ทำไมจึงฉันมื้อเดียว

การฉันอาหารมื้อเดียว จะมีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุข https://dmc.tv/a13944

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
[ 21 ก.ค. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18300 ]

ณ ป่าประดู่ลาย

 

อานิสงส์ฉันมื้อเดียว
 
ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้น 
เอกาสะนิกังคะ* คือ ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตรหรือที่เรียกกันว่า
ฉันเอกา หมายถึง การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้น
                                                
             ภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารหนเดียว เมื่อเราฉันอาหารมื้อเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย เบากาย มีกำลังและอยู่อย่างผาสุข

            ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารหนเดียวเถิด แม้พวกเธอฉันอาหารหนเดียว ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อยเบากาย มีกำลัง และอยู่อยาางผาสุข

                                                                               กกจูปมสูตร เล่ม ๘ หน้า ๒๕๖


ขยายความเพิ่มเติม

ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว  เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
 
ฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียว  เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร

    เอกาสะนิกังคะ คือ ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า ฉันเอกา หมายถึง การฉันภัตตาหารเพียงมื้อเดียวต่อวันเท่านั้นโดยพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่าง อุกฤษฏ์หรืออย่างเข้มงวด จะรับภัตตาหารเฉพาะในช่วงก่อนที่จะลงมือฉันเท่านั้น   เมื่อเริ่มลงมือฉันภัตตาหารแล้ว จะรับได้แต่เภสัช หรือยารักษาโรค  เช่น เนยใส,  เนยข้น, น้ำมัน, น้ำผึ้ง  และน้ำอ้อย  เป็นต้น
 
        สำหรับพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างกลาง สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมเพิ่มได้ตราบเท่าที่ภัตตาหารในบาตรยังไม่ หมด เพื่อเป็นการรักษาศรัทธาญาติ โยม   แต่จะรับเท่าที่ตัวเองพอฉันหมด หรือพูดง่ายๆ ว่า ประมาณในการฉัน นั่นเองส่วนพระภิกษุที่ถือปฏิบัติอย่างเบา สามารถที่จะรับภัตตาหารจากญาติโยมเพิ่มได้ตราบเท่าที่ยังไม่ลุกจากอาสนะ

ฉันด้วยความไม่ติดในรสชาติอาหาร

ฉันด้วยความไม่ติดในรสชาติอาหาร

สำหรับวัตถุประสงค์ของการฉันมื้อเดียวเป็นไปเพื่อ..
 
1. กำจัดความอึดอัด หรือความแน่นท้อง อันเนื่องมาจากการฉันภัตตาหารมากเกินไปซึ่ง ก็จะทำให้ร่างกายเบาสบาย  กระปรี้กระเปร่า  สดชื่น  และสามารถบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสะดวกสบาย
2. เพื่อจะได้ไม่ติดในรสชาติอาหาร
3. ฝึกให้เราเป็นผู้มีความมักน้อย   เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติมได้ในข้อวัตรปฏิบัติสำหรับการธุดงค์ : อานิสงส์การถือธุดงควัตร(ภาคพิเศษ) ตอนที่ 2


เป็นคนว่าง่ายกันเถอะ

           
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้น เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด เป็นคนเจียมตัวจัด เป็นคนเยือกเย็นจัดได้ก็เพียงชั่วเวลา ที่ยังไม่ได้กระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเท่านั้น

            ภิกษุทั้งหลาย เมื่อน้นแหละควรทราบว่า เธอเป็นคนสงบเสงี่ยม เป็นคนเจียมตัว เป็นคนเยือกเย็นจริง

            ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกภิกษุรูปที่เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นคนว่าง่าย เพราะเหตุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารว่า เป็นคนว่าง่ายเลยข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้นก็จะไม่เป็นคนว่าง่าย จะไม่ถึงความเป็นคนว่าง่ายได้
                                                                              กกจูปมสูตร เล่ม ๑๘ หน้า ๒๕๙

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเป็นคนว่าง่าย
ทางถ้อยแห่งคำ
 
 ถ้อยคำอันควรกล่าว
 
ถ้อยคำอันควรกล่าว           
 
            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑. กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร
๒. กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง
๓. กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย
๔. กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์
๕. มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว

            ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

            จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจะไม่เปล่งวาจาชั่ว เราจะอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์ เราจะมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน แผ่เมตตาไปถึงบุคคลนั้นและเราจะแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมย์ของจิตนั้น

                                                                              กกจูปมสูตร เล่ม ๑๘ หน้า ๒๕

 


http://goo.gl/6pjDd


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      อานิสงส์การจุดประทีปเป็นพุทธบูชา : ตอน พระอนุรุทธเถระผู้มีจักษุทิพย์
      เพราะบูชาพระเจดีย์จึงมีรัศมีสว่างไสว บูชาด้วยดอกไม้แปดดอก
      พระปัญจทีปทายิกาเถรี กับอานิสงส์บูชาพระเจดีย์จึงมีทิพยจักษุ
      พระอุปวาณเถระ กับอานิสงส์การบูชาพระเจดีย์
      พระมหากัสสปะเถระ กับอานิสงส์สร้างพระสถูปเจดีย์
      บุญ คือ อะไร ?
      ศีลดี คือ อะไร ?
      เมื่อสวรรค์มีจริง ทำอย่างไรจึงจะได้ไปสวรรค์ ?
      ถ้าจิตขุ่นมัวในขณะนั้น ตายแล้วไปไหน ?
      นรก-สวรรค์
      อานิสงส์ของการฟังธรรม
      ทำทานอย่างไร จึงจะได้ บุญมาก ?
      ทำไมคนจึงต่างกัน ?




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related