การวิเคราะห์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปีก่อตั้งกนิษกศักราช หน้า 17
หน้าที่ 17 / 19

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เน้นการวิเคราะห์หลักฐานจากเหรียญที่พบใน Jalalabad ซึ่งแสดงถึงเวลาและความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ Hadrianus, Wima Kadphises และ Kanishka. นอกจากนี้ยังบันทึกสงครามระหว่างกษัตริย์ Ardashir ที่ 1 กับ Vahesdjan ซึ่งช่วยให้เข้าใจถึงการครองราชย์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน โดยระบุช่วงเวลากษัตริย์ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน.

หัวข้อประเด็น

-หลักฐานเหรียญ
-ความสัมพันธ์กษัตริย์
-การทำสงคราม
-ประวัติศาสตร์อาณาจักร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. การวิเคราะห์จำกลุ่มหลักฐานอื่น ๆ 3.1 การจุดพบเหรียญของพระนาง Sabina ผู้เป็นมเหสีของกษัตริย์ Hadrianus33, เหรียญของกษัตริย์ Wima Kadphises และเหรียญของพระเจ้า Kanishka ในการจุดคนี้ที่ Jalalabad34 จากหลักฐานนี้ทำให้ทราบว่า กษัตริย์ทั้งสามพระองค์อยู่ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน กษัตริย์ Hadrianus ได้ครองราชย์ในช่วงระหว่างรอยต่อของกษัตริย์ Wima Kadphises และพระเจ้า Kanishka ซึ่งช่วงการครองราชย์ของกษัตริย์ Hadrianus คือปี ค.ศ. 117 - 138 ดังนี้เป็นครองราชย์ของพระเจ้า Kanishka จึงควรอยู่ก่อนหรือเท่ากับปี ค.ศ. 138 กล่าวคือ X ≤ ค.ศ. 138 3.2 บันทึกการทำสงครามระหว่างกษัตริย์ Ardashir ที่ 1 กับกษัตริย์ Vahesdjan (Vasudeva) ในบันทึกประวัติศาสตร์ของอารามเนย์35 จากหลักฐานทำให้ทราบว่ากษัตริย์ Vahesdjan (Vasudeva) อยู่ในช่วงที่กษัตริย์ Ardashir ที่ 1 ครองราชย์ ซึ่งกษัตริย์ Ardashir ที่ 1 ครองราชย์ คือระหว่างปี ค.ศ. 226 - 241 และเมื่อนำปีครองราชย์ปีสุดท้ายของกษัตริย์ Vasudeva หรือปีนิษฐกิจศักราชที่ 98 นำมาคำนวณย้อนกลับจะเท่ากับ (ค.ศ. 226/ 241) - 97 = (ค.ศ. 129/144) ดังนี้ปีนิษฐกิจศักราชที่ 1 จะครองอยู่ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 129 - 144 ค.ศ. 129 < X < ค.ศ. 144
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More