พระธรรมคุณ

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันบุคคลผู้ปฏิบัติสามารถเห็นเองได้ ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรเรียกให้มาดู เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน https://dmc.tv/a7585

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 11 ส.ค. 2553 ] - [ ผู้อ่าน : 18288 ]
พระธรรมคุณ
 

 
     มนุษย์ทุกคนสามารถเพิ่มเติมความสุขความสำเร็จให้แก่ชีวิตของตนเองได้ ด้วยธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นสัจธรรมที่จะทำให้เข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งมวล ก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ผู้ประพฤติปฏิบัติได้ทุกกาลสมัย ยิ่งปฏิบัติมาก มีความบริสุทธิ์มาก ยิ่งให้ผลเป็นความสุข ความสำเร็จมาก แต่หากบุคคลใดละเลยการปฏิบัติ และการฟังธรรม เขาย่อมเสียโอกาสที่จะได้สัมผัสกับอมตธรรมอันทรงคุณค่า และอาจไม่มีโอกาสรู้ว่า เราเกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต
 
     ในบทสรรเสริญพระธรรมคุณ ที่พวกเราสวดอยู่บ่อยๆ ว่า
 
           “สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก อกาลิโก
            เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
 
     พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันบุคคลผู้ปฏิบัติสามารถเห็นเองได้ ให้ผลไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรเรียกให้มาดู เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน”
 
     สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว คือ ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้แล้วนำมาสั่งสอนสัตวโลก ผู้ใดประพฤติปฏิบัติตามก็จะได้เข้าถึงธรรมอันประเสริฐ และได้รับรสแห่งอมตธรรมซึ่งเป็นเลิศกว่ารสทั้งปวง คือ มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่มีทุกข์ใดๆ ทั้งสิ้น
 
     หนทางแห่งความสุขที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ว่า ให้มีความเห็นชอบ ความดำริชอบ กล่าววาจาชอบ ประกอบการงานชอบ หาเลี้ยงชีพโดยชอบ ทำความเพียรชอบ ตั้งสติไว้ชอบ และทำสมาธิ(Meditation)ชอบ ถ้าเราพิจารณาดูให้ดีจะเห็นว่าธรรมะเหล่านี้ ผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ จะอำนวยผลดีทั้งทางโลกและทางธรรม  ดังนั้น ธรรมะที่พระองค์ตรัสสอน จึงได้ชื่อว่า สวากขาตธรรม คือ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ไพเราะทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย
 
     สนฺทิฏฺฐิโก พระธรรมคำสอนของพระองค์นั้น บุคคลใดลงมือปฏิบัติสมควรแก่ธรรม ย่อมได้บรรลุ และเห็นได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องขึ้นต่อผู้อื่น ไม่ต้องเชื่อถ้อยคำของใคร เพราะธรรมะภายในไม่เหมือนสิ่งของที่คนมองเห็นแล้วชี้ให้ดูได้ ต้องอาศัยการหยุดใจ  เมื่อหยุดก็สว่าง  เมื่อสว่างก็เห็น เป็นการเห็นด้วยใจ เห็นด้วยธรรมจักษุ  เห็นได้ถูกต้องตรงไปตามความเป็นจริงของสิ่งที่มีอยู่จริง
 
     อกาลิโก รู้ได้โดยไม่จำกัดกาลเวลา ใจหยุดเมื่อไรก็เข้าถึงได้เมื่อนั้น ใจละเอียดถึงสภาวธรรมใด ย่อมเข้าใจสภาวธรรมนั้น และได้รับผลเสมอโดยไม่จำกัดเวลา
 
     เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู เพราะธรรมะของพระองค์เป็นของมีจริง และ ดีจริง ของสิ่งใดก็ตามถ้าไม่มีอยู่ หรือมีอยู่แต่ไม่ดีจริง ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรเรียกผู้อื่นมาดู แต่เพราะพระธรรมนี้ทั้งมีจริง และดีจริง  เมื่อผู้ใดปฏิบัติได้แล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่น่าจะเชิญชวนคนอื่นให้มาพิสูจน์ด้วยตนเอง
 
     โอปนยิโก  เมื่อปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ และได้พบของดี ของจริงแล้ว ก็ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ และถือปฏิบัติยิ่งๆ ขึ้นไป
 
     ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ ธรรมะของพระพุทธองค์นั้น บุคคลจะพึงรู้ได้เฉพาะตน ข้อนี้คล้ายกับ สนฺทิฏฺฐิโก ที่กล่าวแล้ว แต่ต่างกันที่ สนฺทิฏฺฐิโก กล่าวถึงอาการเห็น ส่วน ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ กล่าวถึงอาการรู้ คือ ผู้ปฏิบัติธรรม จะรู้ว่าธรรมะดีจริงอย่างไร  เมื่อปฏิบัติแล้วจะได้ผลเป็นอย่างไร ย่อมเกิดจากการปฏิบัติอย่างถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น ผู้อื่นจะพลอยรู้ด้วยไม่ได้ เพราะเป็นรสทางใจ
 
