อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 3

“ ธุดงค์ ” แปลว่า...องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส หมายถึง ข้อวัตรปฏิบัติที่มีความเข้มงวดเป็นพิเศษ ที่จะช่วยกำจัดกิเลสให้หลุดร่อนออกไปจากใจได้อย่างดีเยี่ยม การสมาทานและถือธุดงควัตรของพระภิกษุทั้ง 13 ข้อนี้ จะไม่จำกัดด้วยระยะเวลา https://dmc.tv/a13166

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ช่วงเด่นฝันในฝัน > ปกิณกธรรม > ธรรมะน่ารู้จากคุณครูไม่ใหญ่
[ 31 ม.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18291 ]
ทบทวนฝันในฝัน วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2555
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 3
 
 


อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 3
เรียบเรียงจากรายการโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา 


 
ทำจีวรกุฏิ หรือปักกลดสำหรับพักอาศัยอยู่กลางแจ้ง 
 
การทำจีวรกุฏิ หรือปักกลดสำหรับพักอาศัยอยู่กลางแจ้ง
 
      10. อัพโภกาสิกังคะ  คือ ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตรหมายถึงการพักอาศัยอยู่ในที่กลางแจ้งเท่านั้น โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์  จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ภายใต้เงาของต้นไม้, ภูเขา หรือกุฏิไม่ได้เป็นอันขาด คือจะต้องเท่านั้น

    ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลางสามารถที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ภายใต้ร่มเงาของต้นไม้, ภูเขา หรือกุฏิได้ แต่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้หรือข้างในกุฏิไม่ได้

    สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบาสามารถที่จะพักอาศัยอยู่ใต้เงื้อมเขา ที่ไม่ได้มีหลังคามุงบังเสริมเพิ่มเติมได้

กำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย
 
กำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย


สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้น ก็เป็นไปเพื่อ

1. กำจัดความห่วงกังวลในเรื่องอาวาส หรือเรื่องที่พักอาศัย ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างสะดวกสบายโดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ประดุจดั่งฝูงเนื้อที่ไม่ติดในที่อยู่อาศัยของตัวเองฉะนั้น

2. เพื่อขจัดความง่วงเหงาหาวนอนที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติธรรม

3. ฝึกให้เราเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ และมีความมักน้อย  เป็นต้น  
 
การพักอาศัยอยู่แต่ในป่าช้า  
 
การพักอาศัยอยู่แต่ในป่าช้า

11. โสสานิกังคะ คือ ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร หมายถึง เท่านั้น  โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์จะอยู่ในป่าช้าที่ประกอบพร้อมด้วยลักษณะ 3 อย่าง ดังต่อไปนี้คือ
 
      1. มีการเผาศพอยู่เป็นประจำ 
      2. มีซากศพนอนทอดร่างอยู่เป็นปกติ  
      3. มีเสียงร้องไห้คร่ำครวญถึงบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วอยู่เนืองนิตย์
 
      สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลางสามารถจะอยู่ในป่าช้าที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งจากลักษณะทั้ง 3 อย่างดังกล่าวได้

      ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบาสามารถจะอยู่ในป่าช้าร้างซึ่งไม่ได้มีการเผาศพ,  ฝังศพ  หรือเอาศพมาทิ้งนานแล้วได้

จะได้เจริญมรณานุสสติหรือระลึกนึกถึงความตายอยู่เนืองนิตย์ 
 
พระธุดงค์จะได้เจริญมรณานุสสติหรือระลึกนึกถึงความตายอยู่เนืองนิตย์
 
สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้นก็เป็นไปเพื่อ

    1. จะได้เจริญมรณานุสสติหรือระลึกนึกถึงความตายอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งก็จะทำให้เราคลายจากความยึดมั่นถือมั่นและดำเนินชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท  พร้อมทั้งตั้งใจสั่งสมบุญสร้างบารมีให้เต็มที่เต็มกำลังยิ่งๆ ขึ้นไป

