วัดมเหยงคณ์

วัดมเหยงคณ์ เป็นที่เย็นกายเย็นใจของผู้ได้มาถึง เสมือนได้เข้าสู่มหานครโบราณ ที่สงบร่มเย็นทั้งด้วยบรรยากาศธรรมชาติและด้วยธรรมะปฏิบัติ https://dmc.tv/a14279

บทความธรรมะ Dhamma Articles > พระพุทธศาสนา > วัดในพระพุทธศาสนา
[ 10 ก.ย. 2555 ] - [ ผู้อ่าน : 18276 ]

วัดมเหยงคณ์

 
วัดมเหยงคณ์
วัดไทย ในจังหวัดพระนครศรีอยุทธยา
 
            ณ แดนทุ่งทหารกล้าหันตรานี้             คือธานีอโยธยาราชาสร้าง
 
            พระจอมจักรเจ้าอโศกทรงนำทาง         เป็นแบบอย่างบรมกษัตริย์ขัดติยา
 
            มเหยงคณ์ร่มเย็นเป็นวัดใหญ่               สามสมัยกาลผ่านนานหนักหนา
 
            อโยธยาอยุทธเยศกรุงเทวา                พุทธศาสตร์คู่หล้าคู่ฟ้าไทย
 
วัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
วัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 
        เมื่อย่างเข้าสู่ตัวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาราชธานีเก่าของไทย  สัมผัส แรกที่ได้เห็นคือวัดวาอารามเก่าแก่ ซากปรักหักพังที่แสดงถึงการผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มาเนิ่นาน นับตั้งแต่ครั้งที่ไทยเรารับพระพุทธศาสนามาจากดินแดนมัธยะประเทศ เมื่อครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเผยแพร่พระสัจธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้ามายังดินแดนแถบนี้
 
        เมื่อถึงเจดีย์วงเวียนวัดสามปลื้ม เลี้ยวอ้อมขวาตามวงเวียนไปราวหนึ่งกิโลเมตรจะเข้าสู่ทุ่งหันตราหรือทุ่งทหาร กล้าในเขตอโยธยาตอนเหนือ ภาพเบื้องหน้าคือวัดมเหยงคณ์ พระอารามหลวงฝ่ายอรัญนิวาศรีสมัยอโยธยา จากบันทึกในพงศาวดารต่างๆ และจากการขุดค้นศึกษาของกรมศิลปากรพบว่า วัดมเหยงคณ์สร้างในสมัยอโยธยาโดยพระนางกัลยาณี ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสามพระยา ต่อมาสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ได้มีการปฏิสังขรณ์ทั้งพระอาราม พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาตั้งพระตำหนักเพื่อทรงควบคุมการก่อสร้างใหม่ ซึ่งใช้เวลาถึงสามปีจึงแล้วเสร็จ ได้มีงานฉลองถวายทานพระภิกษุสงฆ์จำนวน 1,000 รูป
 
ผนังก่ออิฐแดงดูเด่นสง่าแต่ไกล และเจดีย์ขนาดใหญ่หลายองค์
ผนังก่ออิฐแดงดูเด่นสง่าแต่ไกล และเจดีย์ขนาดใหญ่หลายองค์
 
        สิ่งที่สายตาสัมผัสเมื่อแรกเห็นคือผนังก่ออิฐแดงดูเด่นสง่าแต่ไกล และเจดีย์ขนาดใหญ่หลายองค์ ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่อลังการณ์แต่ครั้งเก่าก่อน ทางเข้าปัจจุบันนี้ซึ่งแต่ก่อนถือเป็นด้านหลังวัดมีความร่มรื่นด้วยแมกไม้ สายน้ำที่สงบนิ่งจากสระสองฝากถนน เมื่อก้าวผ่านซุ้มประตูจะเป็นฉนวนเข้าสู่พระอุโบสถ ฉนวนซึ่งเป็นกำแพงอิฐสูงเมตรเศษ ทางเดินปูลาดด้วยอิฐลายก้างปลาให้ความร่มรื่นและรู้สึกเย็นฉ่ำเพราะตะไคร่ น้ำที่ขึ้นอยู่ประปราย
 
พระอุโบสถ(ด้านใน) เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน
พระอุโบสถ(ด้านใน) เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน
 
        พระอุโบสถ ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน ขนาด 9 ห้อง มีความกว้าง 17 เมตร ยาว 35 เมตร 50 เซนติเมตร ตั้งอยู่บนฐานสูงสองชั้นนลดหลั่นกัน ถือเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวัดเก่าในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีแท่นฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปสองฐาน แต่พระพุทธรูปของเดิมชำรุดแตกพังไม่มีชิ้นดีแล้ว
 
ผนังด้านนอกอุโบสถมีมุขเด่นยื่นออกมาทั้งหน้าหลัง
ผนังด้านนอกอุโบสถมีมุขเด่นยื่นออกมาทั้งหน้าหลัง
 
