ข่าวพระพุทธศาสนา โดยพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ

เมื่อสงฆ์มองสื่อที่สื่อเรื่องสงฆ์ ในรูปแบบของพระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ คำตอบ มุมมมอง แง่คิดของข่าวพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน... https://dmc.tv/a16203

บทความธรรมะ Dhamma Articles > Review รายการ
[ 26 ก.ค. 2556 ] - [ ผู้อ่าน : 18287 ]

ข่าวพระพุทธศาสนา
ข้อคิดรอบตัว


 
 
 

ข่าวพระพุทธศาสนา
เรียบเรียงมาจากรายการ ข้อคิดรอบตัว ที่ออกอากาศทางช่อง DMC

     เคยมีคำกล่าวที่ว่า ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตัง ทุกวันนี้มีข่าวมากมายที่ลงในหน้าหนังสือพิมพ์ แล้วเราจะใช้วิจารณญาณในการเสพสื่ออย่างไร?




          ข่าวพระสงฆ์ที่มีในช่วงนี้ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร?

 
ข่าวพระพุทธศาสนา
การเรียกประชุมสงฆ์เพื่อแก้ไขปัญหาคณะสงฆ์
 

     ในช่วงที่ผ่านมานี้มีกระแสข่าวทางสื่อโทรทัศน์และต่างๆ เป็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ในแง่ลบและส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา ซึ่งถ้าเรามองตามความจริง เรื่องนี้มีอยู่ 2 นัยยะ ถ้าเราศึกษาในพระไตรปิฎกจะพบว่า  ตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่ ก็มีกรณีที่พระสงฆ์ประพฤติผิดวินัยเพราะพระวินัยทั้ง 227 ข้อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติขึ้นมาเอง จะต้องมีเหตุเกิดขึ้นก่อน เช่น พระสงฆ์ไปทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมจนเกิดเป็นที่ตำหนิ  เมื่อเกิดเรื่องขึ้นพระพุทธเจ้าจึงเรียกประชุมสงฆ์ทั้งหมด  สอบถามเรื่องราวเมื่อท่านทรงทราบก็ทรงตั้งข้อบัญญัติขึ้นว่าถ้าเมื่อใดสงฆ์ท่านใดกระทำเช่นนี้จะมีความผิด
 
     ถ้าถึงขั้นที่ผิดร้ายแรงก็ถึงขั้น ปาราชิก ถ้ารองลงมาก็เรียกว่า สังฆาทิเสส ต้องไปอยู่กรรม ถัดมาก็เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ซึ่งว่าตามแต่ละกรณี ฉะนั้นข้อบัญญัติทั้ง 227 ข้อที่มีมาจากการกระทำผิดที่เกิดจากการติฉินนินทา 
 
     เราต้องเข้าใจเพราะไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใดก็แล้วแต่สงฆ์หมู่ใหญ่  ผู้คนจำนวนมากมาด้วยความตั้งใจ แต่ทั้งนี้ก็ยังไม่หลุดพ้นกิเลส ฉะนั้น จึงมีโอกาสที่จะทำความผิดอยู่เป็นธรรมดา โดยเฉพาะเมื่อพระพุทธศาสนาปักหลักมั่นคง ลาภสักการะมีเพิ่มขึ้นก็อาจจะเป็นผู้ที่มาแล้วหวังในลาภสักการะก็มีอยู่ด้วยทางหนึ่ง  แต่อีกทางหนึ่งเดิมแล้วอาจตั้งใจมาดี  แต่เมื่อได้ลาภสักการะมากขึ้นก็เกิดการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้
 
 
ข่าวพระพุทธศาสนา
 การปฏิบัตตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
 
 
     จุดแตกต่างระหว่างครั้งพุทธกาลกับปัจจุบันที่สำคัญคือ ในครั้งพุทธกาลเมื่อเกิดเสียงโจษจันก็โจษจันกันแต่ในวงสังคมพระภิกษุสงฆ์รูปนั้น เพราะไม่มีสื่อต่างๆ ทั้งทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต และโซเชียลเน็ตเวิร์ค แต่ปัจจุบันการสื่อสารเป็นไปอย่างกว้างขวาง
 
