พญาวานรโพธิสัตว์

การผูกมัดไว้ ไม่เผาลนข้าพระองค์ให้เดือดร้อน ผู้ฆ่าก็จักไม่ให้ข้าพระองค์เดือดร้อน เพราะข้าพระองค์ได้นำความสุขมาให้แก่เหล่าวานร ที่ให้ข้าพระองค์ครองความเป็นใหญ่ https://dmc.tv/a8046

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 8 ก.ย. 2553 ] - [ ผู้อ่าน : 18321 ]
พญาวานรโพธิสัตว์
 

 
     ธรรมกาย เป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนา และเป็นแก่นของชีวิตที่มนุษย์ทุกๆ คนเกิดมาก็เพื่อแสวงหาสิ่งนี้ หากว่าได้เข้าถึงธรรมกายภายในก็จะเป็นผู้ที่เต็มเปี่ยมด้วยบุญบารมี และความสุขที่ละเอียดประณีตเกินกว่าสุขใดๆ ในโลก เพราะรสแห่งธรรมนั้นเลิศกว่ารสทั้งปวง สุขอันเกิดจากธรรมะประเสริฐกว่าอย่างอื่นทั้งหมด ชีวิตเราจะเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ และได้รับอานิสงส์อันไม่มีประมาณ มหากุศลจะบังเกิดขึ้นทุกๆ ขั้นตอนที่เราสร้างบารมี เพราะใจเราหยั่งลงสู่กุศลธรรมตรงกลางกายธรรม ธรรมกายเป็นต้นแหล่งแห่งความบริสุทธิ์ทั้งปวง  ดังนั้นการได้เข้าถึงธรรมกาย จะทำให้ชีวิตของเราก้าวไปสู่ความสมบูรณ์ได้ในที่สุด เราจึงควรที่จะปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกายให้ได้
 
     มีวาระพระบาลี ในมหากปิชาดกความว่า
 
          “ตํ มํ น ตปฺปตี พนฺโธ    วโธ เม น ตเปสฺสติ
           สุขมาหริตํ เตสํ           เยสํ รชฺชมการยึ
 
     การผูกมัดไว้ ไม่เผาลนข้าพระองค์ให้เดือดร้อน ผู้ฆ่าก็จักไม่ให้ข้าพระองค์เดือดร้อน เพราะข้าพระองค์ได้นำความสุขมาให้แก่เหล่าวานร ที่ให้ข้าพระองค์ครองความเป็นใหญ่”
 
     ชีวิตของพระบรมโพธิสัตว์เจ้าของเราทั้งหลาย เป็นชีวิตที่เสียสละอย่างใหญ่หลวง ท่านทุ่มเทสร้างบารมีมาเป็นอสงไขยภพ อสงไขยชาติไม่ถ้วนเพื่อที่จะบ่มบารมีให้แก่รอบ จนกว่าจะได้บรรลุพระโพธิญาณ ในแต่ละภพละชาติที่เกิดมานั้น ท่านจะยอมสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิตของตนเองเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม ในหัวใจของพระโพธิสัตว์จึงเต็มเปี่ยมด้วยมหากรุณาอย่างไม่มีประมาณ แม้จะรวมน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ก็ไม่อาจที่จะเปรียบเทียบกับสายธารแห่งน้ำใจของพระบรมโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายได้
 
     พวกเราทุกๆ คน จึงควรภาคภูมิใจในพระบรมศาสดาของพวกเรา ที่ท่านเป็นแบบอย่างตั้งแต่จรณะที่เพียบพร้อมงดงาม เปี่ยมไปด้วยมหากรุณาที่ทรงบำเพ็ญพุทธกิจโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก และในอดีตชาติที่ยังสร้างบารมีอยู่นั้น พระองค์ยังมีชีวิตที่งดงามควรค่าแก่การเคารพบูชาอย่างยิ่ง ทรงเป็นผู้นำที่มีความเสียสละอย่างใหญ่หลวงเพื่อประโยชน์สุขของหมู่คณะ โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น
 
     * มีอยู่พระชาติหนึ่งที่พระโพธิสัตว์เกิดในกำเนิดของวานร ท่านเป็นวานรที่มีบุญมาก มีร่างกายที่สูงใหญ่กว่าวานรธรรมดาหลายเท่า และยังมีกำลังวังชามาก มากเท่ากับพละกำลังของช้างถึง ๕ เชือกรวมกัน นอกจากนี้ยังมีวานร ๘๐,๐๐๐ ตัวเป็นบริวารอีกด้วย
 