        ผนังด้านนอกอุโบสถมีมุขเด่นยื่นออกมาทั้งหน้าหลัง มีใบเสมาหินสีเขียวเทาล้อมรอบทั้งแปดทิศ แต่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์อยู่เพียงใบเดียว ด้านหลังของพระอุโบสถด้านทิศตะวันตกมีเจดีย์ประธานทรงระฆังตั้งอยู่บนฐาน เขียวทรงกลมสามชั้นและฐานทักษิณทรงสี่เหลี่ยมจัตตุรัส มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ทิศ รอบฐานเจดีย์มีช้างโผล่ครึ่งตัวซุ้มจรนำรอบฐานทักษิณ ด้านละ 20 ตัว รวม 80 ตัว
 
เจดีย์ช้างล้อม
เจดีย์ช้างล้อม
 
        เจดีย์ช้างล้อม เป็นเจดีย์แบบเดียวกับที่ศรีสัชนาลัยสุโขทัยซึ่งได้รับอิทธิพลมา จากลังกา ช้างแต่ละหัวมาจากช่างต่างคนกันเพราะมีรูปลักษณ์ที่ต่างกันอย่างสังเกตได้ ถัดออกมามีเจดีย์ทั้งสี่องค์และเจดีย์รายที่เรียงรายอยู่รอบพระอุโบสถอยู่ หลายองค์
 
        ในส่วนของสังฆาวาสเป็นที่สงบร่มเย็น งดงามด้วยกุฏิไม้สักและอาคารต่างๆ ที่จำเป็น มีอาคารปฏิบัติธรรมซึ่งมีผู้มาทำภาวนาทุกวัน ทั้งมาเช้ากลับเย็นและมาอยู่ในวันหยุดสุดสัปดาห์ ทำให้สถานที่แห่งนี้ไม่เคยว่างเว้นจากผู้ปฏิบัติธรรมเลย บางโอกาสก็นั่งใต้โคนไม้บ้าง รอบสระน้ำบ้าง นอกจากนั้นยังมีอาคารต่างๆ ที่สร้างให้กลมกลืนกับบรรยากาศธรรมชาติ เช่น สร้างเป็นถ้ำ เป็นศาลา แม้กระทั่งห้องน้ำห้องส้วมก็สร้างอิงแบบธรรมชาติ มีเรือนสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมตั้งอยู่ด้านตรงข้ามกับเขตสังฆาวาส โดยมีคลองและถนนคั่นอยู่
 
สถานที่แห่งนี้ไม่เคยว่างเว้นจากผู้มาปฏิบัติธรรมเลย
สถานที่แห่งนี้ไม่เคยว่างเว้นจากผู้มาปฏิบัติธรรมเลย
 
        วัดมเหยงคณ์ จึงเป็นที่เย็นกายเย็นใจของผู้ได้มาถึง เสมือนได้เข้าสู่มหานครโบราณ ที่สงบร่มเย็นทั้งด้วยบรรยากาศธรรมชาติและด้วยธรรมะปฏิบัติ ที่พระอาจารย์ท่านพระครูเกษมธรรมทัต ได้อบรมให้อยู่เสมอ
 
 
รับชมวิดีโอ วัดมเหยงคณ์


รับชมคลิปวิดีโอวัดมเหยงค์
ชมวิดีโอวัดมเหยงค์   Download ธรรมะวัดมเหยงค์


http://goo.gl/4eoQP


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      พิธีทอดกฐินสามัคคีสร้างทุกสิ่ง ณ ธุดงคสถานแก้วโนนแดง
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนแท่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินสร้างศาลาปฏิบัติธรรมจันทสโร
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนลำดวนสวรรค์ จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างทุกสิ่ง
      วัดพระธรรมกาย จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2564
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จัดงานบุญพิธีทอดกฐินสามัคคี
      ธุดงคสถานแก่นตะวัน จัดพิธีทอดกฐินเพื่อสร้างอาคารปฏิบัติธรรม
      ธุดงคสถานนครธรรม จัดพิธีบุพเปตพลีออนไลน์
      วัดพระธรรมกายออเรกอน จัดพิธีบูชาข้าวพระ
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมพัทลุง จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี ถวายเครื่องปรับอากาศ
      ศูนย์อบรมเยาวชนเถินเทิดธรรม จัดพิธีทอดกฐินสามัคคี เพื่อสร้างทุกสิ่ง
      บรรยากาศชวนบวชโครงการอุปสมบท บูชาธรรมมหาปูชนียาจารย์
      ศูนย์ปฏิบัติธรรมเพชรบูรณ์ จัดพิธีทอดกฐินสามัคคีเพื่อสร้างหอฉัน
      วัดพระธรรมกายและมูลนิธิธรรมกาย มอบถุงยังชีพให้แก่ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 400 ชุด




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related