สมาธิ ตอนที่ 2 เริ่มต้นนั่งสมาธิ

การนั่งสมาธิ วิธีนั่งสมาธิ การเริ่มต้นนั่งสมาธิ วิธีการปรับร่างกาย และการวางใจเบื้องต้นในการทำสมาธิ https://dmc.tv/a15211

บทความธรรมะ Dhamma Articles > สมาธิ
[ 21 ก.พ. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18256 ]
สมาธิ ตอนที่ 2 เริ่มต้นนั่งสมาธิ 
การนั่งสมาธิ สมาธิ คือ วิธีการนำไปสู่ความสงบภายใน มีขั้นตอนชัดเจน เรียบง่าย
สามารถปฏิบัติได้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษา ทุกระดับสถานะสังคม

      การฝึกสมาธินั้นก็คือ การฝึกฝนใจให้ตั้งมั่น มีอารมรณ์เดียว ไม่ซัดส่ายไปมากับอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบใจ     และถ้าสามารถฝึกใจของเราได้ให้มีสมาธิอย่างต่อเนื่อง สมาธิก็จะนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง ที่เกิดจากใจที่หยุดนิ่งภายใน

      ในบทนี้ เราจะมาเริ่มต้นนั่งสมาธิกัน อย่างที่ได้ศึกษากันมาในบทที่แล้วว่า ตัวเรานี้ประกอบด้วยสองส่วน คือ ร่างกาย และจิตใจ การฝึกสมาธิจริงๆ แล้วก็คือการฝึกฝนใจของเรา แต่หากเราต้องการจะฝึกฝนให้ได้นานๆ ต่อเนื่อง เราก็จำเป็นจะต้อง เตรียมความพร้อมทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งร่างกาย และทั้งจิตใจของเรา

       เริ่มต้นที่หาสถานที่สงบ อาจจะเป็นห้องเงียบๆ ในห้องที่ไม่มีเสียงดังรบกวนมากเกินไป อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่รู้สึกอีดอัด หรืออาจจะเป็นในสวนหย่อม น้ำตก หรือสถานที่ที่เงีียบๆ ที่คุณอยู่แล้วรู้สึกสงบใจสบายใจ แต่ถ้าหากคุณหาสถานที่เงิียบๆ ไม่ได้จริงๆ คุณก็อาจจะฝึก
สมาธิทั้งๆ ในสถานที่ที่ไม่พร้อมก็ได้

      หลังจากที่ได้สถานที่เงียบสงบแล้ว คุณก็เตรียมร่างกายคุณให้พร้อม โดยอาจจะทำร่างกายของคุณให้สดชื่น เช่น ล้างหน้า หรืออาจจะอาบน้ำก็ได้

      จากนั้นให้คุณเริ่มนั่งขัด
สมาธิ โดยเอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทัับมือซ้าย เอามือวางไว้บนหน้าตัก และยืดลำตัวให้ตรง นี้เป็นท่านั่งมาตรฐานที่จะทำให้คุณนั่งได้นานๆอย่างต่อเนื่องหลายๆชั่วโมงโดยไม่ต้องเปลี่ยนท่า ถ้าคุณฝึกฝนจนชำนาญ คุณจะสามารถนั่งท่านี้ได้อย่างสบายๆ

       แต่ถ้าคุณยังไม่สามารถทำได้ในตอนแรก เพราะคุณยังไม่เคยนั่งกับพื้นมาก่อน คุณอาจจะนั่งแล้วเข่าของคุณชี้ขึ้นมา หรืออาจต้องเกร็งหน้าขา หรือเวลาคุณยืดลำตัวขึ้นตรงแล้ว เส้นขาของคุณยังไม่คุ้นชิน ทำให้ร่างกายคุณไม่สมดุล เหมือนจะเอนไปด้านหลัง ทำให้คุณต้องนั่งเกร็งหน้าขาตลอดเวลา และทำให้ปวดเมื่อยได้ง่าย

      วิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้คุณนั่งได้ก็คือ คุณอาจนำผ้าเช็ดตัวพับเป็นทบหรือหาหมอน แล้วนำมารองไว้ใต้ก้นกบ วิธีนี้จะทำให้บริเวณสะโพกของคุณยกสูงขึ้น เข่าของคุณจะไม่ชี้ขึ้นมากเหมือนตอนแรก คุณสามารถปรับระดับความสูงของผ้ารองก้นนี้ได้จนกว่าคุณจะรู้สึกว่าร่างกายคุณสมดุล

      แต่ถ้าคุณอายุมากแล้ว หรือร่างกายของคุณไม่พร้อมที่จะนั่งกับพื้นได้เลย คุณก็สามารถนั่งเก้าอี้ไดจริงๆแล้วท่านั่งที่ถูกต้องนี้ก็เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมดุล นิ่งที่สุด เลือดลมเดินได้สะดวกที่สุด ทำให้คุณสามารถประคองใจของคุณได้เป็นสมาธิได้นานที่สุด โดยไม่ต้องกังวลกับร่างกายของคุณ หากคุณนั่งสมาธิได้ดีมาก ใจนิ่งมากคุณจะไม่สนใจร่างกายของคุณ จนลืมร่างกายของคุณไปเลย
 
การนั่งสมาธิ
ขาขวาทับขาซ้าย มือขวา ทับมือซ้าย ให้นิ้วของมือข้างขวา จรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย
จากนั้นค่อยๆ หลับตาของเราเบาๆ หลับตาพอสบายๆ

