การตักบาตรและพิธีต่างๆ ในวันสำคัญ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2550 หน้า 11
หน้าที่ 11 / 72

สรุปเนื้อหา

ในวันนี้มีการตักบาตรพระสงฆ์นับพันรูป ซึ่งเป็นการรวมพลังศรัทธาจากผู้มีจิตศรัทธาในการทำบุญ ด้วยการกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ และในช่วงเช้า พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้นำสาธุชนสวดมนต์และทำสมาธิ เพื่อให้ทุกคนมีความสงบและตั้งใจในการทำบุญ ซึ่งวันนี้ยังเป็นวันสำคัญที่เฉลิมฉลองการตรัสรู้และการดับขันธปรินิพพานของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ในช่วงเที่ยงยังมีพิธีกล่าวคำถวายเสาค้ำฟ้าซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการสนับสนุนให้เกิดสันติธรรม และความสงบสุขในโลกใบนี้

หัวข้อประเด็น

-การตักบาตร
-ความสำคัญของวันพุทธศาสนา
-สมาธิและการเจริญภาวนา
-พิธีกล่าวคำถวายเสาค้ำฟ้า
-การอุทิศส่วนกุศล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เต็มเปี่ยม เพราะมีโอกาสได้ตักบาตรพระสงฆ์นับ พันรูป ปกติตักบาตรหน้าบ้านทุกวันได้อย่างมาก เพียง ๓ รูป หรือ ๕ รูป กว่าจะครบพันรูปนั้น คงใช้เวลานานหลายปีทีเดียว ตักบาตรแล้วก็ไม่ลืม กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้หมู่ญาติผู้ล่วงลับ ผู้มี พระคุณกับเรา ขอให้ท่านเหล่านั้นได้บุญโดย ทั่วถึงกัน ๐๙.๓๐ น. พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธานสงฆ์ นำสาธุชนนั่งสมาธิเจริญภาวนา ทำใจ ให้หยุด ให้นิ่ง ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๒ ปล่อยใจ ไปตามกระแสเสียงที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ แนะนำ ให้เราปล่อยวางภารกิจเครื่องกังวลต่างๆ แล้วเอาใจกลับมาตั้งไว้ในกลางตัวของเรา แล้ว นึกถึงความสำคัญของวันนี้ วันแห่งการอุบัติขึ้น ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วันแห่งการตรัสรู้ และ วันดับขันธปรินิพพาน ๑๑.๐๐ น. เป็นพิธีกล่าวคำถวายเสาค้ำฟ้า มหารัตนวิหารคด และถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน โดยผู้แทนสาธุชนผู้ใจบุญในการนำกล่าวคือ กัลฯ บุญชัย เบญจรงคกุล และกัลฯ อนันต์ อัศวโภคิน เสาค้ำฟ้าเป็นโครงสร้างส่วนสำคัญในการสร้าง มหารัตนวิหารคด เพราะวิหารหรือศาสนสถาน ทุกแห่ง แม้แต่อาคารบ้านเรือนของเราเอง ล้วน จำเป็นต้องมีเสาทั้งสิ้น คำว่า มาจากคำว่า ค้ำจุน หรือสนับสนุน ซึ่งในที่นี้หมายถึงสนับสนุนให้เกิด สันติธรรมอันไพบูลย์บนผืนโลก ส่งผลให้ภายใต้ ท้องฟ้าเดียวกัน มีแต่ความสงบสุข จึงเป็นความหมาย อีกนัยหนึ่งของคำว่า ค้ำฟ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More