แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎกในการสอนตนเอง Dhamma Time เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555 หน้า 28
หน้าที่ 28 / 30

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับแรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎกในการสอนตนเอง โดยมีการยกตัวอย่างธิดาของนายช่างหูก ซึ่งเป็นตัวอย่างของการที่สามารถสร้างบารมีและพัฒนาตนเองตามพระโอวาทของพระบรมศาสดา โดยเน้นความสำคัญของการมีมรณานุสสติและไม่รอคอยกำลังใจจากผู้อื่น การปรับปรุงตนเองและการเจริญสติเป็นหลักสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตและการพัฒนาจิตใจได้อย่างยั่งยืน

หัวข้อประเด็น

-แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก
-การสอนตนเอง
-การสร้างบารมี
-มรณานุสสติ
-การพัฒนาตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แรงบันดาลใจจากพระไตรปิฎก สอนตนเองให้ได้ วัดพระเชตะวัน มหาชนครั้นได้ฟังพระธรรม เทศนานั้นแล้ว บางส่วนก็ปฏิบัติ ตาม บางส่วนก็ไม่ค่อยนำไปปฏิบัติ เท่าที่ควร ยังมัวประมาทในชีวิต เหมือนเดิม ส่วนธิดาของนายช่าง หูกคนหนึ่งนางอายุเพียง ๑๖ ปี แต่มีปัญญาสอนตนเองได้ นางได้ ทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้กับตนเอง เมื่อกลับมาที่บ้านก็ได้ทำการบ้าน บุคคลที่ประสบความสำเร็จจากการศึกษา บุคคลที่จะประสบความสำเร็จ ในการสร้าง บารมีจะต้องรักในการฝึกฝนตนเองทั้งกาย วาจา และใจ หมั่นปรับปรุงแก้ไขตนเองให้ได้ก่อนในทุก รูปแบบ เพราะถ้าเราสามารถสอนตนเองได้ มี ความอดทน รู้จักยกใจตนเอง ให้สูงขึ้นเหนือ อุปสรรคทั้งมวล และรักษาใจให้ผ่องใสเป็นประจำ เราก็จะประสบ ไม่ยอมรอคอยกำลังใจจากใคร ความสำเร็จในการสร้างบารมีอย่างแน่นอน เหมือนดังเรื่องของหญิงสาวคนหนึ่ง ผู้เป็น ธิดาของนายช่างหูก ผู้รู้จักสอนตนเองด้วยการทำ ตามโอวาทของพระบรมศาสดา จนประสบความ สำเร็จในการสร้างบารมีในที่สุด มีเรื่องราวดังนี้ ในสมัยหนึ่ง พระบรมศาสดาเสด็จไปเมือง อาฬวี ได้ทรงประทานโอวาทให้แก่มหาชนว่า “ท่านทั้งหลายจงเจริญมรณานุสสติว่า ชวิตของ เราไม่ยั่งยืน ความตายของเราแน่นอน เราจึงตาย แน่แท้ ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด ชีวิตของ เราไม่เที่ยง แต่ความตายเที่ยง เพราะฉะนั้น....พวก ท่านทั้งหลายพึงเจริญมรณานุสสติเถิด” เมื่อทรง ประทานโอวาทเสร็จ พระบรมศาสดาก็เสด็จกลับ ที่พระบรมศาสดาทรงประทาน ให้ ด้วยการเจริญมรณานุสสติอยู่ ตลอดเวลา สามปีต่อมา พระบรมศาสดาเสด็จไปโปรดชาว เมืองอาฬวีอีกครั้ง ธิดาช่างหูกก็มีโอกาสมาเข้าเฝ้า เพื่อฟังพระธรรมเทศนาเหมือนเดิม ในครั้งนั้น... พระบรมศาสดาถามเธอในท่ามกลางบริษัทว่า พ. “กุมาริกา เธอมาจากไหน?” ธ. “ไม่ทราบ พระเจ้าข้า” พ. “เธอจะไปไหน?” ธ. “ไม่ทราบ พระเจ้าข้า” พ. “เธอไม่ทราบหรือ?” ธ. “ทราบพระเจ้าข้า” พ. “เธอทราบหรือ?” ธ. “ไม่ทราบ พระเจ้าข้า” เมื่อธิดาช่างหูกตอบปัญหาเพียงคำว่า “ทราบ” กับ “ไม่ทราบ” เท่านั้น ทำให้มหาชนเกิดความไม่ พอใจกันใหญ่ เพราะคิดว่า ธิดาช่างหูกพูดเล่นลิ้น กับพระพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อคลายความสงสัยของ มหาชน พระบรมศาสดาจึงตรัสถามต่อไปว่า “กุมาริกา เมื่อเราถามว่า “เธอมาจากไหน?” ทำไมเธอจึงตอบว่า ไม่ทราบ”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More