การทำสมาธิอย่างถูกวิธี สุขดีที่หนึ่งเลย หน้า 7
หน้าที่ 7 / 19

สรุปเนื้อหา

การทำสมาธิควรทำอย่างสบายใจ ไม่ตั้งใจจนเกินไป ให้ดูความมืดหรือแสงสว่างที่ศูนย์กลางกาย โดยไม่คิดอะไรทั้งสิ้น ความคิดที่แทรกเข้ามาควรปล่อยให้ผ่านไป การรักษาความนิ่งจะทำให้รู้สึกสบายและสดชื่น เมื่อออกจากสมาธิแล้วจะรู้สึกผ่อนคลายดุจเพิ่งทำสปา

หัวข้อประเด็น

-เทคนิคการทำสมาธิ
-ความสำคัญของการพักผ่อนจิตใจ
-การรับมือกับความคิดแทรก
-ประโยชน์ของการทำสมาธิ
-การรักษาความนิ่งในจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กำหนดได้ชัดเท่าไร เอาเท่านั้น อย่าเผลอบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยน์ตา การทำสมาธิเราเห็นด้วยใจมิใช่ด้วยตาเนื้อ อย่าตั้งใจจนเกินไป ท่าสบายๆ เหมือนเรากำลังพักผ่อน เพราะการท่าสมาธิเป็นการพักผ่อนจิตใจ เหมือน ร่างกายต้องอาบน้ำ ต้องนอนหลับ เพื่อความสดชื่นแข็งแรง นิมิตมีไว้เพียงเพื่อดึงใจเราให้ไม่เผลอไปคิดเรื่องอื่น เพราะใจเรานั้นมักจะ เหมือนม้าพยศ ที่ไม่ยอมหยุดนิ่ง หากนึกไม่ออกหรือรู้สึกเกร็งก็ไม่ต้องนึก ให้เพียงนำความสนใจไปไว้ที่ศูนย์กลางกาย มีอะไรให้ดูก็ดูไป มีความมืด ก็ดูความมืด มีแสงสว่างก็ดูแสงสว่าง ดูไปเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ที่กลางท้อง โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้น หากมีความคิดแทรกเข้ามา ก็ปล่อยให้ความคิดนั้นผ่านไป เช่นเดียวกับวิว ที่เราเห็นผ่านกระจกขณะที่นั่งอยู่บนรถไฟไม่สนใจ ไม่คิดต่อ ไม่ต่อสู้ดิ้นรน ทำเฉยๆ เดี๋ยวความคิดนั้นจะหายไปเอง เหมือนแขกที่ไม่ได้รับเชิญมาที่ หน้าประตู หากเราไม่สนใจเดี๋ยวก็ไปเอง พยายามรักษาความนิ่งและ ความไม่คิดให้ต่อเนื่อง ให้ความสนใจแต่ที่ศูนย์กลางกายเท่านั้น ไม่ว่าจะเห็นหรือไม่เห็นอะไรก็ตาม ให้ทำใจนิ่งๆ เฉยๆ ยิ่งใจเราหยุด ใจเรานิ่งมากเท่าไร จะยิ่งรู้สึกปลอดโปร่ง สบาย และเป็นสุขมากยิ่งขึ้น เท่านั้น เมื่อออกจากสมาธิแล้ว เราจะรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย และสดชื่น ราวกับว่าเราเพิ่งไปทําสปาภายใน /www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More