ข้อความต้นฉบับในหน้า
แด่คุณครูด้วยดวงใจ โดย พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทตตชีโว)
เองก็ต้องสอบตก จากใจลูกศิษย์เช่นกัน เพราะถ้าเรานึกไม่ออกว่า ครูที่ดีเป็นอย่างไร เราจะเป็นครูที่ดีได้หรือ
จริง ๆ แล้ว ครูที่ดีมีอยู่มากมายในโลกนี้ เพียงแต่เรายังดูท่านไม่ออกเท่านั้น เพราะบางครั้งเราเอง ก็หลงนิยม
ความถูกใจมากกว่าความถูกต้อง กว่าจะรู้ว่า ครูคนนั้นดีคนนี้ไม่ดี ก็ต่อเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ รับผิดชอบการงานมาก
พบอุปสรรคนานาประการ จึงหวนระลึกนึกถึงคำสอนของท่าน เอาไปใช้แก้ปัญหาจนลุล่วงไปแล้ว คิดกลับมาแทน
คุณท่าน บางทีก็พบว่า ท่านลงโกศไปเสียแล้ว
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรมครูของเรา ทรงจัดหมวดธรรมอันเป็นคุณสมบัติของครู ไว้โดยเฉพาะ มีทั้งหมด
7 ประการ ผู้ที่สามารถทรงคุณสมบัติเหล่านี้ได้ทั้งหมด จำเป็นต้องมีคุณธรรมพื้นฐาน 3 ประการ คือ ปัญญา
บริสุทธิ์ กรุณา เพราะถ้าขาดคุณธรรมทั้ง3นี้แล้ว ก็ยากที่จะประพฤติตนให้มีคุณสมบัติของครูที่ดีได้ คุณสมบัติ
ทั้ง 7 ประการ มีรายละเอียดโดยย่อดังนี้
คุณสมบัติข้อที่ 1. น่ารัก (ปิโย)
คำว่า"น่ารัก"หมายถึง น่ารักในฐานะเป็นที่สบายใจ ชวนให้เข้าใกล้เพื่อปรึกษาไต่ถาม มองครั้งใด ก็มีแต่
ความชื่นใจมีความแจ่มใส ร่าเริงเบิกบานเป็นนิจ เหมือนพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ มีความสว่างไสว ชุ่มเย็น เป็น
ที่ชื่นชอบของชาวโลกทุกคน คนที่จะได้ลักษณะอย่างนี้ ต้องฝึกกิริยามารยาทให้เรียบร้อยนุ่มนวล สง่างามในทุก
อิริยาบท การที่คนใดคนหนึ่งจะทำตัวให้น่ารัก ไม่จำเป็นต้องหล่อต้องสวย ขอเพียงให้มีความสะอาด ทั้งกาย
วาจา ใจ
คำว่า กายสะอาด ไม่ได้หมายความว่า สะอาดด้วยการฟอกสบู่ถูตัว แต่หมายถึง การไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลัก
ขโมย ไม่เจ้าชู้ จริตจะกร้านแพรวพราว แม้แต่เสื้อผ้าที่สวมใส่ ก็ไม่จำเป็นต้องหรูหรา ราคาแพง สีสันฉูดฉาด
ขอให้สะอาดเรียบร้อยก็พอ
บุคคล
วาจาสะอาด คือรู้จักสำรวมในการพูด ไม่พูดเพ้อเจ้อ ส่อเสียด ร้อนหูร้อนใจ พูดให้ถูกกาละเทศะ และ
ใจสะอาด เป็นความบริสุทธิ์อยู่ภายในไม่มีใครเห็นแต่รู้ได้จากกิริยาอาการที่แจ่มใส ร่าเริง องค์ประกอบทั้ง
หมดนี้ ก่อให้เกิดความประทับใจแก่ลูกศิษย์ เป็นอันดับแรก ถ้าครูอาจารย์คนใด ขาดคุณสมบัติข้อนี้เช่น เคร่ง
ขรึม หรือ เคร่งเครียดเกินไป ศิษย์ก็ไม่อยากเข้าใกล้ หรือแม้แต่ตลกคะนองเกินไป ก็ไม่น่ารัก ไม่สมบุคคลิกครู
คุณสมบัติข้อที่ 2.น่าเคารพ (ครู)
คำว่า "ครู" ที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้มาจากคำว่า "ครุ" ในภาษาบาลี คำว่า "ครู" มีคำแปลได้ 2 อย่าง
คำแปลอย่างที่ 1. "ครู" แปลว่า "หนัก" เช่น ครุกรรม แปลว่า กรรมหนัก กรรมหนักในทางบุญกุศล ก็
ได้แก่ การบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระอรหันต์ กรรมหนักในฝ่ายอกุศล คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์
ทำพระสงฆ์ให้แตกแยก ทำร้ายพระพุทธเจ้า
คำแปลอย่างที่ 2. "ครู" แปลว่า "ตระหนัก" คือ อุดมด้วยปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างพร้อมมูล
จนกระทั่ง ตระหนักหรือซาบซึ้งได้ว่า อะไรผิด อะไรถูก อะไรดี อะไรชั่ว อะไรควร อะไรไม่ควร อะไรเป็นบุญ
อะไรเป็นบาป แล้วดำเนินชีวิต ไปในทางที่ถูกที่ควรที่เป็นบุญ "ครุ" คำนี้ เป็นคำเดียวกับคำว่า "คารวะ" แล้ว
แผลงมาเป็น"เคารพ"