โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

สภาพสังคมที่วุ่นวายในปัจจุบัน ทุกชีวิตแทบจะมีลมหายใจอยู่บนเส้นทางแห่งการแก่งแย่ง แข่งขัน ช่วงชิง ขวักไขว่ เสาะแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนามาครอบครอง แต่ทว่า การได้สิ่งเหล่านั้นมาด้วยความโลภ อยากได้มาเป็นของๆ ตนโดยมิชอบธรรมแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการลักขโมยซึ่งเป็นการผิดศีล 5 ข้อที่ 2 คือมีเจตนาจะขโมยสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้มาเป็นของตนได้สำเร็จ https://dmc.tv/a27756

บทความธรรมะ Dhamma Articles > แก้กรรม-รู้ทันวิบากกรรม
[ 21 มี.ค. 2565 ] - [ ผู้อ่าน : 18402 ]

มินิซีรี่ย์
โทษภัยของการลักขโมย

โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      สภาพสังคมที่วุ่นวายในปัจจุบัน ทุกชีวิตแทบจะมีลมหายใจอยู่บนเส้นทางแห่งการแก่งแย่ง แข่งขัน ช่วงชิง ขวักไขว่ เสาะแสวงหาสิ่งที่ตนปรารถนามาครอบครอง แต่ทว่า การได้สิ่งเหล่านั้นมาด้วยความโลภ อยากได้มาเป็นของๆ ตนโดยมิชอบธรรมแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นการลักขโมยซึ่งเป็นการผิดศีล 5 ข้อที่ 2 คือมีเจตนาจะขโมยสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้มาเป็นของตนได้สำเร็จ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น มีอยู่หลายรูปแบบ หรือหลายลักษณะคือ 


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

1. ลักทรัพย์ คือการเอาถือเอาทรัพย์เมื่อเจ้าของไม่รู้ ไม่เห็น มี 3 ลักษณะ ได้แก่ เมื่อเจ้าของเขาเผลอก็หยิบเอาสิ่งของนั้นไป เรียกว่า “ขโมย” ส่วนในเวลาสงัด ได้แอบเข้าไปในเรือน แล้วหยิบเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า “ย่องเบา” และเมื่องัดหรือเจาะประตูที่ปิดอยู่ แล้วถือเอาสิ่งของของเขาเรียกว่า “ตัดช่อง”
 
2. ฉก คือการชิงเอาทรัพย์ต่อหน้าเจ้าของ ในขณะที่กำลังเผลอ ที่เรียกว่า “ตีชิงวิ่งราว” 

3. กรรโชก คือ การขู่โดยใช้อำนาจให้เจ้าของทรัพย์ตกใจกลัว แล้วยอมให้ทรัพย์ ที่เรียกว่า “จี้” ในปัจจุบันนี้ 

4. ปล้น คือการยกพวกตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปใช้อาวุธเข้าข่มขู่เจ้าของทรัพย์ แล้วแย่งชิงทรัพย์ไป 

5. ตู่ คือการอ้างหลักฐานพยานเท็จเพื่อหักล้างกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น ที่ดิน เป็นต้น ซึ่งตนไม่ได้เป็นเจ้าของ 

6. ฉ้อ หรือ โกง คือการโกงเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปซึ่ง ๆ หน้า โดยส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินที่เจ้าของฝากให้ดูแล เช่น โกงของฝาก โกงที่ดิน เป็นต้น

7. หลอก คือ การพูดจาปั้นเรื่อง หลอกลวงให้เจ้าของทรัพย์หลงเชื่อ แล้วจึงถือเอาทรัพย์ของเขาไป 

8.  ลวง คือการใช้เล่ห์แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งให้เจ้าของทรัพย์หลงเชื่อ แล้วเอาทรัพย์ไป เช่น โกงตาชั่ง เป็นต้น

9. ปลอม คือ  การทำหรือการใช้ของปลอมให้เห็นว่าเป็นของแท้ เช่น ธนบัตรปลอม เป็นต้น 

10. ตระบัตย์ คือ การยืมของคนอื่นมาใช้ แล้วไม่ยอมส่งคืน ยึดเอาเสียดื้อ ๆ เช่น กู้หนี้แล้วไม่ใช้คืน

11. เบียดบัง คือ การงุบงิบเก็บทรัพย์เกินความเป็นจริง กินเศษกินเลย เช่น เก็บเงินค่าเช่าได้มาก แต่ให้เจ้าของเพียงแต่น้อย ๆ 

12. สับเปลี่ยน คือ การแอบสลับเอาของที่ไม่ดีของตน ไปเปลี่ยนเอาของที่ดีของผู้อื่นมา ซึ่งมีค่าสูงกว่า 