     ดังนั้น เมื่อมีเหตุเกิดขึ้นแล้วเรื่องราวจึงขยายกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว  และธรรมชาติของสื่อในปัจจุบันอย่างหนึ่งคือ "ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตัง" ซึ่งเป็นเรื่องที่พูดกันขำๆแต่ก็เป็นเรื่องจริงในปัจจุบัน เมื่อเป็นอย่างนี้ถ้ามีพระสงฆ์อยู่ 100% แต่ทำความดีแค่ 99% แล้วอีก 1% ที่ทำไม่ดี ผลปรากฏว่า 99% ที่ทำดีอยู่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติดีกลับไม่เป็นข่าว ทำให้คนไม่ค่อยรู้เรื่องในด้านดี สิ่งที่ท่านทำดีก็อยู่กับตัวท่านและวงสังคมเล็กๆรอบตัว แต่พระสงฆ์ 1% ที่ปฏิบัติไม่เหมาะสมปรากฏว่ากลับไปออกสื่อมวลชน
 
 
ข่าวพระพุทธศาสนา
 เราควรใช้วิจารณญาณในการรับฟังข่าวสาร
 
 
     ถ้าลงหนังสือพิมพ์ 100,000 ฉบับ เป็นการสร้างเรื่องให้ใหญ่ขึ้นไปอีก 100,000 เท่า ถ้ามากกว่านี้อีกก็เป็นเรื่องที่ร้ายแรงกว่าอีกหลายเท่า กว่าพระที่ทำความดีอีก 99% สังคมก็ถูกแว่นขยายเป็นแว่นสีทำให้มองภาพของคณะสงฆ์เปลี่ยนไป  กลายเป็นมองว่าพระสงฆ์ปัจจุบันกลายเป็นพระไม่ดีไปเสียหมดพระพุทธศาสนาดูย่ำแย่ ความเข้าใจจึงบิดเบี้ยวไป ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเมื่อเกิดเรื่องไม่ดีแล้วไม่ให้เสนอข่าวเลย แต่ความเป็นจริงควรนำเสนอข่าวทั้ง 2 ด้าน สื่อมวลชนเองต้องตระหนักเรื่องนี้เป็นพิเศษว่าเราอยู่ในสถานะสื่อมวลชน ซึ่งมีผลมากต่อความเป็นไปในสังคม หากจะมีเรื่องพระสงฆ์ที่ไม่ดีเป็นข่าวและเป็นเรื่องจริงจะนำเสนอไปแล้วก็ไม่เป็นปัญหาเพราะถ้าไม่นำเสนอเลยคงไม่ได้ แต่ขอความเป็นธรรมให้กับพระพุทธศาสนาด้วย เพราะเมื่อนำเสนอเรื่องที่ไม่ดีแล้วก็ขอให้นำเสนอเรื่องที่ดีด้วยให้ได้สัดส่วน
 
     ให้ตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ เมื่อมีเรื่องดีๆก็นำเสนอไม่ใช่เสนอแค่เรื่องไม่ดีด้านเดียวเป็นการโจมตี โดยเฉพาะสังคมก็ชอบติดตามเรื่องไม่ดีและพร้อมกันโจมตี ถ้าหากจะนำเสนอเรื่องที่ไม่ดีอะไรที่ออกไป เนื้อหาต้องนำเสนอรอบด้าน อย่าใส่อารมณ์บวกกับเรื่องเข้าไปและนำสังคมไปในทางที่ไม่ดี ขณะเดียวกันต้องสอดส่ายสายตาด้วยว่ามีพระที่ท่านประพฤติปฏิบัติดีด้วยหรือไม่ มีสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นกับคณะสงฆ์กับพระพุทธศาสนาอย่างไรบ้าง และนำเสนอให้ได้สัดส่วนกัน สังคมจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ไม่เกิดความเข้าใจผิดเกิดความรู้สึกไม่ดี


          เราควรจะใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อเหล่านี้อย่างไร?


