เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี (๙)

ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการสั่งสมบุญน้อยกว่าการสั่งสมทรัพย์ เพราะเราอยู่ในยุคสมัยของโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์วิ่งตามกระแสวัตถุ https://dmc.tv/a10381

บทความธรรมะ Dhamma Articles > ธรรมะเพื่อประชาชน
[ 9 มี.ค. 2554 ] - [ ผู้อ่าน : 18267 ]
 
 

 เนมิราชชาดก บำเพ็ญอธิษฐานบารมี (๙)

ปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักให้ความสำคัญกับการสั่งสมบุญน้อยกว่าการสั่งสมทรัพย์ เพราะเราอยู่ในยุคสมัยของโลกาภิวัฒน์ที่มนุษย์วิ่งตามกระแสวัตถุนิยม แต่ดูเหมือนว่าแม้จะมีสมบัตินอกตัวมากมาย

 
        แต่ความทุกข์ทั้งหลายก็ยังคงอยู่ ผู้รู้ทั้งหลายท่านสอนว่า ความสุขไม่ได้อยู่ที่มีสมบัติภายนอกแต่อยู่ที่ใจ โดยเฉพาะใจที่สะอาดบริสุทธิ์หยุดนิ่ง  เมื่อใดที่เราน้อมนำใจกลับมาไว้ที่ตั้งดั้งเดิมของใจ คือ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ หยุดนิ่ง ณ ที่ตรงนั้นได้อย่างสนิทสมบูรณ์  เมื่อนั้นเราจะเข้าถึงแหล่งกำเนิดแห่งความสุข และความบริสุทธิ์ ได้พบที่พึ่งที่ระลึกภายใน คือ พระรัตนตรัยนั่นเอง
 
มีธรรมภาษิตที่ปรากฏใน มัจฉริสูตร ว่า
   “เต มเตสุ น มิยฺยนฺติ  อทฺธานํว สหาวชํ
อปฺปสฺมึ เย ปเวจฺฉนฺติ  เอส ธมฺโม สนนฺตโน
อปฺปเสฺมเก ปเวจฺฉนฺติ  พหุเนเก น ทิจฺฉเร
อปฺปสฺมา ทกฺขิณา ทินฺนา สหสฺเสน สมํ มิตา
 
        ชนเหล่าใด  เมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ เหมือนพวกเดินทางไกล ย่อมแบ่งของให้แก่พวกที่เดินทางร่วมกัน ชนเหล่านั้น  เมื่อชนอื่นตายแล้ว ก็ชื่อว่าย่อมไม่ตาย ธรรมนี้เป็นของบัณฑิตแต่ปางก่อน ชนพวกหนึ่งเมื่อของมีน้อยก็แบ่งให้ ชนพวกหนึ่งมีของมากก็ไม่ให้ ทักษิณาที่ให้แต่ของน้อย นับเสมอด้วยพัน”
การสะสมทรัพย์เป็นเพียงปัจจัยเกื้อหนุนให้เรามีความสุขในภพชาตินี้ แต่การสั่งสมบุญจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เรามีความสุขไปทุกภพทุกชาติ สิ่งดีๆที่เราได้มาในปัจจุบัน นอกจากความรู้และความสามารถแล้ว บุญเป็นสิ่งสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จทุกอย่าง ผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงหมั่นสั่งสมบุญอยู่เป็นนิตย์ ชีวิตของผู้ให้กับผู้ไม่ให้ต่างกันมาก คือ คนตระหนี่แม้มีของมากก็ไม่อยากให้ ส่วนทานบดีแม้มีของน้อยก็ให้น้อย มีมากก็ให้มาก ให้แล้วก็อยากให้อีก ส่วนมีแล้วจะไม่ให้เลยนั้น ไม่ใช่วิสัยของทานบดีผู้เป็นบัณฑิต เพราะใจของผู้ให้จะชุ่มด้วยบุญกว้างใหญ่ไพศาล เหมือนมหาสมุทรที่ไม่เคยอิ่มด้วยน้ำ การให้เป็นบันไดก้าวสำคัญ สำหรับเดินทางไกลไปสู่สุคติโลกสวรรค์
 