    2.  เพื่อขจัดกามราคะ หรือความกำหนัดยินดีในกาม

    3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีใจมั่นคง ไม่หวั่นหวั่น และปราศจากความสะดุ้งกลัว

    4. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย  เป็นต้น 

การพักอาศัยอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้โดยไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย 
 
การพักอาศัยอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้โดยไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย

 
12. ยถาสันถะติกังคะ คือถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตรหมายถึง การพักอาศัยอยู่ในที่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้โดยไม่เลือกว่าจะสะดวกสบาย หรือถูกใจตัวเองหรือไม่

    ซึ่งพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ จะไม่สอบถามถึงรายละเอียดของเสนาสนะ ที่เจ้าหน้าที่จัดให้ว่าเป็นอย่างไร เช่นอยู่ไกลหรือใกล้,  ร้อนหรือหนาว  หรือมีสัตว์อะไรมารบกวนหรือเปล่า เป็นต้น

    ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง  สามารถที่จะสอบถามถึงรายละเอียดของเสนาสนะ ที่เจ้าหน้าที่จัดให้ได้   แต่จะไม่เดินไปตรวจดูเสนาสนะนั้นก่อนที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่เป็นอันขาด

    สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดและเดินไปตรวจดูเสนาสนะที่เจ้าหน้าที่จัดให้ก่อนที่จะเข้าไปพักอาศัยอยู่ได้   และถ้าหากพบว่าเสนาสนะนั้นไม่เหมาะกับสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บที่ตัวเองเป็นอยู่   ก็สามารถที่จะขอเปลี่ยนเสนาสนะใหม่ได้
 
ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษไม่ยึดติดในเสนาสนะมีความมักน้อย 
 
ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษไม่ยึดติดในเสนาสนะและมีความมักน้อย

สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้นก็เป็นไปเพื่อ

    1. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความสันโดษ หรือมีความยินดีในเสนาสนะตามแต่ที่เจ้าหน้าที่จัดให้
    2. ฝึกให้เราไม่ยึดติดในเสนาสนะ
    3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย  เป็นต้น 

เนสัชชิกังคะ คือ ถือการนั่งเป็นวัตรได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น 
 
เนสัชชิกังคะ คือ ถือการนั่งเป็นวัตรได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น
 
และข้อสุดท้าย 13. เนสัชชิกังคะ คือ ถือการนั่งเป็นวัตรหมายถึง การอยู่แต่ในอิริยาบถ 3 อย่าง ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง เท่านั้น แต่จะไม่เอนตัวลงนอนเป็นอันขาด โดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์ จะไม่ใช้พนักพิง,  ผ้ารัดเข่า และผ้ารัดตัวมาช่วยในการพยุงกายในยามที่ร่างกายต้องการจะพักผ่อนเป็นอันขาด
    
      ส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลางสามารถที่จะใช้ของอย่างใดอย่างหนึ่งในของทั้ง 3 อย่างดังกล่าวมาช่วยในการพยุงกายในยามที่ร่างกายต้องการจะพักผ่อนได้

    สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา   สามารถที่จะใช้ของทั้ง 3 อย่างดังกล่าวได้   อีกทั้งยังสามารถที่จะใช้หมอนและเก้าอี้ที่มีพนักพิงหลังมาช่วยในการพยุงกายในยามที่ร่างกายต้องการจะพักผ่อนได้อีกด้วย

 

ขจัดความเพลิดเพลินในการหลับนอนทำให้เราสามารถเจริญสมาธิ(Meditation)ภาวนาได้อย่างเต็มที่
 

