อานิสงส์รักษาอุโบสถศีลครึ่งวัน

กามแม้น้อย ก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มในกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียงเหล่านี้ จงมีแก่เรา กุลบุตรผู้ประกอบด้วยความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด https://dmc.tv/a12105

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 6 ก.ย. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18310 ]
อานิสงส์รักษาอุโบสถศีลครึ่งวัน
 
 
 
     ในชีวิตประจำวันเราต้องเหน็ดเหนื่อยกับภารกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน  เรื่องครอบครัวและเรื่องต่างๆ อีกจิปาถะ  ซึ่งเป็นของธรรมดาสำหรับชีวิตของผู้ครองเรือนที่ยังต้องทำอย่างนี้ โอกาสที่จะบำเพ็ญเพียรเพื่อมุ่งทำความบริสุทธิ์บริบูรณ์ให้บังเกิดขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่หาเวลาได้ยากยิ่ง  ดังนั้นเราต้องรู้จักบริหารเวลา จัดสรรเวลาเพื่อการปฏิบัติธรรม เพราะช่วงเวลาแห่งการทำใจหยุดใจนิ่งนี้  เป็นช่วงเวลาที่ทรงคุณค่าและก่อให้เกิดบุญกุศลอย่างมหาศาล ซึ่งถือได้ว่า เราเป็นผู้ฉลาดและไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต  บุญบารมีของเราก็จะเพิ่มพูนมากขึ้นไปเรื่อยๆ จนเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ได้ในที่สุด
 
มีวาระพระบาลีที่ปรากฏอยู่ใน คังคมาลชาดก ความว่า
 
                         “อปฺปาปิ กามา น อลํ      พหูหิปิ  น ตปฺปติ
                          อโห พาลานลปนา        ปฏิวชฺเชถ ชคฺคโต
 
     กามแม้น้อย ก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มในกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียงเหล่านี้ จงมีแก่เรา กุลบุตรผู้ประกอบด้วยความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด”
 
     เบญจกามคุณคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันเป็นบ่วงแห่งมารที่คอยเหนี่ยวรั้งสรรพสัตว์ให้ตกอยู่ในอำนาจ ทำให้ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏไม่มีที่สิ้นสุด  สาเหตุใหญ่นี้ก็เป็นเพราะกิเลสทั้งหลายมีกิเลสกามเป็นต้น  กามเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพที่สุดอย่างหนึ่งของพญามารทีเดียว  ใครที่ไม่รู้เท่าทันเหยื่อล่อตรงนี้แล้ว  ชีวิตก็เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน มีความคับแค้นใจ  การที่เราจะฝ่าด่านความยินดีตรงนี้ไปได้นั้น  ก็ต้องหมั่นรักษาใจด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างสมํ่าเสมอ  หมั่นทำใจของเราให้อยู่ตรงแหล่งแห่งความบริสุทธิ์คือศูนย์กลางกายฐานที่ ๗  อยู่ ณ กลางตัวของเราเอง ให้ชำระใจให้สะอาดบริสุทธิ์  ดำเนินตามปฏิปทาของพระอริยเจ้าทั้งหลายในอดีต
 
     บัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อน ต่างก็เห็นโทษของกาม ว่าเป็นบ่วงที่ทำให้ไปสู่อายตนนิพพานได้เนิ่นช้า  จึงแสวงหาหนทางเว้นขาด  ด้วยการรักษาอุโบสถกรรม การรักษาอุโบสถนี้ ก็คือการสมาทานรักษาศีลแปดในวันพระ ๘ คํ่า หรือ ๑๔-๑๕ คํ่า  ซึ่งเป็นบุญใหญ่ที่มีอานิสงส์มาก  เพราะเป็นบุญที่จะส่งผลให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานได้อย่างรวดเร็ว  แม้ว่าจะยังไม่สามารถบรรลุพระนิพพาน  แต่ผลแห่งการรักษาอุโบถก็จะส่งผลให้ได้มหาสมบัติทั้งหลาย และยังเป็นพลวปัจจัยต่อไปในภายภาคหน้า  บุญในตัวจะคอยตักเตือนบุคคลนั้นให้เป็นผู้ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท 
 
