ข้อความต้นฉบับในหน้า
៩៨
สวดมนต์ ฉบับพุทธบริษัท ๔
ข้อแนะนํา คือ ต้องทําให้สม่ำาเสมอเป็นประจํา ท่าเรื่อยๆ ท่า
อย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น ซึ่งจะเป็น
การป้องกันมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสีย
ความเป็นกลาง และเมื่อการฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ “ดวงปฐมมรรค”
ที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงอยู่ที่ศูนย์กลางกายแล้ว ให้หมั่น
ตรีกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ
อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรงอยู่บนเส้นทางแห่ง
ความสุข ความสําเร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้
สมาธิละเอียดลุ่มลีกไปตามลำดับอีกด้วย
ข้อควรระวัง
๑. อย่าใช้กําลัง คือไม่ใช้กําลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตา
เพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็ง
ตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทําให้จิต
เคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น
๒. อย่าอยากเห็น คือทําใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอ
จากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่า
กังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้นอุปมา
เสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ไม่อาจจะเร่งเวลาได้
ต. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้าออกเพราะการฝึกสมาธิ
เจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงธรรมกายอาศัยการก้าหนด อาโลกกสิณ คือ
วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น
กสิณความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อฝึกสมาธิจนเข้าถึงดวงปฐมมรรค
แล้วฝึกสมาธิต่อไป ผ่านกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม
กายอรูปพรหม จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว จึงอาศัยพระ
ธรรมกายเจริญวิปัสสนา ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องกำหนดลมหายใจ
เข้าออกแต่ประการใด
๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่เดียว
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี
อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนาพร้อม
กับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป
๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย
ทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไปก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคอง
ใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก
การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัย
ให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง
จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้
ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า
ได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุขความเจริญ
ทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า
55