        ดังเรื่องของเหล่าทวยเทพผู้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ ได้เล่าถึงบุพกรรมของตนให้พระเจ้าเนมิราชได้รับฟัง ซึ่งเรื่องของพระองค์ หลวงพ่อได้นำมาเล่าติดต่อกันหลายตอน ทุกๆ เหตุการณ์ล้วนเป็นสิ่งที่พวกเราควรศึกษา เพื่อได้ข้อคิด เป็นกำลังใจในการสร้างบารมีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปถึงตอนที่เทวดาในเทวโลกได้ประชุมกันในสุธรรมาเทวสภา รอคอยการมาของพระเจ้าเนมิราช ท้าวสักกเทวราชทรงใคร่ครวญดูว่า ทำไมหนอ มาตลีจึงมาช้ากว่าปกติ ก็รู้ว่า มาตลีเทพบุตรพาท่านไปชมนรกขุมต่างๆ แต่การเที่ยวเมืองนรกนั้น หากจะตรวจดูให้หมด แม้หมดอายุขัยของพระเจ้าเนมิราช ยังไม่สามารถสำรวจได้หมด เพราะนรกแต่ละขุมใหญ่โตมโหฬาร อีกทั้งมีขุมบริวารมากมาย  เพราะฉะนั้น พระองค์จึงส่งเทพบุตรอีกองค์หนึ่ง ให้ไปตามมาตลีเทพบุตรมาเข้าเฝ้าโดยด่วนเทพบุตรองค์นั้นรีบเหาะไปแจ้งมาตลีเทพบุตร มาตลีรีบนำเสด็จพระเจ้าเนมิราชไปยังสำนักของท้าวสักกะ ขณะที่ราชรถกำลังมุ่งหน้าสู่เทวโลกนั้น พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานที่ประดิษฐานอยู่ในอากาศของเทพธิดาท่านหนึ่ง มียอด ๕ ยอด ทั้งปราสาททำด้วยแก้วมณี กว้าง ๑๒ โยชน์ ประดับด้วยเครื่องอลังการมากมาย สมบูรณ์ด้วยอุทยานและสระโบกขรณี มีต้นกัลปพฤกษ์แวดล้อม และได้ทอดพระเนตรเห็นเทพธิดานั้นนั่งอยู่บนรัตนะไสยาสน์ภายในเรือนยอด หมู่อัปสร ๑,๐๐๐ นาง แวดล้อม เปิดมณีสีหบัญชรแลดูภายนอกด้วยใบหน้าที่อิ่มเอิบเบิกบาน พระองค์จึงตรัสถามถึงบุพกรรมของนางว่าได้ทำบุญอะไรไว้
 
        มาตลีเทพสารถีทูลว่า “เทพธิดาชื่อ วรุณี  เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกเป็นลูกของนางทาสีเกิดในบ้านของพราหมณ์ นางมีจิตเลื่อมใสต่อภิกษุสงฆ์ที่บิณฑบาตยามเช้า จึงนิมนต์ให้นั่งในบ้าน และได้ถวายภัตตาหารโดยเคารพ อีกทั้งถวายสิ่งของของตนเล็กๆ น้อยๆ แต่ถวายด้วยความศรัทธาที่เต็มเปี่ยม ด้วยอานิสงส์แห่งการบริจาคทานเพียงเล็กน้อย แต่เปี่ยมล้นด้วยศรัทธาในครั้งนั้น นางจึงได้มาบันเทิงอยู่ในวิมานอันรุ่งเรืองสว่างไสวแห่งนี้”ตอบเช่นนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีได้ขับราชรถต่อไป พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานทองทั้ง ๗ หลัง และสิริสมบัติของเทพบุตรองค์หนึ่ง วิมานทั้ง ๗ นี้ โชติช่วงสว่างไสวเพราะบุญญานุภาพตกแต่ง ส่องแสงสว่างดั่งดวงอาทิตย์ เทพบุตรในวิมานนั้นมีฤทธิ์มาก ประดับสรรพอาภรณ์ มีหมู่เทพธิดาแวดล้อม ผลัดเปลี่ยนเวียนวนอยู่รอบวิมานทั้ง ๗ พระเจ้าเนมิราชทรงเห็นแล้วทรงเกิดความอัศจรรย์ จึงตรัสถามถึงบุพกรรมในอดีตของเทพตนนั้น ว่าได้ทำบุญอะไรไว้มาตลีเทพสารถีทูลว่า “ในกาลแห่งพระกัสสปทศพล เทพบุตรองค์นี้เคยเป็นคฤหบดีชื่อโสณทินนะ เป็นทานบดีในนิคมแห่งหนึ่งในกาสิกรัฐ ได้ให้สร้างวิหาร ๗ หลัง แด่บรรพชิต ได้ปฏิบัติบำรุงภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๗ หลัง นั้นด้วยปัจจัย ๔ โดยความเคารพนอบน้อม ได้บริจาคผ้านุ่งผ้าห่ม ภัตตาหาร เสนาสนะ ประทีปโคมไฟ แด่ท่านผู้ซื่อตรงด้วยจิตเลื่อมใส จากนั้นได้รักษาอุโบสถศีลในวันดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และปาฏิหาริยปักษ์ ศีลของอุบาสกนั้นไม่เคยด่างพร้อย ด้วยอานิสงส์นั้น ทำให้อุบาสกท่านนี้ได้มาบังเกิดในสวรรค์ บันเทิงอยู่ในวิมานทองแห่งนี้”
 