     พระโพธิสัตว์และบริวารอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ซึ่งในสถานที่ที่อาศัยอยู่นั้น มีต้นมะม่วงต้นหนึ่ง เป็นต้นมะม่วงที่ใหญ่โตมาก มีใบดกหนา สูงเสียดยอดเขา ขึ้นอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ผลของมะม่วงต้นนี้อร่อยมาก หวานหอมมีกลิ่นและรสคล้ายผลไม้ทิพย์บนสรวงสวรรค์ อีกทั้งยังมีผลที่ใหญ่โตมาก ขนาดประมาณหม้อใบใหญ่ ผลของมะม่วงบางส่วนได้ร่วงหล่นลงพื้นดิน บางส่วนหล่นลงในแม่น้ำ บางส่วนหล่นลงระหว่างกลางต้นไม้  พระโพธิสัตว์พร้อมกับฝูงบริวารทั้งหลาย ต่างพากันมากินผลมะม่วงที่ต้นมะม่วงนั้นเป็นประจำ
 
     วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เห็นการหล่นของผลมะม่วงนั้นก็คิดว่า สักวันหนึ่งภัยจะเกิดขึ้นกับพวกตนเพราะอาศัยผลที่หล่นลงในน้ำ จึงออกคำสั่งให้วานรทั้งหลายกินผลไม้ที่กิ่งซึ่งยื่นออกไปในแม่น้ำให้หมด ไม่ให้เหลือแม้แต่ผลเดียวตั้งแต่เวลาที่ออกผลเท่าเมล็ดถั่วเขียว  แต่แม้จะระวังอย่างดีก็ยังมีผลหนึ่งที่หลุดรอดสายตาของเหล่าวานรไปได้
 
     ผลมะม่วงสุกผลหนึ่งซ่อนอยู่ในรังมดแดง เมื่อสุกงอมเต็มที่ก็หล่นลงในแม่น้ำ กระแสน้ำได้พัดไปตามสายน้ำลอยไปสู่อาณาเขตของมนุษย์ ขณะนั้นพระเจ้าพาราณสีกำลังสรงน้ำที่แม่น้ำ  ซึ่งทุกครั้งที่พระองค์ลงสรงน้ำจะทรงให้กั้นข่ายเพื่อกันอันตรายทั้งหลาย มะม่วงผลนั้นลอยตามกระแสน้ำมาติดตาข่ายของพระราชาในขณะนั้นเอง
 
     หลังจากพระราชาเสด็จสรงสนานแล้วก็เสด็จกลับ ชาวประมงต่างช่วยกันยกตาข่ายขึ้น เห็นผลมะม่วงสุกผลนั้นแต่ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นผลไม้ชนิดใด เพราะมีผลที่ใหญ่โตมโหฬารมาก จึงได้นำไปถวายพระราชา  เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นก็ตรัสถามว่า “นี่เป็นผลไม้ชนิดไหนกัน ทำไมมีลักษณะที่ผิดแปลกจากชนิดอื่นจริงๆ ใครพอจะรู้บ้าง” ชาวประมงพากันกราบทูลว่า “พวกข้าพระองค์วันๆ หนึ่งได้แต่ล่องเรือจับปลา เรื่องเกี่ยวกับผลหมากรากไม้ไม่ค่อยมีผู้ใดสันทัด แต่พรานไพรผู้เจนจัดในการท่องป่าคงจะรู้จักพระเจ้าข้า”
 
     พระราชาจึงมีพระราชโองการให้พรานไพรเข้าเฝ้าเพื่อตรัสถาม  เมื่อรู้ว่าเป็นผลมะม่วงสุก พระองค์ทรงใช้พระแสงกริชเฉือนให้พรานไพรนั้นชิมก่อน  ครั้นเห็นว่าปลอดภัย พระองค์จึงเสวย อีกทั้งได้พระราชทานให้พระสนม และมหาอำมาตย์ทั้งหลายได้ชิมโดยทั่วกัน รสมะม่วงนั้นได้แผ่ซ่านไปทั่วสรีระของพระราชา
 