13. ลักลอบ คือ การหลบหนีภาษีของหลวง หรือลอบนำสิ่งที่ต้องห้าม เช่น เหล้าเถื่อน ค้าของหนีภาษี

14. ยักยอก คือการยักเอาทรัพย์ของคนที่ถูกริบไว้ ยักยอกภาษี ยักยอกทรัพย์ที่ถูกฟ้องล้มละลายไว้ โดยการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริตมาเป็นของตน

     และนอกจากพฤติกรรมข้างต้นดังกล่าวแล้ว ยังมีกรณีที่บุคคล แม้ไม่ได้เข้าไปยึดทรัพย์ของผู้อื่นโดยตรง แต่ถ้ากระทำโดยมีส่วนร่วม ศีลข้อที่ 2 ก็จะมัวหมอง ด่างพร้อยไปทันที นั่นคือ ให้การสนับสนุนพวกโจร


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

ปอกลอก คือ การคบคนด้วยอาการไม่ซื่อสัตย์ มุ่งหมายจะเอาทรัพย์สมบัติของเขาฝ่ายเดียว

รับสินบน คือ การถือเอาทรัพย์ที่เขาให้เพื่อช่วยทำธุระให้แก่เขาในทางที่ผิด 

ผลาญ คือ การทำลายทรัพย์ของผู้อื่นให้เสียหาย

หยิบฉวย คือ การถือวิสาสะเกินขอบเขต


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      องค์ประกอบของการทำผิดศีลข้อ 2 ต้องประกอบด้วยองค์ 5 ประการคือ 
 
1. ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน 
 
2. รู้ว่าทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
 
3. มีเจตนาคิดที่จะลักทรัพย์หรือสิ่งของนั้น 
 
4. พยายามลักทรัพย์นั้น 
 
5. ได้ทรัพย์หรือสิ่งของนั้นมาด้วยความพยายาม

      โดยสรุปของการทำผิดศีลข้อ 2 นี้ อยู่ที่เจตนาจะลักของผู้อื่นในทางทุจริต โดยมีความตั้งใจที่จะยึดเอามาเป็นของตนให้ได้ ถ้าทำครบองค์ 5 ประการก็ถือว่าผิดศีลทันที


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

       ผู้ละเมิดศีลข้อที่ 2 ก่อนที่จะละจากโลกนี้ไปนั้น ได้มีภาพกรรมนิมิตที่ตนเคยทำมานั้น มาฉายปรากฏให้เห็น จิตจะเศร้าหมองไม่ผ่องใส ย่อมไปบังเกิดในนรกทันที ตัวอย่างเช่น พวกที่เคยโกงเงินหลวง ก็จะถูกนายนิรยบาลจับใส่ถุงเงินขนาดใหญ่ แล้วนายนิรยบาลก็ปิดปากถุงไว้แน่นหนามิให้สัตว์นรกหนีออกมาได้


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

       จากนั้นก็เหวี่ยงถุงเงินทุ่มลงกับพื้นอย่างเต็มแรง เหวี่ยงไปมาหลายรอบ จนกระทั่งสัตว์นรกที่อยู่ในถุงเงินนั้นแหลกเละ ร่างกายละลายไปกับเงินในถุง ตายเกิดตายเกิดนับครั้งไม่ถ้วน ส่วนพวกที่เคยโกงที่ดินของคนอื่นมาเป็นเจ้าของนั้น สัตว์นรกจะถูกแผ่นดินขนาดใหญ่ที่ร้อนระอุ ตกทับใส่ร่าง จนร่างกายแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสนับครั้งไม่ถ้วน 


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

       บางพวกที่ชอบรับสินบน ก็จะถูกนายนิรยบาลใช้มีดอันคมกริบกรีดท้องจนเห็นกระดูกสันหลัง จากนั้นนายนิรยบาลก็จะตักเหล็กร้อน ๆ ที่มีลักษณะกลมแบน คล้าย ๆ เงินเหรียญมายัดใส่ท้องจนเต็ม เหล็กร้อนในท้องนั้นก็จะเผาไหม้ละลายร่างของสัตว์นรก ทำให้ได้รับความเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัส และแหลกเละไปในที่สุด เมื่อพ้นกรรมจากสัตว์นรกย่อมเกิดเป็นเปรต มีลักษณะลำตัวเป็นเหมือนแผ่นหินที่มีความร้อน มีขา 2 ขายืนรองรับแผ่นหินนั้นไว้ เพราะเศษกรรมที่ชอบไปขโมยของสงฆ์


