กฎข้อที่ ๒ และการปฏิบัติของพระภิกษุ Dhamma Time เดือน ตุลาคม พ.ศ.2554 หน้า 19
หน้าที่ 19 / 34

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงกฎข้อที่ ๒ ที่ห้ามพระภิกษุเข้าไปในเขตแม่ชี โดยอธิบายว่าถ้าพระรูปใดเข้าไปโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องถูกไล่จากวัด นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามกฎของวัด หากพระภิกษุไม่มาปฏิบัติตามที่กำหนด เช่น ไม่มาสวดมนต์ ก็อาจถูกไล่ออกจากวัดเช่นกัน โดยกฎจะต้องมีการดำเนินการอย่างเคร่งครัดและไม่ข้องเกี่ยวกับอารมณ์ส่วนตัวของผู้พิพากษา กล่าวถึงความสำคัญในการตรากฎหมายที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบ รวมถึงคนที่เป็นผู้สร้างกฎเพื่อให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย.

หัวข้อประเด็น

-กฎข้อที่ ๒
-การปฏิบัติตามกฎวัด
-ผลของการไม่ปฏิบัติตาม
-การตรากฎหมาย
-จริยธรรมในการตัดสิน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

DMC.tv กฎข้อที่ ๒ ห้ามพระภิกษุเข้าไปในเขตแม่ชี รูปใดเข้าไปในเขตแม่ชีโดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ไล่ ออกจากวัด ଗୀ กฎข้อที่ เมื่อถึงเวลาฟังพระปาติโมกข์ ถ้ารูปใดขาดโดยไม่มีเหตุจำเป็น เช่น ไม่ได้ป่วยไข้ ให้ไล่ออกไปจากวัด หรือรูปใดไม่มาสวดมนต์ ทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นให้ไล่ออกจากวัด เมื่อพระภิกษุรูปนั้นอ่านกฏของวัดไปทีละ ข้อ ๆ ในที่สุดจะถึงข้อที่ท่านทำผิด เช่น สมมุติว่าทำ ผิดฐานที่ไม่มาสวดมนต์ทำวัตรเช้าโดยไม่มีเหตุ จำเป็นอยู่เป็นประจำ พอถึงข้อนี้หลวงพ่อวัดปา กน้ำฯ จะให้หยุด แล้วถามว่า “ท่านได้ทำความผิด ในข้อนี้หรือเปล่า” ถ้าเขาทำเขาก็ต้องรับ “ผมทำผิด ครับ” เออ...แล้วกฎมันบอกว่าไงนะ? “ถ้าทำผิดกฎบอกว่าให้ไล่ออกจากวัดครับ” “ถ้าอย่างนั้นขนของออกไปเดี๋ยวนี้ นี่พ่อไม่ ได้ไล่ท่านนะ กฎวินัยมันไล่ เพราะฉะนั้นขนของ ออกไปเดี๋ยวนี้เลย จะมาโกรธพ่อไม่ได้ เพราะท่าน เซ็นเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ว่าถ้าผิดอย่างนี้จะต้อง ออกจากวัด ท่านได้ไล่ตัวเองตามกฎที่มีอยู่ หลวง พ่อไม่ได้ไล่นะ” ถ้าผู้พิพากษาตัดสินประหารชีวิต ไม่มีใจโกรธ เกลียด แกล้งอะไรปนไปด้วยก็ไม่ผิด คราวนี้ เราก็มาดูปัญหาที่ถามว่าผู้พิพาก ษาตัดสินประหาร ชีวิตผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือ ไม่ ก็ดูว่ากฎนั้นได้ตั้งกันไว้เป็นหลักเป็นเกณฑ์ใน สังคมแน่นอนหรือเปล่า ถ้าแน่นอนเป็นอย่างนั้น แล้ว กติกาลงโทษว่าอย่างไร ถ้าพยายามจะลด หย่อนผ่อนปรนลงมาแล้วก็ยังแก้ไขอะไรไม่ได้ จำเป็นต้องตัดสินไปตามกติกาบ้านเมือง โดยไม่มี ใจที่จะแถมโกรธ แถมเกลียด แถมแกล้งอะไรลงไป เลย ก็บอกว่าผู้พิพากษาไม่ผิด แต่ว่าคนที่แบกเวรนี้ เอาไว้ คือคนที่ตรากฎหมายนี้ คนนั้นแหละที่จะ แบกเอาไว้มาก คนที่ตรากฎหมายต้องแบกรับบาปเอาไว้มากที่สุด เพราะฉะนั้น การตรากฎหมายแต่ละข้อ ขอให้คิดให้มาก ไม่อย่างนั้นคนที่ตรากฏนั่นแหละที่ ต้องแบกบาป รับบาปเอาไว้ ผู้พิพากษาไม่ได้แบก อะไรหนักหนา ยกเว้นผู้พิพากษาที่แกล้งเขา หรือไม่ ได้แกล้ง ตัดสินไปตามเนื้อหานั้น แต่มีใจยินดีให้มัน ตายไปเสียเถอะ อนุโมทนาบาปก็ได้นะ ๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More