     แม้พระบรมศาสดาเองก็ทรงให้ความสำคัญกับบุญชนิดนี้มาก ซึ่งมีอยู่ครั้งหนึ่งในช่วงที่พระองค์ประทับอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร  ได้ตรัสเรียกอุบาสกผู้ที่รักษาอุโบสถมาแล้วประทานโอวาทว่า “ดูก่อนอุบาสก การที่พวกเธอพากันรักษาอุโบสถกรรมนี้ เป็นเรื่องที่ดีมาก คนที่รักษาอุโบสถต้องเป็นผู้ที่ควรให้ทาน ไม่โกรธ เจริญเมตตาอยู่ตลอดเวลา บัณฑิตในกาลก่อนเอง แม้รักษาเพียงครึ่งวันเท่านั้นก็ได้สมบัติใหญ่อย่างน่าอัศจรรย์”  อุบาสกทั้งหลายปรารถนาจะฟังเรื่องนั้นจึงพากันทูลอาราธนา  พระศาสดาก็ทรงนำอดีตมาตรัสเล่าว่า
 
     * มีอยู่ชาติหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลคนยากจนเข็ญใจ ดำรงชีวิตอยู่อย่างลำบาก  ท่านได้ไปสมัครทำงานรับจ้างที่บ้านของเศรษฐีท่านหนึ่ง ชื่อว่า สุจิปริวารเศรษฐี ท่านเศรษฐีเป็นคนที่ดีมาก มีจิตใจที่น้อมไปในการสั่งสมบุญกุศล  คือเมื่อท่านเศรษฐีจะรับผู้ใดก็ตามเข้ามาทำงานก็จะพูดว่า ในบ้านหลังนี้จะต้องรักษาศีลกันทุกคน  ใครที่สามารถรักษาศีลได้  ก็มาทำงานได้  จากนั้นก็ให้คนงานสมาทานศีล แต่สำหรับพระโพธิสัตว์นั้น ท่านเศรษฐีไม่ได้บอกให้รักษาศีล กล่าวแต่เพียงว่า  ดีแล้วพ่อ ท่านจงทำงานเถิด  พระโพธิสัตว์เป็นคนที่ว่าง่าย ขยันขันแข็ง ทุ่มเทชีวิตจิตใจทำงานให้ท่านเศรษฐีโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบากเลย
 
     วันอุโบสถวันหนึ่ง  ท่านเศรษฐีจึงให้นางทาสีหุงข้าวปลาอาหารแต่เช้าตรู่โดยสั่งว่า "วันนี้เป็นวันอุโบสถ  ให้เจ้ารีบหุงข้าวสำหรับพวกเราทั้งหมด  เมื่อรับประทานอาหารแล้วจะได้รักษาอุโบสถกัน"  เมื่อได้รับคำสั่งอย่างนี้ นางทาสีก็ได้จัดเตรียมอาหาร  วันนั้นพระโพธิสัตว์ตื่นแต่เช้าตรู่ออกไปทำงาน โดยที่ไม่มีใครบอกเลยว่า วันนี้เป็นวันรักษาอุโบสถ  ท่านก็ทำงานไปตามปกติ  เมื่อฝ่ายที่รักษาอุโบสถทานอาหารแล้วต่างก็ไปที่อยู่ของตัวเอง  ต่างคนต่างก็นึกถึงศีลของตัวเอง  
 
     ส่วนพระโพธิสัตว์กลับจากที่ทำงานในเวลาพระอาทิตย์ตกแล้ว เตรียมที่จะทานอาหารที่เขาเตรียมไว้ให้  แต่พระโพธิสัตว์สังเกตเห็นไม่มีใครมาทานอาหารร่วมด้วย  ก็เอ่ยปากถามว่า “ปกติแล้วเวลาเย็นมีแต่เสียงอื้ออึง วันนี้ ทำไมคนอื่นๆ หายไปไหนกันหมด”  พอได้ฟังว่า วันนี้เป็นวันอุโบสถ  ทุกๆ คนจึงรักษาอุโบสถศีลกัน  พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า เราผู้เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ไม่มีศีล ควรที่เราจะรักษาอุโบสถศีล  จึงเข้าไปหาท่านเศรษฐีพร้อมกับขอสมาทานอุโบสถศีล
 