     พระองค์ทรงติดใจในรสชาติของมะม่วงนั้นจึงได้ตรัสถามพรานไพรว่า “ท่านรู้หรือไม่ว่าต้นมะม่วงนี้อยู่ที่ไหน” พรานป่ากราบทูลว่า “อยู่ที่ป่าหิมพานต์พระเจ้าข้า” ด้วยความที่ชอบใจในรส  พระราชาจึงรับสั่งให้ต่อเรือพิเศษเสด็จล่องเรือทวนกระแสน้ำไปตามทิศที่พรานชี้แนะ ล่องเรือทวนกระแสน้ำไปหลายวัน เพราะพรานไม่ได้บอกว่าต้องล่องเรือไปกี่วันจึงจะถึง
 
     จนกระทั่งถึงริมฝั่งที่มหาอัมพรุกขะต้นนั้นตั้งตระหง่านอยู่ พรานไพรจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาบพิตร นี่แหละคือต้นมะม่วงที่พระองค์แสวงหา”  พระราชารับสั่งให้ทอดสมอเรือ และเสด็จไปที่ต้นไม้นั้น โดยมีข้าราชบริพารตามเสด็จ จัดที่บรรทมที่ใต้ควงไม้นั้น   ครั้นเสวยผลมะม่วงที่มีรสโอชาและเสวยพระกระยาหารมีรสเลิศนานาชนิดแล้วบรรทมหลับไป ส่วนราชบุรุษทั้งหลายพากันวางยามก่อกองไฟไว้รอบๆ
 
     เมื่อมวลมนุษย์พากันหลับหมดแล้ว ในเวลาเที่ยงคืนพระมหาสัตว์พร้อมทั้งบริวารทั้ง ๘๐,๐๐๐ ตัวพากันมากินผลไม้ โดยไต่จากกิ่งหนึ่งไปยังอีกกิ่งหนึ่ง  พระราชาทรงได้ยินเสียงก็ตื่นจากบรรทม และปลุกข้าราชบริพารให้ตื่นขึ้นพลางรับสั่งว่า “พรุ่งนี้พวกเจ้าจงเรียกพวกแม่นธนูมาแล้วให้ล้อมต้นมะม่วงนี้ไว้ และให้ยิงวานรพวกนี้ให้หมดสิ้น เราจะกินเนื้อวานรกับมะม่วงในวันพรุ่งนี้”
 
     จากนั้น นักแม่นธนูทั้งหลายพากันล้อมต้นมะม่วงนั้นและก็ขึ้นลูกศรไว้ เหล่าวานรทั้งหลายรู้ตัวว่าถูกล้อมแล้ว รีบพากันเข้าไปรายงานพระโพธิสัตว์ว่า “ตอนนี้พวกเราทั้งหลายถูกนายขมังธนูล้อมไว้หมดแล้ว”  พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น ด้วยความที่เป็นหัวหน้าที่มีจิตใจหนักแน่นเปี่ยมล้นด้วยความเสียสละ กอปรกับมีปัญญา จึงกล่าวปลอบโยนว่า “ท่านทั้งหลายอย่ากังวลไปเลย เราจะให้ชีวิตแก่พวกท่านทั้งหลายเอง”  พระโพธิสัตว์รีบวิ่งไปยังกิ่งไม้ที่ชี้ไปตรงแม่น้ำคงคา และกระโดดพุ่งไปเต็มกำลัง ไปไกลได้ประมาณถึงชั่วร้อยคันธนู เพื่อให้ตกลงไปที่พุ่มไม้แห่งหนึ่ง จากนั้นได้เลือกหาเครือหวายที่ยาวพอที่จะทำให้เหล่าวานรไต่หนีไปได้  เมื่อหวายที่ตามต้องการแล้วจึงกัดโคน และกำหนดว่าช่วงนี้สำหรับผูกที่ต้นไม้ ช่วงนี้ขึงไปในอากาศ  เมื่อกะช่วงเช่นนี้ จึงเอาปลายหวายด้านหนึ่งผูกไว้ที่ต้นไม้ที่แข็งแรงต้นหนึ่ง ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งก็ผูกกับสะเอวของตน จากนั้นได้กระโดดกลับไปที่ต้นมะม่วงเพื่อผูกหวายอีกด้านหนึ่งกับต้นมะม่วง จะได้ทำเส้นทางให้กับบริวารทั้งหลายเพื่อไต่หนีไปได้อย่างปลอดภัย
 
     สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง พญาวานรลืมกะช่วงระยะที่ผูกสะเอวของตนไว้ เส้นหวายนั้นไม่พอเพียงที่จะมัดกับต้นมะม่วงอีกด้านหนึ่งได้ จึงใช้แขนที่ทรงพลังของตนยึดต้นมะม่วงไว้แน่นพลางบอกบริวารว่า “ท่านทั้งหลายจงเหยียบหลังของเราไต่ไปอย่างปลอดภัยตามเครือหวายนี้โดยเร็วเถิด” 
 
     บริวารทั้งปวงได้ฟังดังนั้นจึงไหว้ขอขมา และไต่ไปตามตัวพระโพธิสัตว์ ข้ามไปอย่างปลอดภัย เหลือเพียงตัวสุดท้ายตัวเดียวเท่านั้นที่แอบอิจฉาพระโพธิสัตว์ คอยหาโอกาสทำร้ายตลอดมาโดยที่ท่านไม่รู้ตัว  เมื่อได้โอกาสเช่นนั้น วานรพาลจึงกระโดดลงเหยียบหลังพระมหาสัตว์ด้วยกำลังที่รวดเร็ว ตรงที่หัวใจอย่างแรง และได้ไต่หลบหนีไป  พระโพธิสัตว์ถูกวานรพาลกระทำเช่นนั้นถึงกับหัวใจแตกได้รับทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส
 
     พระราชาบรรทมยังไม่หลับ ทรงเห็นเหตุการณ์ตลอดถึงกับดำริว่า วานรตัวนี้เป็นผู้ที่เสียสละอย่างยิ่งใหญ่ แม้จะเป็นสัตว์เดรัจฉานก็สามารถทำความสวัสดีแก่บริวารโดยไม่คำนึงถึงชีวิตของตนเอง ไม่ควรที่จะให้ขุนกระบี่นี้พินาศไป จึงรับสั่งให้นำพญาวานรลงมา คลุมด้วยผ้ากาสาวพัสตร์บนหลัง ให้อาบน้ำในแม่น้ำคงคา ดื่มน้ำอ้อย แล้วเอาน้ำมันที่หุงถึงพันครั้งชะโลมบนหลัง ให้นอนบนที่นอนที่ปูด้วยหนังแพะ
 
     ส่วนพระโพธิสัตว์มีมหากรุณาที่จะกล่าวเตือนพระราชาจึงพูดว่า “มหาบพิตร ข้าพระองค์ได้ทำหน้าที่ของหัวหน้าแล้ว ธรรมดาของกษัตริย์ ควรแสวงหาความสุขให้แก่รัฐ ยานพาหนะ กำลังพล และนิคมทั้งหลาย แล้วปกครองโดยธรรม”
 
     เมื่อกล่าวถึงตอนนี้ พระโพธิสัตว์ไม่อาจทนต่อความเจ็บปวด ได้สิ้นใจตรงนั้นเอง  พระราชารู้สึกซาบซึ้งในคุณธรรมของพญาวานรจึงนำสรีระกลับไปในเมือง ให้ถวายพระเพลิงเหมือนกับกษัตริย์ และทรงให้สร้างสถูปเป็นอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์แห่งความดี เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชาวโลกสืบไป
 
     จากเรื่องนี้จะเห็นได้ว่า พระบรมโพธิสัตว์ของเรานั้น เป็นผู้มีความเสียสละอย่างใหญ่หลวง ยอมสละแม้กระทั่งชีวิตที่มีค่ามหาศาล เพื่อความผาสุกของหมู่คณะที่ร่วมสร้างบารมี นับเป็นบุญลาภอันประเสริฐของพวกเราทั้งหลายที่ได้มาพบกับพระธรรมคำสอนของพระองค์ผู้เป็นพระบรมศาสดา ผู้มีจรณะอันงดงามทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เราทั้งหลายในฐานะที่เป็นนักสร้างบารมี ให้ดูพระองค์เป็นแบบอย่าง ให้ก้าวตามรอยบาทของพระบรมศาสดาตามคำสอนของพระองค์ ชีวิตของพวกเราทุกๆ คนจะได้เข้าถึงความสุขที่ไม่มีประมาณอย่างแน่นอน

พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
 
* มก. มหากปิชาดก เล่ม ๕๙ หน้า ๓๓๒
    

http://goo.gl/09GSe


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related