ข่าวพระพุทธศาสนา
 สื่อต้องเป็นกลางในการให้ข่าวสาร 
 

     เราต้องเข้าใจว่าแนวโน้มของสื่อทั่วไปจะชอบเสนอสื่อทางลบ มากกว่าเรื่องทางบวกเพราะฉะนั้นเราเองเมื่อจะเสพสื่อแล้วต้องตระหนักเรื่องนี้ จะได้ไม่ถูกกระแสสื่อดึงไปในทางที่ผิดและทางที่ดีควรสอดส่ายสายตาหาสื่อดีๆที่ทำให้เกิดสมดุลในแง่ข้อมูลข่าวสาร  เพราะเมื่อสื่อจะนำเสนอควรให้ความยุติธรรมกับคณะสงฆ์และพระพุทธศานาด้วยซึ่งเป็นหลักการที่ควรทำ อาจจะมีบางท่านที่ทำตามหรือไม่ทำตาม  สิ่งนี้คือด้านของสื่อเราไม่สามารถเปลี่ยนสื่อให้นำเสนอให้สมดุลทั้งด้านบวก ด้านลบทั้งหมดในทีเดียว ได้แต่หวังว่าต่อไปคงจะออกมาในทางที่ดีขึ้น แต่ในแง่ของผู้เสพสื่อก็ต้องฉลาดในการเสพสื่อ  เพราะกระแสของสื่อมักจะนำเสนอทางลบมากกว่าทางบวก
 
     ฉะนั้นเราเองเพื่อไม่ให้ถูกบิดเบือนข้อมูล ชักจูงไปทางที่เสื่อมเสียก็ต้องเลือกหาว่าสื่อทางเลือกไหนที่ดีเป็นเรื่องทางบวกตามสมดุล เพื่อสร้างสมดุลในใจเราเองได้เป็นอย่างดี เป็นเรื่องดีทางพระพุทธศาสนา สิ่งที่คณะสงฆ์ตั้งใจทำทุ่มเททำความดีมีอีกเยอะแยะ เราจะได้เห็นว่าพระที่ท่านตั้งใจปฏิบัติดียังมีอยู่อีกมากมาย  เมื่อเสพสื่อทางดีตัวเราจะมีความสุขขณะเดียวกันก็ได้ข้อคิดสิ่งดีๆมา เป็นหลักในการดำเนินชีวิตต่อไปด้วย ฉะนั้นผู้บริโภคต้องรู้จักเสพสื่อให้เกิดสมดุลในข้อมูลข่าวสาร

            ผู้ที่ร่วมวิจารณ์ ด่า ว่า โพสต์ข้อความในทางเสียๆหายๆ จะมีผลกรรมไหม?

 
ข่าวพระพุทธศาสนา
 ไม่ควรกล่าวโทษใครไม่ว่าเขาจะถูกหรือผิด
 
 
    ผู้ที่เกิดกรณีเราต้องตรองดูว่าถึงแม้ว่าข่าวที่ออกมาเหมือนจะเป็นความจริงแค่ไหนก็ตาม แต่บางครั้งอาจจะมีข้อมูลบางอย่างที่เรายังไม่รู้   สื่อนำเสนอครบหมดทุกอย่างหรือไม่เราก็ไม่ทราบ ทางที่ดีที่สุดคือเราอย่างไปผสมโรง  เพราะถ้าไม่เป็นความจริงขึ้นมาเราแบกวิบากกรรมไปมากมาย ถึงแม้จะเป็นเรื่องจริงก็ตามการกล่าวคำตำหนิ ติเตียน ด่า ว่าคนอื่นก็เป็นวจีทุจริต เมื่อเราพบคนไม่ดีแล้วไปว่าเขา พาให้จิตเราเศร้าหมอง  พระพุทธเจ้าไม่ได้ยกเว้นว่าเมื่อเห็นใครทำไม่ดีให้ด่าว่า เพราะคำหยาบเป็นวจีทุจริต ฉะนั้นเพียงรับรู้  รับทราบทำใจเราให้นิ่งๆเป็นกลาง
 
     เพศสมณะเป็นของสูง การจะวิพากษ์วิจารณ์อะไรออกไป เหมือนจับงูเห่าที่เขี้ยวเป็นการเสี่ยงมาก แม้จะมีแนวโน้มเป็นความจริงอย่างไรก็ตาม บางครั้งสื่อก็นำเสนอข่าวไปตามอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม หลีกเลี่ยงการใช้วจีทุจริต แม้แต่ความคิดของเราก็ทำให้เป็นกลางเพราะความคิดก็เป็นมโนกรรมอีกอย่างหนึ่ง
 