     ท่านเศรษฐีเมื่อฟังอย่างนั้นก็พูดว่า “หากท่านปรารถนาจะรักษาอุโบสถแล้วละก็ จะได้เพียงแค่กึ่งอุโบสถเท่านั้น เพราะเลยเวลามาแล้ว”  พระโพธิสัตว์มีใจที่เปี่ยมด้วยความศรัทธาเต็มที่ แม้จะทราบอย่างนั้นท่านก็ตอบตกลงอย่างไม่ลังเล  หลังจากได้สมาทานอุโบสถแล้วก็เข้าไปสู่บ้านของตนนอนนึกถึงศีลอยู่  พอล่วงถึงปัจฉิมยามด้วยความอ่อนเพลียจากการทำงานหนักแถมทั้งวันยังไม่ได้ทานอาหารอีก  ลมในท้องก็เกิดขึ้นกับพระโพธิสัตว์  แม้ทุกๆ คนจะช่วยกันประกอบยามารักษาอย่างไร พระโพธิสัตว์ก็ไม่ยอมดื่มด้วยคิดว่า จะทำลายอุโบสถ เวทนาแรงกล้าก็บังเกิดขึ้นกับท่าน  
 
     เวลารุ่งเช้า พระโพธิสัตว์ไม่สามารถควบคุมสติได้ คนทั้งหลายก็พากันหามท่านให้ไปนอนอยู่ที่โรงเก็บอาหาร  ในขณะนั้นเอง พระเจ้าพาราณสีทรงเวียนประทักษิณรอบพระนครด้วยบริวารใหญ่  ได้เสด็จมาถึงที่ตรงนั้นพอดี  เมื่อพระโพธิสัตว์เห็นสมบัติของพระราชาแล้ว ก็เกิดอยากจะอยู่ในสิริราชสมบัติ  ช่วงเวลาเดียวกันนั้น ท่านไม่สามารถอดทนต่อทุกขเวทนาได้ จึงหมดลมหายใจเสียชีวิตไป ได้เข้าไปอยู่ในพระครรภ์ของพระมเหสีของพระเจ้าพาราณสีทันที
 
     หลังจากพระโพธิสัตว์ประสูติ พระญาติทั้งหลายก็ได้พระนามว่า อุทัยกุมาร  เมื่อพระองค์เติบใหญ่ขึ้น ก็สามารถระลึกถึงบุพพกรรมหนหลังที่ตัวเองทำไว้เมื่อชาติที่แล้วจึงได้เปล่งอุทานว่า “การที่เราได้บังเกิดเป็นพระเจ้าอุทัยกุมารถึงความเป็นใหญ่ นี้เป็นผลแห่งกรรมมีประมาณน้อยของเรา”  พระกุมารมักเปล่งอุทานอย่างนี้อยู่เสมอ  ทำให้บุคคลรอบข้าง ต่างก็สงสัยไปตามๆ กัน  แต่ก็ยังไม่มีผู้ใดกล้าทูลถาม  ครั้นพระบิดาสวรรคตแล้ว พระอุทัยกุมารก็เสด็จครองราชสมบัติแทน  แม้ในวันขึ้นครองราชย์นี้ พระเจ้าอุทัยจอมราชาก็เปล่งอุทานอย่างเดิมอีก  ทำให้ข้าราชบริพารต่างก็พากันสงสัย  แต่ยังไม่มีใครกล้าทูลถามพระองค์อีกเช่นเคย
 
     จนกระทั่ง ในวันหนึ่ง พระมเหสีได้ทูลถามการอุทานนั้น  พระองค์ก็ยังนิ่งๆ ไม่ได้ตรัสบอกอะไร พระองค์มีช่างกัลบกคนหนึ่งคอยถวายการแต่งพระมัสสุชื่อว่า คังคมาละ  นายกัลบกนั้นเมื่อจะแต่งพระมัสสุของพระราชา ได้ใช้มีดโกนก่อนแล้วจึงใช้แหนบถอนพระโลมา เวลาที่ใช้มีดโกน พระองค์ก็มีความสุขดีแต่เวลาที่ใช้แหนบพระราชาจะรู้สึกเจ็บ
 
