โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา DMC-Guide หน้า 37
หน้าที่ 37 / 65

สรุปเนื้อหา

โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เป็นสถานที่เรียนธรรมะแบบไม่เครียด มีการบรรยายและเพลงสนุก ๆ โดยเรียนรู้เรื่องโลก ชีวิต และกฎแห่งกรรม จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้แนวทางตามหลักสติปัฏฐาน 4 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจธรรมะในระดับลึกซึ้ง นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบเรื่องราวเกี่ยวกับการฝันในฝันเพื่อให้เข้าใจถึงการค้นพบวิชชาธรรมกายที่สอนโดยพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี

หัวข้อประเด็น

-โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา
-การเรียนธรรมะ
-หลักสติปัฏฐาน 4
-วิชชาธรรมกาย
-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาคืออะไร ? ใครคือคุณครูไม่ใหญ่ ลูกพระธัมฯ ? - “โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา” เป็นการเรียนการสอนธรรมะอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่ง มิได้มุ่งเน้นทางด้านวิชาการ จึงทำให้ผู้คนทุกเพศทุกวัยสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ (มี อยู่ชั้นเดียว) เป็นการเรียนธรรมะแบบสบาย ๆ ไม่เคร่งเครียด มีการบรรยายด้วยคำพูด มีภาพสวย ๆ มีเพลงสนุกๆ ให้ผู้เรียนเพลิดเพลินพร้อม ๆ กับการได้รับความรู้ ความ เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโลก ชีวิตและกฎแห่งกรรมอย่างลึกซึ้ง สาเหตุที่ใช้ชื่อ “ฝันในฝันวิทยา” เพราะธรรมะที่ใช้สอนนั้น เป็นความรู้ที่นำมา จากคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงตรัสรู้โดยการทำใจหยุดใจนิ่ง เข้าไปตามหลักสติปัฏฐาน 4 (กาย เวทนา จิต ธรรม) คือตามเห็นกายในกาย จนเข้า ถึงกายธรรม หรือธรรมกาย แล้วนำธรรมะ 84,000 พระธรรมขันธ์ที่เห็นในกลางกายธรรม มาเทศนาสั่งสอน คำว่า "ฝันในฝัน” ก็คือการตามเห็นกายในกาย เป็นคำที่พระเดชพระคุณพระ มงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำฯ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย เคยใช้เทศน์สอนในสมัยที่ท่านมี ชีวิตอยู่ เป็นคำอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจง่าย ๆ ว่า กลางกายของมนุษย์ทุกคน มีกายมนุษย์ ละเอียดซ้อนอยู่ ภายในกายมนุษย์ละเอียดก็มีกายทิพย์ ซ้อนอยู่ กายทิพย์ก็มีกาย พรหมซ้อนอยู่ กายพรหมก็มีกายอรูปพรหมซ้อนอยู่ กายอรูปพรหม ก็มีกายธรรมซ้อนอยู่ ตรงตามหลักสติปัฏฐาน 4 ที่ให้ตามเห็นกายในกาย ท่านยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็น ง่าย ๆ เช่น ตอนกายมนุษย์ของเรานอนหลับ เราจะมีความรู้สึกว่าเห็น ตัวเองล่องลอยไป ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือไปพูดไปคุยกับคนอื่นๆ ซึ่งเรียกว่า "ฝัน" ภาพตัวเราเองที่เห็น ในฝันก็คือกายมนุษย์ละเอียดนั่นเอง ถ้ากายมนุษย์ละเอียดฝันอีกทีหนึ่ง ก็จะเห็นกายทิพย์ และฝันในฝันต่อไปตามลำดับก็จะเห็นกายธรรม (แต่การหลับฝันของกายมนุษย์หยาบไป เห็นกายมนุษย์ละเอียด ใจจะไม่นิ่งสนิทอยู่ที่ศูนย์กลางกายอย่างสมบูรณ์ ภาพและ เหตุการณ์ที่เห็นจึงไม่ชัดเจน ต่างจากการทำสมาธิให้ใจหยุดนิ่งแล้วฝันในฝันเข้าไป จนถึงกายธรรม ภาพและเหตุการณ์ที่เห็นจะชัดเจนและถูกต้องตรงไปตาม ความเป็นจริง)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More