      ดังนั้นเริ่มต้นนี้ ให้เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวา ทับมือซ้าย ให้นิ้วของมือข้างขวา จรดนิ้วหัวแม่มือข้างซ้าย จากนั้นค่อยๆ หลับตาของเราเบาๆ หลับตาพอสบายๆ คล้ายๆ ตอนที่เราใกล้จะหลับ อย่าไปบีบเปลือกตา อย่ากดลูกนัยตา จากนั้น ให้ค่อยๆ ผ่อนคลายร่างกายของเราในทุกส่วน โดยอาจจะเริ่มจากหายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้าๆ แล้วใช้ใจของเราสำรวจไปตามร่างกาย ตั้งแต่ศรีษะให้ผ่อนคลาย ลำคอไม่เกร็ง ผ่อนคลายให้สบายๆ ไหล่บ่าทั้งสอง ท่อนแขน จนไปถึงปลายนิ้ว ให้สบาย ผ่อนคลาย ลำตัว หน้าท้องไม่เกร็งให้ค่อยๆ ผ่อนคลาย หน้าขา จนไปถึงปลายนิ้วเท้า ให้ผ่อนคลายสบายๆ ให้ทุกส่วนของร่างกาย ผ่อนคลายสบาย ไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่เกร็ง ตึง หรือว่าเครียดเลย

        จากนั้นให้ทำใจของเราให้เย็นสบายๆ โดยให้ปลดปล่อยวางเรื่องราวทุกเรื่องราว ไม่ว่าจะเป็น เรื่องที่ทำงาน เรื่องบ้าน เรื่องเรียน เรื่องรถ เรื่องครอบครัว คน สัตว์เลี้ยง ของที่เป็นที่รักทั้งหลาย หรือเรื่องราวที่กังวลใจต่างๆ ให้ปลด ปล่อย วางไปก่อน ณ เวลานี้เรากำลังจะฝึกใจของเราให้เป็นสมาธิ ดังนั้นเรื่องต่างๆ เราจำเป็นต้องปล่อยทิ้งไปก่อน จากนั้นให้เรานำใจมาไว้ที่กลางท้อง บริเวณตรงไหนก็ได้ของกลางท้องที่เรารู้สึกสบายๆ ค่อยๆ น้อมใจของเรามาไว้ที่กลางท้อง ซึึ่งเป็นจุดที่เป็นศูนย์กลางของร่างกาย ทำใจของเราให้เย็นๆ ไว้ที่กลางท้อง โดยไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องทำอะไรนอกเหนือจากการปล่อยใจไว้เฉยๆ ที่กลางท้องอย่างเบาๆ สบายๆ แม้ว่าจะมีภาพที่เราคุ้นเคยมาฉายให้เราเห็น หรือจะมีเสียงที่เราคุ้นดังก้องอยู่ในใจ ก็ไม่ต้องไปสนใจ ให้สัมผัสใจไว้กลางท้องอย่างเบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ ใจเย็นๆ ไม่มีความรีบร้อนเลย ไม่มีสิ่งที่ต้องทำเลย ณ เวลานี้ ไม่สนใจเรื่องราวภายนอกเลย สัมผัสใจไปที่กลางท้องอย่างสบายๆ เบาๆ ใจเย็นๆ แม้มีภาพหรือมีเสียงหรือมีเรื่องราวเกิดขึ้นในใจเรา ก็ไม่ต้องไปสนใจเรื่องราวเหล่านั้น ให้เราปล่อยผ่านเรื่องเหล่านั้นไป ไม่ต้องนำเรื่องเหล่านั้นมาคิด มาพูดในใจของเรา แตะใจไว้กลางท้องอย่างเบาๆ สบายๆ ให้ต่อเนื่องให้นานที่สุดอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไม่เร่งรีบ และอย่าเผลอบีบลูกนัยตา อย่าเผลอเกร็ง อย่าไปเพ่งที่กลางท้องโดยใช้กำลังของร่างกาย ร่างกายเราไม่ต้องไปสนใจเลย ให้ผ่อนคลายสบาย และใจของเราก็ให้ผ่อนคลายสบายๆ อยู่ที่กลางท้อง ใจเย็นๆ เบาๆ สบายๆ ใจเย็นๆ

       วันนี้เราได้ศึกษาท่านั่ง
สมาธิ วิธีการปรับร่างกาย และการวางใจเบื้องต้นแล้ว ในบทต่อไป เราจะมาฝึกสมาธิกันต่อ โดยจะกล่าวถึงรายละเอียดของการหลับตา การวางใจ ทำความเข้าใจถึงความเป็นสมาธิอย่างต่อเนื่อง

วิดีโอการนั่งสมาธิ
 

บทความที่เกี่ยวข้องกับการทำสมาธิ


Meditation Articles and Techniques

http://goo.gl/hEG8q


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย ในการสร้างสันติภาพโลกด้วยสมาธิ
      เพลงสอนสมาธิ
      อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ง่วง-หลับ
      อุปสรรคและวิธีแก้ไข อาการ ฟุ้ง
      ปฏิบัติธรรมวันแม่ รวมสถานที่ปฏิบัติธรรมวันแม่ ของขวัญวันแม่ที่ดีที่สุด
      สถานที่ปฏิบัติธรรม ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย
      สาเหตุหนึ่ง..ที่ทำให้ใจรวมยาก
      ทางลัด ในการเข้าถึงธรรม
      สมาธิ ตอนที่ 3 อธิบายเรื่องการหลับตาและการวางใจ
      สมาธิ ตอนที่ 1 แนะนำเรื่องสมาธิ
      การนั่งสมาธิ ด้วยการฝีกสมาธิเบื้องต้น
      สมาธิคืออะไร?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related