     หากใจของผู้ปฏิบัติเยือกเย็นเป็นสุขเพียงใด แม้จะนำไปเล่าให้ผู้อื่นฟัง ใจของผู้ฟังก็ไม่เย็นเป็นสุขตามที่เขาบอกเล่าได้ อุปมาเหมือนคนได้กินแกงชนิดหนึ่ง และมาเล่าให้เราฟังว่า อร่อยอย่างนั้นอย่างนี้ เราก็นึกไม่ออกว่า แกงที่เขาว่านั้นรสชาติเป็นอย่างไร จนกว่าจะได้ชิมด้วยตนเอง พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์นั้น นำประโยชน์สุขอันแท้จริงมาสู่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธา และปฏิบัติตามได้เสมอ ดังเรื่อง พระปิณฑปาติกเถระ
 
     * เมื่อครั้งพุทธกาล พระภิกษุจำนวน ๓๐ รูป ได้เข้าจำพรรษาอยู่บนเนินแห่งหนึ่งชื่อว่า ควรวาฬะ และทุกๆ ครึ่งเดือนที่เป็นวันอุโบสถ ท่านจะมาประชุมรวมกัน เพื่อฟังธรรม และสนทนาธรรมเรื่องมหาอริยวงศ์ ที่สรรเสริญการอยู่อย่างสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และการยินดีในการทำภาวนา
 
     วันหนึ่ง ขณะมีการแสดงธรรม พระปิณฑปาติกเถระเข้ามาฟังทีหลัง ท่านก็นั่งฟังอยู่ในที่กำบัง โดยไม่รู้ว่ามีงูพิษนอนขดอยู่ งูพิษได้ฉกกัดพระเถระที่ลำแข้งจนเนื้อหลุด ทำให้ท่านได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส แต่ท่านคิดว่า หากเราบอกเรื่องนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย การฟังธรรม และการแสดงธรรมก็จะยุติลง  เราเอง และภิกษุทั้งหลายก็จะไม่ได้ฟังธรรม จึงไม่ได้บอกใคร เพียงแต่จับงูใส่ย่าม ผูกปากย่ามวางไว้ และนั่งฟังธรรมต่อด้วยความเคารพเลื่อมใส ไม่ได้สนใจต่อความเจ็บปวดของร่างกาย และไม่ได้กลัวว่าพิษงูจะทำอันตรายถึงแก่ชีวิต
 
     ท่านนั่งฟังธรรมด้วยใจสงบนิ่งเยือกเย็น ดำรงสติตั้งมั่นอยู่ในกลางกาย มีปีติสุข ดื่มด่ำรสแห่งพระธรรมเทศนาอยู่ภายใน ถึงแม้ร่างกายภายนอกจะประสบกับทุกขเวทนา แต่จิตใจก็ไม่หวั่นไหว ได้หลบอยู่ในหลุมหลบภัยที่ดีที่สุด คือศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ มีธรรมปีติตลอดเวลาด้วยความเลื่อมใสในพระธรรม จวบจนรุ่งเช้า  เมื่อพระเถระแสดงธรรมจบลง พิษงูในร่างกายของพระปิณฑปาติกเถระ ก็พลันสงบลง และไหลออกจากบาดแผลลงสู่พื้นดิน เพราะจิตที่เลื่อมใสในพระธรรมคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจึงได้บอกเรื่องนี้แก่เพื่อนภิกษุแล้วปล่อยงูไป
 
     จะเห็นได้ว่า บัณฑิตในกาลก่อน ท่านตระหนักและซาบซึ้งในพระธรรมคุณ มีจิตใจฝักใฝ่ในการฟังธรรม และปฏิบัติธรรม รักธรรมะยิ่งกว่าชีวิต และในที่สุดชีวิตก็ได้รับความปลอดภัยพ้นจากอันตราย ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
 
          “เย จ โข สมฺมทกฺขาเต       ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน
           เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ        มจฺจุเธยฺยํ สุทุตฺตรํ

 
     ชนเหล่าใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยู ที่ข้ามได้แสนยาก”
 
     การแสดงความเคารพในพระธรรม ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นทางมาแห่งดวงปัญญาอันบริสุทธิ์  เมื่อมีการแสดงธรรม ณ ที่ใด ให้มีความกระตือรือร้นอยากจะไปฟัง ฟังธรรมด้วยความสงบสำรวม และตั้งใจ ไม่นั่งหลับ ไม่คุย และไม่คิดฟุ้งซ่านขณะฟังธรรม จะวางหนังสือธรรมะก็วางไว้ในที่สูง ที่เหมาะสม ปฏิบัติธรรมก็ปฏิบัติให้สม่ำเสมอ มีความเคารพในพระธรรม และเมื่อรู้ธรรมะแล้ว ก็ควรบอกกล่าวหรือสอนธรรมะนั้นด้วยความระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาด จะได้นำแสงประทีปแห่งธรรมไปจุดให้สว่างไสวในกลางใจของบุคคลรอบข้างต่อไป

พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
 
* มก. เรื่องพระปิณฑปาติกเถระ เล่ม ๓๔ หน้า ๑๙๖
 
 

http://goo.gl/vs2KD


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related