ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมะเพื่อประชาชน
DMC
โทษของคนมักโกรธ
ไม่รู้จักความเจริญ ทำจิตให้กำเริบ ภัยที่เกิดมาจาก
ภายในนั้น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก คนโกรธย่อมไม่รู้
อรรถ ไม่เห็นธรรม ความโกรธย่อมครอบงำนรชน
ในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะนั้น คนผู้โกรธ
ย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย ภายหลัง
เมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟ
ไหม้"
กิเลสทั้งที่เป็นราคะ โทสะ และโมหะ
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าเป็นธุลี เป็นทางมาแห่ง
มลทินในจิตใจของสรรพสัตว์
เพราะกิเลสเหล่า
นี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมจะทำให้สรรพสัตว์มืดมน
ทำให้สร้างแต่บาปอกุศล โลกของเราก็ไม่มีความ
สงบสุข มีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวายอยู่เป็นนิตย์
บุคคลผู้มีความปรารถนาที่จะหลุดพ้น บุคคลผู้ต้องการพ้นจากอกุศลธรรม
จากความทุกข์ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ
และความตาย อันเป็นความทุกข์ที่ติดตามเรามา
นานแสนนาน ต้องอาศัยพลังอำนาจบุญบารมีที่
สั่งสมอบรมมานับภพนับชาติไม่ถ้วน โดยเฉพาะ
บุญบารมีที่สำคัญมีอานุภาพมาก คือการประพฤติ
ปฏิบัติธรรม ทำใจให้หยุดนิ่งในหนทางสายกลางที่
เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งเป็นเหตุให้หลุดพ้นจาก
ความทุกข์ทั้งหลาย และเข้าถึงความสุขที่แท้จริง
กระทั่งได้บรรลุมรรคนิพพาน
มีวาระพระบาลีที่พระบรมศาสดาตรัสไว้ใน โกธนา
สูตร ความว่า
“คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็น
ทุกข์ ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติสิ่ง
อันไม่เป็นประโยชน์ ทำปาณาติบาตด้วยกาย และ
วาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์ ผู้มัวเมาเพราะ
ความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตรและ
สหาย ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนผู้โกรธย่อม
୩
อันเป็นดุจ
ธุลี ตระกูลนั้น ต้องบำเพ็ญเพียรสร้างความ
ดี ประพฤติปฏิบัติธรรม ลดละเลิกกิเลสทั้งหลาย
เหล่านี้ให้ได้ ด้วยการปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกาย
อรหัต อันเป็นกายหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง
หากบุคคลใดมีจิตใจที่มืดมน
กระแสของกิเลสอาสวะหรือของพญามาร ไม่
ประพฤติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ยังละ
อกุศลธรรมไม่ได้ บุคคลนั้นย่อมมีแต่ความทุกข์และ
ตกอยู่ใน
ความลำบากในการดำเนินชีวิต แม้ละโลกไปแล้วก็
ต้องทุกข์ต่อในอบายภูมิ
* ดังเรื่องของ ทุฏฐกุมาร ผู้เป็นพระโอรส
ของพระเจ้ากิตกาสะแห่งเมืองพราณสี เมื่อทุฏฐ
กุมารประสูติแล้ว พระราชาทรงแต่งตั้งให้ดำรง
ตำแหน่งอุปราช
วันที่พระราชโอรสประสูติ พวกโหราจารย์
ต่างทำนายลักษณะของพระโอรสและกราบทูลพระ
ราชาว่า ถ้าพระราชโอรสไม่ได้เสวยน้ำดังประสงค์
ก็จะสิ้นพระชนม์ทันที ด้วยความรักพระราชโอรส
พระองค์ทรงหาหนทางแก้ไขในทันที ทรงรับสั่งให้