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      เปรตบางพวกเคยมีวิบากกรรมไปขโมยของกินที่เขาจะนำมาถวายพระ เมื่อเศษกรรมเบาบางก็จะเกิดมาเป็นเปรตกินขี้ เมื่อพ้นกรรมจากเปรตก็มาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เกิดเป็นหนอนชอบชอนไชน้ำเลือดน้ำหนองเป็นเวลายาวนาน และโทษเบาที่สุดเมื่อได้มาเกิดเป็นมนุษย์จะเกิดเป็นคนยากจน เป็นคนอดอยาก ไม่ได้สมบัติตามที่ตนต้องการ ทำธุรกิจการงานใดก็จะถูกโกงได้ง่าย ทรัพย์สินย่อมพินาศไปเพราะภัยต่าง ๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย วาตภัย ราชภัย โจรภัย เป็นต้น แถมยังเป็นโรคจิตทางประสาท เช่น โรคหวาดผวา เพราะวิบากกรรมที่ชอบไปข่มขู่เจ้าของทรัพย์ให้ตกใจกลัว เป็นต้น 


โทษภัยของการลักขโมย ผิดศีลข้อที่ 2

      ดังนั้น..เมื่อเราทราบถึงวิบากกรรมของการลักขโมย ซึ่งเป็นการผิดศีลข้อที่ 2 แล้วนั้น ก็ควรหักดิบเลิกพฤติกรรมที่ได้กล่าวมาแล้วตั้งแต่ตอนต้นให้หมด แล้วหันมาประกอบสัมมาอาชีวะ คือการเลี้ยงชีพในทางสุจริต โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน และเพื่อให้ปลอดภัยในทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขตลอดไป ทั้งในภพชาตินี้ และในภพชาติหน้า ตราบกระทั่งเข้าสู่นิพพาน
 

 
บทความที่เกี่ยวข้อง





พิมพ์บทความนี้



บทความอื่นๆ ในหมวด

      โทษภัยของการพนัน
      วิบากกรรมปาณาติบาต
      วิบากกรรม วิบากกาม
      โทษภัยของการพูดโกหก ผิดศีลข้อที่ ๔
      วิบากกรรมที่ทำให้ท้องเสียและท้องผูก
      วิบากกรรมที่ทำให้เป็นวัณโรค
      วิบากกรรมที่ทำให้ฆ่าตัวตาย
      วิบากกรรมที่ทำให้หน้าแก่เกินวัย
      กรรมที่ทำให้มีขางาม
      ทุกข์ในอัตภาพสัตว์เดรัจฉานและมนุษย์
      ฆ่าตัวตาย กรรมที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการฆ่าตัวตาย
      กรรมที่ทำให้รูปงาม




   ค้นหา บทความธรรม    

  ฝันในฝันวิทยา
  สารพันธรรมะ
  ปกิณกธรรม
  ผลการปฏิบัติธรรม
  โครงการฟื้นฟูศีลธรรมโลก
  ธรรมะบันเทิง
  ข่าว
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  ข่าวบุญฝากประกาศ
  DMC NEWS
  ข่าวรอบโลก
  กิจกรรมเว็บ dmc.tv
  Scoop - Review DMC
  เรื่องเด่นทันเหตุการณ์
  Review รายการ DMC
  หนังสือธรรมะ
  ธรรมะเพื่อประชาชน
  ที่นี่มีคำตอบ
  หลวงพ่อตอบปัญหา
  อยู่ในบุญ
  สุขภาพนักสร้างบารมี
  นิทานชาดก
  CaseStudy กฎแห่งกรรม
  กฎแห่งกรรม
  เรื่องราวชีวิต
  เหลือเชื่อแต่จริง
  อุทาหรณ์สอนใจ
  ฮอตฮิต...ติดดาว
  วิบากกรรม...ทำให้ทุกข์
  บุญเกื้อหนุน
  ปรโลกนิวส์
  ธรรมะและสมาธิ
  พุทธประวัติ
  สมาธิ
  ผลการปฏิบัติธรรมนานาชาติ
  ทศชาติชาดก
  พุทธประวัติและวันสำคัญ
  บทสวดมนต์
  ศัพท์ธรรมะ ภาษาอังกฤษ
  มหาปูชนียาจารย์
  อานุภาพมหาปูชนียาจารย์
  ประวัติ
  กิจกรรม
  ธุดงค์สถาปนาเส้นทางมหาปูชนียาจารย์
  About DMC
  เกี่ยวกับ DMC
  DMC GUIDE
  มือถือ Mobile
  คู่มือเว็บ www.dmc.tv
  มาวัดพระธรรมกาย
   ค้นหา บทความธรรม    

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง - Related