     ถ้ากายกรรม วจีกรรมเป็นกรรมแรง แต่ทั้งหมดเริ่มต้นมาจากมโนกรรม การรับสื่อให้ถูกต้องตั้งสติให้ดีแต่อย่าเอาอารมณ์ร่วมใส่เข้าไป  ไม่ร่วมวิพากษ์วิจารณ์ให้เสียหายไม่ว่าทางใดก็ตามเพราะเป็นอันตราย   คิดทางบอกทางสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นเพื่อสังคมเราจะดีขึ้น

             พระภิกษุสามเณรจะทำตัวอย่างไรให้น่าเลื่อมใส และไม่มีภาพที่เสียออกไป?


     ไม่ต้องทำอย่างไรแต่ทำตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านทรงบัญญัติไว้ พระองค์วางหลักไว้เช่นนี้

พระภิกษุที่บวช 5 พรรษาแรก เรียกว่า นวกะ(พระภิกษุผู้บวชใหม่)
5-9 พรรษา เรียกว่า มัชฌิม
10 พรรษา เรียกว่า พระเถระ
20 พรรษา เรียกว่า พระมหาเถระ


     ที่พระองค์วางหลักไว้เช่นนี้เพราะรู้ว่าการจะฝึกและแก้ไขคนไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ศัพท์ทางพระที่ท่านคุยกันเรียกว่า "กว่าจะให้มะม่วงมันลืมต้นมันใช้เวลา" นิสัยเดิมจากการเป็นฆราวาสยังทิ้งไม่ขาด 5 พรรษาแรกจึงต้องอยู่กับครูบาอาจารย์ให้ท่านอบรม กล่อมเกลานิสัยที่เรียกว่า ถือนิสัย เป็นการฝึกฝนตนเอง
 
 
ข่าวพระพุทธศาสนา
 ปฏิบัติตามหลักที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้
 
 
      ในยุคนี้หรือยุคใดก็ตามถ้าทำตามหลักพระพุทธเจ้าจะได้ผลดี เมื่อบวชแล้วต้องมีการฝึกอบรมไม่ใช่บวชแล้วปล่อยผ่าน แต่บวชแล้วต้องฝึกกระนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะดีทั้งหมด 100% อย่างที่ยกตัวอย่างสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์และวางหลักเกณฑ์ไว้อย่างดี เพื่ออบรมบ่มนิสัยอย่างดี พระอรหันต์มีมากมายเป็น 10,000-100,000 รูป ก็ยังมีพระที่ไปกระทำผิดกฎไม่ถูกต้อง เกิดเสียงโจษจัน นินทา จนกระทั่งต้องบัญญัติพระวินัยเพิ่มขึ้นทีละข้อ
 
     แต่โดยภาพรวมคณะสงฆ์ดีทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายความว่าจะดีพร้อม 100% ไม่มีผู้ที่บกพร่องแม้แต่คนเดียว  ซึ่งเป็นไปไม่ได้เพราะทุกคนเป็นลูกชาวบ้านธรรมดา แต่เมื่อครองผ้าเหลืองแล้วจะกลายเป็นผู้วิเศษ ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ต้องค่อยๆฝึกไปเพราะมีส่วนที่บกพร่องผิดพลาดเป็นเรื่องปกติธรรมดา ต้องตักเตือนแก้ไข อบรมและกล่อมเกลาต้องเป็นเช่นนี้
 
     ฉะนั้น เดินตามแนวพระพุทธเจ้าแล้วภาพรวมคณะสงฆ์จะดี  เมื่อมีข้อบกพร่องผิดพลาดขึ้นมาก็ไม่เพิกเฉยละเลย แต่ร่วมกันลงมือปรับปรุงแก้ไข ทำตามหลักพระพุทธเจ้าท่านทรงวางไว้ดีที่สุด เราต้องมองภาพรวมทุกด้านถึงสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงที่เป็นไป กลุ่มของคณะสงฆ์ก็เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าเห็นภาพใหญ่นี้แล้วเราจะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเพราะอะไร เพราะเวลามองปัญหาต้องมอง 2 แบบ
 
