การสร้างบุญและบารมีผ่านธุรกิจ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2549 หน้า 41
หน้าที่ 41 / 80

สรุปเนื้อหา

การสร้างบุญและบารมีระหว่างการประกอบธุรกิจนั้น ไม่ใช่เป้าหมายชีวิต แต่เป็นทางผ่านเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มคนดี ผู้เข้าร่วมเครือข่ายต้องมีคุณสมบัติในการประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข และต้องรักษาศีลธรรมอย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้มีโอกาสทำสังคมสงเคราะห์และสร้างบารมีร่วมกัน การแลกเปลี่ยนทรัพย์สิน ความรู้ และความดีเป็นทุนในการประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-การสร้างบุญ
-การสร้างบารมี
-การประกอบธุรกิจ
-เครือข่ายคนดี
-ความสำคัญของศีลธรรม
-การช่วยเหลือสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่ในระหว่างสร้างบุญสร้างบารมีนั้น ยังต้องกิน ต้องใช้ ก็เลยต้องมาประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจกัน เมื่อยังต้องประกอบธุรกิจ ก็ขอให้มองว่า การ ประกอบธุรกิจนี้ไม่ใช่เป้าหมายชีวิต แต่เป็นเพียง แค่ทางผ่าน เป็นเพียงแค่อุปกรณ์ในการสร้างบุญ สร้างบารมี เป็นเพียงแค่อุปกรณ์ในการปราบกิเลส ให้หมดไปเท่านั้น เมื่อมองอย่างนี้แล้ว ใจของเราจะใหญ่ สายตา ของเราจะยาว จากนั้นก็มองต่อไปว่า ที่เราจะสร้างเครือ ข่ายนักธุรกิจนี้ ไม่ใช่แค่รวมเงินทุนกันเท่านั้น แต่ว่า เป็นเรื่องของการรวบรวมคนดี รวบรวมนักสร้างบารมี ให้มาอยู่ร่วมกัน คุณสมบัติของผู้ที่เป็นสมาชิก เพราะฉะนั้น ผู้ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใน เครือข่ายคนดีของเรา จึงต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ ๑. ประกอบสัมมาอาชีวะ ไม่เกี่ยงว่าใครจะ มีอาชีพอะไร ไม่ว่าจะประกอบอาชีพต่างกัน หรือ ว่าเหมือนกันก็ตาม ขอให้เป็นสัมมาอาชีวะเป็นพอ คือ ไม่ประกอบอาชีพต้องห้าม เช่น อาชีพตั้งซ่อง อาชีพค้าเหล้า อาชีพค้าอาวุธ เป็นต้น ๒. ไม่ติดอบายมุข ผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิก ต้องไม่แตะต้องอบายมุขทุกชนิดเป็นอันขาด ๓. ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม ถ้าใครไม่ รักษาศีลกันละก็ คงไปด้วยกันไม่ได้ เพราะว่าเครือข่ายนี้ นอกจากจะประกอบ อาชีพร่วมกันไป ช่วยเหลือกันไปแล้ว เมื่อมีโอกาส ก็ต้องทำสังคมสงเคราะห์ ศาสนาสงเคราะห์ด้วย บุญทานอะไรมีโอกาสก็รีบช่วยกันทำ อย่างนี้บุญ บารมีเกิดขึ้นตลอดทางทีเดียว วิธีปฏิบัติตนเมื่อเข้าเป็นสมาชิก จากนั้นเวลาร่วมเป็นองค์กร หรือเป็นเครือข่าย กันแล้ว สิ่งที่ควรปฏิบัติต่อกัน ก็คือ Q). นอกจากใช้ทรัพย์เป็นทุนในการประกอบ ธุรกิจแล้ว จะต้องแบ่งทรัพย์นั้นมาช่วยกันสร้าง เครือข่ายคนดีต่อไปอีกด้วย ๒. นอกจากจะเอาความรู้ความสามารถ มาแลกเปลี่ยนเป็นทุนกันแล้ว ก็อย่าลืมเอาความดี ทั้งหลายที่ต่างคนต่างมีอยู่ มาแลกเปลี่ยนกันอีกด้วย คือ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางด้านธรรมะ ความสามารถในการปฏิบัติธรรม เทคนิคในการ เข้าถึงธรรมในแง่มุมต่างๆ เทคนิคในการรักษาศีล ตั้งแต่วิธีรักษาทีละวัน ทีละเดือน ทีละพรรษา ทีละปี แล้วก็เอามารวมกันเป็นทุนทางด้านอริยทรัพย์ ไม่ใช่เป็นทุนทางด้านโลกียทรัพย์ อย่างนี้เครือข่ายคนดีของนักธุรกิจ ก็จะเกิด ขึ้นเต็มแผ่นดิน แล้วการร่วมลงทุนก้อนโตๆ กันก็ คงไม่ยาก และเมื่อนั้น การที่จะถูกต่างชาติมาบีบมาคั้น มาดูดเงินจากเมืองไทย จนกระทั่งเลือดไหลทาง เศรษฐกิจไม่หยุด ก็จะได้หมดไปเสียที
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More