การสวดมนต์และคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า สวดมนต์ ฉบับพุทธบริษัท 4 หน้า 31
หน้าที่ 31 / 62

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้เน้นคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเกี่ยวกับความทุกข์ที่แฝงอยู่ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นความเกิด ความแก่ ความตาย รวมถึงอารมณ์ทั้งหลายที่จะนำไปสู่ทุกข์ รวมถึงการดึงดูดหัวใจของทุกข์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ชี้แจงให้เห็นถึงอุปาทานขันธ์ 5 ที่เป็นตัวตั้งแห่งความยึดมั่นและความทุกข์ ดังนั้นเราต้องปฏิบัติธรรมเพื่อทำจริงถึงการพ้นจากกองทุกข์นี้

หัวข้อประเด็น

-ทุกข์ในชีวิต
-อุปาทานขันธ์ 5
-การปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้มีพระภาค
-ความไม่เที่ยงของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
-การทำที่สุดแห่งกองทุกข์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕๘ สวดมนต์ ฉบับพุทธบริษัท ๔ ๘. สังเวคะปะริกิตตะนะปาฐะ พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ ชอบได้โดยพระองค์เอง และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออก จากทุกข์ เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน เป็นข้อปฏิบัติ ให้ถึงความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตเจ้าประกาศ พวกเราเมื่อได้ ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศก ความร่าไรร่าพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเองเป็นตัวทุกข์ ขันธ์ ๕ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ๑.รูป ๒.เวทนา ๓.สัญญา ๔.สังขาร ๕.วิญญาณ เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้เอง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยังทรง พระชนม์อยู่ ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก คําแปล ทําวัตรเช้า อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมเป็นไปในสาวก ทั้งหลายเป็นส่วนมาก โดยการจำแนกอย่างนี้ว่า รูปย่อมไม่เที่ยง เวทนา ย่อมไม่เที่ยง สัญญาย่อมไม่เที่ยง สังขารย่อมไม่เที่ยง วิญญาณย่อม ไม่เที่ยง รูปย่อมไม่ใช่ตัวตน เวทนาย่อมไม่ใช่ตัวตน สัญญาย่อมไม่ใช่ ตัวตน สังขารย่อมไม่ใช่ตัวตน วิญญาณย่อมไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งปวง ย่อมไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงย่อมไม่ใช่ตัวตน ดังนี้ พวกเราทั้งหลายนั้น เป็นผู้ถูกครอบงำแล้วโดยความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่ สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย เป็นผู้หยั่งลงแล้วสู่ความทุกข์ เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำอย่างไรหนอ การทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จึงจะพึงปรากฏชัดแก่เราได้ พวกเราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพาน นานแล้ว พระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ย่อมใส่ใจ และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตาม สติกำลัง ขอให้การปฏิบัตินั้นๆ ของพวกเราทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อ การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More