        ครั้นกล่าวบุพกรรมของโสณทินนเทพบุตรเช่นนี้แล้ว มาตลีเทพสารถีได้ขับรถต่อไปถึงวิมานแก้วผลึก วิมานนั้นสูง ๒๕ โยชน์ ประกอบด้วยเสาซึ่งทำด้วยรัตนะ ๗ ประการ     มีจำนวนหลายร้อยต้น ประดับด้วยยอดหลายร้อยยอด ห้อยกระดิ่งเป็นแถวโดยรอบ มีธงที่ทำด้วยทองและเงินโบกไสว ประดับด้วยอุทยานและสวนป่าวิจิตรด้วยบุปผชาตินานาชนิด มีสระโบกขรณีที่น่ายินดี มีไพทีที่น่ารื่นรมย์ ทั้งยังมีเหล่าเทพอัปสรผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง และประโคมดนตรี พระเจ้าเนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานแก้วผลึกนั้น จึงตรัสถามถึงบุพกรรมของเทพอัปสรเหล่านั้น มาตลีเทพสารถีว่า “วิมานที่บุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้ เกิดขึ้นจากการที่อัปสรเหล่านั้นเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นอุบาสิกาผู้มีศีล พร้อมด้วยเพื่อนหญิงทั้งหลาย ต่างชักชวนกันทำความดี เป็นผู้ยินดีในทาน มีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ตั้งอยู่ในสัจจะ ไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมานอันรื่นรมย์แห่งนี้”เมื่อมาตลีเทพสารถีขับไปถึงวิมานแก้วมณีแห่งใหม่ วิมานนี้สวยงามเป็นที่ดึงดูดตาดึงดูดใจของพระเจ้าเนมิราชที่ได้พบเห็นด้วยตาเนื้อยิ่งนัก เนื่องจากวิมานแก้วมณีหลังนี้ จะประดิษฐานอยู่ในภูมิภาคที่ราบเรียบ สมบูรณ์ด้วยส่วนสูง เปล่งรัศมีดุจมณีบรรพต กึกก้องด้วยการฟ้อนรำขับร้องและเครื่องประโคม ยังมีเทพบุตรจำนวนมากที่มีรูปร่างงดงามสมส่วน มีรัศมีกายสว่างไสวกว่าเทพใดๆ อยู่ในอาณาบริเวณนั้น
 
        พระเจ้าเนมิราชตรัสถามว่า “ดูก่อนมาตลีเทพบุตร เราได้เห็นแสงสว่างออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือ เสียงเปิงมาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้องและเสียงประโคมดนตรีที่เปล่งออกมาน่าฟัง เป็นที่รื่นรมย์ใจ เราไม่เคยได้เห็น หรือได้ฟังเสียงที่ไพเราะเสนาะโสตเช่นนี้จากที่ไหนมาก่อน เทพบุตรเหล่านี้ ได้ทำกรรมดีอะไรไว้ ถึงได้มาบังเกิดในทิพยสถาน และบันเทิงอยู่ในวิมานอันสว่างไสวแห่งนี้”มาตลีเทพบุตรทูลตอบว่า “เทพบุตรเหล่านี้  เมื่อยังเป็นมนุษย์ เป็นอุบาสกผู้มีศีล ได้สร้างวัดวาอาราม ขุดบ่อน้ำ สระน้ำและทำสะพาน ได้ปฏิบัติด้วยดีต่อพระสงฆ์โดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัยและเสนาสนะ ด้วยใจที่เลื่อมใส ได้รักษาอุโบสถศีลทุกวันโกนวันพระ เป็นผู้สำรวมในศีล และให้ทานตลอดชีวิต จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมานแห่งนี้”ส่วน พระเจ้าเนมิราชจะได้ทอดพระเนตรเห็นอะไรต่อไปในสวรรค์ การเที่ยวไปในสวรรค์จะตื่นตาตื่นใจแตกต่างจากไปเที่ยวนรกอย่างไร ติดตามในตอนต่อไป ขอให้พวกเราทุกๆ คน หมั่นทำความดีไว้มากๆ ความดีหรือบุญกุศลที่เราทำไว้นี้ จะกลายไปเป็นวิมานและทิพยสมบัติบนสวรรค์รอคอยเราอยู่  เมื่อถึงวันที่เราเคลื่อนออกจากร่างกาย เราจะได้จะกลับไปสู่วิมานบ้านเดิมของเรา
 

http://goo.gl/2nDM0


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - อานิสงส์ทำบุญทอดกฐิน
      หลุดพ้นจากสังสารวัฏ
      โสฬสญาณ
      เบื้องต้นเบื้องปลายไม่ปรากฏ
      พระอรหันต์รู้ได้ยาก
      ความวิเศษสุดของพระพุทธศาสนา
      พระอรหันต์มีจริง
      พระอริยเจ้า
      ผลแห่งการชวนคนมารู้จักพระรัตนตรัย
      คนดีที่โลกต้องการ
      นักสร้างบารมีพันธุ์อาชาไนย
      เวสารัชชธรรม ๔
      ต้นแบบแห่งความดี




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related