ฝันในฝัน: การเรียนรู้จากครูไม่ใหญ่ DMC-Guide หน้า 38
หน้าที่ 38 / 65

สรุปเนื้อหา

คำว่า 'ฝันในฝัน' สื่อถึงความรู้ภายใน ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ใช้สรรพนาม 'ครูไม่ใหญ่' เนื่องจากความเคารพต่อคุณยายอาจารย์ฯ ที่เป็นต้นแบบและครูบาอาจารย์ การศึกษาธรรมะช่วยให้ผู้เรียนจดจ่ออยู่กับบุญกุศลในชีวิตประจำวัน ผ่านการบ้าน 10 ข้อที่จะช่วยเสริมสร้างอานุภาพของใจให้ดึงดูดความดี ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์ ในการเจริญภาวนาและการสร้างบุญ。

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของ 'ฝันในฝัน'
- การใช้คำว่า 'ครูไม่ใหญ่'
- ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับศิษย์
- การทำการบ้าน 10 ข้อเพื่อจดจ่อกับบุญ
- การเข้าถึงพระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ดังนั้นคำว่า “ฝันในฝัน” จึงเป็นคำที่สื่อความหมายถึงความรู้ภายในที่อยู่ใน กลางกาย ธรรม ตรงตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธรรมะที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ทุกประการ สำหรับสรรพนามที่พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ใช้คำเรียกแทนตัวท่าน เองว่า "ครูไม่ใหญ่" ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยานั้น เนื่องจากท่านเริ่มศึกษา ธรรมะกับคุณยายมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านจึงเคารพนับถือคุณยายอาจารย์ฯ ว่าเป็นครูบาอาจารย์ ของท่าน เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อกล่าวถึงคุณธรรมของคุณยายอาจารย์ฯ ใน โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ซึ่งมีรูปภาพของคุณยายอาจารย์ฯ ประดิษฐานอยู่ใน สถานที่แห่งนี้ด้วย ท่านจึงยกย่องให้คุณยายอาจารย์เป็นครูใหญ่ แล้วกล่าวถึงตัวท่านเอง ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนว่าเป็น “ครูไม่ใหญ่” ซึ่งเป็นคำที่เข้าใจง่าย ๆ ระหว่างครูกับ นักเรียน และเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ที่พึงแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ การที่คุณครูไม่ใหญ่ท่านเรียกผู้ฟังธรรมว่า “ลูกพระธัมฯ” เพราะชื่อจริงของท่าน คือ “หลวงพ่อธัมมชโย” (สมณศักดิ์เป็นที่ พระราชภาวนาวิสุทธิ์) เมื่อมีการสนทนาธรรม พูดคุยแบบเป็นกันเองเหมือนพ่อคุยกับลูกในครอบครัว ท่านจึงเรียกว่า "ลูกพระธัมฯ” แต่บางครั้งท่านสนทนาธรรมกับสาธุชนที่เพิ่งเข้าวัดมาใหม่ ๆ ท่านก็ใช้คำเป็นทางการว่า “ญาติโยม" ด้วยเหมือนกัน ทําไมต้องท่าการบ้าน 10 ข้อ ที่ครูไม่ใหญ่ให้? การบ้าน 10 ข้อ เป็นไปเพื่อการน้อมนำใจให้จดจ่ออยู่กับบุญกุศล ตั้งแต่ตื่นนอน จนกระทั่งเข้านอน เพราะในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ล้วนต้องพบเจออุปสรรคมากบ้าง น้อยบ้างแตกต่างกันไป หากใครรักษาใจให้จดจ่ออยู่กับบุญกุศลได้มากเท่าไร อานุภาพ ของใจก็จะดึงดูดบุญเก่ามาสมทบกับบุญใหม่ แล้วขจัดปัดเป่าอุปสรรคในชีวิต จากหนัก ก็จะเป็นเบา จากเบาก็จะสลายหายไป และบุญที่เราจดจ่ออยู่ทั้งวันนี้ ก็จะดึงดูดให้สิ่งที่ ดีๆ เข้ามาสู่ชีวิตเรา เมื่อถึงคราวนั่งสมาธิเจริญภาวนา จะสามารถทำใจหยุดนิ่งให้เข้าถึง พระธรรมกายได้โดยง่าย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More