ข้อความต้นฉบับในหน้า
อาณจิต ข้ออนาคต
อ่านอดีต ชื่ออดีต
เรื่อง : พระมหาพงค์ศักดิ์ ฐานิโย ดร.
ย้อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
ตอนที่ ๖: การปรับตัวอีกครั้งของศาสนจักรและการทวงอำนาจคืนของวรรณกฐิยยุคอุบ principles (Upanishad Period: ๑๐๐ ปี ก่อนพุทธศาสนา – ต้นพุทธกาล)
ใน “ยุคพระเวท” และ “ยุครุพมหนะ” ได้มีการปรับตัวของศาสนจักรทั้งในเรื่องคำสอนรวมถึงข้ออำนาจของวรรณะ กล่าวคือ มีการสร้างความชอบธรรมของวรรณะแพรามณ์ โดยการอ้างอิง “พระพรหม” ผู้สร้างโลก ซึ่งต่อมากพัฒนาไปสู่ “ตรีมูรติ” อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของวรรณะ “พราหมณ์” ที่จะกล่าวไว้ว่าอยู่เหนืออำนาจของวรรณะ “กษัตรย์”
ครั้นเมื่อกาลเวลาผ่านไปไม่นาน ศาสนจักรต้องรับมือกับคำถามในเรื่องโลกและชีวิต อีกครั้ง ซึ่งในอินเดียยุคนั้นมีฐานทางสังคมที่มั่นคง ผู้คนทั้งหลายจึงเริ่มคลิกคิดและเริ่มตั้งคำถามในเรื่องดังกล่าว เป็นต้นว่า “การบูชา...เอานะความทุกข์ได้จริงหรือ” หรือ “ชีวิตคืออะไร...เราเกิดทำไม...ตายแล้วจะไปไหน...อะไรคือที่สุดในสังสารวัฏ” จนเกิดเป็นการรวมกลุ่มของนักคิดต่าง ๆ ถึงกับมีการตั้งตนเป็นปฏิปักษ์กับศาสนจักรหรือวรรณะ “พราหมณ์” โดยบางกลุ่มมีวรรณะ “กษัตริย์” เป็นผู้ขับเคลื่อนอยู่ ซึ่งปรากฏการณ์นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการทวงอำนาจคืนของ “กษัตริย์” หลังจากสูญเสียอำนาจให้แก่ “พราหมณ์” ใน “ยุครพมหนะ”
เมื่อคำถามจากกลุ่มนักคิดทั้งหลายมากขึ้น จึงเป็นหน้าที่ของพวกพราหมณ์ที่จะต้องตอบคำถามทั้งหลายในเรื่องโลกและชีวิตเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ “คัมภีร์รูปนีท” (Upanishad) จึงเกิดขึ้น โดย “คัมภีร์อัปนิษฏ์” นี้อยู่มามากกว่า ๒๐๐ คัมภีร์ แต่ไม่ได้หมายความว่าคัมภีร์เหล่านี้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในช่วงยุคสมัยนี้ หากเป็นเพราะคัมภีร์ที่กำเนิดในยุคต่อมากยังคงใช้ชื่อเรียกคัมภีร์เหล่านี้ว่า “คัมภีร์รูปนีท” อยู่เอง