หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๖)

สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนได้นำเสนอผลงานวิจัยการค้นพบ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณที่ประเทศไทย ฉบับก่อนหน้านั้น ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า ท่านผู้อ่านที่ติดตามเรื่องราวมาตลอด และผู้ใคร่ต่อการศึกษา นักวิชาการเมื่อได้อ่านบทความและรับทราบถึงข้อมูลที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลพร้อมหลักฐานที่นำเสนอแล้วนั้น https://dmc.tv/a21840

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ความรู้รอบตัว
[ 8 ก.ย. 2559 ] - [ ผู้อ่าน : 18271 ]
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ (ตอนที่ ๑๖)

เรื่อง : พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมฺโม) และคณะนักวิจัย DIRI
จากวารสารอยู่ในบุญฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙
 
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ

      สืบเนื่องจากที่ผู้เขียนได้นำเสนอผลงานวิจัยการค้นพบ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณที่ประเทศไทย ฉบับก่อนหน้านั้น ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า ท่านผู้อ่านที่ติดตามเรื่องราวมาตลอด และผู้ใคร่ต่อการศึกษา นักวิชาการเมื่อได้อ่านบทความและรับทราบถึงข้อมูลที่สมบูรณ์ด้วยเหตุผลพร้อมหลักฐานที่นำเสนอแล้วนั้น ทุกท่านจะได้รับความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้นเพราะหลักฐานปรากฏบ่งชี้อย่างชัดเจนของคำว่า “ธรรมกาย” นั้น มีอยู่จริงทั้งฝ่ายพุทธเถรวาทและมหายานในประเทศไทย มาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล และได้รับการอุปถัมภ์จากชนชั้นสูงในสังคมไทยมานานไม่ต่ำกว่า๖๐๐ ปีแล้ว และยังมีผลงานวิจัยการค้นพบหลักฐานธรรมกายในต่างประเทศ ซึ่งสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI) จะนำมาเสนอต่อไป

     ส่วนฉบับนี้จะเสนอรายละเอียดที่สำคัญของ หลักฐานธรรมกายในยุคสมัยรัตนโกสินทร์เนื่องด้วยทางสถาบันฯ DIRI ได้รับคำถามและความคิดเห็นหลายประเด็นจากท่านที่สนใจติดตามผลงานมาอย่างต่อเนื่อง โดยขอให้ขยายความรู้เพิ่มเติม ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่าการนำเรื่อง หลักฐานธรรมกายที่พบในประเทศไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ มากล่าวไว้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจยิ่งขึ้น

     การได้พบหลักฐานธรรมกายตั้งแต่ยุคต้นรัตนโกสินทร์นั้นถือว่าเป็นการค้นพบที่สำคัญเนื่องจากข้อมูลในส่วนนี้เป็นข้อมูลชั้นปฐมภูมิที่เราสามารถชี้ชัดได้ว่าเป็นคัมภีร์พุทธโบราณ ที่เป็นใบลานฉบับหลวง ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์ถึง ๓ รัชกาลด้วยกันโดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๑ (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) นั้น ต้องถือว่าทรงเอาพระราชหฤทัยใส่ในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก โดยนับตั้งแต่ที่ทรงครองราชสมบัติเป็นต้นมา พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า “ฉบับสังคายนา” หรือ “ฉบับครูเดิม” นับจากบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะปกติ มีการรวบรวมพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ที่จารึกเป็นภาษาบาลีอักษรลาวอักษรรามัญ อักษรสิงหล ตลอดจนอักษรอื่นๆหลายฉบับ โดยนำมาตรวจชำระเทียบเคียงกันแล้วปริวรรตแปลเป็นอักษรขอม แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วมีพระราชปุจฉาถึงสถานะความถูกต้องของพระไตรปิฎกฉบับนั้นกับพระสังฆราช พระราชาคณะ ฐานานุกรม มหาเปรียญ รวมทั้งสิ้น๑๐๐ รูป ซึ่งคณะสงฆ์ได้ถวายพระพรว่า