1. มองเฉพาะจุด    ว่าเกิดขึ้นเพราะตัวบุคคล มีพระรูปนี้ไปกระทำเช่นนี้จึงเกิดเรื่อง
 
2. มองแบบภาพใหญ่    มองสถานการณ์รวมของคณะสงฆ์เป็นอย่างไร สังคมเป็นอย่างไร และจะพบว่าเหตุที่เกิดอาจเป็นแค่ปลายเหตุ ทำให้มองเห็นความเป็นไปทั้งหมด เห็นรากของปัญหาเมื่อต้องแก้ไขได้มองเห็นชัดและตรงไม่ได้แก้เป็นจุดๆ
 
 
ข่าวพระพุทธศาสนา
จัดงานรื่นเริ่งเพื่อให้คนเข้าวัดทำบุญ
 
 
     การแก้ไขที่ภาพรวม สังคมสมัยก่อนเป็นสังคมการเกษตรในยุคของการเกษตรสิ่งที่สำคัญ คือ การผลิต ผืนที่ดิน ปลูกข้าว ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ต้องใช้ที่ดินทั้งหมด ไม่สามารถย้ายไปไหนได้ เพราะฉะนั้นสังคมจะเป็นสิ่งที่อยู่ประจำถิ่น ในยุคนั้นวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชนแทบเป็นทุกสิ่งทุกอย่างของชุมชน  การเรียนการสอนก็ต้องเรียนที่วัดให้พระอาจารย์สอน แม้กระทั่งลูกพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ก็ต้องมาเรียนรู้ที่วัด  ได้ทั้งความรู้และคุณธรรมสมัยก่อนผู้ที่ยังไม่บวชเรียน  ไม่สามารถเข้ารับราชการได้เพราะคุณสมบัติไม่ครบ  สังคมวางเกณฑ์ไว้อย่างนั้นพระภิกษุมีฐานะเป็นผู้นำทางความคิด  เมื่อเกิดเรื่องก็ต้องไปกราบหลวงพ่อให้หลวงพ่อตัดสินให้เพราะเป็นผู้มีความยุติธรรม
 
     วัดเป็นที่อำนวยความสะดวกให้ทุกอย่างเพราะวัดเป็นสถาบันของสังคมเกือบทุกอย่างก็ว่าได้ แต่เมื่อสังคมเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม ยุคข้อมูลข่าวสารจะเรียนก็ต้องไปโรงเรียนเกิดสถาบันการเรียนขึ้นมา เมื่อคนเริ่มห่างเหินจากวัด ผู้ที่ศรัทธามาบวชก็น้อยลง ผู้ที่มาบวชจึงกลายเป็นผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ครอบครัวยากจนมาบวชเรียน อีกส่วนก็เป็นผู้ที่สูงอายุเกษียณอายุและไม่มีงานทำมาบวชเป็นหลวงตา  ซึ่งโอกาสจะศึกษาธรรมะก็น้อยลงเพราะอายุมากขึ้น คุณภาพสงฆ์โดยรวมจึงดูด้อยลง
 
 
ข่าว...พระ...พุทธศาสนา
เราทุกคนต้องช่วยกันฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
 
 
     ปัจจุบันผู้ที่มีความรู้แทบจะไม่มีใครยอมรับว่าคณะสงฆ์เป็นผู้นำทางความคิด พระมี 300,000 รูปแต่มีพระกี่รูปที่พูดแล้วปัญญาชนรับฟังและถือเป็นเข็มทิศนำทางชีวิต คนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าตนเองรู้ดีกว่าพระ คิดว่าพระท่านไม่รู้เรื่องราวอะไร ไหว้พระก็ไหว้ที่ผ้าเหลือง ไปวัดก็ไปตามประเพณีมารยาททางสังคม  แต่ที่จะไปเพราะศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงกลับมีน้อยมาก
 