     วันหนึ่งพระองค์ก็บ่นกับพระราชเทวีว่า “ช่างกัลบกของเรานี้ไม่ฉลาดเอาเสียเลย”  พระราชเทวีเลยทูลถามว่า “พระองค์ต้องการให้ช่างกัลบกทำอย่างไรเล่า”  พระราชาก็ตรัสว่า “เขาควรถอนพระโลมาก่อนแล้วก็ค่อยใช้มีดโกน”  พระราชเทวีจึงนำเรื่องที่พระราชาตรัสนั้นมาบอกช่างกัลบก  และตรัสบอกให้นายคังคมาละทูลถามถึงการอุทานนั้นในคราวที่พระราชาสบายพระทัย  นายคังคมาละก็รับคำพระราชเทวี
 
     ในวันหนึ่ง หลังจากที่แต่งพระมัสสุเสร็จแล้ว  และพระราชาทรงมีความสุขเป็นพิเศษเพราะไม่รู้สึกเจ็บแต่อย่างใด จึงประทานพรแก่นายคังคมาละว่า วันนี้ ท่านทำให้เราพอใจ ท่านอยากจะได้อะไรก็บอกมาเถิด เมื่อได้โอกาสอย่างนี้ช่างกัลบกก็ได้ทูลถามถึงการอุทานนั้น  พระราชาผู้ที่ไม่เคยเปิดเผยเรื่องราวอย่างนี้มาก่อน  แต่เมื่อลั่นวาจาแล้วก็ไม่อาจคืนคำได้ พระองค์จึงเล่าว่า "ดูก่อนคังคมาละ เรื่องราวของเรานี้น่าอัศจรรย์นัก ที่เราได้ครอบครองมหาสมบัติใหญ่อย่างนี้ หาใช่ด้วยอานุภาพอย่างอื่นไม่ แต่เป็นผลแห่งการรักษาอุโบสถกรรมเพียงแค่ครึ่งวันเท่านั้น" แล้วก็ทรงเล่าเรื่องราวในอดีตให้ฟัง นายกัลบกเมื่อรับทราบอย่างนั้นก็คิดว่า พระราชาทรงรักษาอุโบสถแค่ครึ่งวันยังได้รับอานิสงส์ถึงเพียงนี้  เราควรออกบวชแสวงหาที่พึ่งให้กับตัวเองดีกว่า  จึงทูลลาพระราชาออกบวช ท้ายที่สุดก็ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ส่วนพระโพธิสัตว์ก็ไม่ประมาท ทรงครองราชย์โดยธรรมและสั่งสมบุญตลอดชีวิต เมื่อพระบรมศาสดาแสดงธรรมจบแล้ว ก็ตรัสสรุปว่า "ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย การอยู่รักษาอุโบสถ เป็นสิ่งประเสริฐที่ควรทำอย่างยิ่ง"
 
     เราจะเห็นว่า อานิสงส์แห่งการรักษาอุโบสถศีล ด้วยการตั้งใจอบรมชำระกาย วาจา ใจ ของเราให้สะอาดบริสุทธิ์  แม้เพียงช่วงระยะเวลาสั้น ยังมีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ไพศาลเกินควรเกินคาดได้ สามารถส่งผลให้เราได้ทั้งมนุษย์สมบัติ ทิพยสมบัติ และท้ายที่สุดจะทำให้เราได้บรรลุมรรคผลนิพพาน  เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว พวกเราจึงควรตั้งใจมั่น รักษาศีล ๕ และอุโบสถศีลกันอย่าให้ด่างพร้อย เพราะเมื่อทำกันได้เช่นนี้ อานิสงส์ผลบุญต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว ก็จักเป็นของทุกท่านเช่นกัน อันเนื่องมาจากการกระทำอันถูกต้องดีงามแล้วนั่นเอง
 
พระธรรมเทศนาโดย: พระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย)
 
* มก. เล่ม ๕๙ หน้า ๕๑๒
 

http://goo.gl/LMV8C


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related