ข้อความต้นฉบับในหน้า
มาเกิดในท้องของพระมเหสีพระนามว่า สุปวาสา
ด้วยอานุภาพบุญที่ทำไว้ดีแล้ว เพียงแค่ปฏิสนธิ
เสด็จแม่ก็ได้รับเครื่องบรรณาการ แสดงความยินดี
ทั้งเช้าทั้งเย็น
จนกระทั่งออกบวชได้นามว่าพระสิวลี บุญ
ในตัวเต็มเปี่ยมปลงผมบนศีรษะหมด ก็บรรลุธรรม
วันละ ๕๐๐
เป็นพระอรหันต์ ไม่ว่าท่านจะเดินทางไปไหนมา
ไหน ก็จะได้รับการต้อนรับทั้งจากเทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงยกย่องท่าน บางครั้งก็
พาท่านไปในที่ทุรกันดาร ถึงหนทางจะลำบาก
ทุรกันดารเพียงไร เทวดาก็จะเนรมิตสถานที่พักให้
สะดวกสบาย พระบรมศาสดาจึงทรงแต่งตั้งท่านไว้
ในตำแหน่งเอตทัคคะทางเลิศด้วยลาภ
ประกอบด้วยความเลื่อมใส มีใจศรัทธา เห็นคุณค่า
ของทานที่ได้ทำไป แล้วก็อธิษฐานจิตให้มั่นกันเลย
อธิษฐานให้เป็นผู้ถึงพร้อมทั้งรูปสมบัติ
ทรัพย์
สมบัติ คุณสมบัติ มรรคผลนิพพานกันอย่างงั้น
อะไรก็ตามที่เราหมั่นทำ หมั่นตอกย้ำบ่อยๆ สักวัน
หนึ่งก็จะสมหวังดังใจปรารถนา
บุญที่เราได้ทำกันเอาไว้ ไม่ได้หายไปไหน
เลย แม้มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ แต่สัมผัสได้ด้วยใจ
เมื่อเราเข้าถึงพระธรรมกาย ได้ศึกษาวิชชา
ธรรมกายแล้ว จะเห็นว่ากระแสธารแห่งบุญจาก
อายตนนิพพาน ที่ไหลผ่านกายของเราแต่ละกาย
นั้น ตั้งแต่กายธรรมอรหัต ไหลผ่านกายธรรมต่างๆ
ลงมาจนถึงกายอรูปพรหม กายรูปพรหม กายทิพย์
กายมนุษย์ละเอียด แล้วมาจรดที่ศูนย์กลางกาย
ของกายมนุษย์ เป็นดวงบุญที่สุกใสสว่างติดอยู่ที่
ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ คอยหล่อเลี้ยงรักษาให้เรา
ประสบความสำเร็จในชีวิต ในธุรกิจการงานและสิ่ง
ที่พึงปรารถนา
๗
ยิ่งถ้าเราเอาใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย
ฐานที่ ๗ ให้ได้มาก กระแสธารแห่งบุญก็จะหล่อ
เลี้ยงเพิ่มพูนความสุขให้กับเรามากยิ่งขึ้น แม้ละ
โลกไปแล้ว บุญยังติดศูนย์กลางกายของกายทิพย์
ทำให้เราถึงพร้อมด้วยสวรรค์สมบัติทุกอย่าง
เพราะฉะนั้น เมื่อจะทำทานหรือสั่งสมบุญอะไร
ก็ตาม ก็ควรทำจิตให้เลื่อมใส ทำใจให้หยุดนิ่ง ทำ
ตอนที่ใจใสสะอาดบริสุทธิ์ เมื่อปรารถนาสิ่งใด ก็
จะสำเร็จอย่างง่ายดายเป็นอัศจรรย์ ฉะนั้น ให้หมั่น
ฝึกใจให้ใสบริสุทธิ์หยุดนิ่ง จนกว่าจะเข้าถึงพระ
ธรรมกายกันทุกคน
พระธรรมเทศนาโดย
บุญที่เราทำด้วยความเลื่อมใสอันไม่มี วิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
ประมาณ เมื่อมาประมวลรวมกันเข้ากับความ
ปรารถนาอันแรงกล้านี่ จะก่อเกิดเป็นดวงบุญที่
สุกใสสว่าง ติดอยู่ในกลางกายฐานที่ ๗ ของตัวเรา
เองนี่แหละ เมื่อมีอานุภาพแห่งบุญหล่อเลี้ยงมาก
เข้า จะทำให้ได้รับผลแห่งบุญเป็นอัศจรรย์กันเลยที
เดียว เพราะฉะนั้น เวลาทำบุญอะไร ก็ควรมีจิต
* มก. เล่ม ๗๒ หน้า ๓๓๒
พระราชภาวนา