     เพราะความเป็นจริงในปัจจุบัน วัดบางส่วนก็มีการแก้ไขโดยใช้กลยุทธเพื่อดึงให้คนเข้าวัดมากขึ้น ทั้งการจัดงานตามเทศกาล มหรสพต่างๆ แม้กระทั่งนำความเชื่อต่างๆมาผสมกันไป  ทั้งพิธีกรรมเพื่อเอาใจญาติโยมโดยไม่ใช้หลักธรรมะของพระพุทธเจ้าในการดึงคนเข้าวัด แต่ใช้สิ่งที่คนสนใจตามกิเลสของคน  ตามความเชื่อ กลายเป็นญาติโยมชักพาพระให้ทำตามใจโยมซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดทาง  เป็นภาวะที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันของคณะสงฆ์แต่ไม่ได้ใช้ธรรมะแก้ไข
 
 
ข่าวพระพุทธศาสนา
 ทุกคนต้องทำหน้าที่เป็นชาวพุทธที่ดี
 

     เพราะฉะนั้นต้องยึดหลักธรรมะและการปฏิบัติของพระพุทธเจ้ามาใช้ถึงจะถูกต้อง เป็นการปลุกกระแสพระพุทธศาสนาให้ตื่นตัวขึ้นมีการจัดตักบาตรพระ บวชพระ 100,000 รูป กิจกรรมที่ทำเพื่อฟื้นฟูพระพุทธศาสนา  นำศีลธรรมกลับมาอีกครั้งหนึ่งเป็นการเผยแผ่เชิงรุกซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากซึ่งสังคมไทยกำลังขาดสิ่งนี้  กว่าจะสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์ทางพระพุทธศาสนาได้ก็เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มากขึ้น  ต้องช่วยกันออกแรงทุ่มเทเป็นอย่างมาก แต่ถ้าสื่อเป็นตัวช่วยโหมกระแสในด้านที่ดี ก็เป็นการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี แต่กลายเป็นการโจมตีพระพุทธศาสนามากกว่า
 
     ถ้าชาวพุทธตระหนักถึงความสำคัญของพระพุทธศาสนาแล้วร่วมแรงร่วมใจกันฟื้นฟูพระศาสนาบอกได้เลยว่า ประเทศไทยไปได้และไปได้อย่างดี เพราะรากฐานคำสอนในพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกในวัฒนธรรมไทยในวิถีชีวิตชาวไทยยังมีอยู่  แม้คนจะห่างวัดไปมากก็ตาม แต่รากทางวัฒนธรรมยังมีถ้าช่วยกันฟื้นฟูให้ดีขึ้น แต่ถ้าทิ้งช้ากว่านี้อีก 5-10 ปี ไม่แน่ว่าพระพุทธศาสนาอาจจะกู่ไม่กลับ ฉะนั้นต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ และมั่นใจได้ว่าพระพุทธศาสนาจะกลับคืนมาสู่ไทยอย่างเข้มแข็งได้ถ้าชาวพุทธ พุทธบริษัท4 เป็นหนึ่งเดียวกันเหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว
 
  
 
รับชมวิดีโอ
 
 

http://goo.gl/cPFt3


พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      วันลอยกระทง 2566 ประเพณีและประวัติวันลอยกระทง วิธีทำกระทงง่ายๆ
      วันตรุษจีน 2566 ประวัติวันตรุษจีน การ์ดและคำอวยพรตรุษจีน
      วันครูแห่งชาติ 2567 ประวัติความเป็นมาของวันครู กิจกรรมวันครู
      วันพ่อแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาความสำคัญ กลอนวันพ่อ การ์ดวันพ่อ
      วันปิยมหาราช ประวัติและความสำคัญของวันปิยมหาราช
      วันแม่แห่งชาติ 2566 กลอนวันแม่ ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ
      กลอนวันแม่ กลอนวันแม่สั้นๆ ซึ้งๆ จากใจลูกน้อย
      วันสื่อสารแห่งชาติ 2566 ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของการสื่อสาร
      วันภาษาไทยแห่งชาติ 2566 ประวัติ ความสำคัญของวันภาษาไทยแห่งชาติ
      วันสิ่งแวดล้อมโลก World Environment Day
      วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2566 World No Tobacco Day
      วันครอบครัว 14 เมษายน ประวัติความเป็นมาและความสำคัญ
      วันสตรีสากล ประวัติความเป็นมาความสำคัญของวันสตรีสากล




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related