สำหรับวัตถุประสงค์ของการถือธุดงควัตรข้อนี้นั้นก็เป็นไปเพื่อ

    1.
ขจัดความเพลิดเพลินในการหลับนอน
    2. ทำให้เราสามารถเจริญสมาธิภาวนาได้อย่างเต็มที่
    3. ฝึกให้เราได้ปรารภความเพียรอย่างกลั่นกล้า
    4. เพิ่มพูนนิสัยที่ดีงามที่มีอยู่ในตัวเราให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปเป็นต้น
    
พระภิกษุสามารถสมาทานธุดงค์ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ตัวเองปรารถนา
 
พระภิกษุสามารถสมาทานธุดงค์ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ตัวเองปรารถนา

       สำหรับการสมาทานและถือธุดงควัตรของพระภิกษุทั้ง 13 ข้อนี้ จะไม่จำกัดด้วยระยะเวลา  คือสามารถที่จะสมาทานและถือธุดงค์กี่วันก็ได้ ดังนั้น พระภิกษุจึงสามารถสมาทานธุดงค์ได้อย่างเต็มที่เท่าที่ตัวเองปรารถนา ซึ่งก็มีพระภิกษุบางรูปที่ตั้งใจสมาทานและถือธุดงควัตรตลอดชีวิต ซึ่งการถือธุดงควัตรนี้พระภิกษุในสมัยพุทธกาลจะนิยมถือปฏิบัติกันเป็นจำนวนมาก  อีกทั้ง พระภิกษุแต่ละรูปก็ล้วนถือปฏิบัติธุดงค์กันได้อย่างดีเยี่ยม ยกตัวอย่างเช่น พระจักขุบาลเถระผู้ถือธุดงค์ทางด้านเนสัชชิกังคะคืออยู่แต่ในอิริยาบถ 3 อย่างเท่านั้น ได้แก่ ยืน เดิน นั่ง และจะไม่นอนนั่นเอง หรือพระมหากัสสปเถระผู้เป็นเลิศทางด้านการถือธุดงควัตรเป็นต้น

       ส่วนว่า เรื่องราวของพระมหากัสสปเถระผู้เป็นเลิศทางด้านการถือธุดงควัตรจะมีรายละเอียดเป็นเช่นไรนั้นเราก็คงจะต้องมาติดตามกันต่อในตอนต่อไป 
 
อานิสงส์การถือธุดงควัตร (ภาคพิเศษ) ตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 4, ตอนที่ 5, ตอนที่ 6, ตอนที่ 7, ตอนที่ 8, ตอนที่ 9, ตอนที่ 10, ตอนที่ 11, ตอนที่ 12, ตอนที่ 13

http://goo.gl/2X9BJ


พิมพ์บทความนี้

ไปหน้าทบทวนฝันในฝัน



บทความอื่นๆ ในหมวด

      กิจกรรมพัฒนาวัดพิชิตปิตยาราม ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
      กิจกรรมพัฒนาวัดอู่ข้าว ต.คลอง 7 จ.ปทุมธานี
      อานุภาพบุญจากการมาสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตอนที่ 1
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ได้ตึก 18 ล้านแค่เพียงกระพริบตา
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน ความทรงอภิญญาของคุณยายฯที่ผมเจอกับตัวเอง
      ประกาศผลสุดยอดสามเณรแสดงธรรมระดับโลก
      เปิดใจสามเณรแชมป์แสดงธรรมระดับภาค ชิงชัยสู่เวทีแสดงธรรมระดับโลก
      ซุปเปอร์บิ๊กบุญ ตักบาตรแสนรูป ครั้งประวัติศาสตร์
      เส้นทางสามเณร สู่เวทีแชมป์เทศน์ระดับโลก
      เล่าเรื่องคุณยาย ตอน เรื่องเหลือเชื่อของการบูชาข้าวพระที่คุณยายฯฝากไว้
      บวชเณรล้านตักบาตรแสน สานฝันคุณยาย สร้างพระแท้
      เล่าเรื่องคุณยายฯ ตอน แค่มองหน้า..ก็รู้ทั้งหมด
      แฝด 4 บวชเณรล้านอ่างทองทำลายสถิติโลก