      “ยังมีข้อความที่คลาดเคลื่อนอยู่มากจากการคัดลอกต่อ ๆ กันมาเป็นเวลานาน และบางครั้งที่มีสงครามในบ้านเมืองก็เป็นเหตุให้มีคัมภีร์สูญหายไปบ้าง” พระองค์จึงมีพระราชวินิจฉัยว่า เมื่อมีข้อความคลาดเคลื่อน จึงควรมีการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นใหม่ ซึ่งการสังคายนามีขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๓๑
 

     เพื่อจะให้พระไตรปิฎกที่ชำระใหม่นั้นมีความสมบูรณ์ที่สุด พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระไตรปิฎกฉบับหลวงที่ทรงสร้างขึ้นมาให้ คณะสงฆ์ ๒๑๘ รูป และราชบัณฑิตอุบาสก ๓๒ คน มาร่วมกันตรวจชำระ โดยใช้วัดพระศรีสรรเพชญ (เดิมชื่อวัดนิพพานารามปัจจุบันคือ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) เป็นสถานที่ช่วยกันตรวจทานชำระแก้ไขคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับนี้ โดยใช้เวลาถึง ๕ เดือนจึงเสร็จสมบูรณ์ ทั้งนี้ล้นเกล้าฯรัชกาลที่ ๑ และสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวงับวรมหาสุรสีหนาทมีพระราชศรัทธารับเป็นองค์อุปถัมภ์ ซึ่งพระไตรปิฎกชุดนี้ถูกจารลงบนใบลานรวมทั้งสิ้น ๓,๕๖๘ ผูก (๒๙๘ คัมภีร์) แบ่งเป็นพระวินัย ๕๐ คัมภีร์พระสูตร ๑๕๗ คัมภีร์ พระปรมัตถ์ ๕๖ คัมภีร์สัททาวิเสส ๓๕ คัมภีร์ ตัวใบลานมีลักษณะธรรมดา ตัวอักษรบอกชื่อคัมภีร์และข้อความในเส้นจารตกแต่งด้วยทองทึบและล่องชาดที่มีแบบอย่างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และหลายยุคก่อนหน้านั้น ทั้งนี้หลังจากสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นลงแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระไตรปิฎกขึ้นหลายชุดด้วยกัน ได้แก่

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองทึบ

      เป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหลังการสังคายนาพระไตรปิฎกเสร็จสิ้นแล้ว

      โดยในการสร้างพระไตรปิฎกขึ้นนั้นโปรดเกล้าฯ ให้จ้างช่างจารลงไปในใบลานเป็นอักษรขอม โดยใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์มีการตกแต่งคัมภีร์ลงรักปิดทอง ตัวใบลานปกหน้าและปกหลังปดิ ทองทึบตลอดทั้งใบลานห่อด้วยผ้ายก เชือกรัดถักด้วยไหมแพรเบญจพรรณ มีฉลากงาแกะเขียนอักษรด้วยหมึกและฉลากทอเป็นอักษรบอกชื่อคัมภีร์ทุกคัมภีร์เก็บรักษาไว้ในตู้พระไตรปิฎกประดับมุกในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
 
 


คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองใหญ่
 

      แต่เมื่อมีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับทองทึบเพิ่มขึ้นอีกในรัชกาลต่อ ๆ มา จึงเรียกพระไตรปิฎกฉบับทองทึบนี้ใหม่ว่า “ฉบับทองใหญ่” ตัวใบลานปกหน้าและปกหลังปิดทองทึบตลอดทั้งใบลาน ใบลานที่สองมีอักษรจารบอกชื่อคัมภีร์ ตั้งแต่ใบลานที่ขึ้นต้นข้อความเรื่อยไปจนจบข้อความหรือจบผูก เป็นอักษรเส้นจารเหมือนกัน ตัวไม้ประกับปิดทองทึบ

     พระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่มีทั้งหมด ๓๕๔ คัมภีร์ รวมมีหนังสือใบลานทั้งสิ้น ๓,๖๘๖ ผูก ประกอบด้วยพระวินัย ๘๐ คัมภีร์ พระสูตร ๑๖๐ คัมภีร์ พระอภิธรรม ๖๑ คัมภีร์ และสัททาวิเสส ๕๓ คัมภีร์

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับรองทรงหรือฉบับข้างลาย
 

      เป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพิ่มขึ้นอีก ๒ ชุด เพื่อใช้ในการสอบพระปริยัติธรรมในกรมราชบัณฑิต ซึ่งตามบัญชีปรากฏว่ามีจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๕ คัมภีร์ คือ พระสูตร ๑๕๘ คัมภีร์ พระปรมัตถ์ ๖๕ คัมภีร์ พระวินัย ๕๒ คัมภีร์ และสัททาวิเสส ๔๐ คัมภีร์ รวมเป็นหนังสือใบลาน ๓,๖๔๙ ผูก

คัมภีร์ใบลานหลวงฉบับทองชุบ
 

      เป็นคัมภีร์พระไตรปิฎกอีกฉบับหนึ่งที่สร้างขึ้นในรัชสมัยเดียวกัน แต่มีเพียง ๓๖คัมภีร์ ได้แก่ พระวินัย ๓๕ คัมภีร์ และสัททาวิเสส ๑ คัมภีร์

      สิ่งที่น่าสนใจก็คือ พระไตรปิฎกที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นนี้ ถือเป็นพระไตรปิฎกที่เก่าแก่ และมีความสมบูรณ์ ซึ่งพระไตรปิฎกใบลานเหล่านี้บรรจุเรื่องธรรมกายเอาไว้หลายต่อหลายแห่งด้วยกัน แม้ในรัชกาลที่ ๒ และโดยเฉพาะในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งมีคัมภีร์พระไตรปิฎกฉบับที่สำคัญ คือ “ฉบับเทพชุมนุม” ที่เก็บรักษาไว้ในหอพระไตรปิฎกจตุรมุขของวัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) ซึ่งอยู่ในเขตพุทธาวาสนั้น ก็เป็นพระไตรปิฎกใบลานที่เก่าแก่อันบรรจุเรื่องราวของคาถาธรรมกายไว้อย่างบริบูรณ์เช่นกัน ซึ่งรายละเอียดของคาถาธรรมกายที่สำคัญนั้นผู้เขียนจะขอนำไปกล่าวไว้ในฉบับหน้า

      หมายเหตุ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้เขียนติดศาสนกิจ จึงไม่สามารถเดินทางไปประเทศอังกฤษเพื่อประชุมร่วมกับศาสตราจารย์ริชาร์ด กอมบริท ในการส่งเสริมกองทุนการเรียนการสอนบาลีศึกษา จึงมอบหมายให้ กัลฯวรรณี ปิยะธนศิริกุล รองเลขาธิการฝ่ายบริหารและการบัญชี พร้อมด้วยคณะ คือดร.พอล แทรปฟอร์ด กัลฯธนภรณ์ แซ่เช็งและ กัลฯวรนันท์ ทอมสัน เดินทางไปร่วมประชุมแทน




พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      Metaverse ผู้นำแสงสว่างออนไลน์
      กลอนเพราะๆ จากสุนทรภู่ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบวช
      คําขวัญวันต่อต้านยาเสพติด
      คำสอนสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
      คำขวัญวันครู 2567 รวมภาพสวยๆ และคำขวัญวันครูทุกปี
      ส.ค.ส. ปีใหม่ 2566 ส.ค.ส. พระราชทาน
      วันรัฐธรรมนูญ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ
      Why is the monk’s robe saffron?
      คำขวัญวันสิ่งแวดล้อมโลก
      คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกล่าสุด
      นางสงกรานต์ 2565
      ประเพณีรดน้ำดำหัว เทศกาลวันสงกรานต์
      ประกาศระเบียบปฏิบัติของวัด "ห้ามสูบบุหรี่"




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related