆ คนกลุ่มนี้ เมื่อไปรับปากกับท่านไว้แล้วว่า จะทำบุญอย่างนั้นอย่างนี้ จะช่วยเหลือกิจการของ สาธารณกุศลอย่างนั้นอย่างนี้ พอถึงเวลาแล้ว กลับ ไม่ทำตามที่รับปากเอาไว้ ୭୯ เพราะฉะนั้น พ่อแม่มีพระคุณล้นฟ้าก็ไม่ทำ หน้าที่เลี้ยงดู และสัญญากับองค์กรการศาสนาเอาไว้ หรือองค์กรการกุศลทางโลกเอาไว้ ถึงเวลาก็ไม่ทำ ตามคำพูด พฤติกรรมดังกล่าวของคนกลุ่มนี้ ศัพท์ ทางศาสนาท่านใช้คำว่า “โกงบุญตัวเอง” เสียแล้ว หรือ ถ้าพูดเป็นภาษาธุรกิจก็ว่า “โกงความเฮงของตัวเอง” เสียแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อถึงเวลาที่คนกลุ่มนี้ไป ประกอบธุรกิจการงานใด แม้วางแผนอย่างดี คิดรอบ คอบจนหลายตลบ ก็มักประสบความขาดทุนร่ำไป นี่คือคำตอบที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง อธิบายภูมิหลังของนักธุรกิจกลุ่มแรกเอาไว้ นัก ธุรกิจพวกแรกนี้ จัดเป็นพวกโกงบุญ นักธุรกิจกลุ่มที่ ๒. “พวกเบี้ยวบุญ” คือ กลุ่มนักธุรกิจที่ค้าขายแบบเดียวกันกับ กลุ่มแรก วิธีการประกอบธุรกิจก็เป็นแบบเดียวกัน ทุ่มเททำงานเหมือนกัน สติปัญญาความรู้ความ สามารถใกล้เคียงกันกับกลุ่มแรก แต่กลุ่มที่สองทำ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More